โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

10 อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือ ภาวะเรื้อรังที่ผู้ที่เป็นโรคจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ส่งผลกระทบต่อนำน้ำตาลน้ำตาลซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายไปเผาผลาญเป็นพลังงาน หากเป็นเบาหวานแล้วควบคุมได้ไม่ดี ร่างกายจะไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลให้เป็นพลังงานได้ดีเท่าที่ควร จึงส่งผลทำให้เกิดอาการผิดปกติตามมา ซึ่งหลาย ๆ ท่าน อาจอยากทราบว่า อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีอะไรบ้าง เพื่อจะได้สังเกตตัวเองและสามารถรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตาม การดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอ ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ จะช่วยป้องกันโรคเบาหวานหรือบรรเทาอาการของโรคที่เกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-bmr] 10 อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีความคล้ายคลึงกันอยู่หลายอาการ ดังนี้ หิวและเหนื่อยล้ามากกว่าปกติ เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากจนถึงระดับหนึ่ง ตับอ่อนเผลิตอาจทำงานบกพร่องกลับผลิตอินซูลินได้น้อยลง ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนหลักที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายนำน้ำตาลเข้าไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงาน เมื่อร่างกายได้รับพลังงานไม่เพียงพอ จึงส่งผลให้อาการหิวบ่อยและเหนื่อยล้ามากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อยและกระหายน้ำ เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ ส่งผลทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น และทำให้รู้สึกกระหายน้ำบ่อยขึ้นตามไปด้วย เพื่อให้ดื่มน้ำมาทดแทนน้ำที่สูญเสียไปจากปัสสาวะ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงานได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ร่างกายขาดพลังงานจนจำเป็นต้องเปลี่ยนมาเผาผลาญไขมันและกล้ามเนื้อเพื่อใช้เป็นพลังงานแทน ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี มีน้ำหนักตัวลดลงแม้จะรู้สึกหิวบ่อย และไม่ได้ควบคุมอาหาร ตาพร่ามัว เนื่องจากเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลให้ความเข้มข้นของสารน้ำและของเหลวในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ในเลนส์ตาจะมีส่วนที่เป็นของเหลวอยู่เช่นกัน จึงอาจทำให้เลนส์ตาบวมและเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และส่งผลกระทบต่อการมองเห็น แผลหายช้าและติดเชื้อง่าย เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้ประสิทธิภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาวในการจัดการกับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมบกพร่องไป อีกทั้งน้ำตาลที่สูงขึ้นยังเป็นแหล่งอาหารของเชื้อรา […]


โรคเบาหวาน

DTX คือ การวัดระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว มีประโยชน์อย่างไร

DTX คือ การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในกระเเสเลือดโดยการเจาะเลือดปลายนิ้ว ซึ่งสามารถใช้ในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเบื้องต้น โดยสามารถทำการตรวจได้เองที่บ้าน เนื่องจากมีวิธีการตรวจที่ไม่ซับซ้อน เพียงเจาะเลือดที่ปลายนิ้วแล้วหยดเลือดที่แถบทดสอบของเครื่องตรวจจากนั้นผลเลือดจะเเสดงที่จอของเครื่อง หากทำการตรวจโดยอดอาหารมาเเล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมงเเล้วมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน เเต่อย่างไรก็ตามเเนะนำให้ทำการตรวจยืนยันที่โรงพยาบาลอีกครั้ง ซึ่งหากทราบว่าเริ่มมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือเริ่มเป็นเบาหวานเเล้ว การเข้ารับการรักษาเเละการปรับพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่เกณฑ์เป้าหมายและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmi] DTX คือ อะไร Dextrostix หรือ DTX คือ การตรวจวัดระดับน้ำตาลกลูโคส (Glucose)ในกระเเสเลือดโดยการเจาะเลือดปลายนิ้ว โดยทั่วไปจะเเปลผลในหน่วย มิลลิกรัม/เดซิลิตร (Milligram/Deciliter หรือ mg/dL) หมายถึง ปริมาณของน้ำตาลของกลูโคสต่อเลือด 1 ลูกบาศก์เ                   ดซิลิตร การตรวจน้ำตาล DTX สามารถใช้คัดกรองโรคเบาหวานเบื้องต้นได้ ซึ่งโรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน อินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่หลักในการควบคุมระดับน้ำตาลในกระเเสเลือด ซึ่งจะกระตุ้นให้เซลล์นำน้ำตาลลำกลูโคสไปใช้เปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ หากร่างกายผลิตอินซูลินได้น้อยเกินไป หรือเซลล์ต่าง ๆ ไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างเหมาะสม จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ […]


โรคเบาหวาน

ยา ทา แผล เบาหวาน มีอะไรบ้าง และควรดูแลแผลเบาหวานอย่างไร

ยา ทา แผล เบาหวาน คือยาสำหรับรักษาแผลทั่วไปที่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาหรือตามที่คุณแนะนำ ใช้เพื่อรักษาแผล ฆ่าเชื้อโรค กระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ ซึ่งมีส่วนช่วยให้แผลสมานตัวได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรทำความสะอาดแผลให้ดีและไปพบคุณหมอตามนัดเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม ป้องกันการติดเชื้อ มิให้แผลลุกลาม และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น [embed-health-tool-bmi] ยา ทา แผล เบาหวาน มีอะไรบ้าง ยาทาแผลเบาหวานเป็นยาที่ใช้ทาในบริเวณแผลอาจเพื่อรักษาแผล ฆ่าเชื้อ ช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิวหนังขึ้นมาใหม่ให้แผลสมานเร็วขึ้น โดยทั่วหากขนาดแผลไม่ใหญ่และไม่ลึกนัก สามารถปฐมพยาบาลหรือทำแผลเบาหวานได้เบื้องต้นเอง ด้วยการใช้ยาสำหรับทาแผลตามร้านขายยาหรือตามที่คุณหมอแนะนำ เช่น น้ำเกลือทางการแพทย์ ใช้สำหรับล้างทำความสะอาดบริเวณแผล เพื่อขจัดสิ่งสกปรกและเชื้อโรคภายในแผล ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อโณค เป็นยาใช้ภายนอกสำหรับฆ่าเชื้อที่บริเวณแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจรุนแรงจนนำไปสู่การตัดแขนขาเนื่องจากแผลเน่าจนเนื้อตาย ในบางกรณีคุณหมออาจจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะผ่านทางเส้นเลือดดำ เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น เช่น มีการติดเชื้อแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียงหรือลึกจนถึงกระดูก  โกรทแฟคเตอร์ (Growth Factor) เป็นอาหารของเซลล์ซึ่งอาจช่วยกกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ร่างกายโดยเฉพาะ ซึ่งอาจช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของผิวหนัง เส้นใยโปรตีน คอลลาเจน ทำให้แผลสมานตัวและหายเร็วขึ้น ผลิตภัณฑ์เสมือนผิวหนัง (Skin Substitutes) เป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ใช้สำหรับการรักษาแผล มีคุณสมบัติช่วยเสริมเนื้อผิวหนังที่สูญเสียไป กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น จึงนับว่าเป็นการป้องกันการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย วิธีรักษาแผลเบาหวาน สามารถทำได้อย่างไร วิธีรักษาแผลเบาหวานควบคู่ไปกับการใช้ยาทาแผลที่อาจช่วยรักษาให้แผลหายได้เร็วและป้องกันการติดเชื้อรุนแรง มีดังนี้ ทำความสะอาดแผลทุกวัน ด้วยน้ำเกลือทางการแพทย์ เว้นแต่คุณหมอจะแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดแผลอื่น ๆ […]


โรคเบาหวาน

การตรวจหาโรคเบาหวานนั้นแพทย์นิยมตรวจวินิจฉัยจากสิ่งใด

สำหรับผู้ที่ให้ความสนใจเรื่องสุขภาพ อาจมีข้อสงสัยว่า การตรวจหาโรคเบาหวานนั้นสามารถตรวจวินิจฉัยจากสิ่งใด เพื่อให้ทราบว่าถึงระดับน้ำตาลในเลือดว่าเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวานหรือต้องรับได้รับการรักษาหรือไม่ ซึ่งการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดมีหลายวิธี ซึ่งคุณหมออาจเเนะนำตามความเหมาะสมของผู้ป่วยเเต่ละราย [embed-health-tool-vaccination-tool] การตรวจหาโรคเบาหวานนั้นแพทย์นิยมตรวจวินิจฉัยจากสิ่งใด อาการของโรคเบาหวาน เช่น กระหายน้ำมากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ตาพร่ามัว แผลหายช้า ติดเชื้อง่าย คุณหมอจะเเนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองหาโรคเบาหวาน หากพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงถึงเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะสามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตามผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดคัดกรองโรคเบาหวาน เเม้จะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ มีดังนี้ มีดัชนีมวลกายสูงกว่า 25  ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน เช่น คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอรอลไม่ปกติ การมีวิถีชีวิตที่ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย มีประวัติโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบหรือโรคหัวใจ ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หากผลตรวจเป็นปกติควรตรวจทุก ๆ 3 ปีหลังจากนั้น ผู้หญิงที่เคยมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์  ผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน ควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุก ๆ 6 เดือน - 1 ปี การวินิจฉัยโรคเบาหวานทำได้อย่างไร การวินิจฉัยโรคเบาหวานอาจทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคเบาหวานและความเหมาะสมซึ่งมีวิธีการตรวจ ดังนี้ การวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 และภาวะก่อนเป็นเบาหวาน การตรวจฮีโมโกลบิน […]


โรคเบาหวาน

การวัด น้ำตาลในเลือด หลังอาหาร ควรตรวจช่วงเวลาไหนบ้าง และทำได้อย่างไร

การตรวจน้ำตาลในเลือด หลังมื้ออาหาร มีความสำคัญและเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากควรมีน้ำตาลหลังมื้ออาหารไม่เกิน 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เพื่อควบคุมในระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีอยู่เสมอ เพื่อเป็นการป้องกันความรุนแรงของโรคและป้องกันความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] น้ำตาลในเลือดควรตรวจเวลาไหนบ้าง การตรวจน้ำตาลในเลือดมีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากการตรวจจะช่วยให้ทราบถึงระดับน้ำตาลในเลือดขณะนั้น ๆ ซึ่งมีส่วนทำให้ควบคุมการเลือกรับประทานอาหารได้เหมาะสมมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นตัวบอกถึงผลการรักษาเบาหวานว่ายาที่ใช้สามารถออกฤทธิ์ได้ดีเพียงพอหรือไม่ และยังเป็นใช้ติดตามความคืบหน้าของการควบคุมโรคเบาหวานได้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีช่วยลดความเสี่ยงในการกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เวลาที่แนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้แก่ ช่วงเวลาก่อนอาหารเช้าตั้งแต่ตื่นนอน ก่อนมื้ออาหารทุกมื้อ และ หลังแต่ละมื้ออาหารประมาณ 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ สามารถตรวจเพิ่มได้ในช่วงเวลาก่อนนอนหรือเมื่อมีกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากกว่าปกติเช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา อาจตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทั้งก่อนและหลัง เพื่อเช็คระดับน้ำตาลในเลือดว่าไม่ต่ำจนเกินไปซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ด อย่างไรก็ตาม ความถี่ของการวัดระดับน้ำตาลในเลือดแตกต่างกันในแต่ละราย ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคเบาหวาน การรักษาด้วยยารับประทานหรือยาฉีดอินซูลิน โรคร่วมและความถี่ของการเกิดภาวะในเลือดต่ำ รวมไปถึงการควบคุมโรคในผู้ป่วยแต่ละบุคคล การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หลังอาหาร ดีอย่างไร ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรมีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารระหว่าง 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารไม่ควรมากกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ทั่งนี้เพื่อควบคุมไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากเกินไปจนเพิ่มความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น สำหรับการตรวจระดับน้ำตาลหลังมื้ออาหารจะแนะนำให้ตรวจเลือดหลังเริ่มรับประทานอาหารไปแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งจะเป็นเวลาที่อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตถูกย่อยเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว โดยทั่วไปอาจแนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคเบาหวาน วัดน้ำตาลในเลือดหลังอาหารประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อรอให้คาร์โบไฮเดรตย่อยและเปลี่ยนเป็นน้ำตาล ซึ่งอาจช่วยให้วัดระดับน้ำตาลหลังอาหารได้แม่นยำขึ้น การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หลังอาหาร ทำอย่างไร การตรวจน้ำตาลในเลือดหลังอาหารมีวิธีทำที่เหมือนกับการตรวจในช่องเวลาอื่น ๆ ซึ่งอาจทำได้ ดังนี้ […]


โรคเบาหวาน

ค่าเบาหวานคนท้องปกติ ควรเป็นอย่างไร และวิธีการดูแลตัวเอง

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจทำให้คุณแม่หลาย ๆ คนกังวลเกี่ยวกับภาวะนี้ จึงอาจมีคำถามว่า ค่าเบาหวานคนท้องปกติ ควรอยู่ในระดับใด เพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น การดูแลตัวเองให้ดีและควบคุมรวมไปถึงเลือกรับประทานอาหารในระหว่างตั้งครรภ์ให้เหมาะสม จึงเป็นวิธีที่จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ได้ [embed-health-tool-bmi] ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คืออะไร เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ โรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในขณะตั้งท้อง เกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ ส่งผลต่อสมดุลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด กล่าวคือ ร่างกายมีฮอร์โมนที่มีฤทธิ์ต้านกับอินซูลินมากขึ้น จึงทำให้คุณแม่บางรายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง นำไปสู่ภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบางประการที่ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เช่น กรรมพันธุ์ มีภาวะก่อนเบาหวาน/ระดับน้ำตาลเกินเกณฑ์ เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในการตั้งท้องครั้งก่อน ๆ มีภาวะน้ำหนักเกิน/โรคอ้วน ทั้งนี้ระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อการสุขภาพของคุฯแม่และสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ ค่าเบาหวานคนท้องปกติ ควรมีค่าเท่าไหร่ สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ระดับน้ำตาลในเลือดเป้าหมายในระหว่างตั้งครรภ์ มีดังนี้ ก่อนรับประทานอาหาร ควรมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 60 - 95 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือน้อยกว่า 1 ชั่วโมงหลังอาหาร ควรมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่เกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  2 ชั่วโมงหลังอาหาร ควรมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่เกิน 120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเป้าหมายจำเป็นต้องวางแผนการเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รวมทั้งการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ คุณแม่ที่เป็นเบาหวานควรดูแลตัวเองอย่างไรระหว่างตั้งครรภ์ สำหรับคุณแม่ที่เป็นเบาหวานสามารถดูแลตนเองเบื้องต้นด้วยวิธีต่อไปนี้ เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในขณะตั้งครรภ์ ควบคุมและวางแผนการรับประทานอาหารให้เหมาะสมและหลากหลาย เน้นรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง ไขมันและแคลอรี่ต่ำ […]


โรคเบาหวาน

เบาหวานกินอะไรได้บ้าง และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง หลายคนจึงอาจมีคำถามว่า เป็น เบาหวานแล้วสามารถกินอะไรได้บ้าง เพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานอาหารได้เกือบทุกชนิด แต่อาจต้องพิถีพิถันในการเลือกอาหารและกำหนดปริมาณที่รับประทานให้เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ผู้ป่วย เบาหวานกินอะไรได้บ้าง ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้นได้ง่าย คุณหมอจึงมักแนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานดูแลเรื่องการรับประทานอาหารเป็นพิเศษ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม และป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจตามมา โดยปกติผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานอาหารได้เกือบทุกชนิด เพียงแต่ต้องเลือกชนิดของอาหารและควบคุมปริมาณอาหารให้เหมาะสม ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรตแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย มักพบในอาหารจำพวกข้าว แป้ง และ น้ำตาล ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้ว จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น คาร์โบไฮเดรตที่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานเลือกรับประทานจะเน้นเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ ข้างกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวโอ๊ต ควินัว ขนมปังโฮลวีท ธัญพืชไม่ขัดสี เมล็ดพืช เพราะคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนจะมีสัดส่วนน้ำตาลน้อยกว่า แต่อุดมไปด้วยใยอาหารสูง ซึ่งมีส่วนช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลได้ สัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานในแต่ละมื้อ ควรประมาณไม่เกิน1 ใน 4 ของอาหารทั้งหมด โปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์มาก เป็นแหล่งพลังงาน ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ผู้ที่เป็นเบาหวานควรเลือกรับประทานโปรตีนทีมีคุณภาพดี เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน/หนัง เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ ไข่ โปรตีนจากพืชตระกูลถั่ว เช่น เต้าหู้ และควรหลีกเลี่ยงโปรตีนที่มีไขมันอิ่มตัวร่วมด้วย ได้แก่ เนื้อแดง […]


โรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือด140 อันตรายหรือไม่ และควรดูแลตัวเองอย่างไร

เกณฑ์ระดับน้ำตาลในเลือดที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคเบาหวาน คือ สูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไปหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง หากมีระดับ น้ำตาลในเลือด140 มิลลิกรัม/เดซิลิตรหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง ถือว่าเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน ควรได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ ควบคู่ไปกับดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี เช่น การเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานยารักษาระดับน้ำตาลในเลือด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา [embed-health-tool-bmi] น้ำตาลในเลือด ปกติ เท่าไหร่ ระดับน้ำตาลในเลือดหากตรวจหลังจากอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ปกติมีค่าไม่เกิน99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งเป็นระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและไม่เป็นอันตรายการทำงานของระบบต่าง ๆในร่างกย และอาจแปลผลได้ว่ากระบวนการของเซลล์ในการนำน้ำตาลไปใช้เปลียนเป็นพลังงานยังคงมีประสิทธิภาพดีอยู่ ทั้งนี้ หากตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงแล้วพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่า มีภาวะก่อนเบาหวานหรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน (Prediabetes) หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม อาจนำไปสู่โรคเบาหวานได้ในอนาคต นอกจากนี้ หากมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป หรือตรวจระดับน้ำตาลแบบสุ่ม (Random Blood Sugar Test) แล้วมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน (Diabetes) ที่จำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

อาการ โรค เบาหวาน ระยะสุดท้าย เป็นอย่างไร

อาการ โรค เบาหวาน ระยะสุดท้าย หรือภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้เป็นเวลานานหลายปี ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรหมั่นดูแลสุขภาพตัวเองอยู่เสมอ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลิกสูบบุหรี่ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อรักษาให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์เป้าหมายและป้องกันอันจะป้องกันมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ [embed-health-tool-bmi] อาการ โรค เบาหวาน ระยะสุดท้าย โดยทั่วไปแล้ว อาการโรคเบาหวานระยะสุดท้าย มักหมายถึงอาการที่เป็นผลมาจากภาวะเเทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้อย่างเรื้อรัง ซึ่งอาจเป็นเวลานานตั้งแต่ 5 -20 ปีขึ้นไป จนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากเส้นเลือดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเสียหายหรือเสื่อมสภาพลง ซึ่งกลายเป็นภาวะสุขภาพระยะยาวที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาการโรคเบาหวานระยะสุดท้าย หรือภาวะเเทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวานที่อาจพบได้ มีดังนี้ ปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular problems) ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานไม่ดี มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง มักมีภาวะสุขภาพร่วมอื่น ๆด้วย เช่น ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ซึ่งล้วนส่งผลให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพ เนื่องจากเกิดการสะสมของไขมันทีผนังหลอดเลือด ผนังหลอดเลือดหัวใจจึงหนาตัว ส่งผลให้หลอดเลือดตีบแคบลง ส่งผลให้เลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ไม่เต็มที่ นอกจากหลอดเลือดหัวใจเเล้วยังสามารถเกิดความเสื่อมกับหลอดเลือดสมอง เเละ หลอดเลือดส่วนปลายได้เช่นเดียวกัน ปัญหาเกี่ยวกับไต (Kidney problems) หรือโรคไต (Nephropathy) เมื่อไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นระยะเวลานาน ทั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเเละความดันโลหิตสูง(ที่มักพบร่วมกัน) จะส่งผลให้หลอดเลือดฝอยในไตเสื่อมสภาพลง หรือที่มักเรียกว่า ภาวะเบาหวานลงไต เมื่อไตจะเสื่อมสภาพ […]


โรคเบาหวาน

สาเหตุของโรคเบาหวาน อาการ และวิธีการดูแลตัวเอง

โรคเบาหวาน คือ โรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึงมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ( มากกว่า 126 มิลลิกรัม / เดซิลิตร หากตรวจเลือดเเบบอดอาหาร)  ในปัจจุบัน โรคเบาหวานนับเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมเพื่อช่วยให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นและลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้ ดังนั้น จึงควรสังเกตอาการเบื้องต้นและเข้ารับการวินิจฉัยเพื่อหา สาเหตุของโรคเบาหวาน และรับการรักษาได้อย่างเหมาะสม สาเหตุของโรคเบาหวาน โรคเบาหวาน อาจแบ่งคร่าว ๆ ออกเป็น 3 ประเภท ได้ดังต่อไปนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 มีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สร้างภูมิขึ้นมาไปทำลายเซลล์ของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน จึงทำให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่หลักช่วยกระตุ้นให้เซลล์นำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดเข้าไปใช้เผาผลาญให้เป็นพลังงาน ดังนั้นเมื่อมีอินซูลินไม่เพียงพอ  จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในที่สุด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีสาเหตุมาจากร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งคือภาวะที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เเม้จะมีฮอร์โมนอินซูลินเพียงพอในร่างกาย เเต่เซลล์ก็ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เผาผลาญได้อย่างเหมาะสม จนนำไปสู่การเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนเอชพีแอล (Human Placental Lactogen หรือ HPL) จากรก ที่จะหลั่งเพิ่มมากขึ้นตามอายุครรภ์ ออกฤทธิ์ต้านกับอินซูลิน จึงทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินขึ้น ส่งผลให้คุณเเม่บางรายมีระดับน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมักจะพบเมื่ออายุครรภ์ 24-28 […]

advertisement iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม