ไตรมาสที่ 2

เมื่อการตั้งครรภ์เข้าสู่ช่วง ไตรมาสที่ 2 คุณแม่ก็อาจเริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้น พร้อมกับพัฒนาการของลูกน้อยภายในครรภ์ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 2 มาไว้ที่นี่แล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

ไตรมาสที่ 2

การตรวจอัลตราซาวด์ไตรมาส 2 มีความจำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร

การตรวจอัลตราซาวด์เป็นการตรวจที่เพิ่มความละเอียดมากยิ่งขึ้น สามารถเห็นภาพของลูกในครรภ์มีการพัฒนาการอย่างไร ซึ่งรวมไปถึงการตรวจภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น  การตรวจอัลตราซาวด์ไตรมาส 2 มีเป้าหมายอื่น ๆ ร่วมด้วย และยังอาจช่วยคุณหมอในการประเมินภาวะของคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 [embed-health-tool-ovulation] การตรวจอัลตราซาวด์ไตรมาส 2 ควรตรวจเมื่อใด การตรวจอัลตราซาวนด์ในไตรมาสที่ 2 มักทำระหว่างการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 18 ถึง 22 แต่ส่วนใหญ่มักจะตรวจในช่วงสัปดาห์ที่ 20 เพื่อตรวจดูพัฒนาการทางร่างกายของลูกในครรภ์และตรวจสอบความผิดปกติของรก แม้คุณแม่จะได้รับการอัลตราซาวนด์ในไตรมาสที่ 1 แล้ว แต่การตรวจในไตรมาสที่ 2 มีความสำคัญหลายประการเหมือนกัน เนื่องจากสามารถให้ข้อมูลของลูกในครรภ์ได้มากยิ่งขึ้น การตรวจอัลตราซาวด์ไตรมาสที่ 2 ให้ข้อมูลอะไรเกี่ยวกับลูกในครรภ์ การตรวจอัลตราซาวด์ไตรมาสที่ 2 สามารถให้ข้อมูลที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับการตรวจอัลตราซาวด์ไตรมาส 1 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ เพื่อตรวจสอบวันคลอดที่แน่นอน ซึ่งมักไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปจากการตรวจในไตรมาสที่ 1 เพื่อตรวจสอบจำนวนและขนาดของลูกในครรภ์ ตรวจดูอวัยวะต่าง ๆ ที่เริ่มมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น เช่น สมอง กระดูกสันหลัง หัวใจ ตับ ไต รวมไปถึงตรวจดูความผิดปกติทางกายวิภาคของลูกน้อยในครรภ์ สามารถตรวจดูเพศของลูกน้อย ตรวจดูการไหลเวียนโลหิตของเลือดที่มาเลี้ยงมดลูกและยังเชื่อมต่อมายังลูกน้อย ตรวจเช็คดูปริมาณน้ำคร่ำ ตรวจโครงสร้างและความผิดปกติของรก ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ […]

สำรวจ ไตรมาสที่ 2

ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 14 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 14 ลูกน้อยจะมีขนาดเท่าลูกเลมอน โดยมีน้ำหนักประมาณ 45 กรัม มีความสูงประมาณ 9 เซนติเมตรจากศีรษะถึงปลายเท้า เริ่มมีเส้นผมและเส้นขนงอกออกมาปกคลุมทั่วร่างกาย รวมทั้งไขมันที่จะช่วยสร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย [embed-health-tool-due-date] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 14 ลูกจะเติบโตอย่างไร ในช่วงสัปดาห์นี้ ลูกน้อยเริ่มจะมีผมงอกขึ้นมาแล้ว ซึ่งไม่เพียงแต่มีเส้นผมและขนคิ้วเท่านั้นนะ แต่จะมีขนขึ้นทั่วร่างกาย เรียกว่า ‘ขนอ่อน‘ ซึ่งจะช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น และเมื่อเริ่มมีไขมันสะสมตามร่างกาย ไขมันนั้นก็จะช่วยสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกายแทน ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นเส้นขนก็จะเริ่มหลุดร่วงออกไป นอกจากนี้ตับก็จะเริ่มผลิตน้ำดี ในขณะที่ม้ามก็จะผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นด้วย ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง คุณแม่ตั้งครรภ์อาจสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ และรู้สึกกลับมาเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่าอาการคลื่นไส้และอ่อนเพลียก็จะหายไปในที่สุด ในไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์นี้ จะรู้สึกมีพลังและมีความสุขมากขึ้น ถึงแม้อาการแพ้ท้องจะหายไปหมดแล้ว แต่จะต้องเผชิญกับอาการใหม่ ๆ อย่างเช่น อาการปวดหน่วง ๆ บริเวณท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นภาวะที่เอ็นยึดมดลูกยืดเร็วเกินไป ซึ่งเป็นผลมาจากมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มดลูกจะมีเอ็นเส้นหนา ๆ รองรับอยู่ในบริเวณท้องด้านข้าง เมื่อคุณมีน้ำหนักมากขึ้น จะเป็นการดึงให้เส้นเอ็นพวกนี้ยืดออก ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเจ็บปวด ถ้ามีอาการแบบนี้เกิดขึ้นควรเอนตัวนอนในท่าสบาย ๆ แล้วพักเท้าเอาไว้ ควรระมัดระวังอะไรบ้าง ขณะตั้งครรภ์ ระบบภูมิคุ้มกันมักอ่อนแอกว่าปกติ จึงอาจติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ จึงนับเป็นเรื่องสำคัญที่ควรระวังเรื่องเชื้อโรคต่าง ๆ ด้วยการล้างมือให้สะอาดหลังเข้าห้องน้ำ […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 13 อยู่ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ช่วงนี้ทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์อาจมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น สายสะดือเคลื่อนที่ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ส่วนทารกอาจเริ่มมีขนาดตัวใหญ่มากขึ้น และเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณแม่ยังควรระมัดระวังตัวและดูแลตัวเองให้ดีอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายที่อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 13 ลูกจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ตั้งครรภ์เป็นเวลา 13 สัปดาห์แล้ว ทารกที่อยู่ในครรภ์มีขนาดเท่ากับฝักถั่ว ซึ่งมีความสูงประมาณ 7 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า และหนักประมาณ 30 กรัม ในสัปดาห์นี้มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นในร่างกายของ รวมทั้งสายสะดือที่เคลื่อนตัวเข้าหากระเพาะอาหารของลูกน้อยด้วย สายสะดือนี้จะติดอยู่กับรกที่กำลังเติบโต เพื่อช่วยลำเลียงสารอาหารที่จำเป็นสำหรับลูกน้อย รกที่เคยมีน้ำหนักประมาณ 30 กรัม ตอนนี้จะมีน้ำหนักมากขึ้นแล้ว เส้นเสียงของทารกก็กำลังก่อเป็นรูปเป็นร่างขึ้น แต่จะยังไม่ได้ยินเสียงอะไรในช่วงนี้ และเส้นเสียงจะทำงานเมื่อลูกน้อยคลอดออกมา ตอนนี้ลูกของสามารถแหย่นิ้วหัวคุณแม่มือเข้าไปอมในปากได้แล้ว ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง อาการแพ้ท้องของจะลดลงหรือไม่เกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้ายังรู้สึกคลื่นไส้และอ่อนเพลีย การพักผ่อนอาจช่วยให้อาการดีขึ้น นอกจากนี้อาจมีอาการอื่น  ๆ ตามมา เช่น มีตกขาวมากขึ้น และตกขาวจะมีลักษณะคล้ายน้ำนมและไม่มีกลิ่น แต่ไม่ต้องตกใจไปนะ นี่เป็นอาการปกติที่มักเกิดขึ้น จากการมีฮอร์โมนเอสโตรเจนในระดับสูง ซึ่งเป็นฮอร์โมนการตั้งครรภ์อีกชนิดหนึ่ง ด้วยความที่มีเลือดสูบฉีดไปหล่อเลี้ยงแถว  ๆ กระดูกเชิงกรานมากขึ้น จึงทำให้มีตกขาวมากขึ้น เพื่อช่วยให้ทางผ่านของทารกเมื่อถึงเวลาคลอดไม่เกิดการติดเชื้อ ถ้าตกขาวเริ่มมีกลิ่นหรือเปลี่ยนสี ก็ควรบอกให้หมอทราบทันที เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อก็ได้ ควรระมัดระวังอะไรบ้าง อาจมีความกังวลในเรื่องการออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์ นี่คือสิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มการออกกำลังกาย […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 26 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 26 หรือประมาณเดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์ ช่วงนี้ขนาดท้องของคุณแม่อาจมีขนาดค่อนข้างใหญ่ตามขนาดตัวของทารกในครรภ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้อาจเคลื่อนไหวหรือเดินทางลำบากมากขึ้น อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่ายขึ้น ดังนั้น คุณแม่จึงควรระมัดระวังทุกครั้งเมื่อเคลื่อนไหว หลีกเลี่ยงการเดินหรือเปลี่ยนท่าทางเร็ว ๆ เพราะอาจเสี่ยงต่อการหกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 26 ลูกจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่มีขนาดเท่ามัดต้นหอม คือสูงจากศีรษะถึงปลายเท้าประมาณ 39 เซนติเมตร และหนักประมาณ 750 กรัม ถึงแม้ดวงตาของทารกยังปิดอยู่ในช่วงสามเดือนสุดท้ายนี้ แต่ในไม่ช้าก็จะลืมตาขึ้นแล้วกระพริบตา เด็กบางคนก็จะมีตาดำ บางคนที่มีตาสีน้ำตาล ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ นอกจากนี้ ดวงตาอาจเปลี่ยนสีได้ในช่วงปีแรก และเด็กบางคนก็จะเกิดมาพร้อมกับดวงตาสีเข้ม มากไปกว่านั้น ขนตาและเส้นผมก็ยังเจริญเติบโตต่อไปด้วย ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง มดลูกของคุณแม่คือแดนสวรรค์อันปลอดภัยสำหรับลูกน้อยก่อนที่จะลืมตาดูโลก แต่เขาก็ต้องย้ายเข้าสู่บ้านใหม่หลังคลอด ฉะนั้น ใช้เวลานี้ดูแลเรื่องความปลอดภัยของบ้านก่อนที่เขาจะเกิดขึ้นมา ซึ่งมีขั้นตอนในการตรวจสอบความปลอดภัยสำหรับเด็กอยู่นะ โดยอาจหาอุปกรณ์มาครอบปลั๊กไฟ อะไรที่อาจทำให้เด็กสำลักได้ก็เอาออกไป ติดตั้งระบบตรวจสอบควัน และปิดกั้นช่องว่างตรงบันไดเอาไว้ คุณแม่ควรทำการป้องกันทุกอย่างเท่าที่นึกออก แล้วโปรดจำไว้ด้วยนะว่า การป้องกันใด ๆ ก็ไม่สามารถนำมาทดแทนการเฝ้าระวังลูกของคุณแม่ได้ ควรระมัดระวังอะไรบ้าง คุณแม่จะรู้สึกร่างกายไม่ค่อยมั่นคงและชอบเดินสะดุดโน่นนี่บ่อย ๆ เวลาที่อยู่ในช่วงไตรมาสที่สองนี้ ก็มีปัจจัยโน่นนี่มากมายที่ทำให้เกิดการหกล้ม เมื่อหน้าท้องของคุณแม่ใหญ่ขึ้น ก็ทำให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายเปลี่ยนไป ซึ่งอาจทำให้เกิดโอกาสหกล้มไปข้างหน้าได้ นอกจากนี้อาการเหนื่อยอ่อนยังทำให้คุณแม่รู้สึกเบลอ ๆ และขาดความระมัดระวัง ซึ่งอาจทำให้คุณแม่มองอะไรไม่ชัด ซึ่งจะทำให้เกิดการหกล้มได้ง่าย การพบคุณแม่หมอ ควรปรึกษาคุณหมออย่างไรบ้าง คุณแม่จะเริ่มเห็นรอยแตกลายและผิวหนังหย่อนคล้อย ที่อาจทำให้มีอาการคันมากขึ้น […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 25 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 25 เป็นช่วงที่ทารกในครรภ์อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยอาจมีขนาดตัวเท่ากับมะเขือยาว หัวใจเต้นประมาณ 140 ครั้ง/นาที นอกจากนี้ ประสาทสัมผัส สมอง ปอด และระบบย่อยอาหารจะเริ่มพัฒนา อย่างไรก็ตาม ปอดจะยังพัฒนาไม่เต็มที่ [embed-health-tool-due-date] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 25 ทารกในครรภ์จะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 25 นี้ จะมีน้ำหนักประมาณ 680 กรัม และสูงประมาณ 376 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ส่วนใหญ่แล้วทารกน้อยในครรภ์จะหลับอยู่ตลอดเวลา แต่บางครั้งก็อาจสังเกตได้ว่าทารกตื่นอยู่ โดยคุณแม่ตั้งครรภ์จะรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้นเมื่ออยู่นิ่ง ๆ  ตอนนี้ทารกในครรภ์สามารถได้ยินเสียง ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถพูดคุยและเปิดเพลงให้ทารกในครรภ์ฟังได้ อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงเสียงดังจนเกินไป  ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ปัญหาที่คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่พบในช่วงนี้ คือ ปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหาร ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนไม่เพียงแต่ทำให้ท้องว่าง แต่ยังทำให้ลิ้นปิดเปิดกระเพาะอาหารคลายตัว จึงทำให้กระเพาะอาหารปิดไม่สนิท อาจส่งผลให้อาหารที่กินเข้าไปและกรดจากกระเพาะอาหารเคลื่อนตัวไปยังหลอดอาหาร จนเกิดอาการกรดไหลย้อน หรืออาการแสบร้อนกลางอก จนรู้สึกทรมาน อึดอัด ไม่สบายตัว นอกจากนั้น ในสัปดาห์ที่ 25 นี้ ถือเป็นการตั้งครรภ์เกินครึ่งทางแล้ว ดังนั้น กระเพาะอาหารอาจถูกมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นกดทับ ควรแบ่งอาหารเป็นหลายมื้อ แต่รับประทานอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง และควรหลีกเลี่ยงอาหารมันหรือรสจัด ควรระมัดระวังอะไรบ้าง คุณแม่ตั้งครรภ์อาจรู้สึกอ่อนเพลีย ดังนั้น […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 24 นี้ ทารกในครรภ์อาจมีขนาดตัวเท่ากับแครอท โดยมีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 23 อีกประมาณ 113 กรัม ซึ่งทารกยังคงต้องรับออกซิเจนผ่านทางสายรก แต่เมื่อคลอดออกมา ปอดของทารกจะเริ่มสูดเอาออกซิเจนเข้าไปทันที และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ปอดของทารกอาจเริ่มผลิตสารลดแรงตึงผิวออกมา ซึ่งสารชนิดนี้จะช่วยเก็บถุงลมเอาไว้ในปอด โดยไม่ทำให้เกิดการรั่วไหล ทั้งยังช่วยให้หายใจได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย [embed-health-tool-”pregnancy-weight-gain”] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 24ทารกในครรภ์จะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 24 นี้ ทารกในครรภ์อาจมีขนาดตัวเท่ากับแครอท โดยมีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 23 อีกประมาณ 113 กรัม  ทารกยังคงต้องรับออกซิเจนผ่านทางสายรก แต่เมื่อคลอดออกมา ปอดของทารกจะเริ่มสูดเอาออกซิเจนเข้าไปทันที และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ปอดของทารกอาจเริ่มผลิตสารลดแรงตึงผิวออกมา ซึ่งสารชนิดนี้จะช่วยเก็บถุงลมเอาไว้ในปอด โดยไม่ทำให้เกิดการรั่วไหล ทั้งยังช่วยให้หายใจได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย หูชั้นในซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยควบคุมความสมดุลของร่างกายอาจพัฒนาเต็มที่แล้ว ทารกในครรภ์อาจเริ่มรับรู้ได้ว่า ตอนนี้ตัวเองกำลังลอยตัวอยู่ในน้ำคร่ำในท่าหัวทิ่มหรือหัวตั้ง ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง โดยปกติแล้ว ในช่วงสัปดาห์ที่ 24 ถึง 28 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องเข้ารับการตรวจวัดระดับน้ำตาล ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอทราบได้ว่า คุณแม่เป็นโรคเบาหวานในช่วงตั้งครรภ์หรือไม่ หากคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงให้คุณแม่ต้องคลอดด้วยการผ่าคลอด เนื่องจาก โรคนี้อาจทำให้ทารกมีขนาดตัวใหญ่กว่าปกติ […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 20 [embed-health-tool-due-date] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 20 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 20 ในสัปดาห์นี้ ลูกน้อยของคุณมีขนาดตัวเท่ากล้วยหอม โดยหนักประมาณ 315 กรัม และสูงประมาณ 25 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ทารกน้อยในครรภ์กำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และใช้เนื้อที่มากขึ้น จึงทำให้เกิดแรงกดทับในบริเวณปอด กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ และไตของคุณ ผิวหนังของทารกในครรภ์ที่มีไขมันทารกแรกเกิด ลักษณะคล้ายแว็กซ์สีขาว ๆ เคลือบปกป้องอยู่นั้นเริ่มหนาขึ้นและพัฒนาเป็นผิวมากขึ้น และเริ่มมีเส้นขนงอกขึ้นมาบ้างแล้ว ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง น้ำหนักตัวของคุณแม่อาจเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4.5 กิโลกรัม และในสัปดาห์ต่อ ๆ ไป น้ำหนักอาจเพิ่มขึ้นได้อีกสัปดาห์ละประมาณครึ่งกิโลกรัม ถ้าคุณเริ่มตั้งครรภ์ด้วยน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์ คุณก็อาจต้องเร่งทำน้ำหนักให้มากขึ้น แต่ถ้าคุณเริ่มต้นด้วยน้ำหนักที่มากเกินไป คุณก็ควรทำน้ำหนักให้น้อยลง นอกจากนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องไม่ลืมเพิ่มธาตุเหล็กให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายด้วย เนื่องจากธาตุเหล็กคือสารตั้งต้นในการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนในเม็ดเลือดแดงที่ช่วยนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ในระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณยังต้องการธาตุเหล็กไปเพิ่มปริมาณของเลือดมากขึ้นด้วย รวมทั้งเพื่อการเติบโตของลูกน้อยและรกด้วย ควรระมัดระวังอะไรบ้าง คุณแม่ควรพิจารณาการเก็บเลือดจากรกไว้กับธนาคารเลือดจากรก โดยกระบวนการเก็บเลือดจากรก เป็นการเก็บเลือดด้วยวิธีปราศจากเชื้อโรคจากเส้นเลือดดำของสายสะดือทารกแรกเกิดที่ได้รับการผูกและตัดสายสะดือแล้ว ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อทารกและคุณแม่แต่อย่างใด เลือดจากรกนั้นเก็บไว้ใช้ในการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตจากเลือดสายสะดือและรก (Placental and […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 19 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 19 พัฒนาการทารกในการตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 19 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 19 สัปดาห์นี้ทารกในครรภ์จะขนาดตัวเท่ากับ มะม่วง มีน้ำหนักตัวประมาณ 240 กรัม และสูงประมาณ 15 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ผิวหนังของทารกน้อยเริ่มพัฒนาเม็ดสี พร้อมมีไขมันในทารกแรกเกิด (Vernix caseosa) ซึ่งมีลักษณะคล้ายแว็กซ์สีขาว ๆ เคลือบผิวเอาไว้ เพื่อช่วยปกป้องผิวของทารกจากน้ำคร่ำ โดยไขมันทารกแรกเกิดนี้จะหายไปในช่วงท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ นั่นจึงทำให้เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมีไขมันทารกแรกเกิดนี้ติดผิวหนังออกมาตอนคลอดด้วย ในสัปดาห์นี้ชั้นไขมันสีน้ำตาลจะมีการพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยสร้างความอบอุ่นให้แก่ลูกน้อยหลังคลอด และชั้นไขมันนี้จะยังพัฒนาต่อไปในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยปกป้องลูกน้อยให้ปลอดภัย ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ในช่วงเวลานี้จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ การเคลื่อนไหวแรกนั้นจะเป็นการเคลื่อนไหวแบบเบา ๆ เป็นช่วงสั้น ๆ จึงอาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาการท้องอืดหรือมีแก๊สในกระเพาะได้ แต่หลังจากนั้นจะรู้สึกได้ถึงแรงถีบ แรงต่อย และอาการสะอึกของลูกน้อยได้ เด็กแต่ละคนจะมีการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันไป แต่หากสังเกตได้ว่าอาการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ลดลง ควรรีบไปพบคุณหมอทันที ควรระมัดระวังอะไรบ้าง การเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจถือเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน จึงไม่ควรกังวลมากเกินไป ควรพยายามลองปรับตัวและทำความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น รู้สึกร้อนหรืออึดอัด ก็ลองอาบน้ำให้สบายตัว ลองคิดถึงแต่ด้านบวกของการตั้งครรภ์ เช่น ช่วงเวลาของการเป็นแม่คือช่วงเวลาแห่งความสุขสันต์ […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 18

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 18 เริ่มขยายใหญ่ขึ้น โดยมักมีขนาดตัวเท่ากับพริกหยวก หนักประมาณ 200 กรัม และยาวประมาณ 14 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า คุณแม่อาจรู้สึกได้ว่าลูกดิ้น หาวหรือแม้แต่กำลังสะอึก ซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสัญญาณที่ดีสะท้อนพัฒนาการต่าง ๆ ว่าลูกน้อยกำลังเติบโตอย่างแข็งแรง   [embed-health-tool-”due-date”] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 18ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 18 ทารกในครรภ์จะมีขนาดตัวเท่ากับพริกหยวก โดยมีหนักประมาณ 200 กรัม และสูงประมาณ 14 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ลูกน้อยเริ่มเคลื่อนไหวมากขึ้น อาจรู้สึกถึงการกลิ้งไปกลิ้งมา บิดตัว และเตะเท้า รวมถึงอาจรู้สึกได้ว่าลูกน้อยกำลังหาวหรือแม้แต่กำลังสะอึก ซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งบ่งบอกว่าลูกน้อยกำลังเติบโตอย่างแข็งแรง หูของทารกในครรภ์สามารถฟังเสียงได้แล้ว คุณแม่ควรเริ่มสานสัมพันธ์กับลูกน้อย ด้วยการพูดคุย หรือร้องเพลงให้ลูกฟัง เพราะลูกจะรู้สึกสบายใจและอุ่นใจขึ้นเมื่อได้ยินเสียงที่คุ้นเคย ควรหลีกเลี่ยงเสียงดัง หากคุณแม่ใช้เครื่องช่วยฟังก็จะสามารถฟังเสียงหัวใจเต้นของทารกน้อยในครรภ์ได้ชัดเจน  นอกจากนี้ ทารกในครรภ์อาจจะยังเปิดเปลือกตาไม่ได้ แต่ก็สามารถเคลื่อนไหวดวงตาได้เล็กน้อย เพื่อตอบสนองต่อแสงได้บ้างแล้ว ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง เมื่อหน้าท้องเริ่มขยายใหญ่ขึ้น อาการปวดหลังก็จะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากจุดศูนย์ถ่วงเกิดความเปลี่ยนแปลง ทำให้หลังช่วงล่างแบกรับน้ำหนักเอาไว้มากขึ้น อีกเหตุผลนึงก็คือ ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ทำให้กระดูกเชิงกรานขยาย สามารถป้องกัน หรือบรรเทาอาการปวดหลังในขณะตั้งครรภ์ได้ด้วยเคล็ดลับเหล่านี้ หลีกเลี่ยงการนั่งนาน ๆ  ไม่ควรนั่งอยู่กับที่นานเกิน 1 ชั่วโมง ควรลุกเปลี่ยนอิริยาบถ หรือยืดเส้นยืดสายบ้าง เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อและข้อต่อเกร็งตึงจนเกินไป และให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 17 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 17 นี้ ทารกในครรภ์จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกอาจมีขนาดตัวเท่ากับผลทับทิม โดยจะหนักประมาณ 150 กรัม และสูงประมาณ 12 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ในช่วงนี้ทารกอาจเริ่มมีไขมันสะสมอยู่ตามร่างกายแล้ว และไขมันจะสะสมในร่างกายอย่างต่อเนื่อง จนมีน้ำหนักสองในสามของน้ำหนักตัว จนกว่าจะถึงกำหนดคลอด ไขมันสะสมตามร่างกายนี้จะช่วยสร้างความอบอุ่นให้กับทารกในครรภ์ [embed-health-tool-”pregnancy-weight-gain”] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 17 ทารกในครรภ์จะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 17 นี้ ทารกในครรภ์จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกอาจมีขนาดตัวเท่ากับผลทับทิม โดยจะหนักประมาณ 150 กรัม และสูงประมาณ 12 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ในช่วงนี้ทารกอาจเริ่มมีไขมันสะสมอยู่ตามร่างกายแล้ว และไขมันจะสะสมในร่างกายอย่างต่อเนื่อง จนมีน้ำหนักสองในสามของน้ำหนักตัว จนกว่าจะถึงกำหนดคลอด ไขมันสะสมตามร่างกายนี้จะช่วยสร้างความอบอุ่นให้กับทารกในครรภ์ นอกจากนี้ หัวใจของทารกในครรภ์จะเต้นมากกว่าปกติ คือ ประมาณ 140-150 ครั้ง/นาที ซึ่งมากกว่าอัตราการเต้นของหัวใจของคุณแม่ตั้งครรภ์ถึง 2 เท่า ซึ่งเป็นสิ่งบ่งบอกว่าทารกในครรภ์กำลังเติบโตอย่างแข็งแรง ทั้งยังต้องการสารอาหารและออกซิเจนเป็นอย่างมาก ในช่วงสัปดาห์นี้ รกจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพื่อจะได้ตอบสนองต่อความต้องการของทารกในครรภ์ได้อย่างเต็มที่ ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ฮอร์โมนต่าง ๆ อาจทำให้เลือดสูบฉีดไปที่เต้านมมากขึ้น เพื่อช่วยเตรียมเต้านมให้พร้อมสำหรับการให้นมบุตรจึงทำให้เต้านมของคุณแม่ตั้งครรภ์ขยายใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนอาจทำรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว รวมถึงอาจมองเห็นเส้นเลือดที่บริเวณเต้านมได้ชัดเจนขึ้นด้วย คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนอาจจำเป็นต้องซื้อเสื้อชั้นในใหม่ […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 16 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 16 พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 16 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 16 สัปดาห์นี้ทารกในครรภ์จะมีขนาดตัวเท่าผลอะโวคาโด โดยมีหนักประมาณ 100 กรัม และสูงประมาณ 12 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อเล็ก ๆ บนแผ่นหลังของลูกน้อยกำลังแข็งแรงขึ้น ซึ่งอาจช่วยให้ลูกน้อยสามารถยกศีรษะขึ้นตั้งตรงได้ นอกจากนี้ กล้ามเนื้อบนใบหน้าของลูกน้อยก็กำลังแข็งแรงขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งก็หมายความว่า ลูกน้อยสามารถแสดงอารมณ์บนใบหน้าได้มากขึ้น เช่น หรี่ตา ขมวดคิ้ว ยิ้ม ผิวหนังของลูกน้อยจะมีลักษณะโปร่งใส มีเส้นเลือดเล็ก ๆ วางทอดอยู่ใต้ผิวหนังบาง ๆ ตอนนี้ทารกน้อยยังไม่มีไขมันสะสมในร่างกาย เนื่องจากกำลังอยู่ในช่วงพัฒนาอัยวะที่สำคัญอื่นๆ อยู่ ตอนนี้หูของทารกเริ่มพัฒนา จึงอาจได้ยินเสียงต่าง ๆ รวมไปถึงเสียงของคุณแม่ได้แล้ว นี่จึงเป็นโอกาสอันดีในการเริ่มพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่กับลูกน้อย ไม่ว่าจะด้วยการร้องเพลง พูดคุย ถึงแม้ว่าตอนนี้ทารกในครรภ์จะยังไม่เข้าใจว่าพูดอะไร แต่เสียงอาจช่วยทำให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายได้ ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ในช่วงสัปดาห์นี้ คุณแม่อาจรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวในช่องท้อง ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นเพราะการย่อยอาหาร หรือเกิดแก๊สขึ้นในกระเพาะ แต่จริง ๆ แล้ว ลูกน้อยกำลังถีบท้อง โดยการเคลื่อนไหวนี้จะชัดเจนขึ้นตามระยะเวลาของการตั้งครรภ์ หน้าท้องจะเริ่มยื่นออกมามากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ใส่เสื้อผ้าชุดเดิมไม่ได้ และต้องหาเสื้อผ้าใหม่มาใส่ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน