คำจำกัดความ
อาการเซ (Ataxia) คืออะไร
อาการเซ (Ataxia) ไม่ใช่ความผิดปกติของโรคร้ายแรง แต่เกิดจากภาวะของกล้ามเนื้อที่ทำงานไม่ประสานกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบประสาท ทำให้เสียสมดุลขณะเคลื่อนไหว เช่น มีอาการเซขณะเดิน ยืน นั่ง การพูด การกลืนอาหาร เป็นต้น
พบได้บ่อยเพียงใด
อาการเซสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสมองและไขสันหลัง ส่วนใหญ่จะปรากฎอาการเหล่านี้ในผู้ที่มีอายุก่อน 25 ปี
อาการ
อาการเซ (Ataxia)
อาการเซเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติทางระบบประสาท โดยมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้
- มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร
- ดวงตาเคลื่อนไหวกลับไปกลับมา
- ประสิทธิภาพการใช้กล้ามเนื้อลดลง เช่น การรับประทานอาหาร การเขียน การติดกระดุมเสื้อ
- การเคลื่อนไหว การทรงตัวไม่ดี เช่น มีอาการเซขณะเดิน หรือขณะลุกและนั่ง
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของอาการเซ (Ataxia)
สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการเซเกิดจากความเสียหายของเซลล์ส่วนประสาทในส่วนที่ควบคุมการประสานงานของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลในการเคลื่อนไหว รวมถึงสาเหตุและปัจจัยดังต่อไปนี้
- ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานและหลอดเลือดฝอยพอง โรควิลสัน โรคสูญเสียการทรงตัว เป็นต้น
- อุบัติเหตุจากการได้รับบาดเจ็บหรือความเจ็บป่วย เช่น การบาดเจ็บที่ศีรษะ เลือดออกในสมอง สมองพิการ การขาดวิตามินอี เป็นต้น
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยอาการเซ (Ataxia)
ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติอาการผู้ป่วย และทำการทดสอบทางกายภาพ รวมถึงการทดสอบอื่น ๆ เพื่อทำการยืนยันวินิจฉัยโรค ดังนี้
การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI) และการทำซีที สแกน (Computerized Tomography Scan : CT Scan) เพื่อตรวจสอบความผิดปกติโครงสร้างบริเวณสมองและกระดูกไขสันหลัง
ในผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจทำการทดสอบไขสันหลัง ด้วยการสอดเข็มเข้าไปที่ด้านหลังส่วนล่างและดึงของเหลวออกมา
การรักษาอาการเซ (Ataxia)
วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล หากเกิดจากสาเหตุการขาดวิตามินแพทย์อาจแนะนำให้รับประทานวิตามินและแร่ธาตุเสริม
ในกรณีผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจแนะนำอุปกรณ์เพื่อช่วยเสริมให้เคลื่อนไหวได้สะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีช้อนส้อมเฉพาะที่ช่วยให้เรารับประทานได้ง่ายขึ้น
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อบรรเทาอาการเซ
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อบรรเทาอาการเซ มีวิธีดังต่อไปนี้
- ปรึกษาแพทย์เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับคำปรึกษาและคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสม
- ทำกายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัด
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่
[embed-health-tool-bmi]