backup og meta

โรคเบาหวานที่มีอันตรายที่สุดคือ อะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง

โรคเบาหวานที่มีอันตรายที่สุดคือ อะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง

อาการของ โรคเบาหวานที่มีอันตรายที่สุดคือ ภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินจากน้ำตาลสูง ที่เรียกว่า ภาวะเลือดเป็นกรด (Diabetic ketoacidosis หรือ DKA) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง  ดังนั้น ผู้ที่เป็นเบาวหวานทุกคนจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมด้วยการปรับพฤติกรรมสุขภาพ  และปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด

[embed-health-tool-bmr]

อาการของ โรคเบาหวานที่มีอันตรายที่สุดคือ อะไร

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่นับว่ามีอันตรายมาก คือ ภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งมีสาเหตุมาจาก เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงค่อนข้างมากไประยะหนึ่ง โดยมากเเล้วระดับน้ำตาลในเลือดมักสูงกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป จะทำให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินลดลงไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์ในร่างกายไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลในเลือดเปลี่ยนไปใช้เป็นพลังงานได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจึงยิ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ 

นอกจากนี้ ร่างกายจึงต้องเปลี่ยนไปเผาผลาญไขมันมาใช้เป็นพลังงานแทน ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้เกิดคีโตน (Ketone) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด และเมื่อมีคีโตนสะสมในกระแสเลือดมากขึ้น จึงทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดตามมาได้ และเมือเลือดมีความเป็นกรดจะส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆโดยรวม หากไม่รีบเข้ารับการรักษาจึงอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ภาวะเลือดเป็นกรดนอกจากพบในผู้ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีเเล้ว ในหลาย ๆ ครั้ง ก็พบในผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ค่อนข้างดี เนื่องจากมีปัจจัยทางสุขภาพมากระตุ้น ได้เเก่ มีการเจ็บป่วย อาทิเช่น โรคติดเชื้อ ลิ่มเลือดในปอด หัวใจวาย การตั้งครรภ์ หรือ  การใช้ยาบางกลุ่มเช่น ยาสเตียรอยด์ เนื่องจากเมื่อมีการเจ็บป่วยร่างกายผลิตฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ต้านกับอินซูลิน เช่น อะดรีนาลีน (Adrenaline) คอร์ติซอล (Cortisol) เพิ่มมากขึ้น จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงและเกิดภาวะเลือดเป็นกรด 

สัญญาณเตือนของภาวะเลือดเป็นกรด

สัญญาณเตือนของภาวะเลือดเป็นกรดได้เเก่อาการดังต่อไปนี้

  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • กระหายน้ำมาก
  • ปัสสาวะบ่อย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
  • ปวดท้อง
  • รู้สึกเหนือย หายใจหอบ เเละอาจมีกลิ่นลมหายใจคล้ายกลิ่นผลไม้เปรี้ยว ๆ (กลิ่นของสารคีโตน)

หากมีอาการดังกล่าว โดยเฉพาะมีอาการ คลื่นไส้อาเจียน รู้สึกไม่สบาย ปวดท้อง ควรรีบไปพบคุณหมอในทันที

วิธีดูเเลตนเองเพื่อป้องกันภาวะเลือดเป็นกรดคืออะไร

วิธีดูเเลตนเองเบื้องต้นให้มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะเลือดเป็นกรดป้องอาจทำได้ดังนี้

  • ปฏิบัติตามแผนการรักษาโรคเบาหวาน รับประทานยาลดระดับน้ำตาลรวมถึงฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งหมั่นดูแลตัวเองตามที่คุณหมอแนะนำ  
  • ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดเน้นการรับประทานผัก ผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ธัญพืช และไขมันดี เช่น แซลมอน กะหล่ำปลี คะน้า ผักกาดขาว ข้าวโอ๊ต ลูกเดือย ถั่วต่าง ๆ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้งขัดขาว น้ำตาลและไขมันสูง เช่น ข้าวขาว ขนมหวาน น้ำอัดลม อาหารทอด อาหารแปรรูป
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วัน/สัปดาห์ หรือเพิ่มการขยับร่างกายในชีวิตประจำวัน เช่น ทำงานบ้าน เดินขึ้นบันได ซึ่งจะช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลิน และลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • ผ่อนคลายความเครียด ทำกิจกรรมที่ชอบ เพราะความเครียดจะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มมากขึ้นซึงมีฤทธิ์ฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติได้
  • ในต่างประเทศ หรือ บางท่านที่สามารถหาซื้อชุดตรวจคีโตนในเลือด หรือ ในปัสสาวะ อาจทดลองตรวจเบื้องต้นที่บ้านก่อน หากไม่สบายหรือมีอาการที่เข้าข่ายสงสัยว่าอาจจะมีภาวะเลือดเป็นกรด หากพบว่ามีคีโตน ให้รีบดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ เเละ รีบมาพบคุณหมอที่โรงพยาบาลทันที
  • หมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง เพื่อให้ทราบว่าตนสามารถควบคุมเบาหวานได้ดีมากน้อยเพียงใด 
  • ในผู้ที่ยังไม่เป็นเบาหวาน เเนะนำให้ตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ เพื่อตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน หากตรวจพบตั้งเเต่เนิ่น ๆ ก็จะทำให้สามารถดูเเลสุขภาพตนเองได้ดีตั้งเเต่ยังไม่มีอาการหรือภาวะเเทรกซ้อนใด ๆ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/symptoms-causes/syc-20371444.Accessed September 08, 2022

Diabetic ketoacidosis. https://medlineplus.gov/ency/article/000320.htm.Accessed September 08, 2022

Diabetic ketoacidosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetic-ketoacidosis/symptoms-causes/syc-20371551.Accessed September 08, 2022

Diabetic Ketoacidosis. https://www.webmd.com/diabetes/ketoacidosis.Accessed September 08, 2022

Diabetic ketoacidosis. https://www.nhs.uk/conditions/diabetic-ketoacidosis/.Accessed September 08, 2022

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/10/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผลไม้สําหรับคนเป็นเบาหวาน กินอะไรดีต่อสุขภาพ

ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน สาเหตุ อาการ การป้องกัน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 26/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา