ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น เช่น การจัดการกับความโกรธ เทคนิครับมือกับความเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวต่าง ๆ หาคำตอบได้ที่นี่เลย!

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ตรวจโรคซึมเศร้า มีวิธีอะไรบ้าง

ตรวจโรคซึมเศร้า เป็นวิธีการตรวจโดยจิตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพจิตใจของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ โดยคุณหมอจะรับฟัง และให้ผู้ป่วยเล่าถึงอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน พฤติกรรมในอดีต รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน นอกจากนั้น อาจให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม รวมทั้งการตรวจสุขภาพร่างกาย เช่น การตรวจเลือด การตรวจค่าตับและไต การตรวจสารพิษและสารเสพติด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจสมองร่วมด้วย [embed-health-tool-ovulation] โรคซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนเพศแปรปรวนเมื่อมีประจำเดือน คลอดบุตร หรือเข้าสู่วัยทอง หรืออาจเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้าย หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ หรือการติดสารเสพติดรวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการโศกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ และอาจมีอาการปวดศีรษะและลำตัวร่วมด้วย ในบางรายที่อาการรุนแรง อาจมีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย ซึ่งหากพบสัญญาณของโรคซึมเศร้า ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาโดยเร็วที่สุด อาการ โรคซึมเศร้า หากเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ หมดความสนใจต่อกิจกรรมที่เคยทำให้มีความสุข โศกเศร้า วิตกกังวล รู้สึกสิ้นหวัง ว่างเปล่า ไร้ค่า ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้ หมดแรง อ่อนกำลัง และเคลื่อนไหวเชื่องช้า มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

หัวใจสลาย เพราะอกหัก คุณไม่ได้คิดไปเองหรอกนะ!!

ทำไมการอกหักถึงทำให้เราเจ็บปวด หากใครเคยผ่านช่วงเวลาที่ความรักทำร้าย ไม่ได้ทำให้หัวใจเราเปี่ยมไปด้วยความสุข ก็คงเข้าใจดีว่ามันรู้สึกหดหู ผิดหวัง เศร้าเสียใจขนาดไหน ยิ่งเวลาความผิดหวังเข้ามาแทนที่แบบไม่ทันตั้งตัว ยิ่งทำให้เราเสียใจมากไปอีก จนถึงขั้นเหมือน หัวใจสลาย อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเพียงความรู้สึกจากหัวใจเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับร่างกายจริง ๆ !! ทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า Broken Heart Syndrome หรือ “โรคหัวใจสลาย” ที่อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นชั่วคราวได้เลย จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้ ทำไม อกหัก แล้วถึงรู้สึกเจ็บปวด เมื่อคุณตกหลุมรักใครสักคน สมองจะผลิตสารเคมีต่างๆ เช่น เฟนิลเลไธลามีน (Phenylethylamine) โดพามีน (Dopamine) เอนดอร์ฟิน (Endorphin) ออกมา สารเคมีเหล่านี้ทำให้เรามีความสุข รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ตื่นตัว ร่าเริง แต่เมื่อเรา อกหัก สมองก็จะสั่งการให้หยุดหลั่งสารพวกนั้นออกมาอย่างเฉียบพลัน ทำให้เรารู้สึกเศร้า ห่อเหี่ยว ไม่อยากทำอะไร หมดเรี่ยวแรง เพราะอยู่ ๆ สารเคมีในร่างกายก็มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดความไม่สมดุลขึ้นในร่างกาย นอกจากนี้ เมื่อ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ออกกำลังกายบรรเทาโรคซึมเศร้า เริ่มต้นได้ด้วยวิธีเหล่านี้

ออกกำลังกายบรรเทาโรคซึมเศร้า ได้หรือไม่ มีงานวิจัยที่ชี้ว่า เราสามารถบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลได้ด้วยการ ออกกำลังกาย ซึ่งมีข้อมูลดังต่อไปนี้ ออกกำลังกาย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ การออกกำลังกายช่วยป้องกันและทำให้ปัญหาสุขภาพหลายๆ อย่างดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคไขข้อ มีงานวิจัยที่บ่งบอกถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายทั้งในด้านร่างกายและจิตใจมีผลช่วยให้มีอารมณ์ที่ดีขึ้น และยังสามารถลดความวิตกกังวลได้อีกด้วย นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างเป็นประจำยังมีแนวโน้มที่จะป้องกัน การกลับมามีอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลได้ ออกกำลังกายบรรเทาโรคซึมเศร้า และโรควิตกกังวลได้อย่างไร การออกกำลังกายช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลได้ ดังนี้ การออกกำลังกายช่วยให้ร่างการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (endorphins) ซึ่งเป็นสารประกอบเปปไทด์ ซึ่งหลั่งออกมาจากระบบประสาทส่วนกลางและต่อมใต้สมอง สารเอนดอร์ฟินมักจะหลั่งเมื่อเราทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ขณะฟังดนตรี ขณะกินอาหาร ขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือแม้แต่การหัวเราะ ก็ช่วยให้เอนดอร์ฟินหลั่งได้ ซึ่งสารเอนดอร์ฟินจะช่วยให้เรารู้สึกดี มีความสุขอยู่ตลอด ช่วยให้จิตใจของเราไม่ฟุ้งซ่าน  เนื่องจากการที่เราจดจ่ออยู่กับการออกกำลังกาย หมายความว่า เราจะไม่วอกแวกหรือนึกถึงเรื่องต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลได้ เพิ่มความมั่นใจ การที่เราสามารถบรรลุเป้าหมายในการออกกำลังกาย ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเป้าหมายเล็กๆ แต่มันก็สามารทำให้เรามีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น นอกจากนี้ การมีรูปร่างที่ดีเพราะออกกำลังกาย ยังทำให้เรามั่นใจในรูปร่างของตัวเองด้วย มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมากขึ้น  การออกกำลังกายอาจทำให้คุณมีโอกาสได้พบปะหรือสังสรรค์กับผู้อื่น ที่สนใจในสิ่งเดียวกันมากขึ้น เพียงแค่การยิ้มให้กันหรือทักทายกันเพียงเล็กน้อย ก็สามารถช่วยให้คุณมีอารมณ์ที่ดีขึ้นได้แล้ว เป็นวิธีที่ดีต่อสุขภาพ  การจัดการกับโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล ด้วยวิธีที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างการออกกำลังกาย ถือเป็นกลยุทธ์การรับมือกับปัญหาสุขภาพที่ดี แต่การพยายามที่จะทำให้ตนเองรู้สึกดีด้วยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยหวังว่าอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลเหล่านั้นจะหายไป วิธีเช่นนี้กลับเป็นวิธีที่ทำให้เรามีอาการแย่ลงไปอีก ออกกำลังกายมากแค่ไหนถึงจะเพียงพอ ? การออกกำลังกายมากกว่า 30 นาทีต่อวันเป็นเวลา 3 ถึง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เหตุผลที่คนใกล้ชิดไม่สามารถเป็น นักจิตวิทยา ให้คุณได้

งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ the Journal of Counseling Psychology พบว่าคนส่วนใหญ่จะรู้สึกดีขึ้นหลังจาก ปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ภายใน 7-10 ครั้ง และ 88% ของผู้ที่ได้รับการรักษาทางจิตวิทยาอย่างเต็มรูปแบบ มีรายงานว่ามีการพัฒนาที่ดีขึ้นหลังจากครั้งแรก อย่างไรก็ตามหลายคนเลือกที่จะปรึกษาปัญหาทางจิตวิทยากับเพื่อน หรือคนในครอบครัว แต่ถ้าคุณรู้ตัวว่าไม่สามารถรับมือกับปัญหาทางจิตวิทยาได้แล้ว เช่น คุณเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีความคิดที่จะทำร้ายตัวเอง คุณควรปรึกษานักจิตวิทยา เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ทำให้คนใกล้ชิดอย่างเพื่อนหรือคนในครอบครัว ไม่สามารถเป็นนักจิตวิทยาให้คุณได้ เมื่อไหร่ที่คุณควรไปพบนักจิตวิทยา รู้สึกเศร้า รู้สึกโกรธ หรือรู้สึกว่า “ไม่ใช่ตัวคุณ” ความเศร้า ความโกรธ หรือความสิ้นหวัง ที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพจิตที่สามารถเยียวยาได้ ถ้าการกินและการนอนของคุณผิดปกติ และภาวะซึมเศร้าของคุณเริ่มกระทบกับชีวิตประจำวัน หรือถึงขั้นมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ควรปรึกษาแพทย์ ใช้แอลกอฮอล์ อาหาร การมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ยาเสพติดเพื่อเยียวยา ถ้าคุณใช้แอลกอฮอล์ อาหาร การมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ยาเสพติดเพื่อทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น คุณอาจเสพติดสิ่งเหล่านี้จนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และจะเกิดผลเสียในที่สุด ดังนั้นถ้ารู้ตัวว่าไม่สามารถควบคุมตนเองได้ และการเสพติดสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน คุณควรปรึกษาจิตแพทย์ คุณสูญเสียคนสำคัญ หรือสิ่งที่สำคัญไป ไม่ใช่ทุกคนที่จะรับมือกับการสูญเสียได้ และความเศร้าโศกอาจเป็นกระบวนการที่ยากลำบากและยาวนาน ดังนั้นคุณอาจต้องมองหาความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยา หรือปรึกษาจิตแพทย์ บาดแผลทางจิตใจ บาดแผลในอดีตบางอย่างอาจยังกระทบต่อจิตใจของคุณ การปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์อาจเป็นหนทางที่ทำให้คุณรับมือกับบาดแผลทางจิตใจได้ เหตุผลที่การ ปรึกษานักจิตวิทยา ดีกว่าการปรึกษาเพื่อน หรือคนใกล้ชิด นักจิตวิทยาไม่ตัดสินคุณ คุณสามารถพูดคุยกับนักจิตวิทยาในเรื่องใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องกลั่นกรองหรือกลัวว่าจะมีคนตัดสินคุณ เนื่องจากนักจิตวิทยาจะได้รับการฝึกมาเพื่อรับฟังปัญหาทางจิตวิทยา ซึ่งจะแตกต่างจากเพื่อนของคุณหรือคนในครอบครัวที่อาจไม่ได้รับการฝึกมาเพื่อให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยา นักจิตวิทยาให้คำปรึกษาตามความเป็นจริง ปัญหาของการปรึกษาปัญหากับเพื่อนคือ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

กลัวที่ชุมชน (Agoraphobia)

คำจำกัดความโรค กลัวที่ชุมชน คืออะไร โรค กลัวที่ชุมชน (Agoraphobia) เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่งที่คุณรู้สึกกลัว และหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสถานการณ์ที่ทำให้คุณหวาดกลัว และรู้สึกเหมือนกักขัง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หรือประหม่า คุณกลัวสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น เช่น การใช้ขนส่งสาธารณะ การอยู่ในสถานที่เปิดหรือปิด การเข้าคิว การอยู่ท่ามกลางคนเยอะๆ ผู้ป่วยโรค กลัวที่ชุมชน มีความรู้สึกไม่ปลอดภัยในที่สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานที่ที่คนเยอะ หากต้องออกไปในที่สาธารณะก็มักต้องมีคนไปด้วย เช่น พ่อแม่ พี่น้อง เพื่อน หรือบางคนอาจหวาดกลัวมากจนไม่สามารถออกจากบ้านได้ โรคกลัวที่ชุมชนพบบ่อยแค่ไหน โรคกลัวที่ชุมชนพบได้บ่อย เกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า โรคมักเกิดในช่วงอายุระหว่าง 18-35 ปี สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์ อาการอาการของโรคกลัวที่ชุมชน อาการทั่วไปของโรคกลัวที่ชุมชุน ได้แก่ ความกลัวในเรื่องต่อไปนี้ การออกจากบ้านคนเดียว การอยู่ในฝูงชนหรือการเข้าคิว การอยู่ในที่ปิด เช่น โรงหนัง ลิฟต์ ร้านค้าเล็กๆ การอยู่ในที่เปิดโล่ง เช่น ลานจอดรถ สะพาน  ห้างสรรพสินค้า การใช้ขนส่งสาธารณะ เช่น รถเมล์ เครื่องบิน รถไฟ ผู้เป็นโรคกลัวที่ชุมชนมักกลัวว่า หากต้องอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ข้างต้น แล้วเกิดตื่นกลัว ทำอะไรไม่ถูก ประหม่า หรืออับอาย แล้วจะหนีออกจากสถานการณ์เหล่านั้นไม่ได้ หรือไม่มีใครช่วยเหลือ นอกจากนี้ ยังมีอาการได้แก่ กลัวหรือวิตกกังวลเมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง กลัวหรือวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ หลีกเลี่ยงสถานการณ์ ต้องการคนอยู่ด้วย […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

สัญญาณของโรคซึมเศร้า ที่แตกต่างกันในผู้ป่วยต่างวัย สังเกตให้ดีเพื่อที่จะได้ไม่มองข้าม!

โรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ ที่อาจเรียกอีกอย่างว่า ภาวะซึมเศร้ารุนแรง หรือซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depressive Disorder) โรคนี้ส่งผลกระทบต่อวิธีคิด ความรู้สึก และการกระทำในชีวิตประจำวัน แต่อาการที่แท้จริงของโรคซึมเศร้า คืออะไร บทความนี้จะนำเสนอ สัญญาณโรคซึมเศร้า ที่พบบ่อย ในกลุ่มผู้ป่วยในแต่ละวัย ดังนี้ สัญญาณโรคซึมเศร้า ในผู้ใหญ่ สัญญาณของโรคซึมเศร้าในผู้ใหญ่ มีดังนี้ รู้สึกเศร้า ว่างเปล่า กังวลใจ รู้สึกหมดหวัง รู้สึกโกรธ แม้กับเรื่องเล็กน้อย รู้สึกเหนื่อยล้า และหมดแรง รู้สึกไม่อยากทำอะไรที่เคยสนใจมาก่อนหน้านี้ มีปัญหาการนอนหลับ หรือนอนมากเกินไป คิดช้า เคลื่อนไหวช้า รู้สึกว่าสมาธิลดลง มีอาการปวดหลังหรือปวดศีรษะ แต่ไม่ทราบสาเหตุ รู้สึกผิดหรือไม่มีคุณค่า โทษตัวเอง มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย หากคุณมีอาการดังกล่าวบ่อยครั้งต่อวัน เป็นเวลาสองสัปดาห์ขึ้นไป คุณอาจเป็นโรคซึมเศร้า คุณควรพบหมอเพื่อวินิจฉัยภาวะที่เกิดขึ้น สัญญาณของโรคในเด็กและวัยรุ่น สัญญาณของโรคซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่นอาจแตกต่างจากอาการในผู้ใหญ่ ดังนี้ อาการของเด็ก เด็กอาจรู้สึกเศร้า หงุดหงิด กังวล ปวดศีรษะ ปวดหลัง และพวกเขาไม่อยากไปโรงเรียน รวมถึงมีปัญหาด้านการกิน อาการของวัยรุ่น พวกเขาอาจรู้สึกเศร้า มองโลกในแง่ร้าย ไร้ค่า โมโห อ่อนไหว มักคิดว่าการกระทำของพวกเขาไม่ดี และไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่เรียนได้ ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาอาจดื่มเหล้า หรือสูบบุหรี่ เพื่อจัดการกับปัญหา สัญญาณของโรคในผู้สูงอายุ สัญญาณของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุอาจสังเกตไม่ได้ อย่างไรก็ตาม โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุต้องได้รับการรักษา […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

วัยรุ่นกับโรคซึมเศร้า ความเสี่ยงที่เกิดได้ง่ายกว่าที่คุณคิด

วัยรุ่นกับโรคซึมเศร้า อาจเป็นปัญหาที่หลายคนอาจนึกไม่ถึง แต่เมื่อเข้าสู่วัยแตกเนื้อหนุ่มสาว วัยรุ่นต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ และภาวะซึมเศร้าจึงเป็นปัญหารุนแรง ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดคิดในช่วงนี้ เพื่อเป็นการรับมือกับภาวะสุขภาพดังกล่าวนี้ การช่วยเหลือของพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง วัยรุ่นกับโรคซึมเศร้า มีความเสี่ยงจากอะไรบ้าง การใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ (เช่น สมาร์ทโฟน) อาจส่งผลต่อโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น การใช้เวลาหน้าจอ สามารถมีผลต่อคุณภาพการนอน และยังดึงเอาเวลาไปจากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตจริงอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น โซเชียลเน็ตเวิร์คและการใช้งานอินเตอร์เน็ต ยังทำให้ลูกของคุณอาจโดนกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ การสัมผัสกับตัวละครในเชิงอุดมคติจากในละครหรือภาพยนตร์มากเกินไป อาจทำให้พวกเขารู้สึกผิดหวังกับโลกแห่งความเป็นจริง เนื้อหาออนไลน์ที่รุนแรงหรือเป็นในทางลบ ก็ถือเป็นความเสี่ยงด้วยเช่นกัน เพราะมันอาจเป็นได้ทั้งต้นแบบที่ไม่ดีสำหรับลูกของคุณ หรืออาจนำมาซึ่งความหวาดกลัวต่อสภาพสังคมที่เลวร้าย ให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของพวกเขาก็ได้ ปัจจัยเหล่านั้นทั้งหมด สามารถก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นได้ เรื่องความสัมพันธ์ สำคัญกับวัยรุ่น มิตรภาพหรือความช่วยเหลือทางสังคมอื่นๆ เป็นส่วนสำคัญในการป้องกัน และจัดการกับภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ปล่อยให้ลูกของคุณได้ใช้เวลากับเพื่อนที่ดี เข้าร่วมชมรมต่างๆ เข้าร่วมทีมแข่งขันกีฬา หรือให้บริการชุมชน กิจกรรมเหล่านี้สามารถเสริมสร้างความมั่นใจ และฝึกฝนทักษะด้านอารมณ์ของพวกเขาได้ ส่วนในเรื่องความรักนั้น ให้คุณให้คำแนะนำ และชี้แนะแนวทางแก่พวกเขา เนื่องจากความเครียดจากปัญหาในเรื่องความรัก สามารถเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นได้ พ่อแม่จะมีส่วนช่วยป้องกันได้อย่างไร สร้างรูปแบบการนอนที่ดีต่อสุขภาพ หลังจากเรียนมาตลอดทั้งวัน การนอนหลับที่เพียงพอและเหมาะสมในตอนกลางคืน ช่วยคนเราในการฟื้นฟูทั้งทางร่างกายและจิตใจ การอดนอนเพิ่มความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า การศึกษาเผยให้เห็นว่า วัยรุ่นที่ถูกบังคับให้เข้านอนเร็ว มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาภาวะซึมเศร้าได้น้อยกว่า ชักจูงวัยรุ่นให้ออกกำลังกาย มีการศึกษาว่ากิจกรรมการออกกำลังกาย ให้ผลในการลดความวิตกกังวล และความซึมเศร้าได้ การออกกำลังกายหนึ่งชั่วโมงต่อวัน เป็นสิ่งที่แนะนำเป็นอย่างยิ่ง กิจกรรมทุกประเภท นับตั้งแต่เกิจกรรมแบบเบา เช่น การเดิน […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เหงา ภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจอย่างที่คุณอาจไม่คาดคิด

เหงา เป็นความรู้สึกของมนุษย์ที่มีความซับซ้อนและแต่กต่างกันไป ฉะนั้น เพื่อให้เข้าใจต่อความรู้สึกเหงาได้มากขึ้น เราก็ควรศึกษาให้ลึกลงไปถึงสาเหตุ ผลกระทบทางด้านสุขภาพ อาการ และการรักษา ว่าความเหงา ส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขจิตของเราอย่างไรบ้าง Hello คุณหมอ ชวนคนเหงามาดูกันว่า แค่ “เหงา” ส่งผลอย่างไรต่อเราบ้าง  ความเหงาคืออะไร ความเหงาคือปฎิกิริยาโต้ตอบทางอารมณ์ต่อความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือการไม่มีเพื่อนฝูง ความโดดเดี่ยวกับความเหงานั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจอยู่คนเดียวที่บ้านแต่รู้สึกเพลิดเพลินเจริญใจเป็นอย่างมาก หรือคุณอาจอยู่ท่ามกลางงานปาร์ตี้ที่มีผู้คนเยอะแยะ แต่กลับรู้สึกเปล่าเปลี่ยวเดียวดายก็ได้ ทำไมเราจึงรู้สึก เหงา มีผู้คนจำนวนมากมายที่รู้สึกเหงา เฝ้าถามตัวเองว่า…ทำไมเราถึงต้องรู้สึกเหงาด้วย ถึงแม้จะยังหาคำตอบที่แน่ชัดสำหรับคำถามนี้ไม่ได้ แต่มีเหตุผลอยู่มากมายที่น่าจะเป็นสาเหตุของความเงา ได้แก่ มีผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่คนเดียวมากกว่าเมื่อก่อน ชีวิตที่ไร้เพื่อน ยามอยู่ที่บ้านนี้อาจส่งกระทบต่อการใช้ชีวิตทางสังคมของคนๆ นั้นได้ ผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น ผลการศึกษาวิจัยเมื่อปี 1970 นั้น พบว่าผู้คนในประเทศอเมริกามีอายุโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 75 ปีสำหรับผู้หญิง และ 67 ปีสำหรับผู้ชาย และพอถึงปี 2014 ก็เพิ่มเป็น 81 ปีสำหรับผู้หญิง และ76 ปีสำหรับผู้ชาย เราทำงานที่แตกต่างไป เมื่อเปรียบชีวิตของผู้คนสมัยนี้กับผู้คนสมัยก่อน ก็ความว่าคนในยุคนี้จะใจจดใจจ่ออยู่กับงานมากกว่าจะนึกถึงเรื่องความสัมพันธ์ เราสื่อสารแตกต่างไปจากเดิม การสื่อสารทางระบบอีเลคโทรนิคกลายเป็นช่องทางหลักของสังคมในยุคนี้ไปซะแล้ว ซึ่งการสื่อสารแบบนี้ทำให้การสื่อสารระหว่างบุคคลลดลงไปโดยปริยาย เราใช้โซเชียลมีเดีย การใช้โซเชียลมีเดียจะส่งผลกระทบทางด้านลบต่อคนบางคน ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่โซเชียลมีเดียนั้นให้ประโยชน์ทางด้านสังคมกับเด็กวัยรุ่น แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้พวกเขามีความพึงพอใจในการใช้ชีวิตทางสังคมน้อยลง ในทางตรงกันข้ามโซเชียลมีเดียอาจช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกติดต่อกับคนอื่นๆ ได้มากขึ้น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เซโรโทนินกับโรคซึมเศร้า สารสำคัญที่อาจช่วยคุณได้

เซโรโทนิน เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยให้เรารู้สึกเบิกบาน ผ่อนคลาย และมีความมั่นใจในตัวเอง ว่ากันว่าการมีสารเซโรโทนินในระดับต่ำนั้น มีส่วนที่ทำให้เรารู้สึกซึมเศร้าและหวาดวิตกขึ้นมาได้ ฉะนั้นเราควรทำความรู้จักกับสารแห่งความสุขชนิดนี้เอาไว้ จะได้รู้ว่าเซโรโทนินคืออะไร และ เซโรโทนินกับโรคซึมเศร้า มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร เซโรโทนิน คืออะไร เซโรโทนิน (Serotonin) คือสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง ที่ช่วยถ่ายทอดสัญญานต่างๆ จากสมองในบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง ถึงแม้เซโรโทนินจะถูกผลิตขึ้นในสมอง เพื่อช่วยทำหน้าที่สำคัญๆ หลายอย่าง แต่ 90% ของเซโรโทนินนั้น จะพบในระบบทางเดินอาหารและเกล็ดเลือด เซโรโทนินสำคัญต่อสุขภาพของเรายังไง เซโรโทนินเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยถ่ายทอดสัญญาณจากสมอง ในบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่ามีส่วนสำคัญ ต่อการทำงานทางด้านจิตใจและทางร่างกาย ซึ่งได้มีการประมาณการว่าเซลล์สมองจำนวน 40 ล้านเซลล์นั้น ถูกควบคุมทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากเซโรโทนิน ซึ่งก็รวมถึงเซลล์สมองที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความต้องการทางเพศ ความอยากอาหาร การนอนหลับ ความทรงจำกับการเรียนรู้ การควบคุมอุณหภูมิ และพฤติกรรมทางสังคมบางอย่าง เซโรโทนินกับโรคซึมเศร้า เชื่อมโยงกันอย่างไร  มีงานศึกษาวิจัยหลายต่อหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า ระดับเซโรโทนินที่ไม่สมดุลนั้น อาจส่งผลทางด้านอารมณ์ จนนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้ สาเหตุอาจเกิดจากเซลล์สมองที่ผลิตเซโรโทนินมีปริมาณต่ำ ขาดตัวรับสารเซโรโทนิน สารเซโรโทนินไปไม่ถึงตัวรับ หรือการขาดกรดอะมิโนทริพโตเฟน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของสารเซโรโทนิน ถ้ามีข้อบกพร่องทางชีวะเคมีเหล่านี้เกิดขึ้น นักวิจัยก็เชื่อว่านั่นจะนำไปสู่โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ ความหวาดวิตก อาการตกใจกลัวอย่างรุนแรง และอารมณ์โกรธเกินควร ยาต้านซึมเศร้าที่ใช้ได้ผลในการเพิ่มระดับเซโรโทนินก็คือ ยาในกลุ่ม SSRIs (Selective […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โดพามีน สารเคมีแห่งความสุขและความฮึมเหิมที่ร่างกายขาดไม่ได้

โดพามีน (Dopamine) มีผลต่อสุขภาพจิตของคนเรามาก ถ้าคุณตื่นขึ้นมาพร้อมกับความห่อเหี่ยวใจจิตใจ ร่างกายของคุณอาจจะขาดสารโดพามีนก็ได้นะ สารโดพามีนเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้เรารู้สึกฮึกเหิม ซึ่งถ้าใครมีสารเคมีชนิดนี้ไม่เพียงพอ นอกจากจะทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและเจ้าอารมณ์ ยังนำไปสู่อาการผิดปกติทางจิตในระดับต่างๆ กันด้วย ฉะนั้น มาทำความรู้จักกับสารสื่อประสาทชนิดนี้ แล้วหาทางป้องกันและเยียวยากันซะ [embed-health-tool-heart-rate] โดพามีน คืออะไร โดพามีน (Dopamine) เป็นสารสื่อประสาทที่ทำให้รู้สึกดีชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับสารเซโรโทนิน อ็อกซีโทซิน และเอ็นดอร์ฟิน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญๆ หลายอย่างด้วยกัน สารชนิดนี้บางครั้งก็ถูกเรียกว่า “โมเลกุลแห่งความฮึกเหิม” ที่ทำให้เรารู้สึกมีแรงผลักดันและความมุ่งมั่นในการที่จำทำอะไร และบางครั้งก็ถูกเรียกว่า “สารเคมีแห่งความสุข” เนื่องจากเป็นตัวควบคุมระบบความรู้สึกพึงพอใจในสมอง สารโดพามีนมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการทำงานของสมองหลายๆ อย่าง รวมทั้งทางด้านอารมณ์ การนอนหลับ การเรียนรู้ การมีสมาธิในการทำอะไร ควบคุมการเคลื่อนไหว และความทรงจำในการทำงาน อาการที่บ่งบอกว่าร่างกายขาดสารโดพามีน การขาดสารโดพามีนจะทำให้ชีวิตเหี่ยวเฉา เฉื่อยชา ไร้ความหวัง และเศร้าสร้อย นอกจากนี้ยังทำให้เราเริ่มต้นทำสิ่งใดหรือต้องการทำสิ่งนั้นให้สำเร็จได้ยากด้วย ฉะนั้น ลองสำรวจตัวเองดูนะว่ามีอาการดังต่อไปนี้หรือเปล่า อ่อนเพลีย ขาดแรงจูงใจ ไม่สามารถทำให้ตัวเองรู้สึกพึงพอใจขึ้นมาได้ นอนไม่หลับ ลุกจากที่นอนในตอนเช้าๆ ได้ยากเย็นมาก อารมณ์เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ขี้หลงขี้ลืม สูญเสียความทรงจำ ไม่มีสมาธิจะทำอะไรได้ ไม่มีความต้องการทางเพศ อยากกินอะไรหวานๆ อยากกินอะไรที่มีคาเฟอีน ไม่สามารถรับมือกับความเครียด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ทำไมเราจึง ฝัน ความฝันเป็นลางบอกเหตุอะไรหรือเปล่า...เรามีคำตอบ

ฝัน ทำไมเราจึงฝัน ความฝันเกิดจากอะไร ความฝันมีความหมายอะไรหรือเปล่า คำถามพวกนี้แม้นักวิทยาศาสตร์และนักจิตวิทยาจะยังตอบได้ไม่ชัดเจน แต่ก็มีผลการศึกษาวิจัยหลายต่อหลายชิ้น ที่ทำให้เราพอจะเข้าใจที่มาที่ไปของความฝันนั้นได้ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความ ฝัน ถึงแม้เราจะจำความฝันไม่ได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญต่างก็คิดว่าในคืนๆ หนึ่งนั้น เราจะฝันกัน 3 ถึง 6 เรื่อง เชื่อกันว่าความฝันแต่ละเรื่องนั้น มีความยาวประมาณ 5 ถึง 20 นาที เมื่อตื่นขึ้นมานั้น คนเราจะลืมความฝันถึงประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ ความฝันสามารถช่วยให้เราเรียนรู้ และพัฒนาความทรงจำในระยะยาวได้ ผู้พิการทางสายตา มักจะฝันเกี่ยวกับประสาทสัมผัสทางด้านอื่น ได้มากกว่าคนสายตาดี ทำไมเราถึงต้องฝัน มีอยู่หลายทฤษฎีที่อธิบายว่า ทำไมเราถึงต้องฝัน ความฝัน เป็นส่วนหนึ่งของวงจรในการนอนหลับของคนเราหรือเปล่า? หรือความฝันเกิดขึ้นเพื่อจุดประสงค์อย่างอื่น? ซึ่งคำชี้แจงที่อาจจะช่วยให้เราคลายความสงสัยลงได้มีดังต่อไปนี้ ความฝันเป็นตัวแทนของความปรารถนา และความต้องการจากจิตใต้สำนึก ความฝันเป็นการถอดความหมายของสัญญาณต่างๆ ที่ส่งจากสมองไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายในขณะที่เรานอนหลับ ความฝันเป็นการรวบรวม และประมวลผลข้อมูลต่างๆ ที่เราได้รับมาตลอดทั้งวัน ความฝันทำหน้าที่เป็น ‘จิตบำบัด‘ อย่างหนึ่ง จากหลักฐานและวิธีการทำการศึกษาวิจัยแบบใหม่ๆ นักวิจัยก็สันนิษฐานได้ว่า ความฝันเกิดขึ้นเพื่อช่วยในการทำงานดังต่อไปนี้ กลั่นกรองความทรงจำในขณะนอนหลับ ซึ่งสมองได้ทำการรวบรวมการเรียนรู้ และภาระกิจทางด้านความทรงจำต่างๆ และบันทึกการรับรู้ในขณะที่ตื่นอยู่เอาไว้ จัดเตรียมภาพจำลองจากประสบการณ์ในชีวิตจริงไว้ใช้ในอนาคต เนื่องจากความฝันเป็นระบบย่อยของเครือข่ายเริ่มต้นของการตื่น ซึ่งมีบางส่วนของจิตใจยังทำงานอยู่ในขณะที่ฝัน ช่วยพัฒนาความสามารถทางด้านสติปัญญา สะท้อนการทำงานของจิตใต้สำนึกในรูปแบบของจิตวิเคราะห์ เป็นแหล่งรวบรวมประสบการณ์ในปัจจุบัน ประมวลผลประสบการณ์ในอดีต และจัดเตรียมเอาไว้สำหรับอนาคต มีสิ่งที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับความฝันอีกมากมาย ธรรมชาติเต็มไปด้วยสิ่งลี้ลับ ที่นำมาเรียนรู้ในห้องทดลองได้ยาก แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ และเทคนิคในการทำการศึกษาวิจัยแบบใหม่ๆ ก็อาจช่วยให้เราเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับความฝันมากขึ้นได้ในอนาคต ความฝันบ่งบอกถึงอะไร ก็เหมือนกับความคิดเห็นต่างๆ นานากับคำถามที่ว่า ทำไมเราถึงต้องฝันนั่นแหละ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน