คาร์ดิโอและความทนทาน

การออกกำลังกายทุกวันจะช่วยให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง เมื่อหัวใจดี สุขภาพโดยรวมก็ดีด้วย สำหรับใครที่กำลังมองหา วิธีออกกำลังกายที่เน้นด้าน คาร์ดิโอและความทนทาน ของร่างกาย มาที่นี่ไม่ผิดหวังแน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

คาร์ดิโอและความทนทาน

ออกกำลังกายแบบแอโรบิค กับ แอนแอโรบิค อย่างไหนช่วยลดน้ำหนักได้ดีกว่ากัน

การ ออกกำลังกายแบบแอโรบิค กับ แอนแอโรบิค ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้ผู้ออกกำลังกายมีสุขภาพดี และมีประโยชน์ช่วยในการลดน้ำหนักด้วย แต่ถ้าจะถามว่าแล้วแบบไหนช่วยลดน้ำหนักได้ดีกว่ากัน บทความนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากคุณผู้อ่านแล้วค่ะ แอโรบิค คืออะไร การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic) คือ การออกกำลังกายที่ร่างกายมีการใช้ออกซิเจน โดยเน้นความสำคัญไปที่การหายใจเข้าออก เพื่อให้หัวใจและหลอดเลือดเกิดการสูบฉีด สามารถส่งต่อออกซิเจนไปใช้เป็นพลังงานตลอดการออกกำลังกาย กิจกรรมแบบแอโรบิค เช่น การว่ายน้ำ การวิ่ง การปั่นจักรยาน การกระโดดเชือก หรือการเดิน การออกกำลังกายแบบแอโรบิค มีส่วนช่วยให้สุขภาพดี เช่น ช่วยป้องกันโรคหัวใจ เพราะการออกกำลังกายแบบแอโรบิค จะกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ปอด หลอดเลือดให้แข็งแรง จึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้ ช่วยลดน้ำหนัก การออกกำลังกายแบบแอโรบิค จะช่วยในการเผาผลาญแคลอรี่ ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ช่วยเพิ่มสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด อินซูลิน (Insulin) ทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อออกกำลังกายแบบแอโรบิค ร่างกายจะสามารถผลิตอินซูลินได้ไวขึ้น แต่ร่างกายจะใช้อินซูลินน้อยลง ส่วนกล้ามเนื้อจะใช้ กลูโคส (Glucose) จากเลือดมาเป็นพลังงาน จึงมีส่วนช่วยควบคุมไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนเกินไป ช่วยป้องกันความเสี่ยงของโรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง การออกกำลังกายแบบแอโรบิคมีส่วนช่วยทำให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดแข็งแรง จึงมีส่วนช่วยลดโอกาสในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยเรื่องของการเคลื่อนไหว การออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นประจำ จะช่วยให้สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระและมั่นคง ไม่ลื่นหกล้มหรือเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย แอนแอโรบิค คืออะไร การออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิค  (Anaerobic)คือ […]

สำรวจ คาร์ดิโอและความทนทาน

คาร์ดิโอและความทนทาน

เด็กออกกำลังกาย ได้ประโยชน์สุขภาพอย่างไรบ้าง

ถ้าพูดถึงการออกกำลังกาย เราคงนึกภาพเป็นการออกกำลังกายในสวนสาธารณะ การวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้า ไม่ก็การเล่นกีฬา แต่การออกกำลังกายสำหรับเด็กอาจแตกต่างจากผู้ใหญ่เล็กน้อย เพราะเวลาที่ เด็กออกกำลังกาย จะหมายถึงการทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย รวมถึงการเล่นของเด็กด้วย เช่น เวลาที่เด็กๆ เรียนวิชาพละ และวิ่งเล่นหรือปั่นจักรยานกับเพื่อน ๆ ซึ่งประโยชน์ของการออกกำลังกายต่อสุขภาพของเด็ก มีดังต่อไปนี้ เด็กออกกำลังกาย มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร ช่วยให้หัวใจแข็งแรง กล้ามเนื้อหัวใจก็เหมือนกับกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย ที่การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นได้ เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงก็จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โดยกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์แห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Health and Human Services) ให้ข้อมูลว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ แม้แต่ในวัยเด็กก็ตาม ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น การออกกำลังกายช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือด และเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผนังหลอดเลือด รวมถึงช่วยลดความดันโลหิตด้วย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมองที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด การออกกำลังกายช่วยป้องกันไม่ให้น้ำตาลสะสมในเลือด โดยการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อรับกลูโคสจากกระแสเลือดมากขึ้น และนำกลูโคสมาใช้เป็นพลังงาน ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้ ช่วยควบคุมน้ำหนัก หากเด็กไม่ได้ขยับร่างกายและกินอาหารในปริมาณมาก จะทำให้ร่างกายสะสมแคลอรี่ส่วนเกินไว้ในเซลล์ไขมัน แต่เมื่อเด็ก ๆ ออกกำลังกายเป็นประจำ ก็จะทำให้ร่างกายได้ใช้แคลอรี่มากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพิ่มความทนทาน ความแข็งแรง และความยืดหยุ่น การออกกำลังกายมักจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ความทนทาน ความแข็งแรง และความยืดหยุ่น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กออกกำลังกายหลาย […]


คาร์ดิโอและความทนทาน

ประโยชน์ของการ ออกกำลังกายแบบ HIIT (High-Intensity Interval Training)

หากคุณไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย บางทีการ ออกกำลังกายแบบ HIIT หรือ High-Intensity Interval Training ซึ่งเป็นการออกกำลังกายแบบความเข้มข้นสูงอาจเหมาะกับคุณ เพราะการออกกำลังกายแบบ High-Intensity Interval Training ไม่ใช่แค่ใช้เวลาน้อยลง แต่ยังมีประโยชน์สุขภาพอีกมากมายด้วย การ ออกกำลังกายแบบ HIIT คืออะไร HIIT หรือ high-intensity interval training เป็นการออกกำลังกายแบบความเข้มข้นสูง โดยจะออกกำลังกายแบบหนักเบาสลับกันเป็นช่วง ๆ ในช่วงที่ออกกำลังกายอย่างหนักจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงถึง 85-90% ส่วนช่วงที่ออกกำลังกายเบา ๆ คือการพักเพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง โดยจะออกกำลังกายหนักเบาสลับกันไปจนครบเวลาที่กำหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 10-30 นาที ตัวอย่างการออกกำลังกายรูปแบบนี้ เช่น คุณปั่นจักรยานด้วยเครื่องปั่นจักรยานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นเวลา 30 วินาที จากนั้นค่อยลดความเร็วลงมาปั่นจักรยานช้า ๆ ประมาณ 2-3 นาที และทำแบบนี้สลับกันไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังมีการออกกำลังกายแบบอื่น ดังนี้ ทาบาตา เทรนนิ่ง (Tabata training) วิ่ง เดินเร็ว เดินขึ้นเขา เดินขึ้นบันได กระโดดเชือก พลายโอเมตริก (Plyometric) การออกกำลังกายแบบความเข้มข้นสูง เช่น การออกกำลังกายแบบ High-Intensity […]


คาร์ดิโอและความทนทาน

การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ทำอ้วนลงพุงจริงหรือ

การปั้นหุ่นให้ฟิตแอนด์เฟิร์ม เพื่อจะได้มีหุ่นสวยต้อนรับปีใหม่และช่วงซัมเมอร์ ถือเป็นปฏิธานที่ใครหลายคนตั้งเอาไว้ว่าต้องทำให้สำเร็จ และวิธีการเบิร์นไขมันที่หลายๆ คนเลือกคือ การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ หรือที่เรียกว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น ปั่นจักรยาน เดิน วิ่ง เดินเร็ว ตีเทนนิส ออกกำลังกายแบบฮิต (HIIT) แต่บางคนอาจพบปัญหา ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอนานๆ ไป ร่างกายกลับเผาผลาญไขมันได้น้อยลง แถมยังลงพุงด้วย เรื่องนี้เป็นเพราะอะไร Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้แล้ว การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ทำให้อ้วนขึ้น? จริงๆ แล้ว การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอไม่ได้ทำให้คุณอ้วนขึ้น แต่การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอจะสร้างผลกระทบเชิงลบให้กับระดับคอร์ติซอล หรือระดับฮอร์โมนความเครียดที่มีคุณสมบัติในการสร้างและสลายโมเลกุลสารอาหาร จึงไม่เป็นผลดีต่อใครก็ตามที่ต้องการรักษาหุ่น หลายคนยังไม่เข้าใจเรื่องการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ในแง่ของผลต่อกระบวนการเผาผลาญในร่างกายหรือเมตาบอลิซึม และระดับฮอร์โมน หากคุณเลือกการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอผิดประเภท ก็อาจทำให้ระดับคอร์ติซอลเพิ่มขึ้นได้ ทำให้ร่างกายกักเก็บไขมันไว้เพิ่มขึ้น แทนที่จะเผาผลาญไขมันอย่างที่คุณต้องการให้เป็น ระดับคอร์ติซอลที่เพิ่มขึ้นจะไปเพิ่มระดับไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) ซึ่งเป็นไขมันที่เกาะอยู่ตามบริเวณระหว่างกล้ามเนื้อท้องกับอวัยวะภายในช่องท้อง หรือที่เรียกว่าพุง และทำให้ร่างกายเกิดการอาการปวดและอักเสบ ยิ่งไปกว่านั้น ไขมันในช่องท้องจะหลั่งสารเคมีที่ชื่อว่า อะดิโพไคน์ (adipokines) ที่ทำให้กล้ามเนื้อแยกตัวออกและสร้างไขมันที่พุงขึ้นมามากขึ้น นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมไขมันที่พุงจึงเป็นไขมันที่กำจัดได้ยากมาก ๆ “การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอต่อเนื่องนาน ๆ” ไม่ได้เป็นตัวทำลายเพราะคอร์ติซอลเท่านั้น เพราะคอร์ติซอลจะถูกผลิตขึ้นมาเมื่อร่างกายของเราเครียด แต่เป็นเพราะการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโออย่างต่อเนื่องไม่ได้กระตุ้นปฏิกิริยาฮอร์โมนแอนาบอลิกเพื่อทำปฏิกิริยากับกระบวนการคาตาบอลิกของคอร์ติซอล ตัวอย่างเช่น ขณะที่คุณกำลังยกเวทหรือสปรินท์ ความเครียดจะเพิ่มขึ้น และร่างกายก็จะผลิตคอร์ติซอลออกมา […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
expert badge medical

ฟิล เคลลี

วิทยาศาสตร์การกีฬา • KiwiFitness: Body Expert Systems

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม