backup og meta

เด็กกินน้ำตาลมากเกินไป ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 29/11/2022

    เด็กกินน้ำตาลมากเกินไป ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

    เด็ก ๆ จะได้รับแคลอรี่จากการกินอาหาร เพื่อการเจริญเติบโตของร่างกาย สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ให้ เด็กกินน้ำตาลมากเกินไป อาจส่งผลทำให้มีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น ขาดสารอาหาร ฟันผุ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรใส่ใจปริมาณน้ำตาลจากอาหารแต่ละมื้อที่เด็กกิน เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กได้รับน้ำตาลมากเกินความจำเป็นของร่างกาย

    เด็กกินน้ำตาลมากเกินไป ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

    สมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เด็กที่อายุ 2-18 ปี ควรกินน้ำตาลไม่เกิน 25 กรัม หรือ 6 ช้อนชา เพื่อมีสุขภาพหัวใจที่ดี นอกจากนี้ สมาคมกุมารเวช ประกาศว่า เด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี ไม่ควรดื่มน้ำผลไม้ และเด็กที่มีอายุมากกว่า 3 ปี อาจดื่มน้ำผลไม้ได้ไม่เกิน 118 มิลลิลิตร/วัน

    นอกจากนี้ การให้เด็กกินน้ำตาลมากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน และความอ้วน นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคไขมันพอกตับ โรคเบาหวาน และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้

    1. อาจทำให้ขาดสารอาหาร

    คุณพ่อคุณแม่หลายคงอาจเข้าใจว่า การขาดสารอาหารเกิดจากการกินอาหารไม่เพียงพอ แต่ความจริงแล้ว การกินอาหารที่ไม่เพียงพอ และการกินอาหารที่มากเกินไปอาจทำให้ขาดสารอาหารได้ ดังนั้น เด็กที่น้ำหนักเกินก็อาจขาดสารอาหารได้เช่นกัน เช่น เด็กได้รับพลังงานจากน้ำตาล อย่างไรก็ตาม เด็ก ๆ ควรได้รับพลังงานจากการกินโปรตีน ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ เพื่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสุขภาพที่ดีของเด็ก

    2. อาจทำให้เสพติดน้ำตาล

    สารเสพติดบางชนิด เช่น โคเคน อาจกระตุ้นการทำงานของสมองในส่วนการให้รางวัล (Brain’s Reward Center) ซึ่งเป็นระบบการให้ความรู้สึกพอใจหรือมีความสุข เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดความต้องการ หลั่งสารโดพามีนในสมองสูงขึ้น จนทำให้ต้องการใช้สารเสพติดอีกครั้งเพื่อให้เกิดความรู้สึกดีแบบเดิมอีก ซึ่งน้ำตาล สามารถทำให้เสพติดได้พอ ๆ กับการใช้ยาเสพติด นอกจากนี้ น้ำตาลยังเป็นสิ่งที่หาซื้อได้ง่าย จึงอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดการเสพติดน้ำตาล จนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ

    3. อาจทำให้ฟันผุ

    การกินอาหารและเครื่องดื่มน้ำตาลสูงอาจทำให้ฟันผุ ดังนั้น พ่อแม่ควรสอนให้เด็ก ๆ ดูแลสุขภาพฟันและสุขภาพช่องปาก โดยการแปรงฟันวันละ 2 ครั้งทุกวัน และไปพบทันตแพทย์ตามนัด รวมถึงควรจำกัดการกินของหวานและน้ำอัดลม เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเหงือกและฟันผุ

    4. อาจทำให้พฤติกรรมที่รุนแรง

    การบริโภคน้ำตาลจำนวนมาก อาจทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลเข้าไปในกระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ตับอ่อนก็จะหลั่งอินซูลิน เพื่อขับน้ำตาลในเลือดส่วนเกินออกไป จนทำให้เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) โดยภาวะที่เกิดขึ้นนี้อาจมีความสัมพันธ์กับสมองส่วนที่ทำหน้าที่ในการเรียนรู้ พฤติกรรม จิตสำนึก สติสัมปชัญญะ เมื่อสมองในส่วนนี้ปิดตัวลงก็อาจส่งผลทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว เกเร ไร้เหตุผล ขาดการยั้งยับชั่งใจ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 29/11/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา