สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือก

สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือก เป็นสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับวัฒนธรรมของไทยมาอย่างเนิ่นนาน Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือก มาให้ทุกท่านแล้ว ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือก

น้ำมันสะเดา กับคุณประโยชน์มากมาย แห่งการบำรุงผิวพรรณ

ส่วนใหญ่แล้ว ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบจากสมุนไพร มักให้ผลดีมากกว่าการใช้สารเคมี รวมไปถึง น้ำมันสะเดา นี้ด้วย เพราะน้ำมันสะเดาเป็นสิ่งที่ถูกสกัดจากพืชโดยตรงและผ่านกระบวนการกรอง ฆ่าเชื้อ แต่น้ำมันชนิดนี้จะมีประโยชน์ และวิธีใช้อย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความที่ Hello คุณหมอ นำมาฝากทุกคนในวันนี้กันได้เลยค่ะ ที่มาของ น้ำมันสะเดา แต่เดิมสะเดานิยมปลูกในประเทศเขตร้อน โดยผู้คนส่วนใหญ่ใช้เป็นสารขับไล่แมลง และศัตรูพืชทั่วไป ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาปรับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสะเดาให้เข้ากับยุคสมัยเรื่อย ๆ เช่น แชมพูสำหรับสัตว์เลี้ยง แชมพูกำจัดรังแค น้ำยาบ้วนปาก อาหารเสริม เครื่องสำอาง ครีม รวมไปถึงการนำเมล็ดจากต้นสะเดามาสกัดเป็นน้ำมันสะเดา เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นน้ำมันบำรุงผิว น้ำมันสะเดา ช่วยบำรุงผิวด้านใดบ้าง เนื่องจากน้ำมันสะเดามีส่วนผสมมากมายที่ให้ประโยชน์แก่ผิว ไม่ว่าจะเป็น วิตามินอี สารต้านอนุมูลอิสระ แคลเซียม ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ลิโมนอยด์ (Limonoids) กรดไขมัน (EFA) ทำให้คุณนั้นมีสุขภาพผิวที่ดีขึ้น ดังนี้ รักษากลาก การเกิดสิว ลดรอยแผลเป็น กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน รักษาผิวกร้านแห้ง และลดเลือนริ้วรอย โรคสะเก็ดเงิน ปัจจุบันมีงานศึกษาวิจัยมากมายเกี่ยวกับการใช้น้ำมันสะเดาบำรุงผิว โดยงานศึกษาวิจัยบางชิ้นระบุว่า น้ำมันสะเดาอาจมีส่วนช่วยในการชะลอริ้วรอย และรักษาสิวได้อย่างเห็นผล แต่จากการทดลองในสัตว์ เมื่อปี 2014 พบว่า น้ำมันสะเดาอาจไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางด้านการสร้างคอลลาเจน และกำจัดไฝ หูด […]

หมวดหมู่ สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือก เพิ่มเติม

ยาสมุนไพร

สำรวจ สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือก

สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือก

ผักกาดหอมป่า (Wild Lettuce)

สรรพคุณของผักกาดหอมป่าผักกาดหอมป่าเป็นพืช ใบและเมล็ดใช้ทำเป็นยารักษาโรค: อาการไอกรน หอบหืด ปัญหาทางเดินปัสสาวะ ไอ นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ความตื่นเต้นในเด็ก ประจำเดือนเจ็บปวด ความต้องการทางเพศสูงในผู้หญิง (nymphomania) ปวดตามกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ การไหลเวียนไม่ดี ภาวะองคชาตแข็งค้าง(priapism) เป็นสารทดแทนฝิ่นรักษาอาการไอ น้ำมันเมล็ดผักกาดหอมป่าใช้สำหรับ “แข็งตัวของเส้นเลือดแดง” (atherosclerosis) และใช้แทนน้ำมันจมูกข้าวสาลี บางครั้งเราใช้ น้ำยางผักกาดหอมป่าโดยตรงกับผิวหนังเพื่อฆ่าเชื้อโรค หรือสูดดมผักกาดหอมในกรณีประสาทหลอน กลไกการออกฤทธิ์ไม่มีข้อมูลทางการศึกษาเกี่ยวกับวิธีใช้ผักกาดหอมป่าเพียงพอ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ผักกาดหอมป่าช่วยผ่อนคลายและบรรเทาอาการปวด ข้อควรระวังและคำเตือนปรึกษากับแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของคุณในกรณี: กำลังตั้งครรภ์ หรือ อยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นช่วงที่ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น กำลังใช้ยาประเภทอื่น รวมถึงยาทุกชนิดที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์ แพ้สารที่อยู่ในทองกาปีน หรือยาและสมุนไพรอื่น ๆ มีอาการป่วย ความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพ เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อม แพ้สารกันบูด หรือแพ้สัตว์ ข้อกำหนดในการใช้อาหารเสริมสมุนไพรมีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป แต่ควรศึกษาให้รอบคอบเพื่อรับรองความปลอดภัยของการใช้สมุนไพร ว่าควรเกิดคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย และควรปรึกษาแพทย์หรือหมอสมุนไพรเพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม ความปลอดภัยในการใช้ผักกาดหอมป่าผักกาดหอมป่าอาจปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ในปริมาณการใช้น้อย อย่างไรก็ตาม หากปริมาณการใช้จำนวนมากอาจทำให้หายใจช้า และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร: ไม่มีข้อมูลรายงานการใช้ผักกาดหอมป่าในช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ต่อมลูกหมากโต: ห้ามใช้ผักกาดหอมป่า ถ้าคุณมีอาการนี้ เนื่องมีสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่มีปัญหาการปัสสาวะ โรคภูมิแพ้ต่อพืชที่มีฤทธิ์รุนแรง และพืชที่เกี่ยวข้อง: ผักกาดหอมอาจทำให้เกิดอาการแพ้ในผู้ที่มีความรู้สึกไวต่อพืชตระกูล Asteraceae / Compositae ได้แก่ ragweed เบญจมาศ ดอกดาวเรือง ดอกเดซี่ และอื่น ๆ หากคุณมีอาการแพ้ควรตรวจสอบกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพของคุณก่อนรับประทานผักกาดหอมป่า โรคต้อหินมุมแคบ: […]


สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือก

เพคติน (Pectin)

สรรพคุณของเพคตินเพคตินใช้ในการรักษาและป้องกัน: คอเลสเตอรอลสูง ไตรกลีเซอไรด์สูง มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคเบาหวาน โรคกรดไหลย้อน พิษที่เกิดจากตะกั่ว สตรอนเทียม โลหะหนักอื่น ๆ โรคอุจจาระร่วงในเด็กเล็ก บางคนใช้เพคตินกับผิวหนัง เพื่อป้องกันแผลสด หรือที่แผลในปากและลำคอ อาจมีการใช้เพคตินในการรักษาอื่นๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ กลไกการออกฤทธิ์:เพคตินจะควบกับสารตัวอื่น ๆ ในลำไส้และเพิ่มจำนวนอุจจาระให้มากขึ้น โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้ ข้อควรระวังและคำเตือนสิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้เพคติน: ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่: ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ มีอาการแพ้สารในเพคติน ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากเพคตินนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เพคตินปลอดภัยแค่ไหนเพคตินมีแนวโน้มปลอดภัยเมื่อรับประทานในขนาดยาอาหารและอาจปลอดภัยแม้ใช้ในขนาดยาที่มากขึ้นยา ผลข้างเคียงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เพคติน: โรคอุจจาระร่วง แก๊ส อุจจาระเหลว โรคหอบหืด ในบางรายอาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ   โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้ ปฏิกิริยาระหว่างยาเพคตินอาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาหรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ปรึกษากับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้ เพคตินอาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาเหล่านี้คือ: ยาปฏิชีวนะเททราไซคลิน (Tetracycline) เพคตินอาจลดขนาดยาปฏิชีวนะเททราไซคลิน (Tetracycline) การใช้เพคตินควบคู่กับเททราไซคลินอาจลดประสิทธิภาพของเททราไซคลินลงได้ ควรใช้เพคติน 2 ชั่วโมงก่อนใช้เททราไซคลินหรือ 4 ชั่วโมงหลังจากใช้เททราไซคลินเพื่อป้องกันปฏิกิริยาระหว่างยานี้ ยาปฏิชีวนะเททราไซคลินบางชนิด ได้แก่ เดเมโคลไซคลิน (Demeclocycline) หรือไดโคลมายซิน (Declomycin), ไมโนไซคลิน (Minocycline) หรือไมโนซิน (Minocin) […]


ยาสมุนไพร

งาขี้ม้อน (Perilla)

งาขี้ม้อน (Perilla) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Perilla frutescens (L.) Britton (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ocimum frutescens L.) จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา และเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา ส่วนต่างๆ ของต้นงาขี้ม้อนสามารถนำมาสกัดเป็นยาเพื่อใช้บรรเทาและรักษาอาการทางสุขภาพต่างๆ ได้ การใช้ประโยชน์ งาขี้ม้อนงาขี้ม้อน (Perilla) ใช้ทำอะไร ใบและเมล็ดของงาขี้ม้อนมีสรรพคุณทางยา สามารถนำมาทำเป็นยาเพื่อรักษาอาการทางสุขภาพ ดังนี้ โรคหอบหืด คลื่นไส้ ไหม้แดด เหงื่อออกมาก กล้ามเนื้อกระตุก ต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันอาการภูมิแพ้ ต้านทานการอักเสบ ภาวะผอมหุ้มกระดูก ป้องกันมะเร็ง งาขี้ม้อนอาจมีคุณประโยชน์ในด้านอื่นๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรของท่าน การทำงานของงาขี้ม้อนเป็นอย่างไรมีการศึกษาบางชิ้นชี้ว่างาขี้ม้อนมีสารเคมีซึ่งอาจลดอาการบวมและมีผลต่อสารเคมีอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการหอบหืด อย่างไรก็ตาม  งานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของงาขี้ม้อนยังมีไม่เพียงพอ ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการใช้งาน ข้อควรระวังและคำเตือนเราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ งาขี้ม้อน ปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่: ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ มีอาการแพ้สารในงาขี้ม้อนยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ข้อกำหนดสำหรับงาขี้ม้อนนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่นๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม งาขี้ม้อนมีความปลอดภัยแค่ไหนข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ การตั้งครรภ์และให้นมบุตร: ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้งาขี้ม้อนในระหว่างการตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้   ผลข้างเคียงงาขี้ม้อนอาจมีปฏิกิริยากับยาหรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้ ปฏิกิริยาระหว่างยางาขี้ม้อนอาจมีปฏิกิริยากับยาหรือภาวะทางการแพทย์ในปัจจุบันของท่าน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ งาขี้ม้อนอาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณทานหรือมีผลกระทบกับการรักษาของคุณในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาหมอสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนเสมอ ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะมีปฏิกิริยากับงาขี้ม้อน ได้แก่: สูตรต้มใบงาขี้ม้อน: […]


สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือก

รง (Gamboge)

สรรพคุณของรงรงเป็นสารชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายหมากฝรั่ง ได้มาจากลำต้นรงทอง หากไม่นับเรื่องความปลอดภัยในการนำมาใช้แล้ว รงนำมาใช้เพื่อรักษา อาการท้องผูก พยาธิในลำไส้ กลไกการออกฤทธิ์งานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของรงยังมีไม่เพียงพอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่ารงมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ข้อควรระวังและคำเตือนสิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้รง: ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่: ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ มีอาการแพ้สารในรง ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์จากรงนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม รงปลอดภัยแค่ไหนการใช้รงมีแนวโน้มว่าจะไม่ปลอดภัย ข้อควรระวังและคำเตือนรงไม่ปลอดภัยสำหรับใครก็ตามในการนำมาใช้ บางรายมีความไวต่อสารพิษของมันมาก โปรดระมัดระวังอย่างมากในการใช้รงหากมีอาการดังนี้: สำหรับผู้ตั้งครรภ์และผู้ที่อยู่ในระหว่างการให้นมบุตร: รงไม่ปลอดภัยในการนำมาใช้ หากกำลังตั้งครรภ์ หรืออยู่ในระหว่างการให้นมบุตร รงมีสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย หรืออาจถึงแก่ความตายได้ อาการเกี่ยวกับโรคหัวใจ: เพราะรงเป็นยากระตุ้นการขับถ่าย รงอาจทำให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวใจ และทำให้อาการที่เกี่ยวกับโรคหัวใจที่เป็นอยู่แย่ลง อาการที่เกี่ยวกับโรคทางเดินอาหาร: ได้แก่ โรคโครห์น (ความผิดปกติเรื้อรังของลำไส้ใหญ่) โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล ไส้ติ่งอักเสบ อาการปวดท้อง แผลภายในประเภทต่างๆ ภาวะอุดตัน อาการคลื่นเหียน อาเจียน: รงเป็นตัวกระตุ้นการขับถ่าย ซึ่งอาจทำให้อาการดังกล่าวแย่ลง   ผลข้างเคียงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้รง: รงทำให้เกิดอาการปวดท้องและอาเจียน หากใช้ในปริมาณมากย่อมเป็นพิษและอาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับผลข้างเคียงเหล่านี้ […]


สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือก

โบตั๋น (Peony)

สรรพคุณของโบตั๋นโบตั๋นเป็นพืชล้มลุก ราก ดอกและเมล็ดที่ใช้ทำยาได้ เวลาที่ได้ยินชื่อ “โบตั๋นแดง” หรือ “โบตั๋นขาว” นี้ไม่ได้หมายถึงสีของดอกแต่เป็นสีของรากโบตั๋น นอกจากนี้ โบตั๋นยังใช้รักษาโรคเกาต์ โรคข้อเข่าเสื่อม ไข้ โรคทางเดินหายใจและไอ สตรีใช้โบตั๋นรักษาตะคริวช่วงมีประจำเดือน โรครังไข่ โรคก่อนมีประจำเดือน (PMS) และกระตุ้นการมีประจำเดือน อย่างไรก็ตาม โบตั๋นอาจทำให้เกิดการแท้งได้ นอกจากนี้ โบตั๋นยังใช้รักษาไวรัสตับอักเสบ โรคกระเพาะ หงุดหงิด ปวดท้อง ตะคริว ของกล้ามเนื้อ เส้นเลือดแดงแข็งตัว โบตั๋นทำให้อาเจียน นอกจากนี้ โบตั๋นยังใช้สำหรับไอกรน โรคลมชัก ปวดเส้นประสาท ไมเกรนและอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (CFS) โบตั๋นใช้สำหรับการรักษาผิวแตก โดยเฉพาะรอยแตกรอบทวารหนักที่บางครั้งเกิดขึ้นจากโรคริดสีดวงทวาร กลไกการออกฤทธิ์งานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของโบตั๋นยังมีไม่มากพอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่า โบตั๋นอาจต่อต้านสารเคมีที่ผลิตโดยร่างกายซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริว และยังอาจป้องกันการแข็งตัวของเลือดและทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ข้อควรระวังและคำเตือนสิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้โบตั๋น: ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่: ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ มีอาการแพ้สารในโบตั๋น ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ มีอาการแพ้อื่น ๆ […]


สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือก

กรดฟูลวิค (Fulvic Acid)

กรดฟูลวิค เป็นสารที่พบได้ในธรรมชาติ นิยมบริโภคในรูปแบบอาหารเสริม ข้อบ่งใช้กรดฟูลวิค (Fulvic Acid) ใช้สำหรับ กรดฟูลวิคพบได้ในวัตถุดิบทางธรรมชาติ เช่น แร่ชิลาจิต (Shilajit) ดิน ถ่านหินเลน ถ่านหิน และแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น ลำธารหรือทะเลสาบ นอกจากนี้ ยังมีกรดฟูลวิคในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่นิยมนำมาใช้ส่งเสริมสุขภาพ และบรรเทาหรือป้องกันอาการ ดังต่อไปนี้ อาการผิดปกติของสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง ความอ่อนล้า ภาวะพิษจากโลหะหนัก อาการที่เนื้อเยื่อของร่างกายรับออกซิเจนไม่เพียงพอ (ภาวะขาดออกซิเจน) ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุได้ดีขึ้น กรดฟูลวิคอาจกำหนดให้ใช้สำหรับส่วนอื่นๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร การทำงานของกรดฟูลวิค ยังไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของกรดฟูลวิคที่เพียงพอ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร อย่างไรก็ดี มีงานศึกษาวิจัยบางส่วนที่ชี้ให้เห็นว่า กรดฟูลวิคอาจขัดขวางปฏิกิริยาของร่างกายที่ทำให้เกิดอาการแพ้ต่าง ๆ และอาจก่อกวนกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสมอง เช่น โรคสมองเสื่อม นอกจากนี้ กรดฟูลวิคอาจลดอาการอักเสบ ช่วยป้องกันและชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และอาจมีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และการต้านอนุมูลอิสระด้วย ข้อควรระวังและคำเตือนข้อควรรู้ก่อนใช้กรดฟูลวิค ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร ยาทางเลือกอื่นๆ คุณมีอาการแพ้กรดฟูลวิค หรือเป็นภูมิแพ้อื่นๆ เช่น แพ้ยา หรือแพ้สมุนไพร คุณมีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ เช่น โรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น […]


สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือก

แบล็คเคอร์แรนท์ (Black Currant)

สรรพคุณของผลแบล็คเคอร์แรนท์ผลแบล็คเคอร์แรนท์เป็นพืชชนิดหนึ่ง น้ำมันจากเมล็ด ใบ ผล และดอกของแบล็คเคอร์แรนท์นำมาใช้ผลิตยา น้ำมันเมล็ดแบล็คเคอร์แรนท์ใช้สำหรับ: รักษาอาการวัยหมดประจำเดือน อาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) อาการปวดท้องประจำเดือน อาการเจ็บเต้านม ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ผลแบล็คเคอร์แรนท์ใช้สำหรับ: อาการไอ โรคอัลไซเมอร์ ใบแห้งของแบล็คเคอร์แรนท์ใช้สำหรับ: โรคข้ออักเสบ โรคเกาต์ อาการปวดข้อ (โรคไขข้อ) อาการท้องร่วง อาการจุกเสียด โรคตับอักเสบและโรคตับอื่น ๆ การชัก ความผิดปกติที่ก่อให้เกิดอาการบวม (อักเสบ) ในช่องปากและลำคอ ใบแห้งของแบล็คเคอร์แรนท์ยังใช้สำหรับ:   การรักษาอาการไอ หวัดและไอกรน ฆ่าเชื้อโรคในปัสสาวะ ช่วยให้ปัสสาวะคล่อง รักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ใช้เป็นชาดีท็อกซ์   ใบของแบล็คเคอร์แรนท์นำมาใช้โดยตรงกับผิวหนังเพื่อรักษาบาดแผลและแมลงกัด ในอาหาร แบล็คเคอร์แรนท์นำมาใช้ทำเหล้าลิเคียวร์และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในอาหาร ผลแบล็คเคอร์แรนท์ยังกินสดอีกด้วย กลไกการออกฤทธิ์งานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของแบล็คเคอร์แรนท์นั้นยังมีไม่มากพอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันว่าน้ำมันเมล็ดแบล็คเคอร์แรนท์นั้นประกอบไปด้วยสารเคมีที่เรียกว่ากรดแกมมา-ไลโนเลอิก (GLA) งานวิจัยบางชิ้นชี้ให้เห็นว่า GLA อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งทำให้สามารถต่อสู้กับโรคได้มากขึ้น รวมทั้งน้ำมันของเมล็ดแบล็คเคอร์แรนท์ และใบของมันยังอาจช่วยลดอาการบวมได้อีกด้วย ข้อควรระวังและคำเตือนสิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้แบล็คเคอร์แรนท์: ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่: ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ มีอาการแพ้สารในแบล็คเคอร์แรนท์ ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากแบล็คเคอร์แรนท์นั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม แบล็คเคอร์แรนท์ปลอดภัยแค่ไหนแบล็คเคอร์แรนท์มีแนวโน้มว่าปลอดภัยเมื่อใช้เป็นอาหาร หรือเมื่อเป็นผลแบล็คเคอร์แรนท์ หรือน้ำมันของเมล็ดแบล็คเคอร์แรนท์ถูกนำมาใช้อย่างเหมาะสมเพื่อเป็นยา แต่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดเกี่ยวกับใบแห้งของแบล็คเคอร์แรนท์ว่ามีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด ข้อควรระวังพิเศษและคำเตือนการตั้งครรภ์และให้นมบุตร: ยังมีข้อมูลไม่มากพอเกี่ยวกับการใช้แบล็คเคอร์แรนท์ในช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร อย่างไรก็ตาม […]


สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือก

สารสกัดส้มขม (Bitter Orange)

สรรพคุณของส้มขมส้มขมเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ผู้คนนำเปลือก ดอก ใบ ผลและน้ำผลไม้ มาใช้ในการทำยา น้ำมันที่ได้จากสารสกัดส้มขมได้จากเปลือกของผลส้มขม ส้มขมใช้รักษา: ติดเชื้อราที่ผิวหนัง เช่น โรคกลาก โรคน้ำกัดเท้าหรือโรคฮ่องกงฟุต และโรคสังคัง โรคเบาหวาน อาหารไม่ย่อย การลดน้ำหนัก ความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด คัดจมูก ภูมิแพ้ ก๊าซในลำไส้ มะเร็ง ท้องเสีย/ลำไส้ปั่นป่วน โรคกระเพาะอาหาร ควบคุมคอเลสเตอรอล โรคเหนื่อยล้าแบบเรื้อรัง (CFS) ปัญหาเกี่ยวกับตับและถุงน้ำดี กระตุ้นหัวใจและการไหลเวียนโลหิต ตาบวม ไข้หวัด อาการปวดหัว ปวดเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ รอยช้ำ กระตุ้นความอยากอาหาร โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) กลไกการออกฤทธิ์งานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของสารส้มขมนั้นยังมีไม่เพียงพอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบดีกันว่า ส้มขมมีสารเคมีหลายชนิดที่มีผลต่อระบบประสาท ความเข้มข้นและปฏิกิริยาของสารเคมีเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับส่วนต่าง ๆ ของพืชที่นำมาใช้ และวิธีการที่ใช้ในการสกัดสารออกมา สารเคมีเหล่านี้สามารถทำให้หลอดเลือดบีบตัว เพิ่มความดันโลหิต และให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นได้ ข้อควรระวังและคำเตือนสิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ส้มขม: ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่: ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ มีอาการแพ้สารในส้มขม ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากส้มขมนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สารส้มขมปลอดภัยแค่ไหนสารส้มขมน่าจะปลอดภัยทั้งสำหรับเด็กและผู้ใหญ่เมื่อนำไปประกอบอาหาร นอกจากนี้ น้ำมันหอมระเหยจากสารส้มขมก็เป็นไปได้ว่าจะสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยเมื่อนำมาทากับผิวหนังหรือสูดดมเป็นกลิ่นหอม แต่สารส้มขมอาจไม่ปลอดภัยเมื่อนำมาใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น นำมาใช้ในการลดน้ำหนัก ข้อควรระวังและคำเตือนการตั้งครรภ์และให้นมบุตร: สารส้มขมมีความปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อนำมาใช้ในการประกอบอาหาร อย่างไรก็ตาม สารส้มขมอาจเป็นอันตรายได้เมื่อนำมาใช้เป็นยา […]


สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือก

เนื้อเมล็ดแอปริคอต (Apricot Kernel)

สรรพคุณเนื้อแอปริคอตเนื้อเมล็ดแอปริคอตเป็นส่วนด้านในเมล็ดของผลแอปริคอต เนื้อเมล็ดแอปริคอตนำมาใช้ผลิตน้ำมันและเคมีภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อใช้งานด้านการแพทย์ เนื้อเมล็ดแอปริคอตใช้รักษาโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะรับประทานหรือฉีดเข้าสู่ร่างกาย เนื้อเมล็ดแอปริคอตยังนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นอีกด้วย สอบถามแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กลไกการออกฤทธิ์ยังมีการศึกษาไม่เพียงพอเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทสมุนไพรจากเนื้อเมล็ดแอปริคอต ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางชิ้นระบุว่า หนึ่งในส่วนประกอบสำคัญคือสารเคมีที่เรียกว่า อะมิกดาลิน (Amygdalin) ในเนื้อเมล็ด สารเคมีชนิดนี้ถูกเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ (Cyanide) ซึ่งมีความเป็นพิษ จึงมีคนสนใจนำเอาเนื้อเมล็ดแอปริคอตไปใช้รักษาโรคมะเร็งเพราะคิดกันว่าสารอะมิกดาลินจะถูกดูดซึมโดยเซลล์มะเร็งก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงค่อยเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ โดยหวังว่าไซยาไนด์จะเป็นอันตรายต่อเนื้องอกเท่านั้น แต่งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า นั่นไม่เป็นความจริง ที่จริงแล้ว สารอะมิกดาลินถูกเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ในกระเพาะอาหาร แล้วซึมไปทั่วร่างกายกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงจนเสียชีวิตได้ ข้อควรระวังและคำเตือนควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้เนื้อเมล็ดแอปริคอต: ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่: ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ มีอาการแพ้สารในเนื้อเมล็ดแอปริคอต ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากเนื้อเมล็ดแอปริคอตนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เนื้อเมล็ดแอปริคอตมีความปลอดภัยเพียงใดถึงแม้จะมีคุณสมบัติเป็นยาและมีสรรพคุณคล้ายเนื้อเมล็ดอัลมอนด์ แต่เนื้อเมล็ดแอปริคอตเป็นสมุนไพรที่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะเมื่อสารอะมิกดาลินได้เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดกรดไฮโดรไซยานิก (Hydrocyanic Acid) หรือไซยาไนด์ […]


สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือก

ฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์ (Fructo-Oligosaccharides)

สรรพคุณของฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์ฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์เป็นสารให้ความหวานจากพืช โครงสร้างของมันต่อกันเป็นลูกโซ่ สารความหวานเหล่านี้นำมาทำเป็นยา ฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์นำมาใช้เพื่อรักษา: อาการท้องผูก ท้องเสียจากการเดินทางไปต่างถิ่น ระดับคอเลสเตอรอลสูง มีการนำฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์มาใช้เป็นสารให้ความหวานในการประกอบอาหาร กลไกการออกฤทธิ์งานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของฟรักโทโอลิโกแซ็กคาไรด์ยังมีไม่เพียงพอนัก โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่า ฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์ดูดซึมเข้าไปในลำไส้โดยไม่ได้ย่อยสลาย ซึ่งจะเพิ่มมวลในลำไส้ และช่วยการเจริญเติบโตของแบคทีเรียซึ่งเชื่อว่าเป็นประโยชน์ ข้อควรระวังและคำเตือนควรรู้อะไรก่อนใช้ฟรักโทโอลิโกแซ็กคาไรด์: ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่: ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ มีอาการแพ้สารในฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์ ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์นั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม   ฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์ปลอดภัยแค่ไหนฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์ดูจะปลอดภัย หากรับประทานน้อยกว่า 30 กรัมต่อวัน ข้อควรระวังและคำเตือนสำหรับหญิงตั้งครรภ์และอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร: ข้อมูลเรื่องความปลอดภัยในการนำฟรักโทโอลิโกแซ็กคาไรด์ไปใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ และให้นมบุตรนั้นยังมีไม่มากพอ ควรคำนึงถึงความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้ ผลข้างเคียงผลข้างเคียงจากการใช้ฟรักโทโอลิโกแซ็กคาไรด์: แต่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ กรุณาปรึกษาแพทย์ ปฏิกิริยาระหว่างยาปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์: ฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์อาจมีปฏิกิริยากับยาที่รับประทานอยู่ หรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการนำไปใช้ ขนาดใช้ยาข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้อ้างอิงเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนใช้เสมอ ขนาดในการใช้ฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์โดยทั่วไปอยู่ที่เท่าไหร่ขนาดในการนำฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์ไปใช้นั้นอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และพยาธิสภาพอื่น ๆ อีกมาก สมุนไพรเสริมอาหารนั้นไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดขอคำปรึกษาจากแพทย์ของท่าน สำหรับขนาดในการใช้ยาที่เหมาะสม พบฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์ในรูปแบบใดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนี้อาจพบได้ในรูปแบบต่อไปนี้ ฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์ในรูปแบบแคปซูล ขนาด 750 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน