backup og meta

ยาลดกรด ต้องกินยังไง ถึงจะปลอดภัยต่อสุขภาพ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 20/07/2023

    ยาลดกรด ต้องกินยังไง ถึงจะปลอดภัยต่อสุขภาพ

    เวลาเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือแสบร้อนกลางอก เราก็มักจะมองหายาลดกรดมารับประทานเพื่อบรรเทาอาการกันอยู่เสมอ ยาลดกรดนี้เป็นยาที่เราหลายคนคุ้นเคย เพราะหาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป แต่ความเข้าถึงง่ายของยานี้อาจทำให้เป็นอันตรายได้ หากเราใช้ยาได้อย่างไม่ถูกวิธี ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง รวมถึงปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

    ยาลดกรด คืออะไร

    ยาลดกรด (Antacids) เป็นยาที่ใช้เพื่อช่วยปรับสภาพความเป็นกรด ของกรดภายในกระเพาะอาหาร ทำให้มีความเป็นกลางมากขึ้น หรือก็คือ ช่วยลดกรด จากการที่ภายในกระเพาะอาหารหลั่งกรดมาช่วยย่อยอาหารมากเกินไป ยานี้จะแตกต่างจากยาลดกรดในกลุ่ม H2 receptor blockers และ proton pump inhibitors (PPIs) เนื่องจากยาพวกนั้นจะลดการหลั่งของกรดในกระเพาะแทน

    ยาลดกรดนั้นใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคกรดไหลย้อน (GERD) อาหารไม่ย่อย ท้องอืด อาการแสบร้อนกลางอก และแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากยาลดกรดนั้นจะช่วยบรรเทาอาการปวด และปัญหาที่เกิดขึ้นจากอาการของโรคเหล่านี้ แต่ไม่สามารถรักษาโรคให้หายขาด หรือป้องกันไม่ให้เกิดโรคเหล่านี้ได้

    ยาลดกรดบางอย่าง อาจสามารถช่วยเคลือบหลอดอาหาร เพื่อปกป้องหลอดอาหารจากกรดในกระเพาะอาหาร หรือสร้างชั้นเจลเคลือบบนชั้นกระเพาะอาหาร เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร ยาลดกรดนั้นมีทั้งแบบยาน้ำและยาเม็ดสำหรับเคี้ยว และยาน้ำนั้นมักจะมีประสิทธิภาพมากกว่ายาแบบเม็ด แต่ไม่ว่าจะเป็นยาลดกรดยี่ห้อใดหรือรูปแบบใด ก็มักจะมีส่วนผสมที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้

    • อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (aluminium hydroxide)
    • แมกนีเซียมคาร์บอเนต (magnesium carbonate)
    • แมกนีเซียมไตรซิลิเกต (magnesium trisilicate)

    ในบางครั้งอาจจะมีส่วนผสมพิเศษเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาเฉพาะอย่างต่างๆ เช่น

    • ไซเมทิโคน (simethicone) เพื่อช่วยบรรเทาอาการท้องอืด จุกเสียด แน่น
    • แอลจิเนต (alginates) เพื่อป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร

    การใช้ยาลดกรดอย่างปลอดภัย

    ยาลดกรดแต่ละชนิด แต่ละยี่ห้อ อาจจะมีขนาดยาและวิธีการใช้ยาที่แตกต่างกันไป ควรอ่านฉลากยา หรือปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนที่จะใช้ยา

    • ยาลดกรดในรูปแบบเคี้ยว ควรเคี้ยวยาให้ละเอียดก่อนค่อยกลืน อย่ากลืนยาลงไปทั้งเม็ด
    • ยาลดกรดแบบน้ำ ควรเขย่าขวดยา ให้ยาผสมเข้ากันดี ก่อนรับประทานยาทุกครั้ง

    ยาลดกรดจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากรับประทานยาเมื่อเริ่มมีอาการ ซึ่งมักจะเกิดหลังจากมื้ออาหารแต่ละมื้อ และก่อนนอน ดังนั้นควรรับประทานยาลดกรดทันทีหลังอาหาร เพื่อช่วยบรรเทาอาการต่างๆ เช่น อาหารไม่ย่อย หรือแสบร้อนกลางอก ได้เร็วที่สุด

    ยาลดกรดมักจะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น และไม่จำเป็นต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน หากคุณสังเกตพบว่าคุณจำเป็นต้องใช้ยาลดกรดเป็นประจำ เป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ติดต่อกัน โปรดรีบติดต่อแพทย์ในทันที

    ข้อควรระวังในการใช้ยาลดกรด

    แม้ว่าโดยปกติแล้ว ยาลดกรดนั้นจะค่อนข้างปลอดภัยในการใช้ แต่หากไม่ได้ใช้ตามที่กำหนดบนฉลากยา ก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เนื่องจากยาลดกรดส่วนใหญ่ มักจะมีส่วนผสมของแคลเซียม ดังนั้น หากใช้ยาลดกรดมากเกินไป หรือใช้ยานานเกินกว่าที่แนะนำ ก็อาจทำให้เกิดการสะสมของแคลเซียม หรือได้รับแคลเซียมมากเกินขนาด จนเกิดการเป็นพิษได้ อาการจากการได้รับแคลเซียมมากเกินไปมีดังต่อไปนี้

    การสะสมของแคลเซียมก็อาจนำไปสู่การเกิดภาวะเลือดเป็นด่าง (Alkalosis) ที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างกรดออกมาให้เพียงพอต่อความต้องการในการใช้งานได้

    นอกจากนี้ ยังมีสภาวะบางอย่าง ที่อาจเป็นอันตรายจากการใช้ยาลดกรดได้ เช่น

    • หัวใจล้มเหลว

    ผู้ที่มีอาการหัวใจล้มเหลวอาจต้องจำกัดปริมาณการบริโภคโซเดียม เพื่อลดการสะสมของน้ำ แต่ในยาลดกรดนั้นมักจะมีโซเดียมในปริมาณมาก ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาลดกรด

    • ไตล้มเหลว

    สำหรับผู้ป่วยที่มีไตล้มเหลว การใช้ยาลดกรดอาจทำให้เกิดการสะสมของอลูมิเนียม นำไปสู่ภาวะอลูมิเนียมเป็นพิษได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยไตล้มเหลวยังมีปัญหาเกี่ยวกับความสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ (Electrolytes) ยาลดกรดทุกชนิดจะมีส่วนผสมของอิเล็กโทรไลต์ และการรับประทานยานี้ก็จะยิ่งทำให้สมดุลของอิเล็กโทรไลต์แย่ลง

    ยาลดกรดไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีสภาวะที่จำเป็นต้องควบคุมปริมาณของโซเดียมในอาหาร เช่น ความดันโลหิตสูง หรือโรคตับ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังการใช้ยาลดกรด เนื่องจากยาลดกรดนั้นมีโซเดียมในปริมาณมาก

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 20/07/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา