backup og meta

ใครเป็น โรคกลัวแมงมุม ฟังทางนี้ วิธีเหล่านี้อาจช่วยจัดการกับอาการกลัวแมงมุมได้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ใครเป็น โรคกลัวแมงมุม ฟังทางนี้ วิธีเหล่านี้อาจช่วยจัดการกับอาการกลัวแมงมุมได้

    แมงมุม เป็นสัตว์ที่หลายๆ คนอาจจะไม่ชอบ หรืออาจถึงขั้นเป็น โรคกลัวแมงมุม เลยก็มี ซึ่งเมื่อเห็นแมงมุม ทั้งตัวจริงหรือเห็นจากภาพก็เกิดอาการกลัวขึ้นมาทันที บางครั้งอาจใจเต้นตุบตับ ตัวสั่นอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจัดการกับโรคกลัวแมงมุมมาฝาก

    โรคกลัวแมงมุม มีอาการอย่างไร

    โรคกลัวแมงมุม (Arachnophobia) เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีอาการหวาดกลัวแมงมุมอย่างรุนแรง ถึงแม้ว่าการไม่ชอบแมงมุม จะไม่ใช่เรื่องแปลก แต่สำหรับผู้เป็นโรคกลัวแมงมุม นั้นนอกจากความกลัวยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างมีนัยยะสำคัญ นอกจากนี้ยังมี โรคกลัว (Phobias) อย่างอื่นอีกมายมาย เช่น กลัวความสูง กลัวรู กลัวงู กลัวทะเล เป็นต้น โฟเบีย เป็นโรคที่ทำให้คุณมีความรู้สึกว่า สิ่งที่กลัวนั้นคุกคามชีวิตของคุณ โฟเบียนั้นสามารถส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ แต่หากรู้ว่าตนเองเป็นโรคกลัวอะไร ก็สามารถหลีกเลี่ยงที่จะเจอกับสิ่งนั้น เพื่อการดำรงชีวิต

    อาการของโฟเบียโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นเมื่อ ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว สำหรับโรคกลัวแมงมุม นั้นก็มีอาการคล้ายๆ กับโฟเบียอื่นๆ คือเมื่อคุณเห็นแมงมุม ไม่ว่าจะเป็นรูปแมงมุม แมงมุมของเล่น แมงมุมจริงๆ บางครั้งแค่นึกถึงอาการกลัวนั้นก็จะกำเริบได้ เมื่อคุณเจอแมงมุมแม้ว่ามันจะตัวเล็กมากๆ คุณก็จะมองว่าแมงมุมนั้นตัวใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้ นอกจากนี้อาการกลัวนั้นยังอาจแสดงออกมาทางกายภาพได้ด้วย อาการโดยทั่วไปของโรคกลัวแมงมุม คือ

    สาเหตุที่ทำให้มีอาการ กลัวแมงมุม

    อาการของโรคกลัวหรือโฟเบียนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับหลายๆ อย่าง ตั้งแต่ สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือแม้แต่กระทั่งสถานการณ์ ซึ่งความกลัวที่มีความรุนแรงเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์เชิงลบ ประสบการณ์แย่ๆ ที่เคยเจอมาในอดีต ดังนั้นในกรณีของโรคกลัวแมงมุมนั้น อาจเป็นไปได้ว่า อาการกลัวแมงมุมนั้นอาจเกิดขึ้นจากการประสบการณ์แย่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแมงมุม ที่เคยเจอในอดีต ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคนเรามักจะมีโฟเบียก่อนอายุ 10 ขวบ แต่สำหรับบางคนอาการโฟเบีย ก็อาจจะมีการพัฒนาหรือเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุเท่าไรก็ตาม ซึ่งอาการกลัวแมงมุมนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากสภาพแวดล้อม หากคุณอาศัยอยู่กับครอบครัวที่มีความกลัวแมงมุม คุณอาจจะซึมซับความกลัวนั้นจากครอบครัว จนคุณเองก็มีความกลัวเช่นเดียวกัน นอกจากนี้อาการโฟเบียยังมีความเกี่ยวข้องกับอาการวิตกกังวล หากใครที่มีอาการวิตกกังวลอยู่แล้วอาจทำให้เกิดโรคโฟเบียได้ง่ายขึ้น

    วิธีการเอาชนะ โรคกลัวแมงมุม

    การเอาชนะ อาการกลัวแมงมุม ด้วยตัวเอง

    อันดับแรก หากอยากเอาชนะแมงมุม เราต้องรู้มีความรู้เกี่ยวกับแมงมุมเสียก่อน โดยเริ่มจากการศึกษาเกี่ยวกับแมงมุม หากคุณได้อ่านข้อมูลเกี่ยวกับแมงมุม จะรู้ได้ว่า แมงมุมเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยกัดใคร มันจะกัดก็ต่อเมื่อเริ่มรู้สึกว่าถูกคุกคาม ซึ่งแมงมุมส่วนใหญ่ที่กัดนั้นก็จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่สำหรับบางคนก็อาจจะมีอาการแพ้ได้ ส่วนแมงมุมที่ต้องควรระวังเป็นอย่างยิ่งคือ แมงมุมที่มีพิษร้ายแรง เช่น แมงมุมแม่หม้ายดำ แม้ว่าแมงมุมจะเป็นสัตว์ที่มีสายพันธ์ุมากถึง 63,000 สายพันธ์ุ แต่มีแมงมุมเพียงร้อยละ 2 เท่านั้นที่เป็นแมงมุมที่อันตราย นอกจากนี้ยังมีวิธีในการป้องกันและหลีกเลี่ยงอาการกลัวแมงมุมอื่นๆ อีก เช่น

    • พยายามปิดประตูและหน้าต่างให้แน่นอยู่ตลอด นอกจากนี้ควรระวังไม่ให้บ้านมีรูหรือว่าช่องโหว่
    • ไม่ทำบ้านให้รก เพราะแมงมุมจะชอบชักใยในที่แคบๆ และหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ ไม่ให้มีใยแมงมุมเกาะ เพื่อลดประชากรของแมงมุม

    การรักษาอาการกลัวแมงมุมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

    อาการกลัวแมงมุม เป็นอาการกลัวที่สามารถรักษาได้ง่ายกว่าอาการกลัวประเภทอื่นๆ ซึ่งสามารถทำได้โดยสามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อหลักๆ คือ การรับคำปรึกษา และการใช้ยา การได้รับคำปรึกษาด้านสุขภาพจิต เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการรักษาอาการกลัว เนื่องจากการใช้ยาไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุ แต่ยาก็สามารถรักษาอาการวิตกกังวลพื้นฐานให้กับเราได้ นอกจากนี้การเผชิญหน้าเพื่อเอาชนะความกลัวยังเป็นอีกวิธีที่ช่วยรักษาอาการกลัวแมงมุมได้ ซึ่งต้องเป็นการเผชิญหน้าที่ถูกต้อง โดยการศึกษาในปี 2019 พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับสื่อหรือข้อมูลด้านดีๆ ของแมงมุมมีอาการกลัวแมงมุมน้อยลง

    Hello Health Groupไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา