backup og meta

ทำอย่างไร เมื่อฉัน กลัวการพูดในที่สาธารณะ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 12/06/2020

    ทำอย่างไร เมื่อฉัน กลัวการพูดในที่สาธารณะ

    หลายคนมักจะมีอาการตื่นเต้น มีอาการเหงื่อออกทุกครั้งเมื่อจะต้องพูดในที่สาธารณะ  ผลของความตื่นเต้นทำให้เราพูดตะกุกตะกัก จนรู้สึกขาดความมั่นใจ และทำให้รู้สึก “กลัวการพูดในที่สาธารณะ” ไปเลย วันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำเคล็ดลับเอาชนะความกลัว ให้คุณกล้าพูดในที่สาธารณะมาฝากกันค่ะ จะมีเคล็ดลับอะไรเด็ดๆ ดีๆ บ้างนั้น ไปดูพร้อมกันเลย

    กลัวการพูดในที่สาธารณะ เป็นอย่างไร

    อาการกลัวการพูดในที่สาธารณะ (Glossophobia) ไม่ใช่โรคอันตรายหรือโรคเรื้อรังใดๆ เป็นเพียงความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผลและมีผลต่อประชากรส่วนใหญ่ถึง 75% บางคนจะรู้สึกประหม่าเล็กน้อยเมื่อต้องพูดในที่สาธารณะ ขณะที่บางคนมีอาการกลัวอย่างมาก โดยจะพยายามหลีกเลี่ยงทุกสถานการณ์เพื่อที่จะได้ไม่ต้องพูดในที่สาธารณะ แต่หากจำเป็นต้องพูดจริงๆ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานการณ์นั้นได้ ลักษณะการแสดงออกการพูดของเขาจะมีเสียงที่สั่นเทา พูดตะกุกตะกัก

    อย่างไรก็ตาม ความกลัวในการพูดในที่สาธารณะ เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นกับคนทั่วไป โดยส่วนใหญ่จะพบในเพศหญิงที่มีอายุน้อย Dr. Jeffrey R. Strawn  ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์และกุมารเวชศาสตร์ ของโครงการวิจัยความผิดปกติของความวิตกกังวลในภาควิชาจิตเวชศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยซินซินเนติ กล่าวว่า บุคคลบางคนจะมีความรู้สึกวิตกกังวลมากขึ้นในสถานการณ์บางอย่างเมื่อตนรู้สึกไม่มั่นใจที่อาจนำมาซึ่งความอับอายให้กับตนเอง

    ใจเต้นแรงทุกครั้ง เมื่อต้องพูดในที่สาธารณะ

    เมื่อคุณต้องเผชิญหน้ากับการพูดในที่สาธารณะคุณจะมีอาการวิตกกังวล ตื่นเต้น ปากแห้ง เหงื่อออก คลื่นไส้และอาเจียน ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็ว สาเหตุส่วนใหญ่ของความกลัวการพูดในที่สาธารณะนั้น อาจเกิดจากความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเด็ก เช่น ประสบการณ์ในการพูดหน้าชั้นเรียนที่ไม่ดี ความกลัวที่คิดว่าผู้รับฟังอาจปฏิเสธไม่รับฟังคำพูดของคุณ เป็นต้น

    จัดการความกลัวด้วยการ ปรึกษาแพทย์ดีหรือไม่

    หากคุณรู้สึกว่าความกลัวการพูดในที่สาธารณะของคุณส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันของคุณ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม

    โดยปกติแพทย์จะรักษาโดยการแนะนำให้รับประทานยากลุ่มเบนไซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย บรรเทาความวิตกกังวล หรือบางรายอาจรักษาร่วมกับการใช้จิตบำบัด ที่เรียกว่า การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy ; CBT) เป็นการเจาะจงถึงสาเหตุของปัญหา โดยค่อยๆปรับทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ป่วยให้สอดคล้องกับความเป็นจริง

    4 เคล็ดลับกำจัดความกลัว กล้าพูดในที่สาธารณะ

    • เริ่มต้นฝึกพูดกับคนสนิท

    หากคุณรู้สึกเขินอาย ไม่มั่นใจเวลาพูดในที่สาธารณะลองซ้อมพูดกับคนสนิทของคุณ เช่น คนในครอบครัว กลุ่มเพื่อนสนิท คุณจะได้ไม่รู้สึกประหม่าเวลาพูดในที่สาธารณะที่มีคนจำนวนมาก

  • เตรียมความพร้อมอยู่เสมอ
  • ไม่มีสิ่งใดที่ช่วยลดความกลัวในการพูดในที่สาธารณะได้ดีกว่าการเตรียมความพร้อมที่ดี การเตรียมความพร้อมของเนื้อหารวมทั้งการฝึกซ้อมในการพูด จะช่วยลดความตื่นเต้น ความประหม่าที่เกิดขึ้นให้ลดลงได้

    • ฝึกพูดแบบเป็นกันเอง

    คุณควรจดประเด็นสำคัญ จำหัวข้อหลักและหัวย่อย จับประเด็นเนื้อหา เพื่อนำมาใช้ในการพูดโดยไม่พูดทุกคำที่จดออกมา เรียนรู้ศิลปะการพูด สบตาผู้พูดขณะพูด ใช้คำพูดที่เป็นกันเองทำให่ผู้ฟังไม่รู้สึกเบื่อ

  • ผ่อนคลาย บรรเทาความเครียด
  • ช่วงเวลาใกล้การนำเสนอผลงานหรือการพูดในที่สาธารณะจะทำให้คุณรู้สึกประหม่าเล็กน้อย มีเคล็ดลับโดยการสูดลมหายใจเข้าลึกๆ  เพื่อลดความเครียดและสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง

    เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับบทความที่เอามาฝากกันในวันนี้ คุณเองก็สามารถเอาชนะความกลัวการพูดในที่สาธารณะได้ด้วยการฝึกฝน หมั่นซ้อมพูดเพื่อให้ตนเองรู้สึกคุ้นชิน ไม่เกิดความประหม่าในการพูด ในกรณีบางรายที่มีอาการกลัวอย่างรุนแรงควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมและถูกต้อง

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 12/06/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา