ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

การรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น สามารถช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สนับสนุนการเติบโตและพัฒนาการในระยะยาวของพวกเขาได้ ค้นหาข้อมูลที่ได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญจาก ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

ไหลตายในเด็กทารก หรือ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome)

โรค ไหลตายในเด็กทารก (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS) ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดในเด็กอายุ 1 เดือน ถึง 1 ปี เป็นการเสียชีวิตของเด็กทารกอย่างกะทันหัน โดยไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุการเสียชีวิตได้ แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากความบกพร่องทางสมองในส่วนควบคุมการหายใจ ไม่สามารถรักษาหรือป้องกันได้ แต่อาจใช้วิธีดูแลอย่างใกล้ชิดในช่วงขวบปีแรกและพยายามให้ลูกนอนหงายหรือนอนตะแคงมากกว่านอนคว่ำ [embed-health-tool-”vaccination-tool”] คำจำกัดความไหลตายในเด็กทารก คืออะไร โรค ไหลตายในเด็กทารก (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS) เป็นกลุ่มอาการเสียชีวิตอย่างกะทันหันในเด็กทารกที่มีสุขภาพดีโดยไม่มีคำอธิบายถึงสาเหตุการเสียชีวิต แม้แพทย์จะตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วก็อาจไม่พบสาเหตุของการเสียชีวิต แม้จะยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่ โรคไหลตายในทารก นั้นมีความเกี่ยวข้องกับความบกพร่องของสมองทารกในส่วนที่ควบคุมการหายใจและการตื่นตัวจากการนอนหลับ พบได้บ่อยเพียงใด โรคไหลตายในทารก ถือเป็นโรคที่พบได้ยาก แต่ถือว่าเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับเด็กในช่วงอายุ 1 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดในช่วงอายุระหว่าง 2-4 เดือน อาการอาการของโรค ไหลตายในเด็กทารก โรคไหลตายในทารก ไม่มีอาการที่สามารถสังเกตเห็นได้ มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหันในทารกที่ดูจะเหมือนแข็งแรงดี ควรไปพบหมอเมื่อใด โรคไหลตายในทารก มักจะไม่มีอาการที่สามารถสังเกตเห็นหรือมีสัญญาณเตือนใด ๆ ที่ควรต้องไปพบคุณหมอ สาเหตุของโรคสาเหตุของโรค ไหลตายในเด็กทารก โรคไหลตายในทารก เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่มีสาเหตุบางประการที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบ โดยสาเหตุที่เป็นไปได้ของโรคสามารถแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัย […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ ท่อน้ำตาอุดตัน ทารก

ท่อน้ำตาอุดตัน ทารก อาจเกิดขึ้นจากปัญหาด้านพัฒนาการของท่อน้ำตา ความผิดปกติของกระดูกจมูก หรือการติดเชื้อในบริเวณใกล้เคียง เช่น จมูกติดเชื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ทำให้มีน้ำตาไหลมาก แสบระคายเคืองตา และอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็น ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตพบอาการดังกล่าว ควรพาลูกเข้ารับการรักษาในทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] การสร้างน้ำตา ดวงตาเคลือบด้วยน้ำตา (tear film) ที่มีอยู่ 3 ชั้น เพื่อเป็นการชะล้างฝุ่นละอองและเศษผงต่าง ๆ โดยแต่ละชั้น มีดังนี้ ชั้นนอกสุด เป็นชั้นไขมัน (lipid) ที่สร้างมาจากต่อมไขมันมัยโบเมียน (meibomian glands) ซึ่งอยู่บริเวณหนังตา ชั้นกลาง เป็นน้ำที่สร้างมาจากต่อมน้ำตา (lacrimal gland) ซึ่งอยู่ในบริเวณด้านบนของดวงตาทั้งสองข้าง ชั้นสุดท้าย หรือชั้นในสุด เป็นเมือกซึ่งบำรุงกระจกตาและหล่อเลี้ยงพื้นผิวดวงตาด้วยน้ำตา เมื่อกะพริบตา หนังตาจะกระจายน้ำตาไปทั่วผิวตา ในภาวะปกติ น้ำตามีการระบายลงผ่านทางรูเปิดของท่อน้ำตา (puncta และ canaliculi) ซึ่งอยู่บริเวณเปลือกตาด้านหัวตาทั้งบนและล่าง จากนั้นจะต่อไปยังถุงน้ำตา (tear sac) แล้วค่อยไหลผ่านช่องที่เรียกว่า ท่อน้ำตา (tear duct หรือ nasolacrimal duct) […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

อันตรายจากปัญหา ลูกไม่นอน และวิธีการแก้ไข

ลูกไม่นอน เป็นปัญหาหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจต้องพบเจอ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านพัฒนาการและการเจริญเติบโต ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาทางอารมณ์และการเข้าสังคมอีกด้วย คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้เด็กพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อพัฒนาการทางด้านต่างๆของร่างกายและจิตใจ จะได้มีความพร้อมสมบูรณ์ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกควรนอนวันละเท่าไหร่ ทารกวัยแรกเกิด (อายุต่ำกว่า 6 เดือน) นาฬิกาชีวิตของทารกวัยแรกเกิดยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน จะนอนเป็นเวลา 18 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็นตอนกลางคืนและตอนกลางวันเท่ากัน ในช่วงสองสามสัปดาห์แรก ทารกแรกเกิดควรตื่นทุกๆ 3-4 ชั่วโมงจนกระทั่งพวกเขามีน้ำหนักตัวปกติ หลังจากนั้นทารกวัยแรกเกิดจะสามารถนอนติดต่อกันเป็นเวลานานขึ้นได้ และสำหรับทารกวัย 3 เดือน โดยเฉลี่ยจะนอนหลับ 14 ชั่วโมง ซึ่งใช้เวลานอน 8-9 ชั่วโมงต่อวัน และจะงีบหลับระหว่างวัน 2-3 ครั้ง ทารกวัย 6-12 เดือน ทารกวัยนี้ต้องการนอนโดยเฉลี่ย 14 ชั่วโมงต่อวัน และงีบหลับระหว่างวัน 2-3 ครั้งๆ ละ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง เด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่จะเริ่มไม่ตื่นมากินนมกลางคืน หรือหากตื่นขึ้นมากลางดึก ก็ไม่จำเป็นต้องป้อนนมแล้ว วัยเตาะแตะ ในวัย 1-3 ปี เด็กส่วนใหญ่จะนอนหลับประมาณ 12-14 ชั่วโมง […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

เด็กเล่นโทรศัพท์ ข้อควรระวังกับผลเสียต่อสุขภาพและพัฒนาการ

เด็กเล่นโทรศัพท์ เป็นพฤติกรรมของเด็กที่ใช้โทรศัพท์มือถือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งเพื่อดูรายการโทรทัศน์ เล่นเกม ส่งข้อความ โทรหรือวิดีโอคอลคุยกับเพื่อน ซึ่งหน้าจอโทรศัพท์ รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ล้วนแต่มีคลื่นไมโครเวฟที่่อาจเป็นอันตรายได้ ยิ่งโดยส่วนใหญ่เด็กในปัจุบันนี้มีโทรศัพท์มือถือเป็นของตัวเองทำให้โทรศัพท์อยู่กับตัวตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องศึกษาถึงผลเสียจากการเล่นโทรศัพท์ รวมทั้งข้อควรระวังและวิธีแก้ไข เหตุผลที่เด็กเล่นโทรศัพท์ คลื่นที่ถูกส่งออกมาจากโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของ อาจถึงขั้นทำให้เป็นโรคมะเร็งได้ แต่ปัจจุบันนี้เด็กนิยมเล่นโทรศัพท์เพราะสาเหตุ ดังนี้ โทรศัพท์มือถือกลายเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ติดต่อสื่อสาร รวมถึงสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว และทำกิจกรรมได้หลายอย่าง ทั้งดูโทรทัศน์ ค้นคว้าหาข้อมูล ฟังเพลง ถ่ายรูป แชทหรือโทรคุยกับเพื่อน ดูวิดีโอ เล่นโซเชี่ยลมีเดีย ติดตามดาราหรือบุคคลมีชื่อเสียงที่่ชื่นชอบ จึงทำให้จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกรวมทั้งจำนวนเด็กเล่นโทรศัพท์เพิ่มขึ้นรวดเร็วตามไปด้วย การพัฒนาประสิทธิภาพต่าง ๆ ดีขึ้น รวมถึงสัญญาณในการติดต่อสื่อสาร ผู้ใช้จึงใช้โทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น มีสิ่งน่าสนใจ เร้าอารมณ์ความรู้สึก กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งตอบสนองพฤติกรรมของเด็กและเป็นไปตามช่วงวัยและพัฒนาการ ไม่ควรปิดกั้นแต่ควรหาวิธีจำกัดการใช้งาน อันตรายจากคลื่นไมโครเวฟ  หากคุณแม่ใช้โทรศัพท์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากจนเกินไปขณะที่กำลังตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงในการได้รับคลื่นไมโครเวฟมากกว่าเด็กที่คลอดออกมาแล้วมากพอสมควร เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองของเด็กทารกนั้นสามารถดูดซึมคลื่นไมโครเวฟได้ถึง 2 เท่า ไม่เพียงเท่านั้น คลื่นนี้ยังถูกดูดซึมไปยังกระดูกสันหลังได้มากกว่าผู้ใหญ่ถึง 10 เท่า ทั้งนี้ นอกจากนี้ ยังมีบทความวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคลื่นมือถือกับเนื้องอกในสมอง เผยแพร่ในวารสาร Pathophysiology พ.ศ. 2552 ระบุว่า […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน