backup og meta

อยากมีรักแต่ไม่อยากผูกพัน โรคกลัวการผูกมัด เมื่อหัวใจดวงนี้ไม่อยากเสียใจ

อยากมีรักแต่ไม่อยากผูกพัน โรคกลัวการผูกมัด เมื่อหัวใจดวงนี้ไม่อยากเสียใจ
อยากมีรักแต่ไม่อยากผูกพัน โรคกลัวการผูกมัด เมื่อหัวใจดวงนี้ไม่อยากเสียใจ

อยู่คนเดียวก็เหงา พอมีใครสักคนกลับอยากอยู่คนเดียว ลองถามใจตัวเองดูสิคะว่า ที่คุณโสดอยู่ทุกวันนี้ เป็นเพราะคุณยังไม่เจอคนที่ใช่ เหมือนเจอรองเท้าที่ถูกใจแต่ไม่มีไซต์ หรือแท้จริงในหัวใจดวงน้อยๆของคุณกลัวการผูกมัด กลัวการเสียใจอยู่กันแน่  หาคำตอบให้กับหัวใจของคุณได้แล้ววันนี้ กับ Hello คุณหมอค่ะ

ทำความรู้จักโรคกลัวการผูกมัด (Commitment Phobia)

โรคกลัวการผูกมัด เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย โดยคนส่วนใหญ่คิดว่าโรคนี้คือคนที่ขาดความมั่นใจในตัวเอง คิดว่าตัวเองรูปร่างหน้าตาไม่ดี แต่จริงๆแล้วโรคนี้คือโรคหรือภาวะที่กลัวการตกลงใจที่จะทำพฤติกรรมร่วมกับผู้อื่นโดยมีคำสัญญาการผูกมัดในรูปแบบต่างๆ เช่น การคบกันในสถานะแฟน กลัวการแต่งงาน ถ้าฝ่ายตรงข้ามเร่งรัด ผูกมัด เพื่อต้องการคำตอบแล้วล่ะก็ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ หวาดระแวง  สุดท้ายความสัมพันธ์ที่มีต่อกันต้องเป็นอันจบลงในที่สุด

โรคกลัวการผูกมัด มีสาเหตุมาจากอะไรกันนะ

สาเหตุของโรคกลัวการผูกมัดนี้เกิดจากความฝังใจในอดีตที่ทำเราเสียใจมาก่อน เช่น การอกหักถูกคนรักทิ้งไปแบบไม่มีเหตุผล คู่รักไม่สนใจ โดนเพื่อนหักหลัง  กลัวการเสียอิสระ และปัญหาความสัมพันธ์ที่ไม่ดีในครอบครัว เป็นต้น

5 สัญญาณเตือน ว่าคุณเป็นโรคกลัวการผูกมัด

  • เป็นคนที่คาดเดาอะไรไม่ได้ มักเปลี่ยนแปลงความคิดอยู่ตลอดเวลา
  • อยากมีความสัมพันธ์แบบคุยกับอีกฝ่ายไปเรื่อยๆ แต่ไม่อยากมีสถานะเป็นแฟน
  • เมื่อความสัมพันธ์เริ่มจริงจังมากขึ้น จะรู้สึกลำบากใจ อยากหนีไปไกลๆ
  • ชอบอยู่กับตัวเอง ไม่มีเพื่อนสนิท ไม่มีคนรู้จักเยอะ เพราะคิดว่าไม่มีใครน่าไว้ใจเท่ากับตัวเอง
  • ไม่กล้าแสดงความรู้สึกต่อผู้อื่น เช่น ไม่เคยเอ่ยคำว่า รัก หรือ เรียกใครว่า แฟน

รับมืออย่างไร หากแฟนของคุณเป็นโรคกลัวการผูกมัด

  • ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันมากขึ้น
  • ศึกษานิสัยใจคอกันให้มากขึ้น พูดคุยบ่อยๆ ให้รู้ว่าเขาชอบอะไร ไม่ชอบอะไร
  • ไม่เร่งรัดคนรัก ให้ความสัมพันธ์เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
  • ทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน ปรับทัศนคติเรื่องความรักใหม่

อยากมีรักแบบจริงจัง จะออกจากโรคกลัวการผูกมัดได้อย่างไร

ขั้นแรกคุณต้องยอมรับตัวเอง ปล่อยให้อดีตที่เลวร้ายเป็นเพียงแค่อดีต หรือหากิจกรรมทำ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกาย ออกไปสังสรรค์กับเพื่อนๆ เพื่อให้คุณไม่ต้องนึกถึงสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นกับคุณ อย่าปล่อยให้ความเจ็บปวดในอดีตมาบั่นทอนพลังในตัวคุณ จงปล่อยวางและมีความสุขกับปัจจุบัน

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What is Commitment Phobia & Relationship Anxiety?. https://psychcentral.com/blog/what-is-commitment-phobia-relationship-anxiety/. Accessed 28 January 2020

10 Signs That Your Lover Is Commitment Phobic. https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-mysteries-love/201503/10-signs-your-lover-is-commitment-phobic. Accessed 28 January 2020

How to Recognize and Get Over Commitment Issues. https://www.healthline.com/health/fear-of-commitment#things-to-keep-in-mind. Accessed 28 January 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/05/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคกลัวการถูกสัมผัส รักษาอย่างไร เพื่อให้เข้าสังคมได้ง่ายขึ้น

เช็คด่วน 5 สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณเป็น โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 07/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา