backup og meta

ปลาไหลเผือก (Eurycoma Longifolia)

ปลาไหลเผือก (Eurycoma Longifolia)

ปลาไหลเผือก (Eurycoma longifolia) จัดเป็นไม้พุ่ม หรือไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง สูง 1-10 เมตร พบมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคในตำราแผนแพทย์โบราณมาช้านาน

ปลาไหลเผือกมีสารประกอบ เช่น ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) อัลคาลอยด์ (Alkaloid) ที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ในร่างกายถูกอนุมูลอิสระทำลาย

ข้อบ่งใช้

ปลาไหลเผือก (Eurycoma longifolia) ใช้สำหรับ

ปลาไหลเผือกมักถูกนำมาใช้รักษาอาการ และเสริมสุขภาพ ดังต่อไปนี้

ปลาไหลเผือกอาจกำหนดให้ใช้สำหรับส่วนอื่น ๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

การทำงานของปลาไหลเผือก

ยังมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของปลาไหลเผือกไม่เพียงพอ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร อย่างไรก็ดี มีงานศึกษาวิจัยบางส่วนที่ชี้ให้เห็นว่า ปลาไหลเผือกมีสารเคมีหลายชนิด ที่อาจมีผลต่อการผลิตฮอร์โมนฮอร์โมนเพศชาย เช่น ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) และมีงานวิจัยในสัตว์และมนุษย์แสดงให้เห็นว่า ปลาไหลเผือกอาจเพิ่มฮอร์โมนเพศชายในร่างกายได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ปลาไหลเผือก

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้สารจากปลาไหลเผือก หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ
  • คุณเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค คุณจึงควรศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ และการบริโภคอาหารเสริมจากปลาไหลเผือก ควรมีคุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ปลาไหลเผือกระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรไม่เพียงพอ เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน หรือสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้ทุกครั้ง

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ปลาไหลเผือก

โปรดปรึกษาแพทย์และเภสัชกร สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ปลาไหลเผือกอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของปลาไหลเผือก

ขนาดยาอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและสมุนไพรอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรให้ดีก่อนตัดสินใจใช้

รูปแบบของปลาไหลเผือก

ปลาไหลเผือก อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • อาหารเสริมสกัดจากปลาไหลเผือก (แคปซูล)
  • อาหารเสริมปลาไหลเผือกแบบผง (แคปซูล)
  • สารสกัดของเหลวรากปลาไหลเผือก
  • ผงปลาไหลเผือกดิบ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

EURYCOMA LONGIFOLIA. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1132-eurycoma%20longifolia.aspx?activeingredientid=1132&activeingredientname=eurycoma%20longifolia. Accessed July 03, 2017

Eurycoma Longifolia. https://www.drugs.com/npp/eurycoma-longifolia.html. Accessed Mar 23, 2017

Eurycoma Longifolia. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1132-eurycoma%20longifolia.aspx?activeingredientid=1132&activeingredientname=eurycoma%20longifolia. Accessed Mar 23, 2017

ปลาไหลเผือก. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=149. Accessed Mar 23, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/08/2020

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

การใช้สมุนไพร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง?

สมุนไพรคลายเครียด ลดความกังวล ป้องกันซึมเศร้า ด้วยวิธีทางธรรมชาติ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 04/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา