โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

ตรวจเบาหวานคนท้อง งดอาหาร กี่ชั่วโมง และควรเตรียมตัวอย่างไร

ตรวจเบาหวานคนท้อง งดอาหาร หรือไม่ หากงดต้องงดกี่ชั่วโมง เป็นคำถามที่คนท้องต้องการทราบคำตอบเพื่อเตรียมพร้อมก่อนไปหาคุณหมอ โดยทั่วไป การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบจีซีที (Glucose Challenge Test หรือ GCT) ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คนท้องไม่จำเป็นต้องงดอาหารหรือเครื่องดื่มคืนก่อนตรวจ แต่สำหรับผู้ที่คุณหมอนัดหมายให้มาตรวจแบบโอจีทีที (Oral glucose tolerance test หรือ OGTT) ซึ่งเป็นการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลของร่างกายโดยการดื่มสารละลายกลูโคส เพื่อคัดกรองภาวะก่อนเบาหวาน เบาหวานชนิดที่ 2 และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจต้องงดอาหารและเครื่องดื่มที่ให้พลังงาน ก่อนเข้ารับการทดสอบอย่างน้อย 8 ชั่วโมง [embed-health-tool-bmi] เบาหวานคนท้อง คืออะไร เบาหวานคนท้องหรือโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) เป็นโรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นขณะท้อง มีสาเหตุจากรกผลิตฮอร์โมนที่ยับยั้งประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากตับอ่อนซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงน้ำตาลไปเป็นพลังงานให้แก่เซลล์ต่าง ๆ เมื่อร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลให้มีน้ำตาลสะสมอยู่ในกระแสเลือด จนเกิดเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์แม้ว่าภาวะนี้จะหายไปเองหลังคลอด แต่ผู้ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักมีความเสี่ยงต่อสุขภาพเพิ่มขึ้นทั้งรวมทั้งทารกในครรภ์ด้วย เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะครรภ์แฝดน้ำ (Polyhydramnios) การคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวมากกว่า 4 กิโลกรัม ทารกแรกเกิดมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (เนื่องจากร่างกายผลิตอินซูลินปริมาณมากเพื่อรับมือกับระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขณะอยู่ในครรภ์) ตรวจเบาหวานคนท้อง ควรตรวจเมื่อท้องได้กี่เดือน คนท้องอาจพัฒนาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในระยะใดก็ได้ แต่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 24-28 สัปดาห์ […]


โรคเบาหวาน

สมุนไพรลดเบาหวาน มีอะไรบ้าง และควรดูแลตัวเองอย่างไร

โดยปกติแล้ว การรักษาเบาหวานทำได้ด้วยการรับประทานยาตามคำสั่งของคุณหมออย่างเคร่งครัด และดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ นอกจากการใช้ยารักษาแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานบางคนอาจใช้ สมุนไพรลดเบาหวาน เป็นอาหารเสริม เพื่อช่วยลดระกับน้ำตาลในเลือด รวมถึงช่วยควบคุมภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคไต ระบบประสาทเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ตาม ก่อนรับประทานสมุนไพรลดเบาหวานทุกชนิด ควรปรึกษาคุณหมอก่อนเสมอ เนื่องจากสมุนไพรบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อฤทธิ์ของยาเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmr] เบาหวาน เกิดจากอะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยไว้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น โรคไต ระบบประสาทเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง สำหรับชนิดของเบาหวาน อาจแบ่งได้ ดังนี้ เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภส่งผลให้ร่างกายมีปัญหาเกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่เท่านั้น แต่ยังมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วย อย่างไรก็ตาม ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักหายไปเองหลังจากคลอดลูก […]


โรคเบาหวาน

อาหารสําหรับคนเป็นเบาหวาน ที่ควรรับประทานมีอะไรบ้าง

โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป และอาหารก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องใส่ใจอาหารที่รับประทาน เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลสูงเกินไปจนทำให้หลอดเลือดและระบบร่างกายผิดปกติ ซึ่ง อาหารสําหรับคนเป็นเบาหวาน ควรเป็นอาหารที่มีใยอาหารสูง และมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ทำให้อิ่มได้นานและไม่หิวบ่อย รวมทั้งควรเป็นอาหารที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ และคงที่ [embed-health-tool-bmr] อาหารสําหรับคนเป็นเบาหวาน มีอะไรบ้าง อาหารสำหรับคนเป็นเบาหวานที่รับประทานในปริมาณที่เหมาะสมแล้วไม่ทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ อาจมีดังนี้ โปรตีน อาหารสำหรับคนเป็นเบาหวานประเภทโปรตีนเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง ไข่ นมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว พืชตระกูลถั่ว (เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วพู ถั่วแดง ถั่วเหลือง) โดยผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานได้ในปริมาณที่ไม่ต่างจากคนทั่วไป แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังจากเป็นโรคเบาหวานมาเป็นเวลาหลายปี เช่น โรคไตเรื้องรัง คุณหมออาจแนะนำให้จำกัดการรับประทานโปรตีน เพราะการรับประทานโปรตีนที่มากเกินไปอาจทำให้ความดันภายในไตเพิ่มขึ้น และอาจทำให้ไตทำงานหนักขึ้นเพื่อกรองของเสีย ทั้งยังอาจทำให้เนื้อไตเสียหายจนทำให้อาการแย่ลงได้ ผักและผลไม้ ผักและผลไม้อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี แคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม ทั้งยังมีเส้นใยอาหารสูง จึงเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน อย่างไรก็ตาม ควรเลือกรับประทานผักและผลไม้สดที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index หรือ GI) ต่ำ เพราะจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดได้ช้าและคงที่กว่าผักและผลไม้ที่มีดัชนีน้ำตาลสูง โดยผักและผลไม้ชนิดที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ […]


โรคเบาหวาน

เบาหวาน สาเหตุ อาการ ภาวะแทรกซ้อน และการรักษา

เบาหวาน เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่ง สาเหตุ ของเบาหวานอาจเกิดจากพันธุกรรม อายุ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การติดเชื้อ และโรคอ้วน ดังนั้น การสังเกตตัวเองอย่างสม่ำเสมอและปรับพฤติกรรมประจำวันบางอย่าง อาจช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-bmr] เบาหวาน มี สาเหตุ จากอะไร โดยทั่วไปร่างกายจะมีฮอร์โมนอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตและหลั่งมาจากเบต้าเซลล์ (Beta Cell) ของตับอ่อนคอยทำหน้าที่เผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน จากนั้นจะนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นพลังงาน ทั้งยังช่วยนำน้ำตาลบางส่วนไปเก็บไว้ที่ตับในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) เพื่อรอนำไปใช้เป็นพลังงานในช่วงที่ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ฮอร์โมนอินซูลินมีบทบาทสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป แต่หากอินซูลินไม่สามารถลำเลียงน้ำตาลไปยังเซลล์ได้ตามปกติอย่างต่อเนื่อง จะทำให้มีน้ำตาลสะสมอยู่ในกระแสเลือดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังและเกิดเป็นเบาหวานได้ในที่สุด สาเหตุ ของ เบาหวาน อาจแบ่งตามชนิดของโรคได้ ดังนี้ เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากร่างกายขาดอินซูลินเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเบต้าเซลล์ในตับอ่อน จนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินไปใช้เผาผลาญน้ำตาลเป็นพลังงานให้กับร่างกายได้ตามปกติ ทำให้มีน้ำตาลปริมาณมากสะสมอยู่ในกระแสเลือดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงต้องฉีดยาอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยทั่วไปต้องฉีดยาอินซูลินทุกวัน เบาหวานชนิดที่ […]


โรคเบาหวาน

วิธีลดน้ำตาลในเลือด มีอะไรบ้างที่ควรทำ

วิธีลดน้ำตาลในเลือด อาจทำได้หลายวิธี เช่น ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง วัตถุประสงค์ของการลดระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อช่วยจัดการกับภาวะก่อนเป็นเบาหวานหรือเบาหวาน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพราะหากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนและอันตรายถึงชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] ระดับน้ำตาลในเลือด คืออะไร กลูโคสเป็นน้ำตาลที่ไหลเวียนอยู่ในเลือด ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย หากร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปจะเป็นสัญญาณของโรคเบาหวาน เนื่องจากเกิดความผิดปกติของร่างกายที่ไม่สามารถเปลี่ยนกลูโคสให้เป็นพลังงานได้ จึงทำให้กลูโคสยังคงสะสมอยู่ในเลือดและเพิ่มขึ้น จนพัฒนากลายเป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลก่อนมื้ออาหาร ค่าปกติควรอยู่ระหว่าง 60-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และเพิ่มขึ้นเป็น 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หลังจากมื้ออาหาร หากน้อยกว่าจะเรียกว่า ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือหากมากกว่าเรียกว่า ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งทั้ง 2 ภาวะนี้มักเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังนี้ ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง มักส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และอื่น ๆ ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง เพราะร่างกายพยายามกำจัดน้ำตาลส่วนเกินทำให้ร่างกายอาจสูญเสียน้ำจำนวนมาก และภาวะร่างกายสลายไขมันเป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งอาจนำไปสู่อาการโคม่าจากเบาหวานได้ ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ มักส่งผลกระทบกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รักษาด้วยยา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยอินซูลิน อาจเป็นอันตรายได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและอาจทำให้มีอาการ วิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นแรง ผิวซีด ร่างกายอ่อนแอ และมองเห็นภาพซ้อน สัญญาณของน้ำตาลในเลือดสูง การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้รู้สึกไม่สบาย ซึ่งสัญญาณชองน้ำตาลในเลือดสูง อาจมีดังนี้ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวาน ขึ้น ตา อาการ เป็นอย่างไร ควรดูแลตัวเองอย่างไร

ภาวะเบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy) เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่เกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้หลอดเลือดในจอประสาทตาเสียหาย เบาหวาน ขึ้น ตา อาจมีอาการ ได้แก่ สายตาพร่ามัว ปวดตา ตาแดง การมองเห็นแย่ลงเรื่อย ๆ และหากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจทำให้ตาบอดได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน ขึ้น ตา เกิดจาก อะไร เบาหวานขึ้นตาเกิดเนื่องจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายอย่างเรื้อรัง เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานจะส่งผลเสียต่อจอประสาทตาหรือเรตินา (Retina) เนื่องจากทำให้เส้นเลือดในจอประสาทตาเปราะเสี่ยงต่อการเเตก/รั่วซึม เเละยังอุดตันได้ง่ายทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ ส่งผลให้มีการสร้างเส้นเลือดใหม่ขึ้นมาทดแทน แต่เส้นเลือดใหม่มักจะเปราะไม่เเข็งเเรงและแตกง่าย ทำให้มีเลือด ของเหลว หรือไขมันรั่วซึม เกิดเป็นพังผืดดึงรั้งจอตาจนหลุดลอกออก เเละยังอาจทำให้จอตาบวมน้ำ ซึ่งหากเกิดบริเวณจุดภาพชัด (macular) อาจทำให้มีอาการตามัว การมองเห็นแย่ลง หากปล่อยไว้ ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จอประสาทตาอาจเสื่อมลงเรื่อย ๆ ในกรณีที่รุนแรง อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวรได้ เบาหวาน ขึ้น ตา อาการ เป็นอย่างไร เบาหวานขึ้นตาในระยะเเรก มักจะไม่มีอาการใด ๆ เเสดงให้สังเกตได้ชัดเจน บางรายอาจสังเกตว่าตัวเองมีการมองเห็นที่ผิดปกติไปจากเดิม โดยอาการอาจเป็น ๆ หาย ๆ ขึ้นอยู่กับระดับของน้ำตาลในเลือดในขณะนั้น […]


โรคเบาหวาน

อาหารเสริมสำหรับคนเป็นเบาหวาน มีอะไรบ้าง

อาหารเสริมสำหรับคนเป็นเบาหวาน มักมีส่วนช่วยในการปรับปรุงระดับน้ำตาลในเลือด และลดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมกับเบาหวาน อย่างไรก็ตาม ไม่เเนะนำให้รับประทานอาหารเสริมแทนยารักษาเบาหวาน เพราะอาหารเสริมเหล่านี้เพียงช่วยเสริมให้ร่างกายจัดการกับน้ำตาลได้ดีขึ้นเท่านั้น เเต่ยังคงจำเป็นต้องรับประทานยาเเละปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมร่วมด้วย [embed-health-tool-bmi] อาหารเสริม คืออะไร อาหารเสริม คือ ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วย วิตามิน/แร่ธาตุ กรดอะมิโน รวมถึง สมุนไพร ซึ่งมาจากธรรมชาติ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่อาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โดยอาหารเสริมเหล่านี้จะเสริมคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มเติมแก่ร่างกายได้ เเต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงจำเป็นต้องรับประทานยารักษาเบาหวานเเละปฏิบัติตามคำเเนะนำของคุณหมอ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย อาหารเสริมสำหรับคนเป็นเบาหวาน มีอะไรบ้าง โดยส่วนใหญ่แล้ว อาหารเสริมสําหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน มักมีคุณสมบัติที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลิน  และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเบาหวาน  นอกจากนี้ อาหารเสริมบางชนิด ยังอาจมีคุณสมบัติช่วย ลดความดันโลหิต ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้อีกด้วยซึ่งอาหารเสริมสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน อาจมีดังนี้ กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha Lipoic Acid หรือ ALA) กรดอัลฟาไลโปอิก จัดเป็นสารต้านอนุมูลสระชนิดหนึ่ง มีคุณสมบัติที่อาจช่วยลดอาการที่เกิดจากโรคเส้นประสาทเสื่อมเบาหวาน  ทั้งยังอาจช่วยลดการบวมของจอประสาทตาบวมน้ำจากเบาหวาน ที่หากปล่อยทิ้งไว้ อาจรุนเเรงจนทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ นอกจากนี้ ยังพบว่า กรดอัลฟาไลโปอิกยังอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารได้อีกด้วย อบเชย อบเชยเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง ที่พบว่าอาจช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลิน ลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดระดับคอเลสเตอรอลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร […]


โรคเบาหวาน

แผ่นตรวจน้ำตาล ใช้งานยังไง มีประโยชน์อย่างไร

แผ่น ตรวจ น้ำ ตาล (Test Strips) เป็นแผ่นทดสอบระดับน้ำตาลที่ใช้คู่กับเครื่องวัดระดับน้ำตาล (BGM) เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูเเลตนเองได้ดีขึ้น เนื่องจากการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำจะช่วยให้ทราบได้ว่าอาหาร กิจกรรมทางกาย และยารักษาเบาหวานที่ใช้อยู่ ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดอย่างไรบ้าง [embed-health-tool-bmi] แผ่นตรวจน้ำตาล ใช้งานยังไง มีประโยชน์อย่างไร แผ่น ตรวจ น้ำ ตาล (Test Strips) คือแผ่นทดสอบที่ใช้คู่กับเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด (BGM) ในการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูเเลตนเองได้ดีขึ้น เพราะการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำด้วยตนเอง จะช่วยให้ทราบว่า ในชีวิตประจำวันนั้น อาหาร กิจกรรมที่ทำ และยารักษาเบาหวานที่ใช้อยู่ ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดให้สูง หรือ ต่ำ อย่างไรบ้าง แผ่น ตรวจ น้ํา ตาล คืออะไร แผ่นตรวจน้ําตาล คือ แผ่นทดสอบขนาดเล็กที่ใช้สำหรับเสียบเข้ากับเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด มักใช้กับผู้ป่วยเบาหวานเเละผู้ที่ต้องการ เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในแต่ละวันด้วยตนเอง เพื่อให้ทราบถึงการควบคุมระดับน้ำตาลที่เเท้ของตนในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเป็นการประเมินารรักษาที่ได้รับ ทั้งตัวยา เเละ การปรับพฤติกรรมสุขภาพ และยังมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกในกรณีที่มีน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไปได้ด้วย แผ่น ตรวจ น้ำ ตาลทำงานอย่างไร ที่บริเวณปลายแผ่นตรวจน้ำตาลจะมีสารเคมีเคลือบอยู่ เมื่อดูดซับเลือดเข้าไป จะเกิดปฏิกิริยาเคมี แล้วส่งสัญญาณจากแผ่นตรวจไปยังเครื่องวัดระดับน้ำตาล […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวานลงเท้ารักษาอย่างไร และวิธีดูแลสุขภาพเท้าอย่างเหมาะสม

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาแผลเรื้อรังบริเวณเท้า แผลหายช้า หรือที่มักเรียกว่า ภาวะเบาหวานลงเท้า ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากหลอดเลือดเเละเส้นประสาทส่วนปลายถูกทำลาย จากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาเป็นระยะเวลานาน โดยทั่วไป เบาหวานลงเท้า สามารถป้องกันได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์เป้าหมายอยู่เสมอ ร่วมกับการดูเเลสุขภาพเท้าความ ทำสะอาดของเท้าให้ดี ทาครีมบำรุงเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ลดการเกิดผิวแห้งแตก รวมทั้งการขยับร่างกายบ่อย ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงขาและเท้าได้สะดวกขึ้น [embed-health-tool-bmi] ทั้งนี้ หากผู้ป่วยเบาหวานพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ขาหรือเท้าเปลี่ยนเป็นสีคล้ำเข้มขึ้น เท้าบวม ปวด ชา แผลมีกลิ่นเหม็น หรือ มีหนองอักเสบ ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม เบาหวานลงเท้าเกิดจากอะไร โรคเส้นประสาทที่เกิดจากเบาหวาน (Diabetic neuropathy) หรือที่มักเรียกว่า เบาหวานลงเท้า เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ที่ป่วยเบาหวานที่ไม่ควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีมาเป็นระยะเวลานาน การปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้หลอดเลือดและเส้นประสาทถูกทำลาย ทำให้เลือดไหลเวียนไปที่ขาได้น้อยลง เนื้อเยื่อจึงขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง รวมถึงเส้นประสาทขาดเลือด จึงทำให้การรับความรู้สึกที่เท้าผิดปกติไป จึงทำให้เท้าเป็นแผลได้ง่าย แผลหรือการติดเชื้อหายช้าปกติ จนอาจลุกลามเป็นแผลเนื้อตาย (Gangrene) ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้หรือไม่รับการรักษาที่เหมาะสม อาจจำเป็นต้องตัดนิ้วเท้า เท้า หรือขาส่วนที่มีเนื้อตายออก เพื่อป้องกันมิให้เนื้อตายลุกลามไปยังบริเวณข้างเคียง ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรใส่ใจสุขภาพเท้าของตัวเองอยู่เสมอ อาการเบาหวานลงเท้า อาการเบาหวานลงเท้า อาจมีดังนี้ ผิวหนังบริเวณเท้ามีสีคล้ำขึ้น มีอาการปวดแสบปวดร้อน ที่เท้า รู้สึกชา ปวดแปลบเหมือนมีเข็มทิ่ม ขนที่เท้า/ขา […]


โรคเบาหวาน

น้ำตาลตก หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดจากอะไร สังเกตยังไง

น้ำตาลตก หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งอาจทำให้มีอาการเเสดง เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นแรง ตัวสั่น เหงื่อออกมาก รู้สึกหิวหรือโหยผิดปกติ โดยการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสามารถเเก้ไข้ได้ด้วยรับประทานคาร์โบไฮเดรตชนิดดูดซึมเร็ว เช่น น้ำตาล น้ำหวาน ลูกอม ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างรวดเร็ว แต่หากเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลต่ำเเล้วไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีอาจทำให้เกิดอาการรุนเเรง ได้เเก่ ชัก หมดสติ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] น้ำตาลตก คืออะไร อาการน้ำตาลตก คือ ภาวะที่ร่างกายของผู้ที่เป็นเบาหวาน มีระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือ 3.9 มิลลิโมล/ลิตร แม้ว่าตามปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดจะมีการเปลี่ยนเเปลงตลอดตามปริมาณกลูโคสในอาหารที่รับประทาน แต่หากมีภาวะน้ำตาลต่ำอย่างฉับพลันก็จะทำให้เกิดอาการผิดปกติตามมาได้ น้ำตาลตกเกิดจากอะไร โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการน้ำตาลตกมักเกิดขึ้นเมื่อการใช้ยาลดระดับน้ำตาลไม่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด อาทิเช่น ผู้ป่วยรับอินซูลินหรือยารักษาเบาหวานในปริมาณมากเกินไป การรับประทานอาหารน้อยลง หรือ ไม่ตรงเวลา รวมถึงการออกกำลังกายที่หักโหมมากกว่าปกติ ก็ล้วนส่งผลให้น้ำตาลตกได้ ทั้งนี้ อาการน้ำตาลตกอาจเกิดขึ้นในผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานได้เช่นกัน เเต่จะพบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาควินิน (Qualaquin) เพื่อรักษาโรคมาลาเรีย การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป มีเนื้องอกที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ภาวะพร่อมงฮอร์โมนบางชนิด รวมไปถึงภาวะเจ็บป่วยบางประการ เช่น […]

advertisement iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม