backup og meta

ฝึกลูกกินข้าวเอง เคล็ดลับง่าย ๆ ที่พ่อแม่ควรใส่ใจตั้งแต่ขวบปีแรก

ฝึกลูกกินข้าวเอง อาจเริ่มได้ตั้งแต่ช่วงขวบปีแรก ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถรู้จักฝึกหัดช่วยเหลือตัวเอง เป็นการแบ่งเบาภาระพ่อแม่ ทำให้มีเวลาเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเป็นการส่งเสริมทักษะและพัฒนาการการใช้นิ้ว มือ และรู้จักควบคุมการเคลื่อนไหวของเด็ก อีกทั้งฝึกฝนให้เด็ก ๆ เริ่มรู้จักควบคุมตัวเองและรับผิดชอบตัวเอง

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ควร ฝึกลูกกินข้าวเอง เมื่อไรดี

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเด็กมีอายุ 7-9 เดือน ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้น ฝึกลูกกินข้าวเอง   ในช่วงเวลานี้ ลูกน้อยสามารถนั่งตัวตรงได้ด้วยตัวเอง และเริ่มฝึกการควบคุมการเคลื่อนไหว และใช้นิ้วมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้แล้ว การหยิบจับของเด็กเล็ก จะเริ่มจากการใช้หัวแม่มือร่วมกับนิ้วอื่น ๆ มีสัญญาณต่าง ๆ ที่สามารถบ่งบอกได้ว่า ลูกน้อยพร้อมแล้ว สำหรับฝึกกินอาหารด้วยตนเอง เช่น

  • สามารถนั่งได้ด้วยตนเอง
  • หยิบจับสิ่งของเข้าปากได้
  • เริ่มเคี้ยวอาหารได้
  • ถือขวดนมได้เองระหว่างป้อนนม

เริ่มต้น ฝึกลูกกินข้าวเอง ได้อย่างไร

ขั้นตอนแรก ควรให้โอกาสลูกน้อย ในการลองกินอาหารด้วยตัวเองก่อน ลองให้อาหารแห้ง ชิ้นใหญ่ (แต่ไม่ใหญ่จนอาจทำให้สำลัก) หรืออาจแบ่งอาหารออกเป็น 4-5 ชิ้น แล้วค่อย ๆ เพิ่มอย่างช้า ๆ วางลงในจานข้าวขณะที่ลูกกินอาหาร เนื่องจากการเริ่มต้นด้วยอาหารที่มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งวางไว้ในจุด ๆ เดียว อาจทำให้ลูกนำอาหารทุกชิ้นเข้าปากในคราวเดียว หรือทำตกกระจัดกระจายบนพื้นได้

นอกจากนั้นแล้ว อาจช่วยเสริมสร้างความมั่นใจของลูก ด้วยการชื่นชมเมื่อลูกใช้ช้อนได้ หากลูกยังไม่สามารถใช้ช้อนได้ อย่าเพิ่งบังคับ ลองให้เวลาอีกสัก 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้พร้อมมากยิ่งขึ้น

ฝึกลูกกินข้าวเอง ควรกินอาหารประเภทไหน

เริ่มต้นด้วยอาหารที่ลูกชอบ โดยหั่นมาเป็นลูกเต๋าขนาดเล็กพอดีคำที่ลูกจะหยิบจับเข้าปากตัวเองได้  นอกจากนี้ อาจลองหาอาหารแข็งที่มีเนื้อนุ่มหนึบ หั่นเป็นชิ้นขนาดเท่าเมล็ดถั่ว เช่น ชีส กล้วย มะม่วง แครอทต้ม หรืออาหารที่นุ่มกว่า หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เช่น ขนมปัง หรือเต้าหู้

ฝึกลูกกินข้าวเอง ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทใด

เคล็ดลับสำคัญในการ ฝึกลูกกินข้าวเอง คือ การให้เวลากับลูกที่จะเรียนรู้ อย่าไปเร่งรัด หากเห็นว่าลูกฝึกกินข้าวเองแล้วได้รับปริมาณอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย พ่อแม่อาจต้องป้อนอาหารเหลวหรือของว่างเพื่อให้ลูกน้อยได้กินอิ่มอย่างเพียงพอ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

New study says that it’s safe to skip the spoon and let babies feed themselves. https://www.health.harvard.edu/blog/new-study-says-safe-skip-spoon-let-babies-feed-2016092010375. Accessed November 29, 2022.

Self-Feeding: The Complete Guide for Babies and Toddlers

https://yourkidstable.com/teach-your-child-to-feed-themselves/. Accessed November 29, 2022.

Baby Self-Feeding: Tips, Tricks and Finger Foods to Try.

https://www.whattoexpect.com/first-year/feeding-baby/baby-self-feeding/. Accessed November 29, 2022.

8 tips to encourage your toddler to self feed. https://www.childrensnutrition.co.uk/full-blog/self-feed. Accessed November 29, 2022.

Baby-Led Weaning: What You Need to Know. https://health.clevelandclinic.org/baby-led-weaning/. Accessed November 29, 2022.

Your baby’s first solid foods. https://www.nhs.uk/conditions/baby/weaning-and-feeding/babys-first-solid-foods/. Accessed November 29, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/11/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทารกแหวะนม อย่าตกใจ ลองหาสาเหตุเพื่อแก้ไขอาการน่าห่วงของลูกน้อย

ภาษากาย ของลูกรัก ท่าทางแบบไหน มีความหมายว่าอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลโดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์ · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร · เขียน โดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไข 29/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา