backup og meta

ที่ไม่ชอบไปโรงพยาบาล เพราะฉันเป็น โรคกลัวหมอ

ที่ไม่ชอบไปโรงพยาบาล เพราะฉันเป็น โรคกลัวหมอ

วันนี้ Hello คุณหมอ พาทุกคนมาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งอาการกลัว ทื่เชื่อว่าต้องเกิดขึ้นกับใครหลายคนในช่วงวัยเด็กอย่างแน่นอน  เวลาคุณพ่อคุณแม่พาไปโรงพยาบาลหาหมอทีไร มักเกิดอาการกลัวหมอ ร้องไห้ งอแง ทุกที  ถึงแม้ว่าความรู้สึกกลัวหมอจะเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่มักเกิดขึ้นกับเด็ก แต่อาการกลัวดังกล่าวนี้อาจส่งผลจนถึงปัจจุบัน ให้คุณรู้สึกกลัวคุณหมอขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผล นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคกลัวหมอ’ นั่นเอง เรามาทำความรู้จักกับโรคกลัวหมอให้มากขึ้นกันค่ะ

ทำความรู้จัก โรคกลัวหมอ (Iatrophobia)

โรคกลัวหมอ (Iatrophobia) คือ เมื่อผู้ป่วยเห็นคุณหมอจะเกิดความรู้กลัวขึ้นมาแบบไม่มีเหตุผล  มีความเครียด วิตกกังวลแม้จะรู้ว่าสิ่งนั้นไม่ได้ร้ายแรงและน่ากลัวอย่างที่คิด แต่ไม่สามารถหยุดความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นได้  ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักหลีกเลี่ยงการหาหมอ แม้ว่าจะมีอาการป่วยหนักแค่ไหนก็ตาม บางรายเมื่อรู้ตัวว่าจะต้องไปหาหมอ จะมีอาการวิตกกังวล ตัวสั่น คลื่นไส้อาเจียน

อย่างไรก็ตามอาการกลัวดังกล่าวนี้เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก แต่หากเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม

เพราะสาเหตุใดถึงทำให้คุณกลัวคุณหมอกันนะ

  • ความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเด็ก ความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเด็กที่ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจที่เกี่ยวข้องกับคุณหมอ เช่น การรับประทานยาที่มีรสชาติขม การโดนฉีดวัคซีน เป็นต้น
  • ประสบกับเหตุการณ์เชิงลบ ในช่วงวัยเด็กคุณอาจเห็นภาพคุณหมอที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ หรือการเสียชีวิตในโรงพยาบาล
  • ความทรงจำด้านลบ การดูข่าวหรือภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ เช่น ฉากการผ่าตัดที่น่ากลัว ข่าวที่ไม่ดีที่เกี่ยวกับการแพทย์ สามารถปลูกฝังภาพลบที่นำไปสู่ความกลัวได้

5 อาการ ที่บ่งบอกว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคกลัวหมอ

ผู้ป่วยโรคกลัวคุณหมอ สามารถพูดคุยกับคนทั่วไปได้อย่างปกติมั่นใจ แต่เมื่อไหร่ที่ต้องไปโรงพยาบาล พบคุณหมอแล้วล่ะก็จะมีอาการตัวสั่นหรือไม่สามารถพูดคุยได้ โดยส่วนใหญ่มักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนี้

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • รู้สึกวิตกกังวล เครียด ในระหว่างเดินทางไปโรงพยาบาล หรือขณะนั่งรอพบหมอ
  • เมื่ออยู่บ้านมีความดันโลหิตปกติ และพบว่าความดันโลหิตสูงขึ้น เมื่อรู้ตนเองว่าจะต้องไปพบหมอ
  • อาการใจสั่น ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
  • คุณมักจะหลีกเลี่ยงการไปหาหมอ แม้ว่าจะมีอาการป่วยหนักก็ตาม

เคล็ดลับ เอาชนะโรคกลัวหมอ

แม้ว่าการรักษาโรคนี้จะไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ยินยอมในการรับการรักษา โดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มักทำการรักษาที่เรียกว่า การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy ; CBT) เป็นการบำบัดทางความคิดและปรับพฤติกรรมผู้ป่วย ที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาถึงต้นเหตุความกลัว ให้ผู้ป่วยเริ่มสัมผัสกับความกลัวทีละนิด จนเกิดความเคยชิน อย่างไรก็ตาม คุณสามารถเอาชนะความกลัวดังกล่าวนี้ได้ โดยมีเคล็ดลับ ดังต่อไปนี้

  • ปรับทัศนคติใหม่ หากความทรงจำที่ไม่ดีในอดีตส่งผลให้ในปัจจุบันคุณหลีกเลี่ยงในการพบหมอเวลามีอาการเจ็บป่วย คุณควรปรับทัศนคติกับตัวเองว่า สุขภาพร่างกายของคุณต้องมาก่อน
  • หากิจกรรมทำเพื่อบรรเทาความเครียด ลองหากิจกรรมอื่นๆทำคั่นเวลาเพื่อให้คุณเกิดความเพลิดเพลินไม่ต้องวิตกกังวลระหว่างรอหมอ เช่น เล่นเกมส์บนโทรศัพท์ ไขปริสนาอักษรไขว้ เป็นต้น
  • สร้างความมั่นใจด้วยการเลือกแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคของคุณและเลือกแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับการรักษาของคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Understanding Iatrophobia or Fear of Doctors. https://www.verywellmind.com/fear-of-doctors-2671863. Accessed 07 April 2020.

Fear of Doctors Phobia – Iatrophobia. https://www.fearof.net/fear-of-doctors-phobia-iatrophobia/. Accessed 07 April 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคกลัวความรัก คืออะไร

เห็นคนสวย เป็นต้องหนี เพราะ ผมเป็น โรคกลัวผู้หญิงสวย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา