backup og meta

ลดน้ำตาลในเลือดเร่งด่วน ทำได้อย่างไรบ้าง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 07/12/2022

    ลดน้ำตาลในเลือดเร่งด่วน ทำได้อย่างไรบ้าง

    ผู้ที่เป็นเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมื่อตรวจหลังอดอาหารให้อยู่ระหว่าง 80 – 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือ เมื่อตรวจหลังรับประทานอาหารเเล้วสูงไม่เกิน 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งหากปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเเทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ตามมาได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาหาวิธี ลดน้ำตาลในเลือดเร่งด่วน รวมถึงดูเเลสุขภาพให้ดีเเละควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

    ทำไมถึงควร ลดน้ำตาลในเลือดเร่งด่วน

    การลดน้ำตาลในเลือดเร่งด่วน เมื่อทราบว่าตัวเองมีค่าน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ภาวะเลือดเป็นกรด (Diabetic ketoacidosis) ภาวะเลือดข้นจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมาก (Diabetic hyperosmolar syndrome) ซึ่งเป็นภาวะเเทรกซ้อนชนิดเฉียบพลันของโรคเบาหวานและช่วยลดอาการของเบาหวานที่เกิดจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่ให้แย่ลง รวมถึงช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนชนิดเรื้อรังได้ดังนี้

  • ตาพร่ามัว ต้อกระจก ตาบอด
  • เส้นประสาทเสื่อมส่งผลให้มือและเท้าชา เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • หัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • หลอดเลือดส่วนปลายตีบตัน ทำให้เท้าขาดเลือด
  • ไตวาย
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายเเละรุนเเรงกว่าปกติ
  • แผลหายช้า แผลเท้าเบาหวาน
  • วิธีลดน้ำตาลในเลือดเร่งด่วน

    วิธีลดน้ำตาลในเลือดเร่งด่วน อาจทำได้ดังนี้

    • ฉีดอินซูลิน มักใช้ในกรณีผู้ที่เป็นหวานชนิดที่ 1 คุณเเม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือผู้ที่ใช้ยาลดระดับน้ำตาลชนิดรับประทานเเล้วยังไม่ได้ผล หรือมีข้อห้ามของการใช้ยา โดยยาฉีดอินซูลินจะทำให้หน้าเสมือนกับอินซูลินในร่างกาย จึงสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ดีอย่างไรก็ตาม ควรใช้ยาตามคำเเนะนำของคุณหมอ ทั้งเวลาที่ใช้ ขนาดเเละชนิดของอินซูลิน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการรักษาเเละความปลอดภัยของผู้ใช้ เนื่องจากอินซูลินแต่ละชนิดมีระยะเวลาออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน หากใช้ไม่ถูกต้องนอกจากจะทำให้ไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้เเล้ว ยังอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งเป็นอันตรายได้
    • รับประทานยาลดน้ำตาลในเลือด ในปัจจุบันยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือดมีหลายชนิด ซึ่งออกฤทธิ์ในหลาย ๆ กลไกแตกต่างกันออกไป เช่น ช่วยกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้น ช่วยให้เซลล์นำน้ำตาลไปเผาผลาญได้ดีขึ้น เพิ่มการขับน้ำตาลส่วนเกินทางปัสสาวะ ซึ่งการรับประทานยา ควบคู่กับการปรับพฤติกรรมสุขภาพจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมายได้ดีขึ้น
    • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เเละครบ 5 หมู่ เเนะนำให้เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เน้นการรับประทานผัก ผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น ปลาแซลมอน มะเขือเทศ แตงกวา ผักคะน้า บร็อคโคลี่ แครอท ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ และส้ม อีกทั้งควรหลีกเลี่ยง/ลดการบริโภคประเภทแป้ง รวมถึงอาหารที่มีไขมันสูงและน้ำตาลสูง เช่น อาหารแปรรูป ของทอด เบอเกอร์รี่ โดนัท เค้ก คุกกี้ น้ำผลไม้ น้ำอัดลม เพราะจะยิ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นนอกจากนี้ปรับพฤติกรรมทานอาหารหรือขนมจุบจิบไม่เป็นมื้อ หรืออดอาหารบางมื้อ เพราะอาจยิ่งทำให้ควบคุมเบาหวานได้ยากขึ้น
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายเป็นประจำโดยที่เเม้จะเป็นการออกกำลังกายที่ความเหนือยระดับปานกลาง เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ โยคะ รวมถึงการเพิ่มกิจกรรมที่ได้ออกเเรงในชีวิตประจำวัน เช่นพาสัตว์เลี้ยงออกไปเดินเล่น ทำงานบ้าน เดินขึ้นบันใดเเทนใช้ลิฟท์ ก็จะเพิ่มการเผาผลาญน้ำตาลของร่างกายได้ อีกทั้งยังช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น จึงเป็นการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีอีกวิธีหนึ่ง โดยแนะนำให้ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วัน/สัปดาห์

    ข้อควรระวังเกี่ยวกับการลดน้ำตาลในเลือดเร่งด่วน

    ข้อควรระวังเกี่ยวกับการลดน้ำตาลในเลือดเร่งด่วน คือ ไม่ควรฉีดอินซูลินหรือรับประทานยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาดหรือนอกเหนือจากที่คุณหมอเเนะนำ เพราะอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำมากเกินไป จนเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจมีอาการเช่น วิงเวียนศีรษะ อารมณ์แปรปรวน ใจสั่น/หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่มีสมาธิ คลื่นไส้ มือสั่น เหงื่อออกมาก ตัวเย็น หมดสติ ชัก หรืออาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงควรดูเเลสุขภาพด้วยวิธีที่เหมาะสม เเละ ปฏิบัติตามแผนการดูแลสุขภาพที่คุณหมอแนะนำ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์อย่างปลอดภัย

    อีกทั้งยังควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองเป็นประจำ เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และควรตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อคัดกรองโรค เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและโรคเบาหวาน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 07/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา