backup og meta

อาหารเด็ก 7 เดือน ที่ควรรับประทานและควรเลี่ยง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์ · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

    อาหารเด็ก 7 เดือน ที่ควรรับประทานและควรเลี่ยง

    ทารกวัย 7 เดือน ถือเป็นช่วงวัยที่บอบบางและจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องอาหาร การทราบข้อมูลเกี่ยวกับ อาหารเด็ก 7 เดือน ที่ควรรับประทานและควรเลี่ยง อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลอาหารให้เด็ก 7 เดือน ได้อย่างเหมาะสมและหลากหลาย เพื่อให้เด็กได้รับพลังงานและสารอาหารที่ครบถ้วน ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการ

    เด็ก 7 เดือนกินอะไรได้บ้าง

    เด็ก 7 เดือน เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวดีขึ้นมาก พวกเขาสามารถคลานได้อย่างคล่องแคล่ว หรือเริ่มตั้งไข่ได้บ้างแล้ว ทั้งยังสามารถพยุงตัวขึ้นนั่งเองได้ และนิ้วมือก็สามารถหยิบจับสิ่งต่าง ๆ ได้คล่องขึ้นด้วย

    นอกจากนี้เด็ก 7 เดือนเริ่มมีฟันขึ้นมาหลายซี่ ทำให้สามารถกินอาหารได้หลากหลายขึ้น ไม่ใช่แค่นมแม่ นมผง อาหารบด ผักบด ผลไม้บด เหมือนช่วงที่ผ่านมา แต่สามารถกินอาหารที่แข็งขึ้นมาเล็กน้อยได้ เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวสวย

    อาหารเด็ก 7 เดือน ที่ควรรับประทาน

    เด็ก 7 เดือนสามารถกินอาหารได้มากขึ้น หลากหลายขึ้น รวมถึงเริ่มกินอาหารที่แข็งขึ้นมาเล็กน้อยได้แล้ว โดยคุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มให้ลูกน้อยกินอาหารดังต่อไปนี้ได้

    ธัญพืช

    เด็ก 7 เดือนเริ่มเคี้ยวธัญพืชต่าง ๆ ได้ดีขึ้นแล้ว ธัญพืชที่เหมาะสำหรับเด็ก 7 เดือน เช่น

    • ข้าวสวย 
    • ข้าวกล้อง 
    • ข้าวโอ๊ต 
    • ข้าวบาร์เล่ย์ 
    • ลูกเดือย

    ผัก

    คุณพ่อคุณแม่โดยสามารถบดหรือต้มผักชนิดต่าง ๆ จนนิ่ม เพื่อให้ลูกกินได้ง่ายขึ้น ผักที่เด็ก 7 เดือนสามารถกินได้ เช่น

    • บร็อคโคลี่
    • กะหล่ำ 
    • ผักโขม 
    • หน่อไม้ฝรั่ง 
    • แครอท 
    • อะโวคาโด
    • ผักคะน้า
    • ฟักทอง
    • กะหล่ำปลี

    ผลไม้

    เด็ก 7 เดือนเริ่มกินผลไม้ได้หลายชนิดมากขึ้น แต่อาจยังต้องเป็นผลไม้ที่สุกแล้ว ผลไม้เนื้อนิ่มหรือมีเนื้อสัมผัสไม่แข็งเกินไป หรือคุณพ่อคุณแม่อาจนำผลไม้มาบดให้เด็กกินได้ง่ายขึ้น เช่น 

    • กล้วย 
    • เบอร์รี่ต่าง ๆ 
    • ส้ม 
    • แอปเปิ้ล 
    • มะม่วง 
    • สับปะรด 
    • แตงโม
    • ลูกแพร์
    • มะละกอ
    • ลูกพีช
    • ลูกพลัม

    อาหารจำพวกแป้ง

    เด็ก 7 เดือนสามารถย่อยอาหารจำพวกแป้งได้ดีขึ้นแล้ว อีกทั้งการกินแป้งยังช่วยเพิ่มพลังงานให้เด็กได้ด้วย อาหารจำพวกแป้งที่เหมาะกับเด็ก 7 เดือน เช่น

    • มันฝรั่ง
    • มันเทศ
    • ข้าว
    • พาสต้า
    • ธัญพืชจำพวกข้าวต่าง ๆ
    • ขนมปัง

    อาหารที่ให้โปรตีน

    เนื่องจากโปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการเจริญเติบโตของเด็ก ทั้งยังช่วยเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ กระดูก และเสริมพลังงานได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม อาหารที่มีโปรตีนส่วนมากจะเป็นเนื้อสัตว์ คุณพ่อคุณแม่จึงอาจจำเป็นต้องบด ปั่น หรือทำให้เนื้อสัตว์นิ่มก่อน เด็กจะกินได้ง่ายขึ้น โดยอาหารจำพวกโปรตีนที่เหมาะกับเด็ก  7 เดือน เช่น

    • ไก่
    • ไก่งวง
    • เนื้อวัว
    • เนื้อแกะ
    • เนื้อหมู
    • ปลา
    • ไข่
    • ถั่ว
    • เต้าหู้

    อาหารที่ทำมาจากนม

    เด็ก 7 เดือน สามารถย่อยโปรตีนในนมได้ดีขึ้นแล้ว จึงเริ่มกินนม หรืออาหารที่ทำมาจากนมวัวได้มากขึ้น โดยอาหารจำพวกนมที่เหมาะกับเด็ก 7 เดือน เช่น

    • นมวัวพาสเจอร์ไรส์
    • โยเกิร์ต
    • ชีส
    • นมแพะ
    • นมแกะ

    อาหารเด็ก 7 เดือน ที่ควรเลี่ยง

    แม้เด็ก 7 เดือนจะเริ่มกินอาหารได้มากขึ้นและหลากหลายขึ้น แต่ก็ยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยง และไม่ควรกินเยอะ ดังนี้

    • อาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมสูง เช่น เบคอน ไส้กรอก ขนมขบเคี้ยว เพราะหากกินมากไป อาจส่งผลให้ระดับโซเดียมในร่างกายสูงเกิน หรือมีผลต่อปัสสาวะ
    • อาหารน้ำตาลสูง ทารกไม่จำเป็นต้องได้รับสารให้ความหวานอย่างน้ำตาล เพราะเสี่ยงทำให้ฟันผุ และเสี่ยงเกิดโรคอ้วนในเด็กด้วย
    • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ขนมกรุบกรอบ ขนมปัง เพราะทำให้เสี่ยงเกิดโรคอ้วน ไขมันสะสม และภาวะสุขภาพอื่น ๆ ในระยะยาว
    • น้ำผึ้ง แม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่น้ำผึ้งกลับไม่เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เนื่องจากลำไส้ของเด็กทารกยังไม่แข็งแรง น้ำผึ้งที่กินเข้าไปเมื่อผ่านการย่อยและดูดซึมในลำไส้ของเด็ก จะปล่อยสารที่เพิ่มความเสี่ยงโรคโบทูลิซึ่ม (Botulism)
    • อาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรง

    อย่างไรก็ตาม ก่อนจะให้เด็ก 7 เดือนกินอะไร คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบให้ดีก่อน หรืออาจปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ เพื่อให้ลูกได้กินอาหารที่ดี มีประโยชน์ และเหมาะสมที่สุด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

    พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา