เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

โภชนาการสำหรับทารก

สำรวจ เด็กทารก

โภชนาการสำหรับทารก

เด็กทารกกินผัก อะไรได้บ้าง และเริ่มกินได้ตอนไหน

ผัก มีสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายมากมาย ทำให้คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย อยากเริ่มหัดให้ เด็กทารกกินผัก ได้ตั้งแต่ยังเล็ก ๆ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ต้องอย่าลืมว่าระบบทางเดินอาหารของเด็กทารกอาจยังตอบสนองและทำงานได้ไม่ดีนัก จึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผักที่ทารกสามารถกินได้และไม่ควรกินให้ดี ก่อนฝึกให้เด็กทารกกินผัก เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กทารกกินผัก ได้หรือไม่ เด็กทารกกินผักได้เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 6 เดือนขึ้นไป และควรเริ่มให้กินในปริมาณน้อย ๆ ก่อน อันดับแรก ต้องล้างผักให้สะอาด ปรุงให้สุกในความนิ่มระดับสูง บดสับให้ละเอียด คลุกให้เข้ากับอาหารจานหลักที่เตรียมไว้  สิ่งสำคัญคือควรเลือกผักที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของลูก เนื่องจากอาจมีผักบางชนิดที่เด็กทารกกินแล้วเกิดอาการแพ้ได้ เด็กทารกกินผักชนิดใดได้บ้าง ผักที่มีเนื้อสัมผัสเหมาะกับเด็กทารกและสามารถบดผสมกับอาหาร หรือปรุงสุกให้นิ่มแล้วให้เด็กทารกกินเล่นได้ มีดังนี้ ผักตำลึง บร็อคโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ผักคะน้า แครอท ข้าวโพด กะหล่ำปลี ผักโขม ถั่วเขียว ผักกาด นอกจากฝึกให้เด็กทารกกินผักแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้เด็กทารกกินผลไม้หรืออาหารประเภทอื่น ๆ ด้วย เช่น กล้วย แอปเปิ้ล ส้ม มะม่วง ไข่ เนื้อไก่ เนื้อหมู ปลา ถั่ว เต้าหู้ ข้าวโอ๊ต เพื่อให้เด็กทารกได้รับพลังงานเต็มที่และมีร่างกายที่แข็งแรง วิธีฝึกให้เด็กทารกกินผักตั้งแต่ยังเล็ก โดยปกติ เด็กทารกกินผัก ได้ตั้งแต่อายุ […]


โภชนาการสำหรับทารก

นมผงสำหรับทารก นมทางเลือกสำหรับทารกที่ไม่ได้กินนมแม่

คุณแม่กำลังมีปัญหาเรื่องน้ำนมไม่ไหลหรือไม่ หรือน้ำนมไม่พอสำหรับทารก นมผงสำหรับทารกอาจเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะสามารถช่วยคุณได้ เพราะวัยทารกเป็นช่วงวัยที่กินอาหารได้เพียงทางเดียวคือนมแม่ แต่สำหรับคุณแม่ที่กำลังมีปัญหา นมผงสำหรับทารก อาจช่วยแก้ปัญหานั้นได้ เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกนมผง ปัจจุบันมีนมผงหลายสูตรให้เลือกมากมาย โดยนมผงแต่ละสูตรถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ  แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบคุณประโยชน์ระหว่างนมผงกับนมแม่ แน่นอนว่านมแม่ย่อมมีประโยชน์และสารอาหารที่เหมาะสมสำหรับทารกมากกว่า ทั้งในเรื่องสร้างภูมิกันเพื่อปกป้องทารกจากการติดเชื้อและอื่น ๆ แต่สำหรับทารกที่ไม่ได้กินนมแม่ นมผงสำหรับทารก ก็สามารถช่วยเพิ่มสารอาหารที่มีประโยชน์ให้แก่ร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งนมผงแต่ละประเภทนั้นก็มีคุณประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป เรามาดูกันว่าจะมีนมผงประเภทอะไรกันบ้าง [embed-health-tool-vaccination-tool] ประเภท นมผงสำหรับทารก นมผงสำหรับทารกมีด้วยกันหลายประเภท ดังนี้ นมผง สูตรนมแพะ นมผงสูตรนี้ใกล้เคียงกับนมวัวเหมาะสำหรับทารกทั่วไป นมผงสูตรนมแพะสามารถช่วยดับความหิวให้กับทารกได้ แต่นมสูตรนี้จะมีเคซีน (Casein) ที่อาจย่อยยากสำหรับทารกมากกว่าเวย์ (Whey) ซึ่งอาจทำให้ทารกนอนหลับยากขึ้น หรือตื่นบ่อยขึ้นได้เช่นกัน นมสูตรนี้ไม่เหมาะสำหรับทารกที่แพ้นมวัวเพราะโครงสร้างของโปรตีนในนมแพะใกล้เคียงกับนมวัวมาก นมผง สูตรป้องกันกรดไหลย้อน เหมาะสำหรับทารกแรกเกิด เป็นนมผงที่ป้องกันกรดไหลย้อนหลังจากการกินนม แนะนำให้ใช้น้ำอุณหภูมิ 70C ในการต้มเพื่อป้องกันไม่ให้นมเป็นก้อน และข้อควรระวังคือนมผงสูตรนี้มีสูตรการชงที่ใช้น้ำอุณภูมิต่ำซึ่งอาจไม่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัย นมผงสูตรย่อยง่าย เหมาะสำหรับทารกแรกเกิด นมผงสูตรย่อยง่ายประกอบไปด้วยโปรตีนจากนมวัวที่ผ่านการย่อยบางส่วน ทำให้ย่อยง่ายและช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาทางเดินอาหาร เช่น อาการจุกเสียดและท้องผูก แต่สูตรนี้ไม่เหมาะสำหรับทารกที่แพ้นมวัว นมผงสูตรไม่มีแลคโตส เหมาะสำหรับทารกแรกเกิด นมผงสูตรนี้เหมาะสำหรับทารกไม่สามารถย่อยน้ำตาลแพ้แลคโตสได้จากการขาดเอนไซม์ที่สำคัญคือแลคเตส ร่างกายจึงไม่สามารถดูดซึมแลคโตสไปใช้งานได้ โดยอาจแสดงอาการ ท้องร่วง ปวดท้อง ท้องอืด คำแนะนำก่อนใช้นมผงสูตรนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ นมผงสูตรไฮโปอัลเลอร์เจนิก (Hypoallergenic) นมผง สูตรนี้เหมาะสำหรับทารกแรกเกิด แนะนำให้ใช้ในทารกที่ความเสี่ยงเกิดโรคภูมิแพ้ แต่ไม่สามารถใช้เพื่อป้องกันหรือรักษาอาการแพ้นมวัวได้ ซึ่งคุณหมอจะแนะนำให้ทารกกินนมสูตรที่มีโปรตีนไฮโดรไลซ์ (Hydrolysed) บางส่วนเพื่อง่ายต่อการย่อยของทารก นมผงสูตรก่อนนอน เหมาะสำหรับทารก […]


โภชนาการสำหรับทารก

แคลเซียมสำหรับทารก มีประโยชน์อย่างไร คุณแม่ควรรู้

แคลเซียม มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของกระดูกและฟัน โดยเฉพาะสำหรับวัยทารก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว คุณพ่อคุณแม่จะต้องมั่นว่าใจลูกรักได้รับ แคลเซียมสำหรับทารก อย่างเพียงพอ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับแคลเซียมสำหรับทารกมาฝาก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในการดูแลลูกน้อยค่ะ [embed-health-tool-vaccination-tool] แคลเซียมสำหรับทารก มีประโยชน์อย่างไร แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง และยังมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบในร่างกายด้วย เช่น ช่วยให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อทำงานได้ดี รวมไปถึงการบำรุงรักษาสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง ห่างไกลโรค การได้รับแคลเซียมที่เหมาะสมและเพียงพอตั้งแต่ช่วงวัยทารกจึงเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้กระดูกแข็งแรงสมบูรณ์ในวัยผู้ใหญ่ เพื่อป้องกันปัญหากระดูกพรุนหรือการสูญเสียกระดูกในอนาคต ในวัยทารกและวัยหนุ่มสาวควรได้รับแคลเซียมและวิตามินดีอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกอ่อนจนทำให้ขาโค้งงอ ช่วยป้องกันปัญหาแคระแกรน รวมไปถึงอาการเจ็บกล้ามเนื้อ และกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่อาจเกิดขึ้น ปริมาณแคลเซียมที่ทารกควรได้รับ ปริมาณของแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละวันจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงวัย โดยปกติแล้ว ในช่วงวัยทารก จะได้รับแคลเซียมจากนมแม่ หรือ นมผง แต่สำหรับทารกที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่ก็อาจเริ่มเสริมแคลเซียมจากอาหารอื่น ๆ เข้ามาร่วมด้วยได้เช่นกัน ทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ต้องการแคลเซียมประมาณ 200 มิลลิกรัม/วัน ทารกอายุ 6-11 เดือน ต้องการแคลเซียมประมาณ 260 มิลลิกรัม/วัน มีนมเพียง 2 ประเภทเท่านั้นที่ทารกสามารถกินได้คือ นมแม่และนมผง ไม่ควรให้ทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ขวบดื่ม นมวัวหรือนมแพะ เพราะร่างกายของทารกอาจจะยังไม่สามารถย่อยโปรตีนที่อยู่ในนมเหล่านี้ […]


การดูแลทารก

การดูแลทารกแรกเกิด ขั้นพื้นฐาน สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

การดูแลทารกแรกเกิด เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรศึกษาวิธีการดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐานเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการห่อตัวทารกแรกเกิด การเลือกผ้าอ้อม การอาบน้ำให้กับทารก แต่สิ่งสำคัญในการดูแลทารกแรกเกิด ก็คือ ความระมัดระวัง เนื่องจากร่างกายของทารกแรกเกินยังไม่แข็งแรงเท่าที่ควร [embed-health-tool-vaccination-tool] การดูแลทารกแรกเกิด ขั้นพื้นฐาน มีอะไรบ้าง การดูแลทารกแรกเกิด เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนสำหรับคุณพ่อคุณแม่ทุกคน เนื่องจาก ทารกแรกเกิดมีร่างกายที่ยังไม่แข็งแรงพอ เช่น กระดูก ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบควบคุมอุณหภูมิ ทำให้คุณพ่อแม่จึงจำเป็นต้องเรียนรู้การดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐานเอาไว้  ดังนี้ วิธีห่อตัวทารกแรกเกิด การห่อตัวของทารก เป็นการทำให้เด็กทารกรู้สึกได้ถึงความอบอุ่น สบายใจ และปลอดภัย แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ควรจะรัดแน่นจนเกิดไป เพราะอาจทำให้ทารกอึดอัด หรืออาจมีไข้ได้ โดยวิธีการห่อตัวทารกที่ดีนั้นมีวิธี 5 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ กางผ้าสะอาด รูปสี่เหลี่ยมที่ต้องการห่อตัวทารกออก พับมุมบนลงมาเล็กน้อย พร้อมกับวางทารกลงบนผ้าในท่านอนหงายให้ศีรษะอยู่เหนือมุมพับขึ้นไปเล็กน้อย จับผ้ามุมซ้ายห่อเริ่มตัวทารกอย่างนุ่มนวล พาดจากซ้ายมาขวา และสอดเข้าไปด้านหลังทารกให้อยู่ใต้แขนขวา จับมุมผ้าด้านล่างช่วงขาทารกห่อขึ้นมา แต่ไม่ให้แน่นจนเกินไป ให้ดึงขึ้นพอมีที่ว่างให้ทารกยืดขา งอขาได้สะดวก จับผ้ามุมขวาห่อเข้ามาเหมือนขั้นตอนที่ 2 พาดจากขวามาซ้าย และสอดเข้าไปด้านหลังทารกใต้แขนซ้าย ซึ่งจะเห็นได้ว่าทารกจะเหลือแต่เพียงศีรษะ เพื่อให้พวกเขาได้หายใจสะดวก ข้อควรระวัง : ไม่ควรห่อทารกด้วยวิธีนี้ในช่วงอายุ 2 เดือนขึ้นไป เพราะอาจมีการพลิกตัวขณะห่อตัว สามารถทำให้เกิดการเสียชีวิตได้กะทันหัน […]


โภชนาการสำหรับทารก

โภชนาการสำหรับทารก ในช่วงวัย 6 เดือนแรก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ

สำหรับทารกในช่วงวัย 6 เดือนแรก อาจต้องได้รับสารอาหารเป็นพิเศษ เพื่อช่วยเสริมสร้างร่างกายให้พวกเขามีภูมิต้านทานและสุขภาพที่แข็งแรงมากขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับ โภชนาการสำหรับทารก ในช่วง 6 เดือนแรก เพื่อเป็นตัวช่วยสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ในการดูแลลูกน้อยให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกช่วง 6 เดือนแรก ควรได้รับอาหารรูปแบบใด หากลูกรักของคุณอยู่ในช่วง 1-3 เดือนแรก ควรต้องได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียว เพราะภายในนมแม่นั้นจะมีสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของทารก แต่หากคุณแม่ไม่มีน้ำนมเพียงพอ อาจให้ลูกกินนมผงที่มีสูตรเสริมธาตุเหล็ก วิตามินดีหรือสารอาหารอื่นๆเข้ามาช่วย ครั้งละ 4-5 ออนซ์ โดยต้องผ่านการพิจารณาจากแพทย์ร่วมด้วย เพราะเนื่องจากสุขภาพทารกนั้นมีข้อจำกัด หรือเงื่อนไขของสุขภาพแตกต่างกัน แต่สำหรับทารกช่วง 4-6 เดือน นอกจากการให้น้ำนมแม่และนมผงแล้ว อาจจะเริ่มฝึกให้ลูกรับประทานอาหารแข็งร่วมด้วยเช่น ซีเรียล ผัก ผลไม้บดละเอียด เนื้อสัตว์ต้มเปื่อย ไข่ต้มสุกสนิทโดยเริ่มจากไข่แดงก่อน ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วหรือน้ำผึ้ง เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กได้ โภชนาการสำหรับทารก ช่วง 6 เดือนแรก โภชนาการ หรือสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตให้แก่ลูกรักของคุณนอกเหนือจากการให้รับประทานแต่นมผง มีดังต่อไปนี้ แคลเซียม : ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก และฟัน โฟเลต : เป็นสารสำคัญที่่วยในกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ โปรตีน […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

วัคซีนสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด ที่ควรได้รับ

เนื่องจากร่างกายของทารกคลอดก่อนกำหนด อาจยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เมื่อเวลาผ่านไปจึงอาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ในอนาคต ดังนั้น การฉีดวัคซีนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทารกควรได้รับตามเกณฑ์การพิจารณาจากทางแพทย์ โดย วัคซีนสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนที่ทารกควรได้รับ เพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด มีอะไรบ้าง เนื่องจากร่างกายของทารกคลอดก่อนกำหนด อาจยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เมื่อเวลาผ่านไปจึงอาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ในอนาคต ดังนั้น การฉีดวัคซีนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทารกควรได้รับตามเกณฑ์การพิจารณาจากทางแพทย์ โดย วัคซีนสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด อาจมีดังนี้ วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ คุณหมออาจจำเป็นต้องตรวจร่างกายคุณแม่ร่วมด้วยว่ามีแอนติเจนที่เป็นลบหรือเป็นบวก หากเป็นทารกคลอดก่อนกำหนด โดยคุณแม่ที่มีแอนติเจนลบ อาจจำต้องรอให้ทารกมีน้ำหนักมากกว่า 2,000 กรัมเสียก่อน เนื่องจากร่างกายอาจไม่สามารถตอบสนองต่อวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีได้เพียงพอ ในกรณีที่ทารกคลอดก่อนกำหนด โดยคุณแม่ที่มีแอนติเจนบวก อาจเข้ารับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีชนิดโมโนวาเลน (Monovalent) ได้ภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด แต่หากทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีน้ำหนัก 2,000 กรัม อาจได้รับวัคซีน 3 โดส ตั้งแต่แรกเกิด วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม การคลอดก่อนกำหนดอาจทำให้ทารกมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพปอดได้ เช่น โรคปอดบวม โดยส่วนใหญ่คุณหมออาจกำหนดให้ทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีอายุ 2 เดือนขึ้นไปได้รับวัคซีนนี้ แม้ว่าทารกจะยังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล วัคซีนไวรัสโรต้า วัคซีนไวรัสโรต้าเป็นวัคซีนชนิดรับประทานที่ค่อนข้างมีความปลอดภัยสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีสุขภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับที่ดีจากการประเมินของคุณหมอ โดยสามารถรับได้ตั้งแต่ทารกอายุ […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ทารกคลอดก่อนกำหนด ที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ

ทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นหมายถึงการที่คุณแม่คลอดลูกในช่วงก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ โดยอาจมีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามารู้จักกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ทารกคลอดก่อนกำหนด ทั้งปัจจัยเสี่ยง ลักษณะ และการดูแลลูกน้อยเบื้องต้น เพื่อให้ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเตรียมพร้อมรับมือได้อย่างถูกต้อง [embed-health-tool-vaccination-tool] ปัจจัยเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงป้องกัน ทารกคลอดก่อนกำหนด ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้ทารก คลอดก่อนกำหนด บางปัจจัย คุณแม่ตั้งครรภ์ก็อาจสามารถทำการหลีกเลี่ยงได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการ คลอดก่อนกำหนด เช่น ลดระดับความเครียด การหยุดสูบบุหรี่ และการใช้ยาที่ไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์ แต่สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาวะสุขภาพต่าง ๆ อาจค่อนข้างหลีกเลี่ยงได้ยาก เช่น การติดเชื้อบางชนิด บริเวณช่องคลอด ปัญหาเกี่ยวกับมดลูก ภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน อุบัติเหตุ ภาวะครรภ์เป็นพิษ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ โดยอาจมาจากพันธุกรรม หรือพฤติกรรมส่วนตัว ก่อนการตั้งครรภ์ ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ยังสามารถส่งผลต่อพัฒนาการของทารก ทำให้ทารกมีพัฒนาการที่ล่าช้าหรือบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการมองเห็น การรับรู้การเข้าใจ ปัญหาการได้ยิน คุณแม่จึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอยู่เสมอทั้งช่วงการวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ และระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อช่วยป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ คลอดก่อนกำหนด เหล่านี้ ลักษณะของทารกคลอดก่อนกำหนด ที่ควรสังเกต เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เผชิญกับเหตุฉุกเฉินด้านสุขภาพที่จำเป็นต้อง คลอดก่อนกำหนด ก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบบางอย่างกับลูกน้อยทั้งในระดับต่ำ จนถึงขั้นรุนแรง ได้ดังนี้ ลักษณะของทารก คลอดก่อนกำหนด ที่พบเจอได้บ่อย […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการตั้งแต่แรกเกิดถึง เด็ก1ขวบ มีอะไรบ้างที่ควรรู้

เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง เด็ก1ขวบ จะมีพัฒนาการด้านร่างกาย สมอง การเจริญเติบโต รวมถึงพัฒนาการด้านการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละช่วงอายุ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของลูก เพื่อจะได้ดูแลลูกและส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการอย่างไรบ้าง เด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ อาจแบ่งพัฒนาการออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ ทารกอายุ 0-3 เดือน ทารกอายุ 4-6 เดือน ทารกอายุ 7-9 เดือน และทารกอายุ 10-12 เดือน โดยแต่ละช่วงอายุอาจมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งพัฒนาการแต่ละช่วงอายุอาจมีดังนี้ พัฒนาการของทารกช่วงอายุ 0-3 เดือน ในช่วงแรกทารกอาจมีการพัฒนาด้านร่างกายและสมองที่กำลังเริ่มเรียนรู้จากสิ่งที่พบเห็น มีการตอบสนองต่อการสัมผัส และอาจแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ส่งยิ้ม กวาดมองตามวัตถุที่เคลื่อนไหว เริ่มขยับเพื่อจับวัตถุต่าง ๆ ที่หยิบยื่นใส่มือ คอจะเริ่มแข็งแรงขึ้นตามลำดับ แต่ยังต้องอุ้มประคองคอและศีรษะเสมอ พัฒนาการของทารกช่วงอายุ 4-6 เดือน เมื่อทารกมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนเข้าสู่ช่วงวัย 4-6 เดือน ลูกจะเริ่มคว้าสิ่งของต่าง ๆ […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนด ที่ส่งผลต่อสุขภาพลูกน้อย

ทารกคลอดก่อนกำหนด คือทารกที่คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงก่อนที่การตั้งครรภ์จะเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งอาจทำให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนด ที่อาจส่งผลในระยะสั้นหรือในระยะยาวขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของทารกและการดูแล รักษาอย่างใกล้ชิด Hello คุณหมอ จึงขอนำเสนอ ภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนด เพื่อให้คุณได้ทราบถึงภาวะที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อย [embed-health-tool-vaccination-tool] ภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนด มีอะไรบ้าง การที่ทารกคลอดเร็วกว่าที่กำหนดอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาภายหลังได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ยิ่งทารกเกิดเร็วเท่าใดยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นเท่านั้น ภาวะแทรกซ้อนระยะสั้น ภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนดในช่วงสัปดาห์แรก อาจมีดังต่อไปนี้ ปัญหาการหายใจ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีปัญหาเรื่องการหายใจ เนื่องจากปอดยังไม่แข็งแรง และขาดสารลดแรงตึงผิวที่ช่วยให้ปอดขยายตัว ทำให้ปอดไม่สามารถขยายและหดตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้ทารกมีอาการหายใจลำบาก นอกจากนี้ทารกบางรายก็อาจมีอาการหยุดหายใจเป็นเวลานาน ที่เรียกว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ปัญหาหัวใจ ปัญหาหัวใจที่พบบ่อยที่สุดใน ทารกคลอดก่อนกำหนด คือ โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน (PDA) หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหาหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตต่ำ และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งอาจต้องรักษาด้วยยา การถ่ายเลือด หรือการผ่าตัด ปัญหาสมอง ยิ่งทารกเกิดเร็วมากเท่าใด ก็ยิ่งเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในสมองมากขึ้นเท่านั้น อาการเลือดออกในสมองสามารถหายขาดได้เอง แต่ทารกบางคนอาจมีอาการรุนแรงจนทำให้สมองได้รับบาดเจ็บได้ ปัญหาการควบคุมอุณหภูมิ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะสูญเสียความร้อนในร่างกายอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผิวหนังบาง ร่างกายยังไม่มีไขมันเก็บสะสมไว้ ทำให้ไม่สามารถกักเก็บความร้อนไว้ในร่างกายได้ และทำให้อุณภูมิร่างกายลดต่ำลง ภาวะอุณหภูมิลลดต่ำกว่าปกติอาจนำไปสู่ปัญหาการหายใจและระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ในช่วงแรกจึงต้องอยู่ในตู้อบเพื่อรักษาอุณภูมิจนกว่าร่างกายจะโตพอและสามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายเองได้ ปัญหาทางเดินอาหาร ทารกคลอดก่อนกำหนด ระบบทางเดินอาหารยังไม่แข็งแรง ส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะลำไส้เน่าอักเสบ (Necrotizing enterocolitis NEC) […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ไขข้อสงสัย พัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนด มีอะไรบ้าง

การคลอดก่อนกำหนดอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อ พัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากร่างกายและสมองของทารกอาจไม่ได้มีเวลาพอที่จะพัฒนาอย่างเต็มที่ เมื่อทารกคลอดออกมาจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ พัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ บทความนี้ได้รวบรวมสิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับพัฒนาการของลูกน้อยมาฝากคุณแล้วที่นี่เลย [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนด มีอะไรบ้าง? พัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการที่เหมือนกับเด็กที่คลอดตามปกติ แต่ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดมากเท่าใด ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสการมีปัญหาทางพัฒนาการมากขึ้นเท่านั้น ทารกคลอดก่อนกำหนด น้อยกว่า 36 สัปดาห์ อวัยวะของทารกในช่วงนี้มีการพัฒนาอย่างเต็มที่ แต่ยังคงต้องมีการพัฒนาของสมองเพิ่มเติม ทารกที่คลอดในช่วงนี้อาจมีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดปัญหาด้านพัฒนาการและการหายใจ ในช่วงแรกอาจต้องอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อเพิ่มน้ำหนัก และให้อาหารผ่านอุปกรณ์ช่วยเหลือ ทารกที่คลอดก่อนกำหนด น้อยกว่า 28 สัปดาห์ ทารกมักจะมีน้ำหนักน้อยกว่า 1 กิโลกรัม อวัยวะต่างๆยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ มีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาพัฒนาการด้านต่าง ๆ และความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นหากมีภาวะแทรกซ้อนอื่นร่วมด้วยในระหว่างการดูแลของแพทย์ พัฒนาการทางภาษาของ ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกคลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่ อาจมีพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าเด็กที่คลอดปกติ และอาจมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาการเรียนรู้ การคิด หรือการได้ยินเสียง ซึ่งส่งผลต่อความสามารถทางด้านภาษาของเด็กเป็นอย่างมาก พัฒนาการทางร่างกายของ ทารกคลอดก่อนกำหนด โดยปกติเด็กที่คลอดก่อนกำหนดจะมีพัฒนาทางร่างกายเป็นไปตามลำดับ เพียงแต่อาจจะมีขนาดตัวที่เล็กกว่าหรือมีน้ำหนักที่น้อยกว่า และมีปัญหาผิดปกติของกล้ามเนื้อเล็กน้อย เช่น ปัญหาเรื่องการจับดินสอ การเดินรอบสิ่งกีดขวาง การวาดรูป การถือแก้วโดยไม่ให้น้ำหก ทารกคลอดก่อนกำหนด มีแนวโน้มมีปัญหาเรื่องฟัน เช่น เคลือบฟันผิดปกติ ฟันอาจมีสีเทาหรือน้ำตาล ผิวไม่เรียบ ฟันอาจขึ้นช้ากว่าปกติ หรือรูปร่างของฟันอาจส่งผลต่อการกัด พัฒนาการทางประสาทสัมผัส การได้ยิน ทารกคลอดก่อนกำหนดมีโอกาสมากที่จะมีปัญหาหูหนวกหรือหูตึง การมองเห็น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน