คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
และถึงแม้ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์จะยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่พวกเขาก็เชื่อว่า ความรู้สึกดีหรือภาวะที่เกิดขึ้นนี้ เป็นผลมาจากสารสื่อประสาทอย่างเอนดอร์ฟิน (Endorphin) เมื่อเราได้อยู่กับสิ่งที่เรารู้สึกผูกพันใกล้ชิด สมองของเราจะหลั่งเอนดอร์ฟินออกมา ทำให้เรารู้สึกสงบ ผ่อนคลาย ปลอดภัย พร้อมกับช่วยบรรเทาความเจ็บปวด และบางครั้งก็อาจทำให้เรารู้สึกดีจนถึงขั้นเผลอหลับเลยก็มี
นักวิทยาศาสตร์ยังเชื่ออีกว่า คนส่วนใหญ่เจอกับสิ่งกระตุ้นและมีประสบการณ์เอเอสเอ็มอาร์ครั้งแรกในวัยเด็ก และความผูกพันระหว่างแม่กับลูกก็ถือเป็นตัวกระตุ้นที่รุนแรงที่สุด เพราะไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ หากได้อยู่ในอ้อมกอดของแม่ เราจะรู้สึกปลอดภัยและผ่อนคลายได้เสมอ
ตัวกระตุ้นภาวะนี้มีมากกว่าเสียงกระซิบ
สิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าการตอบสนองแบบ ASMR นั้นมีด้วยกันมากมายหลายรูปแบบ ที่เรารู้จักกันดีที่สุดก็น่าจะเป็นเสียงกระซิบ ซึ่งคลิปเสียงกระซิบนั้นได้รับความนิยมในหมู่คอนเทนต์ครีเอเตอร์ และผู้ชมเป็นอย่างมาก และถือเป็นสิ่งกระตุ้นที่ทำให้คนเกิดความรู้สึกนี้ได้มากที่สุดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะหากคุณฟังเสียงกระซิบผ่านหูฟัง
ยังมีสิ่งกระตุ้นอีกมากมายหลายที่ได้รับความนิยมไม่แพ้เสียงกระซิบ เช่น เสียงเกา เสียงเคาะ เสียงพิมพ์ เสียงเขียน เสียงพลิกหน้าหนังสือ เสียงฮัม เสียงน้ำหยด เสียงนาฬิกาเดิน เสียงแมวกรนหรือเสียงเพอร์ (Purr) รวมถึงเสียงเคี้ยว แต่คลิปกินที่เน้นเสียงเคี้ยวนี้ บางคนดูอาจแล้วฟินจนกลืนน้ำลายตาม ในขณะที่บางคนก็รำคาญหรือรังเกียจ จนไม่อยากดูจนจบ
นอกจากสิ่งกระตุ้นในรูปแบบเสียงแล้ว การมองภาพเคลื่อนไหวบางอย่าง เช่น การวาดภาพ การสวอชสีเครื่องสำอาง (Color swatch) การแสดงแสงสี รวมถึงการสัมผัสร่างกาย เช่น การหวีผม การเล่นผม การทำเล็บ การแต่งหน้า การนวด ทั้งในรูปแบบคลิปวิดีโอ และประสบการณ์จริง ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย