ความผิดปกติของเลือด

"เลือด" มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย เพราะเป็นตัวกลางในการช่วยลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างทั่วถึง หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับเลือด ก็อาจส่งผลกระทบถึงส่วนประกอบภายในเลือด ทั้งเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว รวมไปจนถึงเกร็ดเลือด เรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของเลือด ความผิดปกติของเลือด และการดูแลรักษาสุขภาพของระบบเลือดให้ดี ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความผิดปกติของเลือด

เลือดเป็นกรด (Acidosis) สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ วิธีรักษา

เลือดเป็นกรด (Acidosis) คือ ภาวะที่เกิดจากร่างกายมีกรดสะสมในเลือดมากเกินไปและมีระดับด่างหรือเบสน้อย จนร่างกายเสียสมดุล ภาวะนี้อาจเกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ เลือดเป็นกรดจากกระบวนการเผาผลาญ ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย อาจหายใจเร็วและลึกกว่าปกติ และเลือดเป็นกรดจากระบบทางเดินหายใจ มักทำให้มีอาการปวดศีรษะ สับสนมึนงง หายใจไม่อิ่ม หากอาการรุนแรงอาจถึงขั้นหมดสติ ช็อก และเสียชีวิตได้ โดยทั่วไปคุณหมอจะรักษาเลือดเป็นกรดจากสาเหตุเป็นหลัก ภาวะนี้จัดเป็นภาวะอันตราย หากมีอาการที่สงสัยว่าเกิดจากเลือดเป็นกรด ควรรีบไปพบคุณหมอทันที [embed-health-tool-bmi] เลือดเป็นกรด คืออะไร เลือดเป็นกรด เกิดจากร่างกายมีระดับกรดในกระแสเลือดมากเกินไป หรือเมื่อร่างกายสูญเสียไบคาร์บอเนต (Bicarbonate) หรือด่างในปริมาณมาก จนทำให้ภาวะกรด-ด่างเสียสมดุล โดยทั่วไป ค่าความเป็นกรด-ด่างหรือค่า pH ในร่างกายจะแสดงเป็นสเกล 0-14 ตามปกติเลือดจะมีค่า pH อยู่ระหว่าง 7.35-7.45 และร่างกายจะรักษาค่า pH ของเลือดให้ใกล้เคียง 7.40 แต่หากค่า pH ของเลือดต่ำกว่า 7.35 แสดงว่าร่างกายมีกรดมากเกินไปจนระดับความเป็นกรด-ด่างเสียสมดุล และอยู่ในภาวะเลือดเป็นกรด เมื่อเลือดเป็นกรด สมองส่วนที่ควบคุมการหายใจจะกระตุ้นให้ร่างกายหายใจเร็วและลึกขึ้น เพื่อให้ขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกทางการหายใจออกได้มากที่สุด และปรับให้ค่า pH ของเลือดกลับเข้าสู่ภาวะปกติ […]

หมวดหมู่ ความผิดปกติของเลือด เพิ่มเติม

ภาวะโลหิตจาง

สำรวจ ความผิดปกติของเลือด

โรคธาลัสซีเมีย

ลิ่มเลือด อาการ สาเหตุ การรักษา

ลิ่มเลือด เป็นกระบวนการที่มีการรวมตัวของเลือดในบริเวณที่มีบาดแผลฉีกขาด กระบวนการแข็งตัวของเลือดจะกระตุ้นเซลล์ขนาดเล็กในเลือดซึ่งเรียกว่าเกล็ดเลือด จะรวมตัวกันในบริเวณที่เกิดบาดแผลเพื่ออุดกั้นในเบื้องต้น คำจำกัดความลิ่มเลือด คืออะไร ลิ่มเลือด (Blood clot) เป็นกระบวนการที่มีการรวมตัวของเลือดในบริเวณที่มีบาดแผลฉีกขาด และทำให้เลือดหยุดไหล เมื่อมีบาดแผลหรือได้รับบาดเจ็บ ตัวอย่างเช่น หากเกิดมีดบาดโดยบังเอิญ กระบวนการแข็งตัวของเลือดจะกระตุ้นเซลล์ขนาดเล็กในเลือดซึ่งเรียกว่าเกล็ดเลือด จะรวมตัวกันในบริเวณที่เกิดบาดแผลเพื่ออุดกั้นในเบื้องต้น ปัจจัยการแข็งตัวของเลือดในเลือด ทำให้เกิดปฏิกิริยาห่วงโซ่อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เกิดสายของโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ไฟบริน  (Fibrin) ซึ่งทำหน้าที่ยึดเกล็ดเลือดเข้าด้วยกัน เกล็ดเลือดจำนวนมากจะมีการเชื่อมติดกันทางเคมี เพื่อทำให้เกิดลิ่มเลือดที่แข็งแรง เพื่อทำให้เลือดหยุดไหล โดยมีโปรตีนชนิดอื่นๆ ในร่างกายที่ช่วยยับยั้งกระบวนการแข็งตัวของเลือด เมื่อลิ่มเลือดมีขนาดใหญ่มากพอ และเมื่อบาดแผลหายแล้ว สายไฟบรินจะสลายไปเอง และเกล็ดเลือดจะกลับไปเป็นเพียงเนื้อเยื่อเลือดตามปกติ ลิ่มเลือด พบบ่อยเพียงใด ลิ่มเลือดพบได้บ่อยมาก โดยสามารถส่งผลได้ต่อคนทุกวัย แต่สามารถป้องกันได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของการเกิดลิ่มเลือด คุณอาจสังเกตเห็น เมื่อคุณทำมีดบาดตนเอง มีบริเวณที่บวมขนาดเล็กโดยรอบบาดแผล ในบางครั้งมีอาการคันและมีอาการเจ็บแน่นอน อาการต่างๆ ของลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ มีความคล้ายคลึงกัน เมื่อลิ่มเลือดเกิดขึ้นในหลอดเลือดดำ แล้วจะมีรอยแดง อาการเจ็บ อาการบวม และอาจรู้สึกร้อน ในบางครั้ง บริเวณที่มีอาการบวมทั้งหมดมีสีน้ำเงิน เนื่องจากมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นมาก อย่างไรก็ดี หากมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดง อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น ตามปกติ เลือดจะไหลเวียนไปตามหลอดเลือดแดง เพื่อทำหน้าที่ทางชีววิทยา เช่น การหายใจ ดังนั้น หากเกิดลิ่มเลือด อาจมีอาการเหงื่อออก หายใจลำบาก และในบางครั้งอาจมีอาการคลื่นไส้ เจ็บหน้าอก […]


ความผิดปกติของเลือด

โรคเลือด อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคเลือด คือ ความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หายใจลำบาก ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง คำจำกัดความโรคเลือด คืออะไร เลือด เป็นประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลวซึ่งเรียกว่า พลาสมา และของแข็งซึ่งประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด เมื่อเลือดเกิดความผิดปกติอาจส่งผลต่อองค์ประกอบของเลือด ดังนี้  เซลล์เม็ดเลือดแดง ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หายใจลำบาก  เซลล์เม็ดเลือดขาว ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย เกล็ดเลือด หากเกล็ดเลือดต่ำอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียเลือดมากแม้ได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย หรือหากเกล็ดเลือดสูงอาจส่งผลให้เลือดก่อตัวเป็นลิ่มเลือดจนเกิดอาการอุดตัน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจวาย    อาการอาการของโรคเลือด ความผิดปกติของเลือดที่ส่งผลต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง  เหนื่อยล้า  อ่อนเพลีย  หายใจหอบ  ภาวะโลหิตจาง  ธาลัสซีเมีย  โรคเลือดข้น  ความผิดปกติของเลือดที่ส่งผลต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว  เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ  มะเร็งเม็ดเลือดขาว  มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการวิงเวียนศีรษะ หายใจถี่ หัวใจเต้นเร็ว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความผิดปกติของเลือดที่ส่งผลต่อเกล็ดเลือด  เสียเลือดได้ง่ายถึงแม้ว่าจะมีอาการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย  ผิวช้ำกระจายใต้ผิวหนัง  เลือดออกบริเวณจมูก เหงือก ระบบทางเดินอาหาร ระบบปัสสาวะ โดยไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุสาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคเลือด สาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคเลือด มีดังต่อไปนี้ กรรมพันธุ์ โรคเลือดสามารถถ่ายทอดได้ในครอบครัว หมายความว่าหากพ่อแม่หรือพี่น้องของเป็นโรคเลือด อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคเลือดได้ การติดเชื้อ การติดเชื้อบางชนิดสามารถลดจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดได้ การติดเชื้ออื่น ๆ ยังอาจเพิ่มการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวได้อีกด้วย การขาดสารอาหาร ความผิดปกติเกี่ยวกับการดูดซึมธาตุเหล็ก สามารถทำให้เกิดโรคเลือดได้ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดแดงได้อย่างเพียงพอ   ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของโรคเลือด ปัจจัยเสี่ยงของโรคเลือด มีดังต่อไปนี้ รับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง โรคอ้วน การสูบบุหรี่ ลำไส้ผิดปกติ โรคเรื้อรัง ประจำเดือนหรือการตั้งครรภ์ อายุที่มากขึ้น มีการออกกำลังกายที่ใช้แรงมาก ขาดการออกกำลังกาย การวินิจฉัยโรคการวินิจฉัยและการรักษา ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยโรคเลือด เพื่อตรวจหาความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด คุณหมออาจทำการทดสอบ ดังต่อไปนี้ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เป็นการทดสอบที่พบได้บ่อยที่สุด สำหรับการตรวจหาความผิดปกติของเลือด เพื่อประเมินส่วนประกอบเกี่ยวกับเซลล์เลือดทั้งหมด  อัตราการสร้างเม็ดเลือดแดง เป็นการวัดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นใหม่ ในปริมาณเลือดเฉพาะ เพื่อวัดประสิทธิภาพของไขกระดูกในการสังเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นใหม่ การทดสอบเซลล์เม็ดเลือดพิเศษ คุณหมออาจวัดสัดส่วนของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดที่แตกต่างกัน และความสามารถของเซลล์เม็ดเลือดขาว […]


ภาวะโลหิตจาง

โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก สัญญาณบ่งชี้และอาการที่ควรรู้

โลหิตจางเป็นโรคร้ายแรง และโลหิตจางก็มีหลายประเภทจากสาเหตุที่ต่างกัน มาทำความรู้จักกับ โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก อีกหนึ่งสาเหตุของโลหิตจางที่ร้ายแรง โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกคืออะไร ด้วยเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้สามารถลำเลียงออกซิเจน จากปอดไปยังหัวใจและทั่วร่างกายได้ เซลล์เม็ดเลือดแดงจำนวนมาก เกิดขึ้นจากไขกระดูก โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytic anemia) เกิดขึ้นเมื่อไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงในระดับที่เพียงพอ เพื่อทดแทนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ตายแล้วได้ โดยทั่วไปแล้ว โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกสามารถเกิดจากปัจจัยภายในหรือปัจจัยภายนอก โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกภายนอก (extrinsic hemolytic anemia) ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าภูมิต้านทานตนเองทำลายเม็ดเลือดแดง (autoimmune hemolytic anemia) เกิดขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติ ถูกเก็บและทำลายโดยม้าม ภูมิต้านทานตนเองทำลายเม็ดเลือดแดง ยังสามารถเกิดจากการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เกิดจากลูคีเมีย (leukemia) เนื้องอก การติดเชื้อ โรคภูมิต้านทานตัวเอง หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยา คุณจะเป็นโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกภายใน (intrinsic hemolytic anemia) เมื่อร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่บกพร่อง โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกภายใน มักถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยเฉพาะในผู้ป่วยธาลัสซีเมีย หรือโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle cell anemia) ภาวะดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้จากโรคบางประเภท อาจเกิดจากตับอักเสบ (hepatitis) ไข้ไทฟอยด์ (typhoid fever) ม้ามโต (enlarged spleen) โรคลูปัส (lupus) การติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส (streptococcus) […]


โรคธาลัสซีเมีย

ประเภทของธาลัสซีเมีย เรื่องที่คุณควรรู้

ธาลัสซีเมีย เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับเลือดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เพื่อความเข้าใจในอาการของโรคนี้ให้ดีขึ้น มาทำความรู้จักกับ ประเภทของธาลัสซีเมีย สองแบบที่แตกต่างกัน ธาลัสซีเมียคืออะไร ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ที่ทำให้ร่างกายสร้างฮีโมโกลบินในรูปแบบที่ผิดปกติ ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) เป็นส่วนประกอบหลักของเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งมีหน้าที่ในการลำเลียงออกซิเจน ผลประการหนึ่งของธาลัสซีเมียคือ เซลล์เม็ดเลือดแดงจำนวนมากถูกทำลายลง จึงทำให้เกิดภาวะเลือดจาง ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายไม่มีเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่เป็นปกติและสุขภาพดีอย่างเพียงพอ ธาลัสซีเมียบ่งชี้ว่า พ่อแม่ของคุณอย่างน้อยหนึ่งคน เป็นพาหะของโรค การกลายพันธ์ุของยีน หรือการสูญเสียยีนสำคัญเฉพาะ สามารถทำให้เกิดธาลัสซีเมียได้ ธาลัสซีเมียที่มีอาการไม่รุนแรง อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา อย่างไรก็ดี มีธาลัสซีเมียประเภทที่รุนแรงกว่า อาจจำเป็นต้องเข้ารับการถ่ายเลือดอยู่เสมอ อาการของธาลัสซีเมียมีอะไรบ้าง                                                       […]


ภาวะโลหิตจาง

โลหิตจางจากปัจจัยทางพันธุกรรม ที่ควรรู้จักมีอะไรบ้าง?

สาเหตุของการเกิดโลหิตจางมีอยู่มากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่คนทั่วไปอาจจะไม่ทราบนั่นก็คือ ปัจจัยทางพันธุกรรม ภาวะโลหิตจางบางชนิดเป็น โลหิตจางจากปัจจัยทางพันธุกรรม เช่น ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle Cell Anemia) สามารถถ่ายทอดได้จากบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคน มีความเชื่อกันทั่วไปว่า ภาวะโลหิตจางไม่เพียงแต่จะเกิดจากอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และปัจจัยภายนอก แต่ยังสามารถเกิดได้จากปัญหาทางสุขภาวะที่นอกเหนือการควบคุม โรคเกี่ยวกับเลือดที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมีดังนี้ รู้จักกับโรค โลหิตจางจากปัจจัยทางพันธุกรรม ชนิดต่างๆ โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle Cell Disease) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่าภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว เป็นโรคเกี่ยวกับเลือดที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ลักษณะก็คือมีความผิดปกติของโมเลกุลฮีโมโกลบิน ที่ลำเลียงออกซิเจนภายในเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เหล่านี้มีจะแนวโน้มที่จะมีความผิดปกติ แข็ง และมีรูปร่างเหมือนเคียว ภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพ แบบฉับพลันและแบบเรื้อรังจำนวนหนึ่ง เช่น การติดเชื้อที่รุนแรงและอาการปวดที่รุนแรง (ภาวะเม็ดเลือดแดงรูปเคียววิกฤต) และเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิต โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวจะเกิดขึ้น เมื่อบุคคลนั้นได้รับถ่ายทอดรูปแบบดีเอ็นเอที่ผิดปกติของยีนฮีโมโกลบิน ทั้งจากพ่อและแม่ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย สาเหตุของโรคธาลัสซีเมีย คือ ความผิดปกติของโครงสร้างฮีโมโกลบินมนเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยสองความผิดปกติหลักของโรคนี้ ได้แก่ อัลฟ่าธาลัสซีเมีย และเบต้าธาลัสซีเมีย ขึ้นอยู่กับส่วนของฮีโมโกลบินที่หายไป (ฮีโมโกลบินคือโครงสร้างโปรตีนที่ลำเลียงออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดง) รูปแบบของโรคอัลฟ่าธาลัสซีเมียที่รุนแรงที่สุด และที่พบมากที่สุดในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และฟิลิบปินส์ ก็คือการแท้งบุตรหรือเด็กเสียชีวิตตั้งแต่กำเนิด คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคอัลฟ่าธาลัสซีเมีย ต้องทรมานกับภาวะโลหิตจางเรื้อรัง บางส่วนมีความผิดปกติอย่างรุนแรง และมีอายุสั้น ธาลัสซีเมียเป็นโรคที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของยีนด้อย จึงไม่สามารถส่งต่อจากลูกคนหนึ่งไปสู่ลูกอีกคนหนึ่งได้ มนุษย์ทุกคนนั้นจะมียีนอยู่สองยีน (จากพ่อและแม่อย่างละหนึ่ง) […]


ความผิดปกติของเลือดแบบอื่น

ภาวะแทรกซ้อนของโรคธาลัสซีเมีย และวิธีการรักษา

โรคธาลัสซีเมียสามารถปรากฏขึ้นได้ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค และ ภาวะแทรกซ้อนของโรคธาลัสซีเมีย จะมีอาการแตกต่างกันไป  ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มียีนอัลฟ่าธาลัสซีเมีย หรือเบต้าธาลัสซีเมีย มักจะไม่แสดงอาการของโรค สัญญาณของภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytic anemia) เช่น ผิวซีดหรือตับม้ามโตแต่กำเนิด (สำหรับยีนอัลฟ่าธาลัสซีเมีย) หรือไม่กี่เดือนหลังจากกำเนิด (สำหรับเบต้าธาลัสซีเมีย) บ่งชี้ว่าเป็นโรคนี้ในระดับที่รุนแรง โดยเฉพาะหากมีอาการขาดเม็ดเลือดแดงเล็ก ภาวะแทรกซ้อนของโรคธาลัสซีเมีย มีอะไรบ้าง ภาวะเหล็กเกิน นี่เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย เมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีฮีโมโกลบินผิดปกตินั้นถูกทำลาย หรือเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ได้รับการถ่ายเลือดมานั้นมีอายุเพิ่มมากขึ้น ก็จะปล่อยธาตุเหล็กในปริมาณมากออกมา และค่อยๆ สะสมอยู่ในอวัยวะต่างๆ เช่น ตับหรือหัวใจ ทำให้เกิดพังผืดและอวัยวะล้มเหลว ผู้ป่วยจะมีเลือดออกง่ายและไวต่อการติดเชื้อ อาการระบบต่อมไร้ท่อบกพร่องแบบทุติยภูมิ (Secondary endocrine disorders) ในผู้ป่วยที่ได้รับการถ่ายเลือดหลายครั้งจะแสดงออกดังนี้ ภาวะต่อมใต้สมองทำงานน้อย ส่วนสูงลดลง โรคเบาหวาน ภาวะขาดไทรอยด์ การติดเชื้อ ผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดม้ามออกไปจะมีความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากม้ามมีส่วนสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกัน การเปลี่ยนรูปของกระดูก ผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียในระดับรุนแรง เซลล์เม็ดเลือดแดงจะถูกทำลาย ทำให้มีการเพิ่มจำนวนของเม็ดเลือดแดงในไขกระดูกในปริมาณมาก เพื่อชดเชยส่วนที่ขาด สภาพที่ถูกปั้นได้ง่าย (Hyperplasticity) ของไขกระดูกทำให้กระดูกนั้นเปลี่ยนรูปร่าง และทำให้กระดูกเปราะและบอบบาง กระดูกชิ้นแบนอย่างกะโหลกศีรษะ จะมีความบิดเบี้ยวมาก เด็กที่เป็นโรคธาลัสซีเมียในระดับรุนแรง จะมีหน้าผาก ปลายจมูก และกรามยื่นออกมา ภาวะม้ามโต หน้าที่ทางสรีรวิทยาที่สำคัญของม้ามมีดังนี้ ขจัดเซลล์ที่ผิดปกติ เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงเก่า ผลิตแอนติบอดี้ที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน เก็บรักษาเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด พร้อมจะปล่อยเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตเมื่อจำเป็น สำหรับโรคธาลัสซีเมีย ม้ามจะทำงานมากเกินไปในการกำจัดเซลล์เม็ดเลือดแดงผิดปกติที่ขยายตัวขึ้น และมีการทำงานที่ผิดปกติ ม้ามจะทำให้ภาวะโลหิตจางนั้นรุนแรงขึ้น เนื่องจากอายุขัยของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ได้รับจากการถ่ายเลือดลดลง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ในกรณีของภาวะม้ามโต […]


ฮีโมฟีเลีย / โรคเลือดไหลไม่หยุด

ฮีโมฟีเลีย (Hemophilia)

ฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หรือโรคเลือดไหลไม่หยุด เป็นโรคหายาก ซึ่งมีอาการผิดปกติจากการที่เลือดไม่สามารถแข็งตัวได้ตามปกติ เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้น้อย และมักเกิดกับผู้ชาย คำจำกัดความฮีโมฟีเลีย คืออะไร โรค ฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หรือโรคเลือดไหลไม่หยุด เป็นโรคหายาก ซึ่งมีอาการผิดปกติจากการที่เลือดไม่สามารถแข็งตัวได้ตามปกติ โรคนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ โรคฮีโมฟีเลีย เอ (classic hemophilia หรือ factor VIII deficiency) โรคฮีโมฟีเลีย บี (Christmas disease หรือ factor IX deficiency) โปรตีน Factor VIII และ factor IX เป็นโปรตีนสำคัญในเลือดที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ดังนั้น ปัจจัยเหล่านี้ที่ลดต่ำเกินไปจะก่อให้เกิดโรคฮีโมฟีเลีย หากคุณเป็นโรคฮีโมฟีเลีย คุณอาจมีภาวะเลือดออกหลังจากมีบาดแผลนานกว่าก่อนหน้านี้ที่เลือดมีการแข็งตัวตามปกติ บาดแผลเล็กอาจจะไม่เป็นปัญหามาก ปัญหาทางสุขภาพที่รุนแรงกว่าคือ ภาวะเลือดออกลึกภายในร่างกายของคุณ โดยเฉพาะที่หัวเข่า ข้อเท้า และข้อศอก ภาวะเลือดออกภายในร่างกายสามารถสร้างความเสียหายต่ออวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ โรคฮีโมฟีเลีย พบได้บ่อยแค่ไหน ฮีโมฟีเลีย เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้น้อย และมักเกิดขึ้นกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง อย่างไรก็ดี โรคฮีโมฟีเลียนี้สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของโรค ฮีโมฟีเลีย สิ่งบ่งชี้และอาการของโรคฮีโมฟีเลียนั้นหลากหลายขึ้นอยู่กับระดับของปัจจัยในการแข็งตัวของเลือด สิ่งบ่งชี้และอาการของโรค ได้แก่ มีเลือดออกโดยไม่ทราบสาเหตุ มีเลือดออกมากเมื่อบาดเจ็บ […]


ความผิดปกติของเลือดแบบอื่น

ภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลต เกิดได้อย่างไรและป้องกันได้อย่างไรบ้าง

ภาวะโลหิตจาง เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่ทำหน้าที่ส่งออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกายไม่เพียงพอ สาเหตุอย่างหนึ่งของภาวะโลหิตจาง ซึ่งเป็นภาวะที่เซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยลง ก็คือ การขาดโฟเลต (folate) หรือ โลหิตจางจากการขาดโฟเลต โฟเลต คือ วิตามินบีที่รู้จักกันในชื่อกรดโฟลิค เมื่อขาดโฟเลตความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า เมกะโลไซต์หรือเมกะโลบลาสต์จะพบได้ในไขกระดูก (bone marrow) ซึ่งทำให้ภาวะที่เกิดกับเซลล์เม็ดแดงชนิดนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะโลหิตจางเมกะโลบลาสต์ (megaloblast anemia) Hello คุณหมอ จึงชวนมารู้จักกับ ภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลต นี้กันค่ะ คุณสมบัติทางชีวภาพของโฟเลต กรดโฟลิค เป็นกลุ่มของสารเคมีและสสารทางชีวภาพ ที่มีคุณสมบัติคล้ายกัน ได้แก่ กรดโฟลิคเตตระไฮโดรฟิวแรน (folic acid tetrahydrofuran) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของกรดโฟลิค ซึ่งรูปออกฤทธิ์ของกรดโฟลิค กรดโฟลิคถูกส่งไปยังเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ตับ ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุปริมาณของกรดโฟลิคได้แน่ชัด การระบุปริมาณกรดโฟลิคสำรองได้ เป็นไปได้ว่ามีปริมาณน้อย แต่มากพอสำหรับความต้องการของร่างกายใน 4-5 เดือน สาเหตุของ ภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลต เกิดจากการขาดสารอาหาร โภชนาการที่ไม่ดี หรือทานอาหารไม่ครบทุกหมู่ เกิดจากการดูดซึมของลำไส้ที่เป็นแผล อาการดูดซึมอาหารที่ผิดปกติ ท้องร่วงเรื้อรัง วัณโรคในลำไส้ และการขาดกรดโฟลิค หรือภาวะการดูดซึมที่ผิดปกติอันเกิดจากการใช้ยา เช่น ยาบาร์บิทูริค (bacbituric) และยาต้านป้องกันอาการชัก […]


ภาวะโลหิตจาง

โลหิตจาง อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

โลหิตจาง (Anemia) คือ ภาวะขาดฮีโมโกลบินซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในเซลล์เม็ดเลือดแดง ส่วนใหญ่เกิดจากร่างกายขาดธาตุเหล็ก เมื่อมีฮีโมโกลบินน้อยเกินไปจึงทำให้เลือดไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ และอาจปวดศีรษะหรือหายใจถี่ได้ด้วย คำจำกัดความโลหิตจาง คืออะไร โลหิตจาง (Anemia) คือ ภาวะที่ร่างกายขาดฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์และเนื่อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อขาดฮีโมโกลบิน ร่างกายจึงได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จนอาจทำงานผิดปกติได้ โลหิตจาง แบ่งตามสาเหตุการเกิดได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ โลหิตจางเนื่องจากร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงได้น้อยลง เช่น โลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก โลหิตจางจากภาวะขาดวิตามินบี โลหิตจางจากภาวะขาดโฟเลต โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ โลหิตจางเนื่องจากร่างกายทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงมากเกินไป เช่น โรคธาลัสซีเมีย โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกง่าย โลหิตจางจากโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว โลหิตจางจากการเสียเลือดอย่างฉับพลัน เช่น โลหิตจางจากการตกเลือด โลหิตจางจางการเกิดอุบัติเหตุ อาการอาการของโลหิตจาง อาการของโลหิตจางอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุ อย่างไรก็ตาม อาการที่อาจพบได้ เช่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ผิวซีด ตัวเย็น หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจลำบาก เวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก มือและเท้าเย็น และปวดศีรษะ อาการของโลหิตจางอาจสังเกตไม่ได้ในระยะแรก แต่จะรุนแรงขึ้นเมื่อโรคลุกลาม ควรไปพบหมอเมื่อใด หากมีอาการข้างต้นโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง แนะนำให้เข้าพบคุณหมอทันที สาเหตุสาเหตุโลหิตจาง สาเหตุหลักของภาวะโลหิตจาง คือ การขาดฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง มักเกิดจาก ร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงได้น้อยลง เนื่องจากขาดวิตามินและแร่ธาตุอย่างธาตุเหล็ก วิตามินบี หรือเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก […]


โรคธาลัสซีเมีย

วิธีรักษาโรคธาลัสซีเมีย มีอะไรบ้าง และช่วยให้หายขาดได้ไหม

โรคธาลัสซีเมีย คือ หนึ่งในความผิดปกติเกี่ยวกับเลือดที่ถ่ายทอดกันทางพันธุกรรม แม้โรคนี้จะป้องกันไม่ได้ แต่ปัจจุบันก็มี วิธีรักษาโรคธาลัสซีเมีย หลากหลายแบบเพื่อช่วยบรรเทาอาการและอาจช่วยทำให้หายขาดจากโรคนี้ได้ ในบทความนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมแนวทางการรักษา ธาลัสซีเมีย มาฝาก ธาลัสซีเมีย คืออะไร ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับเลือดซึ่งได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ทว่ากลับมีการปิดกั้นไม่ให้ร่างกายสังเคราะห์ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ได้ตามปกติ ซึ่งฮีโมโกลบินเป็นโมเลกุลโปรตีนที่มีบทบาทสำคัญมากในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สุขภาพดี และสามารถลำเลียงออกซิเจนได้ดี โรคนี้ไม่สามารถแพร่กระจายจากคนหนึ่ง ไปยังอีกคนหนึ่งได้จากการสัมผัส เพราะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งหมายความว่าพ่อหรือแม่ หรือทั้งพ่อและแม่ของคุณเป็นพาหะของโรค ธาลัสซีเมียส่วนใหญ่ มักเกิดขึ้นในครอบครัวของชาวเอเชียใต้ ชาวจีน ชาวตะวันออกกลาง และชาวแอฟริกัน เพื่อให้ทราบว่า คุณมีลักษณะสืบสายพันธุ์ธาลัสซีเมียหรือไม่นั้น คุณจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเลือดแบบพิเศษ คือ การตรวจเลือดแบบ (Hemoglobin Electrophoresis) เพื่อดูผลของค่าการตรวจเลือด ว่ามีค่าผิดปกติที่ อาจจะมีแนวโน้มหรือกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะเป็น ธาลัสซีเมีย หรือไม่อย่างไร วิธีรักษาโรคธาลัสซีเมีย มีอะไรบ้าง การรักษา ธาลัสซีเมีย ยึดตามชนิดของธาลัสซีเมียที่คุณเป็นและระดับความรุนแรงของโรค แพทย์จะกำหนดการรักษาที่จัดว่าเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วย ผู้ที่เป็นพาหะของโรค หรือผู้ที่มีลักษณะสืบสายพันธุ์อัลฟ่าธาลัสซีเมีย หรือเบต้าธาลัสซีเมีย ซึ่งมักแสดงอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการเลย หากเป็นกรณีที่ไม่มีการแสดงอาการเลย ก็อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเลย หรือขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ หากเป็น ธาลัสซีเมียในระดับปานกลางและรุนแรง ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาอย่างเป็นมาตรฐาน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน