backup og meta

IICP คือ อะไร อาการ การรักษาและการป้องกัน

IICP คือ อะไร อาการ การรักษาและการป้องกัน

IICP คือ ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง (Increased Intracranial Pressure) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหัวรุนแรง และไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการกินยาหรือนอนหลับ ภาวะนี้มักเกิดขึ้นเมื่อกะโหลกเต็มไปด้วยของเหลวส่วนเกิน จนสร้างแรงกดดันภายในกะโหลกศีรษะ ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน

[embed-health-tool-heart-rate]

คำจำกัดความ

IICP คือ อะไร

ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง หรือ IICP คือ ภาวะทางการแพทย์ที่เป็นอันตราย ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บบริเวณสมองและบริเวณอื่น ๆ ที่ทำให้ความดันศีรษะเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน อาเจียนและอ่อนแรง นอกจากนี้ แรงดันที่เพิ่มขึ้นยังอาจทำร้ายสมองและไขสันหลังได้อีกด้วย

อาการ

อาการของ IICP

อาการภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงที่อาจพบได้บ่อย มีดังนี้

  • ปวดศีรษะ
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • รู้สึกตื่นตัวน้อยกว่าปกติ
  • อาเจียน
  • มีปัญหาในการเคลื่อนไหวหรือการพูดคุย
  • ตื่นตัวน้อยลง
  • อ่อนแรง ขาดพลังงาน หรือง่วงนอนตลอดเวลา

หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นร่วมกับอาการปวดหัวควรเข้าพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการ

สาเหตุ

สาเหตุของ IICP

สาเหตุของภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงที่อาจพบได้บ่อย คือ การบาดเจ็บที่สมองหรือกะโหลกศีรษะ เนื่องจากการบาดเจ็บอาจทำให้ผู้ป่วยมีเลือดออกหรือเกิดอาการบวมภายในกะโหลกศีรษะ ซึ่งอาการบวมหรือปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นภายในกะโหลกศีรษะอาจทำให้เกิดแรงดันที่เป็นอันตราย และอาจสร้างความเสียหายต่อเนื้อเยื่อสมองหรือกระดูกสันหลังได้

นอกจากนี้ โรคหลอดเลือดสมองยังอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง เนื่องจากโรคหลอดเลือดสมองอาจทำให้หลอดเลือดในสมองแตก ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปทั่วสมองจนเกิดความดันได้

สำหรับสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง อาจมีดังนี้

  • น้ำส่วนเกินในไขสันหลัง
  • โรคเส้นเลือดสมองโป่งพอง (Cerebral Aneurysm)
  • เนื้องอกในสมอง
  • ความดันโลหิตสูง
  • การติดเชื้อ เช่น โรคไข้สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus)

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงที่ร้ายแรงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย IICP

คุณหมออาจวินิจฉัยอาการของภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงด้วยวิธี ดังนี้

  • การตรวจระบบประสาท เพื่อทดสอบประสาทสัมผัส การทรงตัว และสภาพจิตใจของผู้ป่วย
  • การเจาะน้ำไขสันหลัง เพื่อตรวจวัดปริมาณน้ำและความดันในไขสันหลัง
  • การตรวจด้วยซีทีสแกน (CT Scan) เป็นการสร้างภาพเอกซเรย์เพื่อตรวจอาการบาดเจ็บของศีรษะและสมองอย่างละเอียด
  • การตรวจด้วยเอ็มอาร์ไอ (MRI) เพื่อตรวจหาการเปลี่ยนแปลงในเนื้อเยื่อสมอง ซึ่งสามารถตรวจได้ละเอียดกว่าการเอกซเรย์หรือซีทีสแกน

การรักษา

การรักษา IICP

การรักษาภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ ดังนี้

  • ยา เช่น ยาสลายลิ่มเลือด ยาลดบวม เพื่อสลายลิ่มเลือดในสมองและลดอาการบวม
  • การระบายของเหลว เพื่อช่วยระบายของเหลวในกะโหลกศีรษะและลดความดันที่มากเกินไป
  • การผ่าตัด เพื่อลดความดันภายในสมอง ซึ่งวิธีการผ่าตัดอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุของการกดทับที่ทำให้เกิดอาการ เช่น รักษาอาการบาดเจ็บ ห้ามเลือด เอาเนื้องอกออก

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อจัดการกับ IICP

การดูแลสุขภาพของตัวเองอยู่เสมออาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงได้ รวมถึงอาจช่วยป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง การติดเชื้อ ที่อาจนำไปสู่ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ดังนี้

  • กินอาหารที่มีประโยชน์ เน้นกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและมัน ข้าวขัดสี ธัญพืช ผัก ผลไม้ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์อย่างครบถ้วน ซึ่งอาจช่วยบำรุงร่างกายให้สุขภาพดี ทั้งยังช่วยป้องกันการสะสมของไขมันส่วนเกินได้
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเสมอ การออกกำลังกายอาจช่วยส่งเสริมให้สุขภาพโดยรวมแข็งแรง และช่วยเผาผลาญไขมันส่วนเกินได้ จึงควรออกกำลังกายความเข้มข้นปานกลางอย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง เดินเร็ว เต้นแอโรบิก
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ในระหว่างนอนหลับร่างกายจะซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและปรับความสมดุลของฮอร์โมน ซึ่งอาจช่วยให้ร่างกายมีกระบวนการทำงานที่เป็นปกติและสุขภาพดี
  • จัดการกับความเครียด ความเครียดอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้สุขภาพเสื่อมโทรมและอาจทำให้ร่างกายอ่อนแอจนดจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้น จึงควรจัดการความเครียดเพื่อช่วยส่งเสริมให้สุขภาพดี เช่น นอนหลับพักผ่อน อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย เดินเล่น พูดคุยกับเพื่อน เล่นเกม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Increased Intracranial Pressure (ICP) Headache. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/headache/increased-intracranial-pressure-icp-headache#:~:text=What%20is%20increased%20intracranial%20pressure,your%20brain%20or%20spinal%20cord. Accessed February 20, 2023

Increased Intracranial Pressure (ICP). https://www.cedars-sinai.org/health-library/diseases-and-conditions/i/increased-intracranial-pressure-icp-headache.html. Accessed February 20, 2023

What Is Increased Intracranial Pressure (ICP)?. https://www.webmd.com/brain/what-is-increased-intracranial-pressure. Accessed February 20, 2023

Increased Intracranial Pressure. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK482119/. Accessed February 20, 2023

กิจกรรมการพยาบาลและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะความดันในกะโหลก

ศีรษะสูงในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ. https://www.rama.mahidol.ac.th/nursing/sites/default/files/public/journal/2552/issue_02/06.pdf. Accessed February 20, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/02/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

อาการเส้นเลือดในสมองตีบ สาเหตุ และการรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 23/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา