backup og meta

ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด อาการ สาเหตุ และการรักษา

ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด อาการ สาเหตุ และการรักษา

ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด (Gastroschisis) เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดของผนังหน้าท้องในช่องท้องที่ปิดไม่สนิทในทารกแรกคลอด ทำให้ลำไส้ของทารกออกมาอยู่นอกช่องท้องและอาจส่งผลให้อวัยวะอื่น ๆ หลุดออกมาด้วย ภาวะนี้ต้องได้รับการรักษาทันที เพราะอาจอันตรายถึงชีวิตได้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

คำจำกัดความ

ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด คืออะไร

ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด (Gastroschisis) เกิดจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของผนังหน้าท้องในช่องท้องที่ปิดไม่สนิทในทารกแรกคลอด ทำให้ลำไส้ของทารกออกมาอยู่นอกช่องท้องและอาจส่งผลให้อวัยวะอื่น ๆ หลุดออกมาด้วย ภาวะนี้ต้องได้รับการรักษาทันทีหลังคลอด เนื่องจากอาจอันตรายถึงชีวิต

ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิดพบได้บ่อยเพียงใด

ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิดพบได้บ่อยในทารกแรกคลอด

อาการ

อาการของภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด

ทารกที่อยู่ในภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด อาจสูญเสียความร้อนและน้ำอย่างรวดเร็วจากลำไส้ ส่งผลให้ทารกมีภาวะขาดน้ำและภาวะตัวเย็นเกิน นอกจากนี้ อวัยวะอื่น ๆ อาจยื่นออกมาพร้อมกับลำไส้ เช่น ถุงน้ำดี มดลูก รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ อัณฑะ

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด

ในปัจจุบันยังไม่สามารถพบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะลำไส้ทารกอยู่นอกช่องท้อง แต่อาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมกันร่วมกับปัจจัยสภาพแวดล้อม 

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะลำไส้ทารกอยู่นอกช่องท้อ อาจมีดังนี้

  • อายุต่ำกว่า 20 ปี
  • สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์
  • ดื่มเครื่องแอลกอฮลล์

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด

โดยปกติอาการจะไม่แสดงออกขณะตั้งครรภ์ แต่ในระหว่างการตั้งครรภ์คุณหมออาจสันนิษฐานโรคได้จากการตรวจวัดระดับโปรตีน ที่มีชื่อเรียกว่า อัลฟาฟีโตโปรตีน (Alpha-Fetoprotein หรือ AFP) หากมีระดับโปรตีนสูงกว่าปกติอาจทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด

การรักษาภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด

คุณหมออาจใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับทารก ในกรณีที่ทารกมีช่องโหว่บริเวณหน้าท้องขนาดเล็ก คุณหมอจะทำการผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะที่ออกมานอกลำไส้กลับเข้าไปสู่ภายช่องท้องในทารก หากทารกมีช่องโหว่ขนาดใหญ่ คุณหมออาจนำ ไซโล ซึ่งเป็นพลาสติกที่ทำขึ้นพิเศษ วางไว้เหนือลำไส้ เพื่อป้องกันเชื้อโรค ไม่ให้ติดเชื้อ ก่อนจะทำการผ่าตัดนำลำไส้และอวัยวะกลับเข้าที่

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อรักษาภาวะลำไส้ทารกอยู่นอกช่องท้อง

การป้องกันกลุ่มภาวะลำไส้ทารกอยู่นอกช่องท้อง สามารถลดความเสี่ยงได้โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันกลุ่มภาวะลำไส้ทารกอยู่นอกช่องท้อง สิ่งสำคัญคือคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องหมั่นดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  นอกจากนี้ ในระหว่างตั้งครรภ์ให้เข้ารับการตรวจกับคุณหมอเป็นประจำ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Gastroschisis?. https://kidshealth.org/en/parents/gastroschisis.html. Accessed January 4, 2020.

Pediatric Omphalocele and Gastroschisis (Abdominal Wall Defects). https://emedicine.medscape.com/article/975583-overview. Accessed January 4, 2020.

What is gastroschisis and where to find gastroschisis treatment?. https://www.childrensmn.org/services/care-specialties-departments/fetal-medicine/conditions-and-services/gastroschisis/. Accessed January 4, 2020.

Facts about Gastroschisis. https://www.cdc.gov/ncbddd/birthdefects/gastroschisis.html#:~:text=Gastroschisis%20(pronounced%20gas-troh-,body%2C%20exiting%20through%20the%20hole. Accessed May 13, 2022

Gastroschisis. https://www.cincinnatichildrens.org/health/g/gastroschisis. Accessed May 13, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว (Contraction Stress Test)

fetal alcohol syndrome คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา