backup og meta

หญิงตั้งครรภ์ควรเลี่ยง อาหารและเครื่องดื่มประเภทใดบ้าง

หญิงตั้งครรภ์ควรเลี่ยง อาหารและเครื่องดื่มประเภทใดบ้าง

หญิงตั้งครรภ์ควรเลี่ยง อาหารและเครื่องดื่มบางชนิด เช่น เนื้อสัตว์ดิบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้เจ็บป่วย หรือส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพของทารกที่อยู่ในครรภ์ได้ จึงจำเป็นต้องระมัดระวังในการบริโภค แม้ว่าโดยส่วนใหญ่หญิงตั้งครรภ์สามารถรับประทานอาหารและเครื่องดื่มได้เกือบทุกชนิดก็ตาม

หญิงตั้งครรภ์ควรเลี่ยง อาหารและเครื่องดื่มใดบ้าง

เมื่อตั้งครรภ์ อาจมีอาหารและเครื่องดื่มบางอย่างที่ควรหลีกเลี่ยง  หรือควรระมัดระวังในการบริโภค

ปลาที่มีปรอทสูง

ปรอทถือเป็นสารประกอบที่มีพิษสูง และสามารถพบได้มากที่สุดในน้ำเสีย โดยปริมาณปรอทที่สูงอาจเป็นพิษต่อระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และไต เมื่อหญิงตั้งครรภ์ได้รับสารปรอทเข้าไป ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาการที่ร้ายแรงในเด็กได้ เนื่องจากมักจะพบสารปรอทในทะเล จึงส่งผลให้ปลาทะเลขนาดใหญ่มักจะสะสมปรอทเอาไว้ในปริมาณที่สูง ทางที่ดีหญิงตั้งครรภ์ จึงควรจำกัดการบริโภคปลาที่มีปรอทสูงไม่เกิน 1-2 หน่วยบริโภคต่อเดือน สำหรับปลาที่มีปรอทสูง ได้แก่

  • ปลาฉลาม
  • นาก
  • ปลาแมคเคอเรล
  • ปลาทูน่า โดยเฉพาะปลาทูน่าพันธุ์ครีบยาว (Albacore Tuna)

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องทราบก็คือปลาแต่ละชนิดมักจะมีปรอทที่ไม่เท่ากัน การบริโภคปลาที่มีสารปรอทต่ำในระหว่างตั้งครรภ์นั้นดีต่อสุขภาพ สามารถรับประทานได้ถึง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากนั้น ปลาที่มีไขมันเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ก็มีความสำคัญต่อลูกน้อยในครรภ์อีกด้วย

ปลาที่ปรุงไม่สุกหรือปลาดิบ

ปลาดิบอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อได้หลายอย่าง อาจจะเป็น ไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิต การติดเชื้อเหล่านี้อาจมีผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์ ทำให้ร่างกายขาดน้ำและอ่อนแอ การติดเชื้ออื่น ๆ ยังอาจถูกส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ ซึ่งอาจมีผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเชื้อลิสเตอเรีย (Listeria) เพราะหญิงตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อชนิดนี้สูงกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า ซึ่งแบคทีเรียนี้สามารถพบได้ในดิน น้ำ และพืชที่มีการปนเปื้อน

เชื้อลิเตอเรีย สามารถส่งผ่านไปยังทารกในครรภ์ผ่านรกได้ แม้ว่าหญิงตั้งครรภ์อาจไม่มีอาการเจ็บป่วยก็ตาม เมื่อติดเชื้อแล้วอาจส่งผลให้มักคลอดก่อนกำหนด  แท้งลูก และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์จึงควรหลีกเลี่ยงปลาดิบ รวมถึงอาหารจำพวกซูชิต่างๆ ด้วย

เนยแข็งจากนมที่มีความเข้มข้นของครีมสูง (Soft Cheese)

การบริโภคเนยแข็งที่ทำจากนมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ สามารถส่งผลอันตรายถึงชีวิตและลูกน้อยได้ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเนยแข็งชนิดนี้ แต่หากจำเป็นต้องบริโภค ควรต้องปรุงให้สุกและรับประทานขณะที่อาหารซึ่งมีส่วนประกอบของเนยแข็งชนิดนี้ยังอุ่นอยู่

เนื้อสัตว์ที่ไม่สุก

ช่วงเวลาตั้งครรภ์ควรเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกอย่างเต็มที่จะดีที่สุด เนื่องจากเนื้อดิบหรือเนื้อที่ปรุงไม่สุกอาจจะมีแบคทีเรียแฝงตัวอยู่ และเมื่อต้องออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรเลือกรับประทานที่กำลังอุ่น ๆ และสุกปรุงอย่างทั่วถึง เช่น สเต๊กส์แบบสุกแทนสเต๊กแบบกึ่งดิบกึ่งสุก

น้ำผลไม้สด

น้ำผลไม้คั้นสดในร้านอาหาร อาจไม่ได้รับการฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันแบคทีเรียที่เป็นอันตราย  ควรเลือกดื่มน้ำผลไม้ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว อย่างเช่น น้ำผลไม้ที่อยู่ในกล่อง หรือบรรจุในขวดที่มีการปิดมิดชิด หรือคั้นดื่มเองที่บ้าน โดยล้างน้ำให้สะอาดก่อนทุกครั้ง

ไข่ดิบ

ไข่ดิบสามารถปนเปื้อนไปด้วยเชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella) ส่งผลทำให้เกิดอาการเป็นไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องร่วง ในบางกรณีการติดเชื้ออาจทำให้เกิดตะคริวในมดลูก ซึ่งนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนด สำหรับอาหารที่มีส่วนผสมของไข่ดิบ ได้แก่

  • ไข่ลวก
  • มายองเนสทำเอง
  • น้ำสลัด
  • ไอศกรีมทำเอง

หากไข่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ถือว่าปลอดภัยสามารถบริโภคได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนบริโภคอาหารชนิดใดก็ตามควรอ่านฉลากเพื่อความปลอดภัย

อวัยวะของสัตว์ (Organ meats) 

อวัยวะของสัตว์นั้นเป็นแหล่งของสารอาหารหลายชนิด รวมถึงเหล็ก วิตามินบี 12 วิตามินเอ และทองแดง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นประโยชน์ต่อหญิงตั้งครรภ์รวมถึงทารกด้วย อย่างไรก็ตามการได้รับวิตามินเอจากสัตว์มากเกินไประหว่างตั้งครรภ์ ถือเป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากวิตามินเออาจทำให้เกิดครรภ์เป็นพิษได้ นอกจากนั้นการบริโภคทองแดงที่มากเกินไป อาจส่งผลทำให้เกิดข้อบกพร่องและความเป็นพิษต่อตับ ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานอวัยวะหรือเครื่องในสัตว์มากกว่าสัปดาห์ละครั้ง

แป้งทำคุกกี้ที่ยังดิบ

เมื่อต้องการอบคุกกี้ด้วยตนเอง อาจต้องมีการใส่แป้งดิบลงไปในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งถ้าแป้งมีส่วนผสมของไข่ดิบ อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella) ได้ เพื่อความปลอดภัย ไม่ควรชิมแป้งคุกกี้ที่ยังดิบ หรือยังไม่ได้อบจะเป็นการดีที่สุด

คาเฟอีน

คาเฟอีน เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ควรจำกัดปริมาณคาเฟอีนให้น้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน หรือดื่มประมาณ 2-3 แก้ว เนื่องจากคาเฟอีนสามรถถูกดูดซึมสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว และถูกส่งผ่านจากรกไปยังทารกในครรภ์ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และเพิ่มความเสี่ยงต่อน้ำหนักแรกเกิดที่ต่ำอีกด้วย เมื่อเด็กทารกมีน้ำหนักแรกเกิดที่ต่ำ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตของทารกในครรภ์หรือระหว่างคลอดได้ด้วย

ขนมทีรามิสุที่ทำเอง (Homemade Tiramisu)

เนื่องจากทีรามิสุ รวมถึงของหวานอื่น ๆ ที่ทำขึ้นด้วยตัวเอง มักจะมีไข่ดิบเป็นส่วนผสม ซึ่งไม่เหมาะกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ดังนั้น หากอยากบริโภคของหวานเหล่านี้ ควรไปซื้อจากร้านค้าที่มีความชำนาญและดูสะอาดปลอดภัย หรือซื้อขนมหวานสำเร็จรูป โดยอ่านฉลากเพื่อดูส่วนประกอบก่อนซื้อทุกครั้ง

นมดิบและชีสที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ

นมดิบและชีสที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ อาจจะมีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายแฝงอยู่มากมาย เช่น เชื้อลิสเตอเรีย (Listeria) เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella) เชื้ออีโคไล (E. coli) และเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) การติดเชื้อเหล่านี้อาจส่งผลต่อชีวิตของทารกในครรภ์ได้ การฆ่าเชื้อเหล่านี้ด้วยความร้อนถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ควรบริโภคนมและชีสที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วเท่านั้น

แอลกอฮอล์

หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร และการคลอดบุตร แม้จะดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อยก็อาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์ได้ นอกจากนี้ อาจส่งผลต่อความผิดปกติของใบหน้า ข้อบกพร่องของหัวใจ และความบกพร่องทางสติปัญญาของทารกในครรภ์ได้อีกด้วย

 

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Foods to avoid in pregnancy. https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/foods-to-avoid-pregnant/. Accessed February 14, 2022.

What Not to Eat When You’re Pregnant. https://www.webmd.com/baby/ss/slideshow-what-not-to-eat-when-pregnant. Accessed February 14, 2022.

Foods to avoid when pregnant. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/foods-to-avoid-when-pregnant. Accessed February 14, 2022.

Foods to eat or avoid when pregnant. https://www.foodauthority.nsw.gov.au/consumer/life-events-and-food/pregnancy/foods-to-eat-or-avoid-when-pregnant. Accessed February 14, 2022.

Pregnancy nutrition: Foods to avoid during pregnancy. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/pregnancy-nutrition/art-20043844. Accessed February 14, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/02/2022

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

คนท้องเลือดกำเดาไหล อันตรายหรือไม่

โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ ระหว่างตั้งครรภ์ ควรดูแลอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 14/02/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา