backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

เด็กซน เกิดจากอะไร ควรรับมืออย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์ · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

เด็กซน เกิดจากอะไร ควรรับมืออย่างไร

เด็กซน เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม พันธุกรรม หรือภาวะสุขภาพจิต ที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจของเด็ก ส่งผลให้เด็กแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมซุกซนมาก หรือบางคนอาจมีอารมณ์โกรธ หงุดหงิด และพฤติกรรมก้าวร้าวร่วมด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่นได้

เด็กซน เกิดจากอะไร

เด็กซน เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยที่ส่วนใหญ่อาจนำไปสู่ความโกรธ ความหงุดหงิดและความก้าวร้าวในเด็ก ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น โดยสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เด็กซนที่พบได้บ่อย อาจมีดังนี้

พันธุกรรม

หากคนในครอบครัวมีสภาวะอารมณ์ที่แปรปรวนง่าย เป็นคนโมโหร้าย ก้าวร้าว รวมถึงมีโรคทางพฤติกรรมเช่นโรคต่อต้านสังคม (Antisocial Disorder) หรือ โรคดื้อต่อต้าน (Oppositional Defiant Disorder หรือ ODD) อาจเป็นไปได้ว่านิสัยเหล่านี้อาจส่งต่อทางพันธุกรรมได้เช่นกัน

การเลี้ยงดูที่ผิดพลาด

ปัญหาเด็กซนส่วนใหญ่อาจเกิดจากการเลี้ยงดูที่ผิดพลาด จึงผลต่อนิสัยและพฤติกรรมของเด็ก เช่น

  • การเป็นคนโปรดในครอบครัว สำหรับบางครอบครัวที่มีลูกหลายคน อาจมีคนใดคนหนึ่งที่เป็นคนโปรด จึงทำให้ลูกอีกคนอาจถูกละเลยการดูแลใส่ใจจนกลายเป็นเด็กขาดความรักและอาจเป็นปมด้อย ทำให้เด็กอาจเกิดพฤติกรรมไม่ดีเพื่อเรียกร้องความสนใจขึ้น อย่างไรก็ตาม ลูกคนที่ได้รับความสนใจมากเกินไป เมื่อคุณพ่อคุณแม่ละเลยเพียงเล็กน้อยหรือไม่ตามใจอย่างที่เคย ก็อาจเกิดเป็นพฤติกรรมเอาแต่ใจตัวเองได้เช่นกัน
  • การไม่ลงโทษเมื่อทำผิด สำหรับเด็กเล็กเมื่อทำความผิดและไม่ได้รับคำตักเตือนหรือการลงโทษอย่างเหมาะสม อาจทำให้เด็กไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของคุณพ่อคุณแม่และกลายเป็นเด็กซนในที่สุด
  • การดูแลที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป โดยเฉพาะการดูแลประคบประหงมเด็กมากเกินไป ไม่ให้เด็กได้ออกไปเรียนรู้อะไรด้วยตัวเอง อาจทำให้เด็กรู้สึกถูกบังคับและกักขัง ส่วนเด็กที่ถูกละเลยการดูแลมากเกินไป ไม่สนใจความรู้สึกหรือความต้องการจนขาดความรัก ก็อาจทำให้เด็กซนเพื่อเรียกร้องความสนใจหรือต่อต้านคุณพ่อคุณแม่ได้
  • การเลี้ยงดูที่แตกต่างกันของคนในครอบครัว เช่น คุณแม่ห้ามกินขนมเด็ดขาด แต่คุณยายแอบเอาขนมใส่ในกระเป๋าให้ การเลี้ยงดูแบบนี้อาจทำให้เด็กเรียนรู้พฤติกรรมการเข้าหาผู้เลี้ยงดูที่แตกต่างกัน อาจทำให้เด็กซนมากกับผู้เลี้ยงดูอีกคน เพราะมีอีกคนค่อยตามใจ

ปัญหาสุขภาพจิต

ส่วนใหญ่เด็กซน โมโหง่าย และก้าวร้าว มักมาพร้อมกับปัญหาสุขภาพจิตบางอย่าง เช่น ภาวะซึมเศร้า สมาธิสั้น โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคทูเร็ตต์ (Tourette Syndrome หรือ TS)

วิธีรับมือเด็กซน

คุณพ่อคุณแม่อาจรับมือกับเด็กซนได้อย่างเหมาะสม ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • สอนให้เด็กเข้าใจกฎของบ้าน เป็นวิธีการฝึกวินัยและความรับผิดชอบภายในบ้าน และเมื่อเด็กทำผิดกฎควรถูกตำหนิหรือได้รับบทลงโทษอย่างเหมาะสม เพื่อให้เด็กเรียนรู้ว่าการทำผิดเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
  • หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า ไม่ หยุด หรืออย่า บ่อยเกินไป เนื่องจากเด็กเป็นวัยแห่งการสำรวจและเรียนรู้ การใช้คำเหล่านี้มากเกินไปเป็นเหมือนกับคำสั่งที่ขัดขวางการเรียนรู้ของเด็ก จนเด็กอาจเกิดพฤติกรรมต่อต้านขึ้น จึงอาจใช้เป็นคำอื่นแทนเพื่อไม่ให้เด็กรู้สึกเหมือนถูกสั่ง เช่น ห้ามวิ่ง อาจเปลี่ยนเป็น ลูกควรเดินเพราะอาจหกล้มได้
  • การให้รางวัล ทุกครั้งที่เด็กทำความดีหรือทำตามกฎอย่างถูกต้อง ควรให้รางวัลอยู่เสมอ เช่น คำชื่นชม การกอดของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เด็กรู้สึกมีกำลังใจในการทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไป
  •  ควบคุมอารมณ์ของตัวเองและไม่ใช้บทลงโทษที่รุนแรง คุณพ่อคุณแม่ควรควบคุมอารมณ์ของตัวเองเมื่อลูกทำผิด ไม่ควรตะคอกหรือขู่เพราะอาจทำให้เด็กรู้สึกหวาดกลัวและเกิดพฤติกรรมต่อต้านได้ รวมทั้งควรใช้บทลงโทษที่เหมาะสม ไม่ทุบตีด้วยความรุนแรง เช่น การพูดคุยอย่างมีเหตุผลถึงการกระทำที่ผิดและอาจลงโทษด้วยการเพิ่มงานบ้านหรืองดดูโทรทัศน์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา