backup og meta

Acetylcysteine หรือยา อะเซทิลซิสเทอีน

Acetylcysteine หรือยา อะเซทิลซิสเทอีน

Acetylcysteine หรือยา อะเซทิลซิสเทอีน เป็นยาสำหรับใช้รักษาอาการจากการรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด ช่วยให้เสมหะเจือจางลง และขับออกจากร่างกายได้โดยการไอ

[embed-health-tool-bmi]

ข้อบ่งใช้

ยา Acetylcysteine ใช้สำหรับ

ยา อะเซทิลซิสเทอีน หากเป็นยาพ่นยาจะใช้เพื่อละลายเสมหะและขับเสมหะในทางเดินหายใจเนื่องจากโรคปอดต่างๆ เช่น โรคหลอดลมอักเสบ โรคถุงลมโป่งพอง หรือโรคปอดบวม ยานี้จะช่วยขับเสมหะออกจากปอดทำให้หายใจได้ง่ายขึ้น

หากเป็นยารับประทาน จะใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ตับเสียหายจากการใช้ยาพาราเซตามอลเกินขนาด

วิธีใช้ยา Acetylcysteine

ให้ใช้ยานี้ตามที่แพทย์สั่ง โปรดอ่านข้อมูลทั้งหมด  และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

ยาน้ำสำหรับพ่นปาก

  • สำหรับพ่นปาก โดยใช้เครื่องพ่นละอองยา
  • หากรู้สึกเหนียวที่ใบหน้าหลังจากพ่นยา ควรล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า
  • หากยาตกตะกอนห้ามใช้ยานี้

ยาน้ำสำหรับรับประทาน

  • ผสมยากับโซดาหรือเครื่องดื่มที่ปราศจากน้ำตาล
  • ดื่มน้ำเปล่าตามในปริมาณมาก
  • หากอาเจียนหลังจากกินยาภายใน 1 ชั่วโมง ให้กินยาเพิ่มอีกครั้ง

การเก็บรักษา ยาอะเซทิลซิสเทอีน

ขวดที่ยังไม่เปิดใช้

การเก็บรักษายาอะเซทิลซิสเทอีนที่ดีที่สุด ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง ให้ห่างจากแสงโดยตรงและความชื้น เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของยา ไม่ควรเก็บยาอะเซทิลซิสเทอีนไว้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง

ยาอะเซทิลซิสเทอีนมีหลากหลายยี่ห้อ ซึ่งมีวิธีการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบวิธีการเก็บรักษาที่ระบุไว้ในบรรจุภัณฑ์ หรือสอบถามจากเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย ควรเก็บยาทั้งหมดให้ห่างจากเด็กหรือสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรเทยาอะเซทิลซิสเทอีนทิ้งลงในโถส้วมหรือท่อระบายน้ำ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำเช่นนั้น สิ่งสำคัญคือต้องกำจัดยาอย่างเหมาะสม เมื่อหมดอายุหรือไม่ใช้งานแล้ว ให้ปรึกษาเภสัชกรสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัย

ขวดที่เปิดใช้แล้ว

การเก็บรักษายาอะเซทิลซิสเทอีนที่ดีที่สุด ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง ให้ห่างจากแสงโดยตรงและความชื้น เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของยา ไม่ควรเก็บยาอะเซทิลซิสเทอีนไว้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาอะเซทิลซิสเทอีนมีหลากหลายยี่ห้อซึ่งมีวิธีการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบวิธีการเก็บรักษาที่ระบุไว้ในบรรจุภัณฑ์ หรือสอบถามจากเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย ควรเก็บยาทั้งหมดให้ห่างจากเด็กหรือสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรเทยาอะเซทิลซิสเทอีนทิ้งลงในโถส้วมหรือท่อระบายน้ำ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำเช่นนั้น สิ่งสำคัญคือต้องกำจัดยาอย่างเหมาะสมเมื่อหมดอายุหรือไม่ใช้งานแล้ว ให้ปรึกษาเภสัชกรสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนใช้ยา อะเซทิลซิสเทอีน

ก่อนใช้ยานี้ ให้แจ้งแพทย์ในกรณีดังต่อไปนี้

  • กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาตัวอื่น รวมถึงยาใด ๆ ที่กำลังใช้อยู่โดยที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา เช่น ยาสมุนไพรและอาหารเสริม
  • มีอาการแพ้ ส่วนผสมที่ออกฤทธิ์และไม่ออกฤทธิ์ใดๆ ของยาอะเซทิลซิสเทอีนหรือยาอื่นๆ
  • มีอาการป่วย อาการผิดปกติ หรืออาการทางสุขภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ยาจำพวกนี้ ยาจำพวกอื่น อาหาร หรือสารอื่น ๆ ให้แจ้งคุณหมอเกี่ยวกับอาการแพ้และอาการบ่งชี้ต่าง ๆ เช่น ผื่น ลมพิษ คัน หายใจไม่อิ่ม  ไอ อาการบวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือคอ หรือมีอาการบ่งชี้อื่นๆ

ยานี้อาจทำปฏิกิริยากับยาหรือภาวะทางสุขภาพอื่นๆ

หลังจากเปิดขวดยา ยานี้อาจจะเปลี่ยนสีได้

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ไม่มีการศึกษาในผู้หญิงที่เพียงพอเพื่อระบุความเสี่ยง เมื่อใช้ยาอะเซทิลซิสเทอีนในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เสมอเพื่อพิจารณาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้ ยาอะเซทิลซิสเทอีนมีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C ตามที่องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (US Food and Drug Administration: FDA) ได้กำหนดไว้

ความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ตามองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐฯ มีรายการอ้างอิงดังต่อไปนี้

  • A=ไม่มีความเสี่ยง
  • B=ไม่มีความเสี่ยงในงานวิจัยบางชิ้น
  • C=อาจมีความเสี่ยง
  • D=มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X=ห้ามใช้
  • N=ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากยาอะเซทิลซิสเทอีน

สำหรับข้อบ่งใช้ทั้งหมดของสารละลายอะเซทิลซิสเทอีน

  • สิ่งบ่งชี้ของอาการแพ้ เช่น มีผื่น ลมพิษ คัน ผิวหนังมีรอยแดง บวม พุพอง หรืออาการลอกที่มีหรือไม่มีอาการไข้ร่วมด้วย อาการแน่นที่หน้าอกหรือคอ หายใจหรือพูดลำบาก เสียงแหบผิดปกติ หรืออาการบวมที่ปาก ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือคอ
  • หายใจไม่อิ่ม
  • ปวดท้องหรืออาเจียน

ยาน้ำสำหรับรับประทาน

  • อุจจาระมีสีคล้ำ ข้นหนืด หรือมีเลือดปน
  • อาเจียนเป็นเลือดหรืออาเจียนเหมือนผงกาแฟ

ยาสำหรับพ่นปาก

  • มีน้ำมูกไหล
  • รู้สึกง่วงนอน
  • มีอาการระคายเคืองหรือแผลที่ปาก
  • ตัวเย็น
  • มีไข้

อาการข้างเคียงเหล่านี้พบไม่ได้ในผู้ใช้ยาทุกคน และอาจมีอาการข้างเคียงที่ไม่ได้ระบุข้างต้น หากมีข้องกังวลเกี่ยวกับอาการข้างเคียง ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาอะเซทิลซิสเทอีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาชนิดอื่นที่ใช้อยู่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงสำหรับอาการข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาของยาที่อาจเกิดขึ้น

ควรแจ้งรายการยาที่ใช้อยู่ทั้งหมด (ยาที่สั่งโดยแพทย์ ยาที่ไม่ได้สั่งโดยแพทย์ และยาสมุนไพร) และแจ้งแก่แพทย์หรือเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย ห้ามเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใด ๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาอะเซทิลซิสเทอีนอาจทำปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ยา หรือเพิ่มความเสี่ยงสำหรับอาการข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เกี่ยวกับปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นของยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ ก่อนการใช้ยา

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่นๆ

ยาอะเซทิลซิสเทอีนอาจทำปฏิกิริยากับสภาวะทางสุขภาพ ปฏิกิริยาดังกล่าวอาจทำให้สภาวะทางสุขภาพเสื่อมลง หรือเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยา เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเสมอ เกี่ยวกับสภาวะทางสุขภาพทั้งหมดในปัจจุบัน

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาที่จะให้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาอะเซทิลซิสเทอีนเสมอ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดใช้ยาปกติของผู้ใหญ่สำหรับการใช้ยาพาราเซตามอลเกินขนาด

ยาฉีด: ขนาดยาโดยรวม คือ 300 มก./กก. แบ่งให้ 3 ครั้ง ภายใน 21 ชั่วโมง

ขนาดใช้ยาปกติของผู้ใหญ่สำหรับการตรวจ Diagnostic Bronchograms

พ่นยาไปยังหน้ากากอนามัยหรือพ่นยาเข้าปาก

  • ขนาดยาแนะนำ: 3 ถึง 5 มล. ของสารละลาย 20% หรือ 6 ถึง 10 มล. ของสารละลาย 10% เป็นเวลา 3 ถึง 4 ครั้งต่อวัน
  • ขอบเขตขนาดยา: 1 ถึง 10 มล. ของสารละลาย 20% หรือ 2 ถึง 20 มล. ของสารละลาย 10% ทุก 2 ถึง 6 ชั่วโมง

เครื่องพ่นละอองยา

  • ขนาดยาแนะนำ: ยาสารละลาย 10% หรือ 20% จะเป็นละอองหมอกอยู่ในเครื่องพ่นยาจนกว่าจะพร้อมใช้งาน
  • เครื่องพ่นยาจำเป็นต้องใช้ยาในปริมาณมากถึง 300 มล. สำหรับการรักษาหนึ่งช่วง
  • เหมาะสำหรับการให้ยาอย่างต่อเนื่อง หรือให้ยาเป็นระยะ ๆ
  • อย่าแบ่งใช้เครื่องพ่นยากับผู้อื่น

การฉีดยาโดยตรง

  • ขอบเขตขนาดยา: 1 ถึง 2 มล. ของสารละลาย 10% ถึง 20% ทุกชั่วโมง
  • สำหรับการให้ยาทางการเจาะคอ 1 ถึง 2 มล. ของสารละลาย 10% ถึง 20% ทุก 1 ถึง 4 ชั่วโมง
  • สำหรับการให้ยาผ่านท่อทางผิวหนัง ยาสารละลาย 20% 1 ถึง 2 มล.  หรือยาสารละลาย 10% 2 ถึง 4 มล. ทุก 1 ถึง 4 ชั่วโมง
  • สำหรับการฉีดยาเข้าปอดโดยตรง ยาสารละลาย 20% 2 ถึง 5 มล.

การตรวจ Diagnostic Bronchograms

  • ขนาดยาแนะนำ: 1 ถึง 2 มล. ของสารละลาย 20% หรือ 2 ถึง 4 มล. ของสารละลาย 10% โดยใช้เครื่องพ่นยาหรือเครื่องหยอดยาเข้าไปในหลอดลม สองหรือสามครั้งก่อนการรักษา

ขนาดใช้ยาปกติของผู้ใหญ่สำหรับสารละลายเสมหะ (Mucolytic)

พ่นยาไปยังหน้ากากอนามัยหรือพ่นยาเข้าปาก

  • ขนาดยาแนะนำ: 3 ถึง 5 มล. ของสารละลาย 20% หรือ 6 ถึง 10 มล. ของสารละลาย 10% เป็นเวลา 3 ถึง 4 ครั้งต่อวัน
  • ขอบเขตขนาดยา: 1 ถึง 10 มล. ของสารละลาย 20% หรือ 2 ถึง 20 มล. ของสารละลาย 10% ทุก 2 ถึง 6 ชั่วโมง

เครื่องพ่นละอองยา

  • ขนาดยาแนะนำ: ยาสารละลาย 10% หรือ 20% จะเป็นละอองหมอกอยู่ในเครื่องพ่นยาจนกว่าจะพร้อมใช้งาน
  • เครื่องพ่นยาจำเป็นต้องใช้ยาในปริมาณมากถึง 300 มล. สำหรับการรักษาหนึ่งช่วง
  • เหมาะสำหรับการให้ยาอย่างต่อเนื่อง หรือให้ยาเป็นระยะ ๆ
  • อย่าแบ่งใช้เครื่องพ่นยากับผู้อื่น

การฉีดยาโดยตรง

  • ขอบเขตขนาดยา: 1 ถึง 2 มล. ของสารละลาย 10% ถึง 20% ทุกชั่วโมง
  • สำหรับการให้ยาทางการเจาะคอ 1 ถึง 2 มล. ของสารละลาย 10% ถึง 20% ทุก 1 ถึง 4 ชั่วโมง
  • สำหรับการให้ยาผ่านท่อทางผิวหนัง ยาสารละลาย 20% 1 ถึง 2 มล.  หรือยาสารละลาย 10% 2 ถึง 4 มล. ทุก 1 ถึง 4 ชั่วโมง
  • สำหรับการฉีดยาเข้าปอดโดยตรง ยาสารละลาย 20% 2 ถึง 5 มล.

การตรวจ Diagnostic Bronchograms

  • ขนาดยาแนะนำ: 1 ถึง 2 มล. ของสารละลาย 20% หรือ 2 ถึง 4 มล. ของสารละลาย 10% โดยใช้เครื่องพ่นยาหรือเครื่องหยอดยาเข้าไปในหลอดลม สองหรือสามครั้งก่อนการรักษา

ขนาดยาสำหรับเด็ก

ขนาดใช้ยาปกติสำหรับการใช้ยาพาราเซตามอลเกินขนาด

ยาฉีด: ขนาดยาโดยรวม คือ 300 มก./กก. โดยให้ยา 3 ขนาดแยกกันและใช้เปป็นเวลาทั้งสิ้น 21 ชั่วโมง

ขนาดใช้ยาปกติสำหรับการตรวจ Diagnostic Bronchograms

พ่นยาไปยังหน้ากากอนามัยหรือพ่นยาเข้าปาก

  • ขนาดยาแนะนำ: 3 ถึง 5 มล. ของสารละลาย 20% หรือ 6 ถึง 10 มล. ของสารละลาย 10% เป็นเวลา 3 ถึง 4 ครั้งต่อวัน
  • ขอบเขตขนาดยา: 1 ถึง 10 มล. ของสารละลาย 20% หรือ 2 ถึง 20 มล. ของสารละลาย 10% ทุก 2 ถึง 6 ชั่วโมง

เครื่องพ่นละอองยา

  • ขนาดยาแนะนำ: ยาสารละลาย 10% หรือ 20% จะเป็นละอองหมอกอยู่ในเครื่องพ่นยาจนกว่าจะพร้อมใช้งาน
  • เครื่องพ่นยาจำเป็นต้องใช้ยาในปริมาณมากถึง 300 มล. สำหรับการรักษาหนึ่งช่วง
  • เหมาะสำหรับการให้ยาอย่างต่อเนื่อง หรือให้ยาเป็นระยะ ๆ
  • อย่าแบ่งใช้เครื่องพ่นยากับผู้อื่น

การฉีดยาโดยตรง

  • ขอบเขตขนาดยา: 1 ถึง 2 มล. ของสารละลาย 10% ถึง 20% ทุกชั่วโมง
  • สำหรับการให้ยาทางการเจาะคอ 1 ถึง 2 มล. ของสารละลาย 10% ถึง 20% ทุก 1 ถึง 4 ชั่วโมง
  • สำหรับการให้ยาผ่านท่อทางผิวหนัง ยาสารละลาย 20% 1 ถึง 2 มล.  หรือยาสารละลาย 10% 2 ถึง 4 มล. ทุก 1 ถึง 4 ชั่วโมง
  • สำหรับการฉีดยาเข้าปอดโดยตรง ยาสารละลาย 20% 2 ถึง 5 มล.

การตรวจ Diagnostic Bronchograms

  • ขนาดยาแนะนำ: 1 ถึง 2 มล. ของสารละลาย 20% หรือ 2 ถึง 4 มล. ของสารละลาย 10% โดยใช้เครื่องพ่นยาหรือเครื่องหยอดยาเข้าไปในหลอดลม สองหรือสามครั้งก่อนการรักษา

ขนาดใช้ยาปกติสำหรับละลายเสมหะ (Mucolytic)

พ่นยาไปยังหน้ากากอนามัยหรือพ่นยาเข้าปาก

  • ขนาดยาแนะนำ: 3 ถึง 5 มล. ของสารละลาย 20% หรือ 6 ถึง 10 มล. ของสารละลาย 10% เป็นเวลา 3 ถึง 4 ครั้งต่อวัน
  • ขอบเขตขนาดยา: 1 ถึง 10 มล. ของสารละลาย 20% หรือ 2 ถึง 20 มล. ของสารละลาย 10% ทุก 2 ถึง 6 ชั่วโมง

เครื่องพ่นละอองยา

  • ขนาดยาแนะนำ: ยาสารละลาย 10% หรือ 20% จะเป็นละอองหมอกอยู่ในเครื่องพ่นยาจนกว่าจะพร้อมใช้งาน
  • เครื่องพ่นยาจำเป็นต้องใช้ยาในปริมาณมากถึง 300 มล. สำหรับการรักษาหนึ่งช่วง
  • เหมาะสำหรับการให้ยาอย่างต่อเนื่อง หรือให้ยาเป็นระยะ ๆ
  • อย่าแบ่งใช้เครื่องพ่นยากับผู้อื่น

การฉีดยาโดยตรง

  • ขอบเขตขนาดยา: 1 ถึง 2 มล. ของสารละลาย 10% ถึง 20% ทุกชั่วโมง
  • สำหรับการให้ยาทางการเจาะคอ 1 ถึง 2 มล. ของสารละลาย 10% ถึง 20% ทุก 1 ถึง 4 ชั่วโมง
  • สำหรับการให้ยาผ่านท่อทางผิวหนัง ยาสารละลาย 20% 1 ถึง 2 มล.  หรือยาสารละลาย 10% 2 ถึง 4 มล. ทุก 1 ถึง 4 ชั่วโมง
  • สำหรับการฉีดยาเข้าปอดโดยตรง ยาสารละลาย 20% 2 ถึง 5 มล.

การตรวจ Diagnostic Bronchograms

  • ขนาดยาแนะนำ: 1 ถึง 2 มล. ของสารละลาย 20% หรือ 2 ถึง 4 มล. ของสารละลาย 10% โดยใช้เครื่องพ่นยาหรือเครื่องหยอดยาเข้าไปในหลอดลม สองหรือสามครั้งก่อนการรักษา

รูปแบบยา

ยาอะเซทิลซิสเทอีนมีรูปแบบการใช้และปริมาณตัวยา ดังต่อไปนี้

  • สารละลายสำหรับฉีด
  • ของเหลวสำหรับสูดดม

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

ในกรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ให้โทรแจ้งบริการฉุกเฉิน หรือไปยังห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลใกล้บ้าน 

กรณีลืมใช้ยา

หากลืมใช้ยยาอะเซทิลซิสเทอีน ให้ใช้ยาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ดี หากใกล้เวลาใช้รอบถัดไป ให้ข้ามรอบที่ลืมใช้ไปแล้วใช้ยาในรอบถัดไปตามปกติที่กำหนดไว้ ห้ามใช้เพิ่มเป็นสองเท่า

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Acetylcysteine. https://www.drugs.com/cdi/acetylcysteine-solution.html. Accessed June 27, 2023.

Acetylcysteine (Oral Route). https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/acetylcysteine-oral-route/precautions/drg-20311314?p=1. Accessed June 27, 2023.

Acetylcysteine. https://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/acetylcysteine. Accessed June 27, 2023.

Acetylcysteine. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-8938/acetylcysteine/details. Accessed June 27, 2023.

ACETYLCYSTEINE. https://www.rxlist.com/consumer_acetylcysteine_mucomyst/drugs-condition.htm. Accessed June 27, 2023.

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8234027/

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/06/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

เสมหะมีเลือดปน เกิดจากอะไร อันตรายไหม

ไอ เกิดจากอะไร และควรรักษาอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา