backup og meta

ยาเพิ่มน้ำนม ช่วยกระตุ้นน้ำนมได้อย่างไร และมีอะไรบ้าง

ยาเพิ่มน้ำนม ช่วยกระตุ้นน้ำนมได้อย่างไร และมีอะไรบ้าง

ยาเพิ่มน้ำนม เป็นยาสำหรับคุณแม่ที่มีปัญหาน้ำนมน้อยหรือน้ำนมไม่ไหล เนื่องจากความผิดปกติของฮอร์โมนและสารสื่อประสาทในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการผลิตและการหลั่งของน้ำนม การกินยาเพิ่มน้ำนมจึงอาจช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมเพิ่มขึ้นและเพียงพอต่อทารก อย่างไรก็ตาม ก่อนใช้ยาควรปรึกษาคุณหมอก่อนเสมอเพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่และทารก

[embed-health-tool-bmr]

การผลิตน้ำนมตามธรรมชาติ

น้ำนมแม่ประกอบด้วยแอนติบอดี เอนไซม์ สารอาหารและฮอร์โมน ดังนั้น การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่จึงมีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกายทารก เช่น ช่วยป้องกันการติดเชื้อ ส่งเสริมสติปัญญา ป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน ป้องกันโรคเบาหวาน

โดยน้ำนมจะเริ่มผลิตขึ้นในร่างกายระหว่างอายุครรภ์ 10-22 สัปดาห์ และภายใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด น้ำนมอาจถูกผลิตและหลั่งออกมาเล็กน้อย และหลังจากคลอด 4 วัน ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลงทำให้น้ำนมมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการผลิตน้ำนมถูกควบคุมโดยฮอร์โมนและสารสื่อประสาท โดยการยับยั้งฮอร์โมนโดปามีน (Dopamine) ที่มีหน้าที่ขัดขวางการผลิตน้ำนม และเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ที่ผลิตจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าที่ช่วยในการกระตุ้นต่อมน้ำนมเพื่อสร้างน้ำนม

สำหรับการตอบสนองต่อการดูดนมของทารก เกิดจากฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) ถูกปล่อยออกมาจากต่อมใต้สมองส่วนหลังเพื่อให้เต้านมหลั่งน้ำนมออกมา แต่หากคุณแม่มีความเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนแคทีโคลามีน (Catecholamine) ซึ่งจะยับยั้งฮอร์โมนออกซิโตซินที่อาจทำให้น้ำนมไม่ไหลออกจากเต้านมได้

ยาเพิ่มน้ำนม มีอะไรบ้าง

สำหรับคุณแม่ที่มีปัญหาน้ำนมน้อยซึ่งส่งผลต่อการให้น้ำนมลูก ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับยาเพิ่มน้ำนม ดังนี้

  • กาแล็กตาโกก (Galactagogue)

เป็นยาที่อาจช่วยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนโปรแลคตินที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นต่อมน้ำนมเพื่อช่วยในการสร้างน้ำนม โดยสามารถเริ่มใช้ได้ภายใน 3 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพที่ดีของยา

  • เมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide)

ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนโดปามีนและเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งอาจเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ประมาณ 66-100% ภายใน 2-5 วัน ในปริมาณน้ำนมรวม 30-45 มิลลิกรัม/วัน อย่างไรก็ตาม เมโทโคลพราไมด์อาจทำให้ทารกมีเสี่ยงที่จะเกิดภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ผิดปกติ (Extrapyramidal Symptoms หรือ EPS) และอาจมีผลข้างเคียงต่อคุณแม่ เช่น ท้องร่วง ภาวะซึมเศร้า โดยผลข้างเคียงอาจขึ้นอยู่กับขนาดยาที่ใช้ ซึ่งเกณฑ์การใช้ยาปกติจะไม่เกิน 10 มิลลิกรัม/วัน และต้องใช้ยาอย่างสม่ำเสมอ 3 ครั้ง/วัน หากหยุดยากะทันหันอาจทำให้น้ำนมลดลงในปริมาณมากจนอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของทารกได้

  • ดอมเพอริโดน (Domperidone)

มีการออกฤทธิ์และประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาเมโทโคลพราไมด์ แต่ยาดอมเพอริโดนอาจเข้าสู่น้ำนมเพียงปริมาณเล็กน้อย จึงอาจมีความเสี่ยงที่ทารกจะเกิดภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ผิดปกติได้น้อยกว่าการใช้ยาเมโทโคลพราไมด์

  • ยาทางเลือก

เป็นยาที่ได้จากสมุนไพรบางชนิดที่ถูกนำมาใช้ในการแพทย์พื้นบ้านมาอย่างยาวนาน ซึ่งอาจช่วยในการเพิ่มปริมาณน้ำนม หากได้รับในปริมาณที่เพียงพอ สำหรับตัวอย่างยาสมุนไพรทางเลือก อาจมีดังนี้

  • ถั่วอัลฟัลฟ่า (Medicago Sativa) เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง อาจมีข้อเสีย คือ ทำให้เลือดออกมากหากกินมากเกินไป
  • มิลค์ ทิสเซิล (Milk Thistle) เป็นไม้ดอกชนิดหนึ่ง อาจมีข้อเสีย คือ ทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารและอาการแพ้
  • ไวเท็กซ์แอกนัสแคคตัส (Vitex Agnus-Castus) เป็นยาสมุนไพรตะวันตก อาจมีข้อเสีย คือ ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ระคายเคือง อาการคัน ผื่น ปวดหัว และประจำเดือนเพิ่มขึ้น
  • ผักชีลาว อาจมีข้อเสียที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความสมดุลของโซเดียมในร่างกาย
  • ยี่หร่า อาจมีข้อเสียที่ทำให้เกิดอาการแพ้ และผิวหนังอักเสบ
  • ลูซัด (Trigonella Foenum-Graecum) เป็นพืชกระกูลถั่ว อาจมีข้อเสียที่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ความดันโลหิตสูง ท้องร่วง และกลิ่นตัว

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการยืนยันประสิทธิภาพของยาทางเลือกจากแพทย์แผนปัจจุบัน และอาจมีสารที่เข้าไปผสมในน้ำนมแม่และก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อทารกได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาและปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ยาเสมอ

แม้ว่าปัจจุบันจะพบว่ามียาบางอย่างหรือยาสมุนไพรทางเลือกที่ช่วยในการผลิตและกระตุ้นการหลังน้ำนมดังกล่าว แต่วิธีที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดคือดูดกระตุ้นเต้านมของทารก เพราะจำทำให้มีการกระตุ้นที่ต่อเนื่อง ทั้งยังเสริมสร้างความสัมพัธ์ที่ดีระหว่างมารดาและทารกด้วย ยาจึงอาจจะนำมาใช้ในรายที่มีข้อจำกัดเรื่องการดูดกระตุ้นจากทารกเป็นหลัก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Drugs affecting milk supply during lactation. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5828930/#:~:text=controlled%20clinical%20trials.-,Metoclopramide,infants%20have%20not%20been%20reported. Accessed December 6, 2022

Galactogogues: medications that induce lactation, https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12192964/. Accessed December 6, 2022

Domperidone for improving breast milk supply fact sheet. https://www.childrens.health.qld.gov.au/medicines-fact-sheet-domperidone-for-improving-breast-milk-supply/. Accessed December 6, 2022

Induced Lactation: Breastfeeding for Adoptive Parents. https://www.healthychildren.org/English/family-life/family-dynamics/adoption-and-foster-care/Pages/Inducing-Lactation-Breastfeeding-for-Adoptive-Moms.aspx. Accessed December 6, 2022

Drugs affecting milk supply during lactation. https://www.nps.org.au/australian-prescriber/articles/drugs-affecting-milk-supply-during-lactation. Accessed December 6, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

นมผงสำหรับทารก นมทางเลือกสำหรับทารกที่ไม่ได้กินนมแม่

นมแม่ กับข้อสังเกตอื่น ๆ ที่คุณแม่มือใหม่ควรใส่ใจ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา