backup og meta

เรียนหนัก มากเกินไป ส่งผลต่อเด็กอย่างไรบ้าง

เรียนหนัก มากเกินไป ส่งผลต่อเด็กอย่างไรบ้าง

ในปัจจุบันนี้การทุ่มเทเวลาอยู่กับการเรียนตลอดทั้งวันและทุกวัน แทบจะเป็นเรื่องปกติที่เด็ก ๆ วัยเรียนจะต้องเจอ นอกจากการเรียนที่โรงเรียนตลอดทั้งวันแล้ว ยังมีเรียนพิเศษหลังเลิกเรียน เรียนเสริมในวันหยุดสุดสัปดาห์ และติวเข้มในช่วงใกล้สอบ แม้ว่าการตั้งใจเรียนจะเป็นสิ่งที่ดีและส่งผลที่น่าชื่นชมในอนาคต แต่การที่ เรียนหนัก มากจนเกินไปอาจให้โทษร้ายที่คาดไม่ถึง

[embed-health-tool-bmi]

เรียนหนัก มีข้อดีอย่างไรบ้าง

แน่นอนว่าการทุ่มเทให้กับการเรียน ย่อมส่งผลดีต่อตัวเด็ก เด็กจะได้รับประโยชน์มากมาย ได้แก่

  • เป็นการเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับเด็ก
  • ช่วยพัฒนาทักษะที่จำและสำคัญในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นความรับผิดชอบ การจัดการตารางเวลา ความมีวินัย
  • เป็นการเพิ่มโอกาสในการพบปะผู้คน และเสริมสร้างความมีมนุษยสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น รู้จักการเข้าสังคม
  • ป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จากการใช้เวลาว่างไม่เป็นประโยชน์ เช่น การเสพยา เล่นการพนัน
  • ได้รับผลคะแนนที่ดีเป็นที่น่าพอใจ
  • มีโอกาสที่จะได้รับโอกาสดีๆ ที่เข้ามา เช่น ทุนการศึกษา ทุนเรียนต่อต่างประเทศ เพราะมีการเตรียมพร้อมทางด้านวิชาการเป็นอย่างดี

เรียนหนักมากเกินไปก็มีข้อเสีย

สิ่งใดที่มากไปย่อมไม่ดี การเรียนที่มากจนเกินไปก็ส่งผลเสียต่อเด็กเช่นกัน

  • ทำให้เด็กเกิดความเครียดและความวิตกกังวล และสามารถที่จะกลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้
  • ไม่มีเวลาส่วนตัวในการที่จะใช้ชีวิต
  • สามารถที่จะทำให้เด็กไม่ได้มีการพัฒนาทักษะทางด้านอารมณ์
  • ไม่มีเวลาอยู่ร่วมกับครอบครัว
  • มีอาการเก็บกด รู้สึกอึดอัด
  • อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ หากเด็กมีภาวะเครียดหนัก

พ่อแม่รู้ได้อย่างไรว่าลูกเริ่มเรียนหนักมากเกินไป

  • ป่วยง่ายมากกว่าเมื่อก่อน
  • ไม่ค่อยมีความกระตือรือร้น
  • ไม่ได้ทำกิจกรรมเหมือนเด็กปกติ เช่น ไปเที่ยว ดูหนัง หรือกิจกรรมอื่นๆ
  • เริ่มมีความผิดปกติทางด้านของความคิด
  • เก็บตัว ไม่ค่อยพูด
  • ไม่ค่อยยิ้มแย้ม สีหน้าดูเครียดตลอดเวลา
  • ไม่ค่อยมีความสุขกับชีวิต มีอาการเศร้า

เมื่อลูกเรียนหนักเกินไป ผู้ปกครองควรทำอย่างไร

เมื่อผู้ปกครองสังเกตได้ถึงอาการผิดปกติของลูกๆ หลังจากที่มีการเรียนหนักมากจนเกินไป สามารถที่จะใช้วิธีเหล่านี้ในการแก้ปัญหาได้

จำกัดกิจกรรม

การที่ให้เด็กๆ ทำกิจกรรมมากเกินไป ก็อาจจะไปเบียดเบียนเวลาเรียนได้ แนะนำให้ลูกรู้จักจัดสรรตารางเวลา

เข้าใจสิ่งที่ต้องการ

สิ่งสำคัญเลยคือการให้ลูกๆ รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร เพราะถ้าหากเป็นสิ่งที่เขาอยากที่จะทำ เด็กสามารถที่จะทำออกมาได้ดี

แบ่งเวลาให้เหมาะสม

ถ้าหากไม่อยากให้ลูกๆ เรียนหนักมากจนเกินไป แล้วไม่มีเวลาให้เขาได้อยู่กับกิจกรรมที่เขาอยากทำเพื่อผ่อนคลาย แน่นอนว่าอาจจะกลายเป็นปัญหาที่อาจจะแก้ได้ยากในภายหลัง จึงควรมีการแบ่งเวลาให้ลงตัว ไม่มากและไม่น้อยไป

พูดคุยกับลูกให้มากขึ้น

สิ่งสำคัญสำหรับครอบครัว คือ การพูดคุยกัน เพื่อหาจุดกึ่งกลางในการแก้ปัญหา หากลูกเรียนหนักกินไป คุณพ่อคุณแม่ควรพูดกับลูกว่าอยากลดวิชาไหนลง หรือต้องการที่จะทำอย่างอื่นแทนหรือไม่ เพื่อให้ลูกไม่รู้สึกว่าพ่อแม่คาดหวังในตัวเด็กมากจนเกินไป

ให้กำลังใจลูกอยู่เสมอ

หลายครอบครัวนิยมให้ลูกเรียนให้มาก ๆ เนื่องจากลูกทำคะแนนสอบได้ไม่ดี กลัวลูกจะไม่สามารถสอบเข้าโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยชื่อดังได้ ผู้ปกครองควรให้กำลังใจลูกมากกว่าที่จะกดดันลูกว่าต้องทำให้ได้ ให้ลูกทำให้เต็มที่และไม่ต้องกังวล

ทำความเข้าใจระหว่างกัน

คุณพ่อคุณแม่อาจทำความเข้าใจกับลูกว่า การเรียนตกต่ำลง ควรที่จะต้องมีการเรียนเสริม ลูกเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าหากไม่อยากเรียนเสริม จะตั้งใจเรียนกว่าเดิมได้หรือไม่ ซึ่งการพูดคุยกันย่อมดีกว่าการบังคับ เพราะอาจทำให้เด็กเก็บกดและนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Don’t Let Enrichment Classes Become A Burden. https://hellodoktor.com/parenting/parenting-tips/dont-let-enrichment-classes-become-burden/. Accessed December 22,2017

Parents, Stop Telling Your Kids to Study Hard for Their Own Good (And What to Do Instead). https://www.daniel-wong.com/2019/01/08/stop-telling-kids-to-study-hard/. Accessed December 22,2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/12/2022

เขียนโดย กัญญ์วรา ยุทธ์ธนพิริยะ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เรียนออนไลน์ มีข้อดีและข้อเสียต่อเด็ก ๆ อย่างไรบ้าง

ปลุกใจวัยใส ทำอย่างไรเมื่อ เด็กไม่อยากไปโรงเรียน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย กัญญ์วรา ยุทธ์ธนพิริยะ · แก้ไขล่าสุด 01/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา