dexamethasone คือ ยาเดกซาเมทาโซน ใช้เพื่อรักษาโรคข้ออักเสบ (arthritis) ความผิดปกติของเลือด ฮอร์โมน หรือระบบภูมิคุ้มกัน อาการแพ้ สภาวะของผิวและดวงตาบางชนิด ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ความผิดปกติของลำไส้บางชนิด และโรคมะเร็งบางชนิด นอกจากนี้ยังใช้เพื่อทดสอบความผิดปกติของต่อมหมวกไต หรือกลุ่มอาการคุชชิง (Cushing’s syndrome) อีกด้วย
[embed-health-tool-bmr]
ข้อบ่งใช้
dexamethasone คือ ยาเดกซาเมทาโซน ใช้สำหรับ
dexamethasone คือ ยาชนิดหนึ่ง ใช้เพื่อรักษาโรคข้ออักเสบ (arthritis) ความผิดปกติของเลือด ฮอร์โมน หรือระบบภูมิคุ้มกัน อาการแพ้ สภาวะของผิวและดวงตาบางชนิด ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ความผิดปกติของลำไส้บางชนิด และโรคมะเร็งบางชนิด นอกจากนี้ ยังใช้เพื่อทดสอบความผิดปกติของต่อมหมวกไต หรือกลุ่มอาการคุชชิง (Cushing’s syndrome) อีกด้วย
ยาเดกซาเมทาโซนเป็นฮอร์โมนคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid hormone) หรือกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoid) ทำหน้าที่ลดการตอบสนองของระบบป้องกันตามธรรมชาติของร่างกาย และลดอาการ เช่น อาการบวมและอาการแพ้
การใช้ยาในด้านอื่น
ในส่วนนี้จะมีวิธีการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุมัติให้แสดงฉลากยา แต่คุณหมอหรือเภสัชกรอาจสั่งให้ใช้ หากได้รับสั่งยานี้ ควรใช้ยาเพื่อรักษา ตามที่ได้รับการสั่งจากคุณหมอหรือเภสัชกรเท่านั้น
ยาเดกซาเมทาโซนอาจใช้เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้และอาเจียน เนื่องจากการทำเคมีบำบัด เพื่อรักษาโรคมะเร็ง
วิธีการใช้ยาเดกซาเมทาโซน
- รับประทานยาเดกซาเมทาโซนตามที่แพทย์กำหนด รับประทานพร้อมกับอาหารหรือนม เพื่อป้องกันอาการท้องไส้ปั่นป่วน กินยาเดกซาเมทาโซนพร้อมกับน้ำเต็มแก้ว (8 ออนซ์/240 มล.) เว้นแต่แพทย์จะสั่งอย่างอื่น หากใช้ยานี้ในรูปแบบของยาน้ำ ควรใช้เครื่องมือสำหรับตวงยา เพื่อตวงได้ให้ขนาดยาที่กำหนด อย่าใช้ช้อนธรรมดา
- หากรับประทานยาเดกซาเมทาโซนวันละครั้ง ให้รับประทานในตอนเช้าก่อน 9 โมงเช้า หากรับประทานยาวันเว้นวัน หรือตารางการรับประทานแบบอื่น ที่ไม่ใช่รับประทานทุกวัน อาจทำเครื่องหมายไว้ที่ปฏิทิน เพื่อให้ง่ายต่อการจำ
- ขนาดยาและระยะเวลาในการรักษา ขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์และการตอบสนองต่อการรักษา แพทย์อาจจะค่อยๆ ลดขนาดยาในบางครั้ง เพื่อลดผลข้างเคียง
- ใช้ยาเดกซาเมทาโซนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำ ควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน ควรใช้ยาเดกซาเมทาโซนอย่างต่อเนื่อง แม้จะรู้สึกเป็นปกติดี ควรทำตามตารางการใช้ยาอย่างระมัดระวัง และใช้ยาเดกซาเมทาโซนตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ห้ามหยุดใช้ยาเดกซาเมทาโซนโดยไม่ปรึกษากับแพทย์ สภาวะบางอย่างอาจแย่ลงได้ หากหยุดใช้ยากระทันหัน ควรค่อยๆ ลดขนาดยาลง
- แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง
การเก็บรักษายาเดกซาเมทาโซน
ยาเดกซาเมทาโซนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเดกซาเมทาโซนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ไม่ควรทิ้งยาเดกซาเมทาโซนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง
ข้อควรระวังและคำเตือน
ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเดกซาเมทาโซน
ก่อนใช้ยาเดกซาเมทาโซน
- แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากแพ้ยาเดกซาเมทาโซน แอสไพริน ทาร์ทราซีน (tartrazine) ซึ่งเป็นสีย้อมสีเหลืองที่ใช้ในอาหารแปรรูปและยาบางชนิด หรือยาอื่นๆ
- แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับยาที่กำลังใช้ ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง โดยเฉพาะยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) หรือยาเจือจางเลือด (blood thinners) เช่น ยาวาฟาริน (warfarin) อย่างคูมาดิน (coumadin), ยาสำหรับโรคข้ออักเสบ, ยาแอสไพริน, ยาไซโคลสปอริน (cyclosporine) อย่างนีโอรอล (neoral) หรือแซนดิมมูน (sandimmune), ยาไดจอกซิน (digoxin) อย่างลานอกซิน (lanoxin), ยาขับปัสสาวะ (ยาขับน้ำ), ยาเอฟีดรีน (ephedrine), ยาเอสโตรเจน (estrogen) อย่างพรีเมริน (premarin), ยาคีโตโคนาโซล (ketoconazole) อย่างไนโซรอล (nizoral), ยาคุมกำเนิดแบบรับประทาน, ยาฟีโนบาร์บิทัล (phenobarbital), ยาเฟนิโทอิน (phenytoin) อย่างดิลานทิน (dilantin), ยาไรแฟมพิน (rifampin) อย่างไรฟาดิน (rifadin,) ยาทีโอฟิลลีน (theophylline) อย่างทีโอเดอร์ (theo-dur) และวิตามิน
- หากมีการติดเชื้อรา (นอกเหนือจากผิว) อย่าใช้ยาเดกซาเมทาโซน โดยไม่ปรึกษากับแพทย์
- แจ้งให้แพทย์ทราบหากเป็นหรือเคยเป็นโรคตับ โรคไต โรคลำไส้ หรือโรคหัวใจ โรคเบาหวาน ภาวะขาดไทรอยด์ ความดันโลหิตสูง อาการป่วยทางจิต โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis) โรคกระดูกพรุน ติดเชื้อเริมที่ดวงตา อาการชัก วัณโรคปอด หรือเป็นแผล
- แจ้งให้แพทย์ทราบหากตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร หากตั้งครรภ์ขณะใช้ยาเดกซาเมทาโซน ให้ติดต่อแพทย์ทันที
- หากกำลังจะรับการผ่าตัด รวมทั้งการผ่าตัดทำฟัน แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบว่ากำลังใช้ยาเดกซาเมทาโซน
- หากมีประวัติเคยมีแผลในกระเพาะ หรือใช้ยาแอสไพรินในขนาดสูง หรือยาสำหรับโรคข้ออักเสบในปริมาณมาก ควรจำกัดปริมาณในการดื่มสุรา ขณะที่กำลังใช้ยานี้
- ยาเดกซาเมทาโซนทำให้กระเพาะและลำไส้ มีปฏิกิริยาไวต่ออาการระคายเคืองของแอลกอฮอล์ ยาแอสไพริน และยารักษาโรคข้ออักเสบบางชนิด ส่งผลให้มีความเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเพียงพอ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อชั่งน้ำหนักประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้
ยาเดกซาเมทาโซนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C จัดโดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)
การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้
- A= ไม่มีความเสี่ยง
- B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
- C= อาจจะมีความเสี่ยง
- D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
- X= ห้ามใช้
- N= ไม่มีข้อมูลเพียงพอ
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของการใช้ยาเดกซาเมทาโซน
ผลข้างเคียงบางอย่างอาจมีดังนี้ คือ การมองเห็นเปลี่ยนแปลง บวม และน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว
รับการรักษาในทันทีหากมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ
แจ้งให้แพทย์ทราบหากมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังนี้
- มีปัญหากับการมองเห็น
- บวม น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รู้สึกหายใจไม่อิ่ม
- ซึมเศร้าอย่างรุนแรง มีความคิดหรือพฤติกรรมที่ไม่ปกติ มีอาการชัก
- อุจจาระเป็นเลือดหรือคล้ายยางมะตอย ไอเป็นเลือด
- ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) ซึ่งมีอาการปวดรุนแรงที่ท้องส่วนบนแพร่กระจายไปถึงหลัง คลื่นไส้และอาเจียน หัวใจเต้นเร็ว
- โพแทสเซียมต่ำ (สับสน อัตราหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ กระหายน้ำอย่างรุนแรง ปัสสาวะมากขึ้น รู้สึกไม่สบายที่ขา กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือรู้สึกปวกเปียก)
- ความดันโลหิตสูงเข้าขั้นอันตราย (ปวดหัวรุนแรง มองเห้นไม่ชัด มีเสียงอื้อในหู วิตกกังวล สับสน เจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม อัตราหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ชัก)
ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่ามีดังนี้
- นอนไม่หลับ อารมณ์เปลี่ยนแปลง
- เป็นสิว ผิวแห้ง ผิวบาง มีรอยช้ำหรือเป็นรอยด่าง
- แผลหายได้ช้า
- มีเหงื่อออกมากขึ้น
- ปวดหัว วิงเวียน รู้สึกโลกหมุน
- คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องอืด
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ไขมันในร่างกายเปลี่ยนรูปหรือเปลี่ยนที่ (โดยเฉพาะที่แขน ขา ใบหน้า ลำคอ เต้านม และเอว)
ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้ามีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับคุณหมอหรือเภสัชกร
ปฏิกิริยาของยา
ปฏิกิริยากับยาอื่น
ยาเดกซาเมทาโซนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่กำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรว่า กำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์
ไม่แนะนำการใช้ยานี้ร่วมกับยาดังต่อไปนี้ แพทย์อาจพิจารณาไม่รักษาด้วยยานี้หรือเปลี่ยนยาบางอย่างที่กำลังใช้อยู่
- อาร์เทมิเทอร์ (Artemether), ดาคลาทาสเวียร์ (Daclatasvir), พราซิควอนเทล (Praziquantel), ริลพิวิรีน (Rilpivirine), วัคซีนโรตาไวรัสเชื้อเป็น (Rotavirus Vaccine)
โดยปกติจะไม่แนะนำการใช้ยานี้ร่วมกับยาดังต่อไปนี้ แต่อาจจำเป็นในบางกรณี หากได้รับสั่งยาทั้งสองร่วมกัน คุณหมออาจต้องเปลี่ยนขนาดยา หรือความถี่ในการใช้ยา ตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้งสองชนิด
- อัลเดสลูคิน (Aldesleukin), อะริพิพราโซล (Aripiprazole), แอกซิทินิบ (Axitinib), โบซีพรีเวียร์ (Boceprevir), โบซูทินิบ (Bosutinib), บูโพรพิออน (Bupropion), คาร์บามาเซพีน (Carbamazepine), เซริทินิบ (Ceritinib), คลาริโทรมัยซิน (Clarithromycin), โคลซาปีน (Clozapine), โคบิซิสแตท (Cobicistat), คริซอททินิบ (Crizotinib), ดาบราเฟนิบ (Dabrafenib), ดารุนาเวียร์ (Darunavir), ดาซาทินิบ (Dasatinib), ด็อกโซรูบิซิน (Doxorubicin), ด็อกโซรูบิซินไฮโดรคลอไรด์ไลโปโซม (Doxorubicin HydrochlorideLiposome), เอฟฟาไวเร็นซ์ (Efavirenz), เอลิกลูสแตท (Eliglustat), เออวิทิกราเวียร์ (Elvitegravir), เอนซาลูตาไมด์ (Enzalutamide), เอสลิคาร์เบเซพีน แอซิเตด (Eslicarbazepine Acetate), อีทราวิรีน (Etravirine), ฟอสแอมพรีนาเวียร์ (Fosamprenavir), ไฮโดรโคโดน (Hydrocodone), ไอเดลาลิซิบ (Idelalisib), อิมมาตินิบ (Imatinib), ไอทราโคนาโซล (Itraconazole), ไอวาบราดีน (Ivabradine), อิกซาเบพิโลน (Ixabepilone), ลาพาทินิบ (Lapatinib), ไมโทเทน (Mitotane), เนวิราปีน (Nevirapine), ไนเฟดิปีน (Nifedipine), นิโลตินิบ (Nilotinib), นิโมดิปีน (Nimodipine), ไพเพอราควิน (Piperaquine), ไพแซนโทรน (Pixantrone), ไพรมิโดน (Primidone), ริโทนาเวียร์ (Ritonavir), ไรวารอกซาแบน (Rivaroxaban), โรมิเดบซิน (Romidepsin), ซิลทูซิแมบ (Siltuximab), ซูนิทินิบ (Sunitinib), ทีลาพรีเวียร์ (Telaprevir), เทมซิโรลิมัส (Temsirolimus), ธาลิโดไมด์ (Thalidomide), ทิก้ากรีลอ (Ticagrelor), โทโพทีแคน (Topotecan), วินคริสทีนซัลเฟต (Vincristine Sulfate), วินคริสทีนซัลเฟตไลโปโซม (Vincristine Sulfate Liposome), วอร์ทิออกเซทีน (Vortioxetine)
การใช้ยานี้กับยาดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงบางอย่าง แต่การใช้ยาทั้งสองร่วมกัน อาจเป็นการรักษาที่ดีที่สุด หากได้รับสั่งยาทั้งสองร่วมกัน แพทย์อาจต้องเปลี่ยนขนาดยา หรือความถี่ในการใช้ยาตัวใด ตัวหนึ่งหรือทั้งสองชนิด
- อะลาโทรฟลอเซซิน (Alatrofloxacin), อัลเคอโรเนียม (Alcuronium), อะมิโนกลูเทติมายด์ (Aminoglutethimide), อะเพรบพิแทนท์ (Aprepitant), แอสไพริน อะทราคูเรียม (Atracurium), บาโลฟลอเซซิน (Balofloxacin), แคสโปฟังกิน (Caspofungin), ซิโนเซซิน (Cinoxacin), ไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin), คลิเนฟลอกเซซิน (Clinafloxacin), อีนอกซาซิน (Enoxacin), เฟลโรเซซิน (Fleroxacin), ฟลูอินไดโอน (Fluindione), ฟลูมีควิน (Flumequine), ฟอซาเพรบพิแทนท์ (Fosaprepitant), ฟอสเฟนิโทอิน (Fosphenytoin), กัลลามีน (Gallamine), เกมิฟลอกเซซิน (Gemifloxacin), เกรพาฟลอกเซซิน (Grepafloxacin), เฮซาฟลูโอเรเนียม (Hexafluorenium), เลโวฟลอกเซซิน (Levofloxacin), ชะเอมเทศ (Licorice), โลมีฟล็อคซาซิน (Lomefloxacin), เมโทคูรีน (Metocurine), โมซิฟลอกเซซิน (Moxifloxacin), เนทูพิแทน (Netupitant), นอร์ฟลอกเซซิน (Norfloxacin), ออฟลอกซาซิน (Ofloxacin), ออสพีมิฟีน (Ospemifene), แพนคูโรเนียม (Pancuronium), เพฟลอกเซซิน (Pefloxacin), ฟีโนบาร์บิทัล (Phenobarbital), เฟนิโทอิน (Phenytoin), พรูลิฟลอกเซซิน (Prulifloxacin), ไรแฟมพิน (Rifampin), ไรฟาเพนทีน (Rifapentine), โรโซเซซิน (Rosoxacin), รูฟลอกเซซิน (Rufloxacin), ไซโบคู โท (Saiboku-To), สปาร์ฟลอกซาซิน (Sparfloxacin), เทมาฟลอกเซซิน (Temafloxacin), โทซูฟลอกเซซิน (Tosufloxacin), โทรเวฟลอกเซซิน เมซิเลต (Trovafloxacin Mesylate), เวคูโรเนียม (Vecuronium), วาฟาริน (Warfarin)
ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์
ยาเดกซาเมทาโซนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น
ยาเดกซาเมทาโซนอาจส่งผลให้อาการโรคแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
- โรคต้อกระจก
- ภาวะหัวใจล้มเหลว
- กลุ่มอาการคุชชิง หรือความผิดปกติของต่อมหมวกไต
- โรคเบาหวาน
- การติดเชื้อที่ดวงตา
- ภาวะการคั่งของน้ำ (Fluid retention)
- โรคต้อหิน
- ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
- ภาวะความดันโลหิตสูง
- การติดเชื้อ (เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อรา)
- อารมณ์เปลี่ยนแปลง รวมถึงภาวะซึมเศร้า
- โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis)
- โรคกระดูกพรุน
- เป็นหรือเคยเป็นแผลในกระเพาะอาหาร
- บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง
- ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารหรือลำไส้ เช่น โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โรคลำไส้อักเสบชนิดเป็นแผล
- วัณโรคแฝง —ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง อาจทำให้อาการแย่ลงได้
- การติดเชื้อรา
- การติดเชื้อเริมที่ดวงตา —ไม่ควรใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีอาการนี้
ขนาดยา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ขนาดยาเดกซาเมทาโซนสำหรับผู้ใหญ่
- ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคที่เกิดเฉียบพลันจากการขึ้นที่สูง (Acute Mountain Sickness)
รับประทาน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (ยาฉีดในรูปเกลือโซเดียมฟอสเฟต)
- 0.75 ถึง 9 มก. ต่อวัน แบ่งให้ทุกๆ 6 ถึง 12 ชั่วโมง
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (ยาฉีดในรูปเกลือแอซิเตท)
- 8 ถึง 16 มก. อาจให้ซ้ำได้ภายใน 1 ถึง 3 สัปดาห์
ฉีดเข้าบริเวณรอยโรค (ยาฉีดในรูปเกลือแอซิเตท)
- 0.8 ถึง 1.6 มก
ฉีดเข้าข้อต่อและเนื้อเยื่ออ่อน (ยาฉีดในรูปเกลือแอซิเตท)
- 4 ถึง 16 มก. อาจให้ซ้ำได้ภายใน 1 ถึง 3 สัปดาห์
ฉีดเข้าข้อต่อ ฉีดเข้าบริเวณรอยโรค หรือเนื้อเยื่ออ่อน (ยาฉีดในรูปเกลือโซเดียมฟอสเฟต)
- 0.4 ถึง 6 มก. ต่อวัน
2. ขนาดยาปกติสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคหอบหืด – เฉียบพลัน
รับประทาน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (ยาฉีดในรูปเกลือโซเดียมฟอสเฟต)
- 0.75 ถึง 9 มก. ต่อวัน แบ่งให้ทุกๆ 6 ถึง 12 ชั่วโมง
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (ยาฉีดในรูปเกลือแอซิเตท)
- 8 ถึง 16 มก. อาจให้ซ้ำได้ภายใน 1 ถึง 3 สัปดาห์
ฉีดเข้าบริเวณรอยโรค (ยาฉีดในรูปเกลือแอซิเตท)
- 0.8 ถึง 1.6 มก
ฉีดเข้าข้อต่อและเนื้อเยื่ออ่อน (ยาฉีดในรูปเกลือแอซิเตท)
- 4 ถึง 16 มก. อาจให้ซ้ำได้ภายใน 1 ถึง 3 สัปดาห์
ฉีดเข้าข้อต่อ ฉีดเข้าบริเวณรอยโรค หรือเนื้อเยื่ออ่อน (ยาฉีดในรูปเกลือโซเดียมฟอสเฟต)
- 0.4 ถึง 6 มก. ต่อวัน
3. ขนาดยาปกติสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคครูป (croup)
รับประทาน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (ยาฉีดในรูปเกลือโซเดียมฟอสเฟต)
- 0.75 ถึง 9 มก. ต่อวัน แบ่งให้ทุกๆ 6 ถึง 12 ชั่วโมง
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (ยาฉีดในรูปเกลือแอซิเตท)
- 8 ถึง 16 มก. อาจให้ซ้ำได้ภายใน 1 ถึง 3 สัปดาห์
ฉีดเข้าบริเวณรอยโรค (ยาฉีดในรูปเกลือแอซิเตท)
- 0.8 ถึง 1.6 มก
ฉีดเข้าข้อต่อและเนื้อเยื่ออ่อน (ยาฉีดในรูปเกลือแอซิเตท)
- 4 ถึง 16 มก. อาจให้ซ้ำได้ภายใน 1 ถึง 3 สัปดาห์
ฉีดเข้าข้อต่อ ฉีดเข้าบริเวณรอยโรค หรือเนื้อเยื่ออ่อน (ยาฉีดในรูปเกลือโซเดียมฟอสเฟต)
- 0.4 ถึง 6 มก. ต่อวัน
4. ขนาดยาปกติสำหรับผู้ใหญ่เพื่อต้านการอักเสบ
รับประทาน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (ยาฉีดในรูปเกลือโซเดียมฟอสเฟต)
- 0.75 ถึง 9 มก. ต่อวัน แบ่งให้ทุกๆ 6 ถึง 12 ชั่วโมง
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (ยาฉีดในรูปเกลือแอซิเตท)
- 8 ถึง 16 มก. อาจให้ซ้ำได้ภายใน 1 ถึง 3 สัปดาห์
ฉีดเข้าบริเวณรอยโรค (ยาฉีดในรูปเกลือแอซิเตท)
- 0.8 ถึง 1.6 มก
ฉีดเข้าข้อต่อ และเนื้อเยื่ออ่อน (ยาฉีดในรูปเกลือแอซิเตท)
- 4 ถึง 16 มก. อาจให้ซ้ำได้ภายใน 1 ถึง 3 สัปดาห์
ฉีดเข้าข้อต่อ ฉีดเข้าบริเวณรอยโรค หรือเนื้อเยื่ออ่อน (ยาฉีดในรูปเกลือโซเดียมฟอสเฟต)
- 0.4 ถึง 6 มก. ต่อวัน
5. ขนาดยาปกติสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาสมองบวม (Cerebral Edema)
- เริ่มต้นด้วยฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 10 มก. หนึ่งครั้ง ตามด้วย 4 มก. เข้ากล้ามเนื้อ ทุกๆ 6 ชั่วโมงจนกระทั่งอาการลดลง อาจลดขนาดยาหลังจาก 2 ถึง 4 วัน และค่อย ๆ หยุดใช้ยาในช่วง 5 ถึง 7 วัน
6. ขนาดยาปกติสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษากลุ่มอาการคุชชิง (Cushing’s Syndrome)
การทดสอบกดการทำงาน (Suppression test) หรือวินิจฉัยกลุ่มอาการคุชชิง:
- 1 มก. รับประทานในเวลา 5 ทุ่ม แล้วทำการวัดคอร์ติซอลในพลาสม่าในเลือด (Blood plasma cortisol) ในเวลา 8 โมงเช้าของวันถัดไป
- หรือ 0.5 มก. รับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมงเป็นเวลา 48 ชั่วโมง (โดยมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะ 24 ชั่วโมง เพื่อดูการขับออกของ 17 ไฮดรอกซีคอร์ติโคสเตียรอยด์)
การจำแนกกลุ่มอาการคุชชิง จากภาวะแอดรีโนคอร์ติโคทรอพิกฮอร์โมนส่วนเกิน (ACTH) จากอาการคุชชิงอันเนื่องมาจากสาเหตุอื่น
- รับประทาน: ยาเดกซาเมทาโซน 2 มก. ทุกๆ 6 ชั่วโมงเป็นเวลา 48 ชั่วโมง (โดยมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะ 24 ชั่วโมง เพื่อดูการขับออกของ 17 ไฮดรอกซีคอร์ติโคสเตียรอยด์ [17 hydroxycorticosteroid])
7. ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการคลื่นไส้/อาเจียน – เนื่องจากการทำเคมีบำบัด
การป้องกัน
- 10 มก. ถึง 20 มก. รับประทานหรือฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ 15 ถึง 30 นาทีก่อนการรักษาในแต่ละวัน
สำหรับการทำเคมีบำบัดโดยการหยอดยาอย่างต่อเนื่อง
- 10 มก. รับประทานหรือฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมงทุกวันที่ทำการรักษา
การเกิดการอาเจียนจากการทำเคมีบำบัดในระดับไม่รุนแรง
- 4 มก. รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อทุก ๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง
อาการคลื่นไส้และอาเจียนที่เกิดภายหลัง
- 8 มก. รับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมงเป็นเวลา 2 วัน ตามด้วย 4 มก. ทุก ๆ 12 ชั่วโมงเป็นเวลา 2 วัน
- หรือ 20 มก. รับประทาน 1 ชั่วโมงก่อนทำเคมีบำบัดตามด้วย 10 มก. รับประทาน 12 ชั่วโมงหลังจากทำเคมีบำบัด ตามด้วย 8 มก. ทุก ๆ 12 ชั่วโมงเป็นจำนวน 4 ครั้ง แล้วตามด้วย 4 มก. รับประทานทุก ๆ 12 ชั่วโมงเป็นจำนวน 4 ครั้ง
8. ขนาดยาปกติสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการช็อก
ภาวะวิกฤติ/ช็อก จากการที่ต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอ (adrenal crisis)
- 4 ถึง 10 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำครั้งเดียว ให้ซ้ำหากจำเป็น
อาการช็อกที่ไม่ตอบสนอง
- 1 ถึง 6 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำครั้งเดียว หรือเริ่มต้นที่ขนาดสูงถึง 40 มก. ตามด้วยให้ซ้ำทุกๆ 2 ถึง 6 ชั่วโมงขณะที่อาการช็อกยังคงอยู่
9. ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคมะเร็งในพลาสมาเซลล์ (Multiple Myeloma)
- รับประทาน หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 40 มก./วัน วันที่ 1 ถึง 4 วันที่ 9 ถึง 12 และวันที่ 17 ถึง 20 ให้ซ้ำทุกๆ 4 สัปดาห์ (ให้เป็นยาชนิดเดียวหรือเป็นส่วนหนึ่งของสูตรยา)
10. ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis)
- โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (อาการกำเริบเฉียบพลัน): รับประทาน: 30 มก./วัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ตามด้วย 4 ถึง 12 มก./วัน เป็นเวลา 1 เดือน
11. ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะต่อมหมวกไตบกพร่อง (Adrenal Insufficiency)
- การให้ยาทดแทนทางสรีรวิทยา (Physiological replacement): รับประทาน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (ควรให้ในรูปเกลือโซเดียมฟอสเฟต): 0.03 ถึง 0.15 มก./กก./วัน หรือ 0.6 ถึง 0.75 มก./ตารางเมตร/วัน แบ่งให้ทุกๆ 6 ถึง 12 ชั่วโมง
ขนาดยาเดกซาเมทาโซนสำหรับเด็ก
- ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาสมองบวม (Cerebral Edema)
- ขนาดยาที่ให้เริ่มต้น : 1 to 2 mg/kg วันละครั้ง ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ
- ขนาดยาเพื่อการรักษาแบบประคับประคอง: 1 to 1.5 มก./กก./วัน, แบ่งให้ทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมงเป็นเวลา 5 วัน แล้วค่อยๆลดขนาดลดลงในอีก 5 วัน แล้วจึงหยุดยา. ขนาดยาสูงสุด : 16 มก./วัน
2. ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) – เชื้อเมนิงโกค็อกคัล (Meningococcal)
(ไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา)
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี [H. influenzae] ประเภท บี):
- ทารกและเด็กที่อายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป: ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 0.15 มก./กก./ครั้ง ทุก ๆ 6 ชั่วโมงในช่วง 2 ถึง 4 วันแรกของการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เริ่มให้ยาเดกซาเมทาโซน 10 ถึง 20 นาที ก่อนหรือพร้อมกับการใช้ยาปฏิชีวนะครั้งแรก หากให้ยาปฏิชีวนะไปแล้ว การใช้ยาเดกซาเมทาโซนไม่แสดงให้เห็นผลที่ดีขึ้นของผู้ป่วย และไม่แนะนำให้ใช้
- หมายเหตุ: สำหรับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบโดยเชื้อเชื้อนิวโมคอกคัส (pneumococcal meningitis) ยังไม่มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นประโยชน์ที่ชัดเจนของการใช้ยาเดกซาเมทาโซน ควรมีการพิจารณาความเสี่ยงและประโยชน์ก่อนการใช้
3. ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ – เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี (Haemophilus influenzae)
(ไม่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา)
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี [H. influenzae] ประเภท บี)
- ทารกและเด็กที่อายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป: ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 0.15 มก./กก./ครั้ง ทุกๆ 6 ชั่วโมงในช่วง 2 ถึง 4 วันแรกของการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เริ่มให้ยาเดกซาเมทาโซน 10 ถึง 20 นาที ก่อนหรือพร้อมกับการใช้ยาปฏิชีวนะครั้งแรก หากให้ยาปฏิชีวนะไปแล้ว การใช้ยาเดกซาเมทาโซนไม่แสดงให้เห็นผลที่พัฒนาของผู้ป่วยและไม่แนะนำให้ใช้
- หมายเหตุ: สำหรับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบโดยเชื้อเชื้อนิวโมคอกคัส (pneumococcal meningitis) ยังไม่มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นประโยชน์ที่ชัดเจนของการใช้ยาเดกซาเมทาโซน ควรมีการพิจารณาความเสี่ยงและประโยชน์ก่อนการใช้
4. ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษา เยื่อหุ้มสมองอักเสบ – เชื้อนิวโมคอกคัส (Pneumococcal)
(ไม่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา):
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี [H. influenzae] ประเภท บี)
- ทารกและเด็กที่อายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป: ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 0.15 มก./กก./ครั้ง ทุก ๆ 6 ชั่วโมงในช่วง 2 ถึง 4 วันแรกของการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เริ่มให้ยาเดกซาเมทาโซน 10 ถึง 20 นาทีก่อนหรือพร้อมกับการใช้ยาปฏิชีวนะครั้งแรก หากให้ยาปฏิชีวนะไปแล้ว การใช้ยาเดกซาเมทาโซนไม่แสดงให้เห็นผลที่พัฒนาของผู้ป่วยและไม่แนะนำให้ใช้
- หมายเหตุ: สำหรับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบโดยเชื้อเชื้อนิวโมคอกคัส (pneumococcal meningitis) ยังไม่มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นประโยชน์ที่ชชัดเจนของการใช้ยาเดกซาเมทาโซน ควรมีการพิจารณาความเสี่ยงและประโยชน์ก่อนการใช้
5. ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ – เชื้อลิสเทริโอซิส (Listeriosis)
(ไม่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา):
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี [H. influenzae] ประเภท บี)
- ทารกและเด็กที่อายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป: ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 0.15 มก./กก./ครั้ง ทุก ๆ 6 ชั่วโมงในช่วง 2 ถึง 4 วันแรกของการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เริ่มให้ยาเดกซาเมทาโซน 10 ถึง 20 นาทีก่อนหรือพร้อมกับการใช้ยาปฏิชีวนะครั้งแรก หากให้ยาปฏิชีวนะไปแล้ว การใช้ยาเดกซาเมทาโซนไม่แสดงให้เห็นผลที่พัฒนาของผู้ป่วยและไม่แนะนำให้ใช้
- หมายเหตุ: สำหรับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบโดยเชื้อเชื้อนิวโมคอกคัส (pneumococcal meningitis) ยังไม่มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นประโยชน์ที่ชชัดเจนของการใช้ยาเดกซาเมทาโซน ควรมีการพิจารณาความเสี่ยงและประโยชน์ก่อนการใช้
6. ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อต้านการอักเสบ
- 0.08 ถึง 0.3 มก./กก./วัน หรือ 2.5 ถึง 5 มก./ตารางเมตร/วัน แบ่งให้ทุก ๆ 6 ถึง 12 ชั่วโมง
7. ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการคลื่นไส้/อาเจียน- จากการทำเคมีบำบัด
(ไม่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา):
ก่อนการทำเคมีบำบัด
- 10 มก./ตารางเมตร ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อในครั้งแรก (สูงสุดที่ 20 มก.) ตามด้วย 5 มก./ตารางเมตร/ครั้ง ทุก ๆ 6 ชั่วโมงเท่าที่จำเป็น
8. ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคหอบหืด – เฉียบพลัน
- โรคหอบหืดกำเริบ: รับประทาน หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ: 0.6 มก./กก. ครั้งเดียว (ขนาดยาสูงสุด: 16 มก.)
9. ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคครูป (croup)
(ไม่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา)
- โรคครูป (ภาวะกล่องเสียงและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน): รับประทาน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ : 0.6 มก./กก. ครั้งเดียว (ขนาดสูงสุด: 20 มก.) เคยมีการให้ขนาดยาที่ให้เพียงครั้งเดียว 0.15 มก./กก.ซึ่งได้ผลเช่นกัน
10. ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษา for ภาวะไตบกพร่อง (Adrenal Insufficiency)
- การให้ยาทดแทนทางสรีรวิทยา: รับประทาน,ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ (ควรให้ในรูปเกลือโซเดียมฟอสเฟต): 0.03 to 0.15 มก./กก./วัน or 0.6 to 0.75 มก./ตารางเมตร โดยแบ่งให้ทุก 6 ถึง 12 ชั่วโมง
11. ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคที่เกิดเฉียบพลันจากการขึ้นที่สูง (Acute Mountain Sickness)
(ไม่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา)
- การรักษาโรคที่เกิดเฉียบพลันจากการขึ้นที่สูง /ภาวะสมองบวมเนื่องจากการขึ้นที่สูง (HACE): รับประทาน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ: 0.15 มก./กก./ครั้ง ทุกๆ 6 ชั่วโมง ควรพิจาณาในการใช้สำหรับภาวะปอดบวมน้ำเนื่องจากการขึ้นที่สูง (high altitude pulmonary edema) เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับภาวะสมองบวมเนื่องจากการขึ้นที่สูง
12. ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคปอดเรื้อรังในทารก (Bronchopulmonary Dysplasia)
(ไม่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา)
โรคปอดเรื้อรังที่เกิดจากจากใช้เครื่องช่วยหายใจ: อายุหลังคลอด 7 วัน
- รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ: ขนาดยาเริ่มต้น: 0.15 มก./กก./วัน แบ่งให้ทุก ๆ 12 ชั่วโมงเป็นเวลา 3 วัน ตามด้วยค่อย ๆ ลดขนาดลงทุก ๆ 3 วันนานกว่า 7 วัน
- ขนาดยาเดกซาเมทาโซนทั้งหมด: 0.89 มก./กก. ให้นานกว่า 10 วัน
- นอกจากนี้ยังมีการใช้ที่ขนาด 0.2 มก./กก./วัน วันละครั้งตามด้วยค่อย ๆ ลดขนาดลงทุก ๆ 3 วันนานกว่า 7 วัน (ขนาดยาเดกซาเมทาโซนทั้งหมด: 1 มก./กก.) หรือค่อยๆ ลดขนาดลงนานกว่า 14 วัน (ขนาดยาเดกซาเมทาโซนทั้งหมด: 1.9 มก./กก.)
- หมายเหตุ: ยาขนาดสูง (0.5 มก./กก./วัน) ไม่ได้มีประโยชน์ในการรักษามากกว่ายาขนาดต่ำ การใช้ยาในขนาดสูงนั้น มีอุบัติการณ์สูงกว่าในการเกิดผลไม่พึงประสงค์ (รวมถึงผลที่ไม่พึงประสงค์ต่อพัฒนาการระบบประสาท) และไม่แนะนำให้ใช้ แต่ผลจากการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ได้รายงานว่าขนาดยาสะสมทั้งหมดมากกว่า 4 มก./กก. จะลดความเสี่ยงในการเกิดผลต่างๆ คือ การเสียชีวิต หรือโรคปอดเรื้อรัง จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม
รูปแบบของยา
ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้
ยารับประทานแบบเข้มข้น
- ยาเดกซาเมทาโซน อินเทนซอล (Dexamethasone Intensol) 1 มก./มล. (30 มล.)
ยาอิลิกเซอร์ (Elixir) สำหรับรับประทาน
- เบย์คาดรอน (Baycadron) 0.5 มก./5 มล. (237 มล.)
- ทั่วไป: 0.5 มก./5 มล. (237 มล.)
ยาสารละลายสำหรับรับประทาน
- ทั่วไป: 0.5 มก./5 มล. (240 มล. 500 มล.)
ยาสารละลายสำหรับฉีด ในรูปเกลือโซเดียมฟอสเฟต
- ทั่วไป: 4 มก./มล.( 1 มล. 5 มล. 30 มล.) 10 มก./มล. (1 มล. 10 มล.)
ยาสารละลายสำหรับฉีด ในรูปเกลือโซเดียมฟอสเฟต
- ทั่วไป: 10 มก./มล. (1 มล.)
ยาเม็ดสำหรับรับประทาน
- เดกซ์แพก (Dexpak) 10 วัน: 1.5 มก.
- เดกซ์แพก (Dexpak) 13 วัน: 1.5 มก.
- เดกซ์แพก (Dexpak) 6 วัน: 1.5 มก.
- ทั่วไป: 0.5 มก. 0.75 มก. 1 มก. 1.5 มก. 2 มก. 4 มก. 6 มก.
กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด
หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที
กรณีลืมใช้ยา
หากลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า