คุณเคยพบเห็นลักษณะนิสัยของตัวละครบางเรื่องหรือไม่ โดยเฉพาะนางร้ายที่ไม่สมหวังกับพระเอก แล้วเกิดอาการโมโห เสียใจ จนคล้ายคนผิดปกติทางจิต จินตนาการว่าตนเองเป็นคนสมหวัง ไล่ตามอาละวาดนางเอกสารพัด พฤติกรรมที่ได้กล่าวมานี้เรียกว่า อาการแคปกราส์ โรคทางจิตที่มีอยู่ในโลกความเป็นจริงไม่แพ้โลกของละครเลยทีเดียว มารู้จักกับอาการนี้อย่างละเอียดในบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนกัน
รู้จักกับ อาการแคปกราส์ ให้มากขึ้นกันเถอะ
อาการแคปกราส์ (Capgras syndrome) คือความผิดปกติทางจิตที่หลงเชื่อในสิ่งที่เห็นแบบผิดๆ ยกตัวอย่างเช่น กรณีการมีสมรสของบ่าวสาวคู่หนึ่ง เมื่อผู้ป่วยพบเห็นภาพคล้ายเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในความทรงจำ อาจกล่าวหาเจ้าบ่าว หรือเจ้าสาวว่าเป็นตัวปลอม และคิดร้ายต่อคู่สมรสของเขาได้ แท้ที่จริงแล้วในสายตาของผู้อื่นมิได้เป็นอย่างนั้น
อาการแคปกราส์นีมีสาเหตุเชื่อมกับผู้ป่วยทางระบบประสาท อัลไซเมอร์ ภาวะสมองเสื่อม หรือได้รับอุบัติเหตุรุนแรงภายในสมอง ทำให้ความทรงจำได้รับความเสียหายส่งผลให้มีอาการจำผิดจำถูก
จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสารโรคอัลไซเมอร์รวมถึงอาการแคปกราส์ ได้ศึกษาในผู้ป่วยทั้งหมด 650 คน ที่มีโรคทางระบบประสาทต่างๆ การศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยที่แสดงกิริยาอาการแคปกราส์เกิดขึ้นถึงร้อยละ 16 ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และร้อยละ 16 ของผู้มีภาวะสมองเสื่อมอีกด้วย
สังเกตอย่างไร ว่าคนใกล้ตัวคุณกำลังเข้าข่ายอาการแคปกราส์
อาการนี้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางรายอาจมีอาการหงุดหงิดร่วมด้วย แต่อาการที่เห็นได้ชัดที่สุดนั้น คือการเข้าใจในสิ่งที่เห็นจากถูกกลายเป็นผิด โดยกล่าวหาด้วยถ้อยคำรุนแรง หรือมีพฤติกรรมทำร้ายร่างกายต่อผู้ที่เขาคิดว่าคนนั้นคือคนที่ตัวปลอม แอบแฝง จนนำไปสู่ความกังวล ความเครียดให้สังคมรอบข้างได้
วิธีดูแลให้อาการบรรเทาลง เริ่มต้นง่ายๆ จากคนในครอบครัว
- หลีกเลี่ยงการถกเถียง
- พยายามปลอบโยนให้เขาอารมณ์เย็นลงเมื่อเริ่มมีอาการ
- รับฟังในสิ่งที่เขาพูดคุย
- หลอกล่อให้ผู้ป่วยออกไปจากบริเวณนั้น หรือบอกบุคคลที่ถูกกล่าวหาให้ออกไปจาก ณ สถานที่นั้นก่อน
ยังไม่มีข้อมูลถึงการรักษาอาการแคปกราส์ที่มากพอ จำเป็นต้องมีการศึกษาและวิจัยเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามควรนำพาผู้ป่วยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สร้างความคิดในเชิงบวกให้มากที่สุด
บางครั้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจให้คุณรับประทานยาประเภทเดียวกับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เพื่อปรับปรุงความทรงจำ และยารักษาโรคทางจิตอื่นๆ รวมถึงการผ่าตัดในผู้ป่วยกรณีที่มีบาดแผลภายในสมองจากอุบัติเหตุต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้น
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด