backup og meta

ใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์นาน อันตรายต่อร่างกายอย่างไร

ใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์นาน อันตรายต่อร่างกายอย่างไร

คอร์ติโคสเตียรอยด์ เป็นยาสเตียรอยด์ที่ส่วนใหญ่มักจะใช้ภายนอก ซึ่งมีรูปแบบมากมาย เช่น ยาเม็ด ยาพ่น ขี้ผึ้ง ครีม โลชั่น โดยยาคอร์ติโคสเตียร์รอยด์รูปแบบครีมเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด สำหรับผู้ที่มีอาการอักเสบหรือโรคผิวหนังแพทย์มักจะสั่งยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาอาการเนื่องจากได้ผลดี แต่มักจะไม่ให้ใช้ติดต่อกันนาน เพราะอาจเกิดผลกระทบกับร่างกายได้

[embed-health-tool-heart-rate]

คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) คืออะไร

คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นกลุ่มยาชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับลดการอักเสบของร่างกาย กดภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดอาการบวม ผื่นแดง คัน และอาการแพ้อื่น ๆ อีกด้วย แพทย์จึงนิยมใช้ คอร์ติโคสเตียรอยด์ สำหรับการรักษาโรคหอบหืด ข้ออักเสบ ภูมิแพ้ และโรคผิวหนัง

การทำงานของ คอร์ติโคสเตียรอยด์

คอร์ติโคสเตียร์รอยด์ เป็นยาที่มีส่วนช่วยในการยับยั้งการอักเสบ โดย คอร์ติโคสเตียรอยด์ จะลดสัญญาณและอาการของภาวะอักเสบ เช่น โรคข้ออักเสบ หอบหืด และผื่นผิวหนัง นอกจากนี้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ยังยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ในสภาวะที่ภูมิคุ้มกันโจมตีและทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง จนทำให้ร่างกายเกิดความอ่อนแอ

คอร์ติโคสเตียรอยด์ มีลักษณะคล้ายฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไตของร่างกายตามธรรมชาติ ร่างกายต้องการฮอร์โมนคอร์ติซอลเพื่อช่วยให้สุขภาพแข็งแรง คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ช่วยในการเผาผลาญ ตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกัน และความเครียด

ผลข้างเคียงเมื่อ ใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์นาน

แม้ว่ายาคอร์ติโคสเตียรอยด์ จะเป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการอักเสบได้ดี แต่หากมีการ ใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ นานอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายกมาย ดังนี้

เกิดอาการถอนยา

การใช้เสตียรอยด์เป็นเวลานานติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการถอนยา เมื่อเลิกใช้อย่างกระทันหันจะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า ปวดข้อ กล้ามเนื้อตึง หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง สำหรับบางคนอาจมีไข้ได้ หากมีอาการเช่นนี้ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์

การติดเชื้อ

หนึ่งในการทำงานของ คอร์ติโคสเตียรอยด์ คือ จะทำการยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย

ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร

การรับประทาน คอร์ติโคสเตียรอยด์ ช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นแผลหรือเลือดออกในกระเพาะอาหาร ซึ่งการรับประทานเป็นเวลานานหรือรับประทานร่วมกับยาต้านการอักเสบ อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้

เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน

การใช้ยา คอร์ติโคสเตียรอยด์ อาจส่งผลให้มวลกระดูกบางลง จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนหรือเสี่ยงต่อการทำให้กระดูกหักได้ง่าย ดังนั้นก่อนจะได้รับการรักษาด้วยสเตียรอยด์จึงต้องเข้ารับการตรวจความหนาแน่นของกระดูกก่อน

เพิ่มน้ำหนัก

การรับประทานสเตียรอยด์ส่งผลต่อระบบเผาผลาญและการสะสมของไขมันในร่างกาย นอกจากนี้การใช้สเตียรอยด์ยังช่วยเพิ่มความอยากอาหารอีกด้วย ดังนั้น หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจสทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

อารมณ์แปรปรวน

สำหรับผู้ที่ได้รับปริมาณสเตียรอยด์ 30 มิลลิกรัมต่อวัน อาจส่งผลทำให้อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย

เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด

คอร์ติโซน (Cortisone) มีส่วนเกี่ยวข้องในการควบคุมสมดุลของน้ำ โซเดียม และอิเล็กโทรไลต์ (Electrolytes) ของร่างกายการใช้ยาเหล่านี้อาจส่งเสริมการกักเก็บของเหลว และบางครั้งอาจทำให้ความดันโลหิตสูงแย่ลง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What are steroids?.https://www.versusarthritis.org/about-arthritis/treatments/drugs/steroids/.Accessed February 14, 2021

Prednisone and other corticosteroids.https://www.mayoclinic.org/steroids/art-20045692.Accessed February 14, 2021

Steroid Side Effects: How to Reduce Drug Side Effects of Corticosteroids.https://www.hss.edu/conditions_steroid-side-effects-how-to-reduce-corticosteroid-side-effects.asp.Accessed February 14, 2021

Corticosteroids: What Are They?.https://www.healthline.com/health/corticosteroids-what-are-they#:~:text=Corticosteroids%20are%20a%20class%20of,asthma.Accessed February 14, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/09/2023

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีลดอาการอักเสบ ในร่างกาย อย่างเป็นธรรมชาติ

สร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ด้วยสารพันประโยชน์จาก สารเบต้ากลูแคน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 04/09/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา