backup og meta

ไซโปร® (Cipro®)

ข้อบ่งใช้

ไซโปร® (Cipro®) ใช้สำหรับ

ไซโปร® ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ยาไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) ไซโปร® อยู่ในกลุ่มของยาปฏิชีวนะควิโนโลน (quinolone antibiotics) ไซโปร® ทำงานโดยหยุดยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ไซโปร® ยังใช้เพื่อรักษาผู้ที่เคยรับเชื้อแอนแทรกซ์ (anthrax) หรือ ใช้ ไซโปร® เพื่อรักษาเชื้อกาฬโรคบางชนิด (plague)

วิธีการใช้ ไซโปร® (ไซโปรฟลอกซาซิน)

ไซโปร® เป็นยาปฏิชีวนะฟลูออโรควิโนโลน (fluoroquinolone antibiotic) ที่ต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียภายในร่างกาย แต่สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง หรือทำให้ไร้สมรรถภาพได้ ไซโปร® ควรใช้ก็ต่อเมื่อไม่สามารถรักษาการติดเชื้อนั้นด้วยยาปฏิชีวนะที่ปลอดภัยกว่าเท่านั้น

ไซโปร® อาจทำให้เส้นเอ็นเกิดอาการบวมหรือฉีกขาด โดยเฉพาะหากคุณอายุมากกว่า 60 ปี หากคุณใช้ยาสเตียรอยด์ (steroid medication) หรือหากคุณรับการปลูกถ่ายไต หัวใจ หรือปอด

การรับประทาน รับประทานยานี้พร้อมกับอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหากตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติคือวันละสองครั้ง (ทุกๆ 12 ชั่วโมง) ในตอนเช้าและตอนเย็น รับประทานยานี้พร้อมกับดื่มน้ำเปล่า และควรดื่มน้ำให้มากเพื่อให้ไตสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง

ควรจะกลืนยาเม็ดลงไปทั้งเม็ด เนื่องจากยาอาจจะมีรสขมได้ หากคุณแบ่งยา เคี้ยวยา หรือบดยาก่อนรับประทานรับประทานยานี้อย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนหรือ 6 ชั่วโมง หลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะผูกติดกับยานี้และลดประสิทธิภาพของยาลงได้

การเก็บรักษา ไซโปร® (ไซโปรฟลอกซาซิน)

ไซโปร® ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็งไซโปร® บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอเพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้ง ไซโปร® ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ไซโปร® (ไซโปรฟลอกซาซิน)

ก่อนใช้ยานี้แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของยาไซโปร หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ

ไซโปร® อาจทำให้เกิดเส้นเอ็นเกิดอาการบวมหรือฉีกขาดได้ โดยเฉพาะหากคุณอายุมากกว่า 60 ปี หากคุณใช้ยาสเตียรอยด์ (steroid medication) หรือหากคุณรับการปลูกถ่ายไต หัวใจ หรือปอด

คุณอาจจะไม่สามารถใช้ไซโปร® ได้ หากคุณมีความผิดปกติทางกล้ามเนื้อ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีประวัติเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (myasthenia gravis)

คุณไม่ควรใช้ไซโปร® หากคุณกำลังใช้ยาทิซานิดีน (tizanidine)

หยุดใช้ไซโปร® และติดต่อแพทย์ในทันที หากคุณมีอาการปวด บวม รอยช้ำ กดเจ็บ แข็งเกร็ง หรือปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่บริเวณข้อต่อใดๆ เฉียบพลัน ควรพักข้อต่อของคุณ จนกว่าคุณจะได้รับการดูแลหรือคำแนะนำทางการแพทย์

อย่าใช้ไซโปร® ร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น นมหรือโยเกิร์ต หรือน้ำผลไม้เสริมแคลเซียม คุณอาจจะดื่มหรือรับประทานผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้จากมื้ออาหารตามปกติ แต่อย่ารับประทานผลิตภัณฑ์เหล่านี้เพียงอย่างเดียว เมื่อกำลังรับประทานไซโปร®  เพราะอาจทำให้ยามีประสิทธิภาพน้อยลง

หลีกเลี่ยงการใช้ยาเหล่านี้ภายใน 6 ชั่วโมงก่อน หรือ 2 ชั่วโมงหลังจากใช้ไซโปร® ยาเหล่านี้สามารถทำให้ยาไซโปรฟลอกซาซินมีประสิทธิภาพลดลงอย่างมาก หากใช้ร่วมกัน

  • ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมหรืออะลูมิเนียม เช่น มาร์ลอกซ์ (Maalox) ไมแลนตา (Mylanta) หรือโรเลด (Rolaids) หรือยาสำหรับแผลในกระเพาะอาหารซูคราลเฟต (sucralfate) อย่างคาราเฟต (Carafate)
  • ยาไดดาโนซีน (Didanosine) อย่างไวเดกซ์ (Videx) รูปแบบผลหรือยาเม็ดสำหรับเคี้ยว
  • ยาลดการดูดซึมฟอสเฟต (phosphate binder) เช่น ยาแลนทานัม คาร์บอเนต (lanthanum carbonate) อย่างฟอสเรนอล (Fosrenol) หรือยาเซเวลาเมอร์ (sevelamer) อย่างเรเนเจล (Renagel)
  • อาหารเสริมวิตามินหรือแร่ธาตุที่มีส่วนผสมของแคลเซียม เหล็ก หรือสังกะสี

ควรหลีกเลี่ยงคาเฟอีนขณะที่กำลังใช้ไซโปร® เนื่องจากอาจทำให้ผลของคาเฟอีนรุนแรงขึ้น

ไซโปร® อาจทำให้ความสามารถในการคิด หรือปฏิกิริยาตอบสนองของคุณลดลงได้ ควรระมัดระวังหากคุณต้องขับรถ หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัว

ยาปฏิชีวนะสามารถทำให้เกิดอาการท้องร่วง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อครั้งใหม่ได้ หากคุณมีอาการท้องร่วงไหลเป็นน้ำหรือเป็นเลือด โปรดติดต่อแพทย์ในทันที อย่าใช้ยาแก้ท้องร่วงนอกเสียจากแพทย์จะสั่งให้ทำเช่นนั้น

ควรหลีกเลี่ยงการเปิดรับแสงแดดหรือเตียงอาบแดด ไซโปร® นั้นสามารถทำให้คุณโดนแดดเผาได้ง่ายขึ้น ควรสวมเสื้อผ้าป้องกันและทาครีมกันแดด (SPF 30 ขึ้นไป) ขณะที่คุณอยู่นอกบ้าน โปรดติดต่อแพทย์หากคุณมีอาการแสบร้อน รอยแดง คัน ผดผื่น หรืออาการบวมอย่างรุนแรงหลังจากที่โดนแสงแดด

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ไซโปร® จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ไซโปร® (ไซโปรฟลอกซาซิน)

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปอาจมีดังนี้

หยุดใช้ไซโปร® และติดต่อแพทย์ในทันที หากคุณมีอาการ

  • ปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องร่วงไหลเป็นน้ำหรือเป็นเลือด
  • ปวดหัวพร้อมกับอาการปวดหน้าอกและวิงเวียนอย่างรุนแรง หมดสติ หัวใจเต้นเร็วหรือรัว
  • กล้ามเนื้อมีอาการปวดหรืออ่อนแรง
  • ชัก
  • สัญญาณของเส้นเอ็นฉีกขาด มีอาการปวดอย่างกะทันหัน มีรอยช้ำ กดเจ็บ มีปัญหากับการเคลื่อนไหว หรือมีเสียงกรอบแกรบหรือเสียงดังเป๊าะภายในข้อต่อ
  • อาการของเส้นประสาท มีอาการชา อ่อนแรง เหน็บ แสบร้อน ปวด หรือมีปฏิกิริยาไวต่ออุณหภูมิ สัมผัสของแสง หรือความรู้สึกบนตำแหน่งของร่างกายมากขึ้น
  • ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หรือพฤติกรรม ซึมเศร้า สับสน มองเห็นภาพหลอน หวาดระแวง สั่นเทา รู้สึกร้อนรนหรือวิตกกังวล มีความคิดหรือพฤติกรรมที่ผิดปกติ นอนไม่หลับ ฝันร้าย
  • ปัญหาเกี่ยวกับตับ – ปวดท้องส่วนบน เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีคล้ำ อุจจาระสีดินเหนียว ดีซ่าน
  • ความดันภายในกระโหลกเพิ่มขึ้น ปวดหัวอย่างรุนแรง มีเสียงอื้อในหู มีปัญหากับการมองเห็น ปวดด้านหลังลูกตา
  • ปฏิกิริยาผิวหนังที่รุนแรง — ปวดผิว ตามด้วยผดผื่นผิวหนังสีแดงหรือสีม่วงที่แพร่กระจาย (โดยเฉพาะใบหน้าหรือร่างกายส่วนบน) และทำให้เกิดแผลพุพองและผิวลอก

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ หรืออาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ไซโปร® อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง

เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่

  • ไซโคลสปอริน (Cyclosporine) เมโทเทรเซต (methotrexate) เมโทโคลพราไมด์ (metoclopramide) โอเมพราโซล (omeprazole) เพนโทซิฟีลลีน (pentoxifylline) เฟนีโทอิน (phenytoin) โพรเบเนซิด (probenecid) โรพินิโรล (ropinirole) ซิลเดนาฟิล (sildenafil) ทีโอฟีลลีน (theophylline)
  • ยาขับปัสสาวะหรือยาขับน้ำ
  • ยาสำหรับอัตราการเต้นของหัวใจ – ยาอะมิโอดาโรน (amiodarone) ยาไดโซพิราไมด์ (disopyramide) ยาโดเฟทิลไลด์ (dofetilide) ยาโดรนดาโรน (dronedarone) ยาโพรคาอินาไมด์ (procainamide) ยาควินิดีน (quinidine) ยาโซทาลอล (sotalol) และอื่นๆ
  • ยารักษาโรคซึมเศร้าหรืออาการป่วยทางจิต – ยาอะมิทริปแทน (amitriptylline) ยาโคลมิพรามีน (clomipramine) ยาโคลซาพีน (clozapine) ยาเดซิพรามีน (desipramine) ยาดูโลเซทีน (duloxetine) ยาไอโลเพริโดน (iloperidone) ยาอิมิพรามีน (imipramine) ยานอร์ทริปไทลีน (nortriptyline) และอื่นๆ
  • ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) – ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) อย่างแอดวิล (Advil) หรือมอทริน (Motrin) ยานาพรอกเซน (naproxen) อย่างอะลีฟ (Aleve) ยาเซเลโคซิบ (celecoxib) ยาไดโคลเฟแนค (diclofenac) ยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) ยาเมโลซิแคม (meloxicam) และอื่นๆ

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ไซโปร® อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ รวมถึงการใช้คาเฟอีนร่วมกับยาไซโปรฟลอกซาซิน อาจเพิ่มผลของคาเฟอีนได้

ไม่ควรรับประทานยาไซโปรฟลอกซาซิน กับวิตามินรวมที่มีแร่ธาตุในเวลาเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียม อะลูมิเนียม แคลเซียม เหล็ก และ/หรือ แร่ธาตุอื่นๆ อาจจะส่งผลกระทบต่อการดูดซึมยาไซโปรฟลอกซาซินและลดประสิทธิภาพของยา

อย่าใช้ยาไซโปรฟลอกซาซินร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น นมหรือโยเกิร์ต หรืออาหารที่เสริมแคลเซียม (เช่น ซีเรียล น้ำผลไม้) คุณสามารถรับประทานหรือดื่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม หรืออาหารเสริมแคลเซียมได้จากมื้ออาหารตามปกติ แต่ไม่ควรรับประทานเพียงอย่างเดียว ขณะที่กำลังใช้ยาไซโปรฟลอกซาซิน

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ไซโปร® อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

  • ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง (CNS Disorders)
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia Gravis)
  • ภาวะระยะคิวทียาว (QT Interval Prolongation)
  • เส้นเอ็นอักเสบ (Tendonitis)
  • ลำไส้อักเสบ (Colitis)
  • ผลึกสารในปัสสาวะ (Crystalluria)
  • โรคเบาหวาน
  • การกรองเลือดโดยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
  • ไตวาย (Renal Dysfunction)

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดไซโปร® (ไซโปรฟลอกซาซิน) สำหรับผู้ใหญ่

ผิวและโครงสร้างผิว ขนาดยาที่แนะนำคือ 500–750 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 7 ถึง 14 วัน

กระดูกและข้อต่อ ขนาดยาที่แนะนำคือ 500–750 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 4 ถึง 8 สัปดาห์

ติดเชื้อภายในช่องท้องแบบซับซ้อน ขนาดยาที่แนะนำคือ 500 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 7 ถึง 14 วัน

ท้องร่วงจากการติดเชื้อ ขนาดยาที่แนะนำคือ 500 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 5 ถึง 7 วัน

ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid Fever) ขนาดยาที่แนะนำคือ 500 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 10 วัน

การติดเชื้อหนองในที่ท่อปัสสาวะและปากมดลูกแบบไม่ซับซ้อน (Uncomplicated Urethral and Cervical Gonococcal Infections) ขนาดยาที่แนะนำคือ 250 mg / หนึ่งครั้ง / หนึ่งครั้ง

เชื้อแอนแทรกซ์จากการสูดดม (หลังได้รับเชื้อ) ขนาดยาที่แนะนำคือ 500 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 60 วัน /4 ถึง 8 สัปดาห์

กาฬโรค 3 ขนาดยาที่แนะนำคือ 500–750 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 14 วัน

ต่อมลูกหมากอักเสบจากแบคทีเรียเรื้อรัง (Chronic Bacterial Prostatitis) ขนาดยาที่แนะนำคือ 500 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 28 วัน

การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ขนาดยาที่แนะนำคือ 500–750 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 7 ถึง 14 วัน

การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ขนาดยาที่แนะนำคือ 250–500 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 7 ถึง 14 วัน

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบไม่ซับซ้อนเฉียบพลัน (Acute Uncomplicated Cystitis) ขนาดยาที่แนะนำคือ 250 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 3 วัน

โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (Acute Sinusitis) ขนาดยาที่แนะนำคือ 500 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 10 วัน

ขนาดไซโปร® (ไซโปรฟลอกซาซิน) สำหรับเด็ก

การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะแบบซับซ้อนหรือโรคกรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) (ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 1 ถึง 17 ปี) 10 มก./กก. ถึง 20 มก./กก. (ขนาดยาสูงสุด 750 มก. ต่อครั้ง ไม่ควรเกิดขนาดยานี้แม้ว่าผู้ป่วยจะน้ำหนักมากกว่า 51 กก.) / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 10–21 วัน

เชื้อแอนแทรกซ์จากการสูดดม (หลังได้รับเชื้อ) ขนาดยาที่แนะนำคือ 15 มก./กก. (ขนาดยาสูงสุดคือ 500 มก. ต่อครั้ง) / ขนาดยาที่แนะนำคือ / 60 วัน

กาฬโรค ขนาดยาที่แนะนำคือ 15 มก./กก. (ขนาดยาสูงสุดคือ 500 มก. ต่อครั้ง) / ทุกๆ 8 ถึง 12 ชั่วโมง / 10–21 วัน

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ด และยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน ไซโปรฟลอกซาซิน ไฮโดรคลอไรด์ (ciprofloxacin hydrochloride) 250 มก.
  • ยาเม็ดเคลือบฟิล์มสำหรับรับประทาน ไซโปรฟลอกซาซิน ไฮโดรคลอไรด์ 250 มก.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานยา ควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cipro. https://www.drugs.com/cipro.html. Accessed July 31, 2017

Cipro. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-1124-93/cipro-oral/ciprofloxacin-oral/details#uses. Accessed July 31, 2017

Cipro (Ciprofloxacin). https://www.medicalnewstoday.com/articles/326020.php. Accessed July 31, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

ช่องคลอดอักเสบ ปัญหาสุขภาพสตรีที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย

แบคทีเรียในช่องคลอด สาเหตุของภาวะช่องคลอดอักเสบ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา