สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

เช็กอาการ PTSD หลังแผ่นดินไหว และวิธีการรับมือ

แผ่นดินไหว คือภัยพิบัติทางธรรมชาติจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน โดยเกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของชั้นหินและดิน ซึ่งอาจมีตั้งแต่การสั่นสะเทือนระดับเบาไปจนถึงรุนแรง และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ถนนหรือตึก และอาจส่งผลให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเกิดความวิตกกังวลหรือภาวะ PTSD ได้หลังจากนั้น [embed-health-tool-bmi] PTSD ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว PTSD (Post-traumatic stress disorder) คือ ความผิดปกติของสภาพจิตใจที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์รุนแรง ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยปกติแล้ว คนที่ผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงอาจจะปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ในช่วงสั้น ๆ ได้ยาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการก็มักจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม หากอาการยังคงไม่ดีขึ้นแม้เวลาจะผ่านไป และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ก็จะถือว่าคนนั้นมีอาการ PTSD ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหว 7.7 ริกเตอร์ที่เมียนมาร์ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนไปจนถึงประเทศโดยรอบ รวมไปถึงประเทศไทย จนทำให้เกิดเหตุการณ์ตึกถล่ม ซึ่งส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งคนที่อยู่ในเหตุการณ์ คนใกล้เคียง หรือแม้แต่ผู้ที่ได้รับรู้ผ่านทางข่าวจากช่องทางต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีโอกาสเกิด PTSD จากเหตุการณ์นี้ได้ทั้งสิ้น  การเข้ารับการรักษาหลังจากมีอาการ PTSD เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สามารถรับมือและจัดการกับสภาพจิตใจให้ดียิ่งขึ้นได้ อาการ PTSD อาการ PTSD มักจะปรากฏภายในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากเหตุการณ์รุนแรง แต่บางคนอาจมีอาการหลังจากนั้นหลายปีก็ได้เช่นกัน  อาการของ PTSD ที่พบได้ มีดังนี้ มองเห็นเหตุการณ์เดิมซ้ำ ๆ […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

ความสัมพันธ์ที่ดี

เพื่อนร่วมงาน เจ็บป่วยเรื้อรัง ควรปฏิบัติตัวอย่างไรดี

เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อคุณจะต้องทำงานกับ เพื่อนร่วมงาน ที่มีอาการ เจ็บป่วยเรื้อรัง แล้วเมื่อต้องทำงานร่วมกัน หลายคนคงยังสงสัยว่าควรจะต้องทำตัวอย่างไรถึงจะเหมาะสม ดังนั้นวันนี้ ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาแนะนำกัน เพื่อนร่วมงานเจ็บป่วยเรื้อรังเราควรให้กำลังใจอย่างไรดี หากคุณมีเพื่อนร่วมงานที่ เจ็บป่วยเรื้อรัง อย่างเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือโรคข้ออักเสบ เป็นต้น แล้วไม่รู้จะสนับสนุนเพื่อนร่วมงานอย่างไร สิ่งเหล่านี้คือวิธีการที่ดีที่สุด ที่คุณสามารถช่วยพวกเขาได้ ดังนี้ แสดงความเห็นอกเห็นใจ แค่เพียงบอกเพื่อร่วมงานของคุณว่ากำลังคิดถึงพวกเขาอยู่ ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี ไม่ต้องกลัวที่จะต้องพูดว่า “ไม่รู้จะพูดอะไรดี แต่ฉันอยู่ตรงนี้และเป็นห่วงคุณ” หรือ “ฉันอยากอยู่ตรงนี้เป็นเพื่อนคุณ และจะช่วยเหลือคุณเท่าที่จะทำได้” แต่สิ่งที่ไม่ควรพูดมากที่สุดก็คือ “ทำไมไม่บอกกันให้เร็วกว่านี้” เพราะการพูดแบบนี้ยิ่งจะทำให้เพื่อนร่วมงานของคุณ รู้สึกผิดมากกว่าที่จะได้รับความรู้สึกว่าพวกเขาได้รับการดูแล เอาใจใส่ ความรู้ของบริษัท ความรู้และทักษะในการทำงานถือเป็นสิ่งมีค่าของบริษัท ซึ่งมักจะพบเห็นได้ในพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริษัทเป็นเวลานาน แม้ปัญหาสุขภาพของพวกเขาจะไม่สามารถป้องกันได้เมื่อปฏิบัติหน้าที่ แต่พวกเขายังสามารถสอน หรือให้คำปรึกษาผู้อื่นเกี่ยวกับงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของพวกเขาได้ ซึ่งนี่คือการใช้ความสามารถของผู้ที่กำลังเจ็บป่วยเรื้อรัง ให้มีประโยชน์มากที่สุด เพราะการสรรหาและฝึกอบรวมพนักงานใหม่ ย่อมมีค่าใช้จ่ายที่สูงตามมา เคารพความเป็นส่วนตัว พยายามระมัดระวัง เมื่อเพื่อนร่วมงานซึ่งกำลังมีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ต้องการความเป็นส่วนตัว และเมื่อพวกเขาต้องการพูดคุยเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นกับพวกเขา โดยพยายามสังเกตพฤติกรรมของพวกเขานั่นเอง แม้ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง จะมาเล่าให้คุณฟังเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเขา นั่นไม่ได้หมายความว่า เขาจะอยากให้คนอื่นรู้ด้วย นอกจากนั้นการแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับคนอื่น ที่มีความเจ็บป่วยแบบพวกเขาก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เนื่องจากคุณไม่อาจจะสามารถรับรู้ได้ว่า […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ภาวะควบคุมการหัวเราะร้องไห้ไม่ได้ ภาวะที่โจ๊กเกอร์ประสบ

หากใครเคยดูภาพยนตร์เรื่อง โจ๊กเกอร์ ก็จะเห็นว่าหลายๆ ครั้ง โจ๊กเกอร์ซึ่งเป็นตัวละครเอกของเรื่อง มักจะหัวเราะออกมา แม้บางครั้งก็ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่ควรจะหัวเราะ ไม่ว่าจะเป็นตอนที่โดนว่า โดนดูถูก จริงๆ แล้วภาวะที่โจ๊กเกอร์กำลังเป็นอยู่นั้นเรียกว่า ภาวะควบคุมการหัวเราะร้องไห้ไม่ได้ (Pseudobulbar Affect) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการหัวเราะและร้องไห้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาวะนี้มาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ ภาวะควบคุมการหัวเราะร้องไห้ไม่ได้ (Pseudobulbar Affect หรือ PBA) คืออะไร ภาวะควบคุมการหัวเราะร้องไห้ไม่ได้เป็นภาวะที่ผู้ป่วยจะมีอาการหัวเราะ ร้องไห้ อย่างควบคุมไม่ได้ แม้จะอยู่ในสถานะการณ์ที่ไม่เหมาะสมก็ตาม โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีภาวะนี้มักจะมีอาการทางระบบประสาท หรือเกิดการบาดเจ็บซึ่งส่งผลกระทบต่อสมองในส่วนที่มีหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์ ผู้ที่มีภาวะควบคุมการหัวเราะ ร้องไห้ไม่ได้ ส่วนใหญ่แล้วมักจะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือทำให้เกิดความอาย เพราะอาหารหัวเราะ หรือร้องไห้ที่เกิดขึ้นนั้น ร่างกายไม่สามารถควบคุมมันได้ บางครั้งอาการก็แสดงออกมาในเวลาที่ไม่เหมาะสม อาการของ ภาวะควบคุมการหัวเราะร้องไห้ ไม่ได้ ภาวะควบคุมการหัวเราะร้องไห้ไม่ได้เป็นภาวะที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเชื่อมต่อกันระหว่าง ส่วนของสมองส่วนหน้า (frontal lobes) ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมพฤติกรรม การแก้ปัญหา ควบคุมอารมณ์ และการแสดงออกทางอารมณ์ กับ สมองน้อย (cerebellum) และ ก้านสมอง เมื่อสมองส่วนหน้า สมองน้อย และก้านสมอง ไม่สามารถทำงานได้อย่างสอดคล้องกัน จะส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมหรือกระตุ้นอารมณ์ได้ ซึ่งผู้มี […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคหลงผิด (Delusional Disorder) อาการทางจิต ที่ผู้ป่วยมักมีอาการชอบคิดไปเอง

หากคนใกล้ชิดของคุณมีความเชื่อในเรื่องที่ไม่เป็นความจริง เช่น เขาคิดว่า ซุปเปอร์แมนมีอยู่จริง แต่เมื่อเราอธิบายว่า มันไม่มีอยู่จริงเป็นเพียงตัวละครสมมติในละคร เท่านั้น แต่เขาก็ยังคงยืนกรานที่จะเชื่อในสิ่งนั้นๆอยู่ หรือมีความคิดที่ว่า คนอื่นปองร้ายเราตลอดเวลา อาการเหล่านี้เข้าข่ายเป็นโรคทางจิตชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า โรคหลงผิด จะมีลักษณะอาการอย่างไรบ้างนั้น หาคำตอบได้ในบทความของ Hello คุณหมอ ได้เลยค่ะ ทำความรู้จัก โรคหลงผิด (Delusional Disorder) โรคหลงผิด (Delusional Disorder) คือโรคจิตชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยมักมีความเชื่อในเรื่องที่ไม่เป็นความจริง ถึงแม้ว่าจะมีหลักฐานมาหักล้างความเชื่อนั้นๆแล้วก็ตาม โดยอาการหลงผิดที่พบมากที่สุดในผู้ป่วย คือ ระแวงว่าจะถูกบุคคลอื่นปองร้าย ทำร้ายร่างกายตน แม้ว่าอาการหลงผิดอาจเป็นอาการของโรคที่พบได้บ่อยในโรคทางจิตเภท ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป และพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สาเหตุของอาการทางจิต ที่ทำให้ เป็นโรคหลงผิด ปัจจุบันแพทย์ไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคหลงผิดได้อย่างชัดเจน เช่นเดียวกับความผิดปกติทางจิตเภทอื่นๆ โดยมีปัจจัยดังต่อไปนี้ ปัจจัยทางพันธุกรรม บุคคลที่มีความผิดปกติของอาการประสาทหลอนนั้นพบได้บ่อยในผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวที่มีอาการประสาทหลอนด้วยกัน กล่าวได้ว่าความผิดปกติทางจิตของพ่อแม่อาจถูกถ่ายทอดสู่ลูกได้ ปัจจัยทางชีววิทยา อาการผิดปกติของโรคหลงผิดนั้นอาจเกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ซึ่งความผิดปกตินี้จะส่งผลต่อความคิด ความจำ ปัจจัยทางจิตวิทยา คนที่จะมีแนวโน้มที่มีความคิดหลงผิดอาจอยู่ในสภาวะที่มีความเครียดสูง เช่น ผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน หรือผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาและการได้ยิน อาการที่บ่งบอกว่าคุณเข้าข่ายเป็น โรคหลงผิด อาการหลงผิดที่คิดว่าบุคคลอื่นมาหลงรักตน (Erotomanic Delusional Disorder) ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีความคิดไปเองว่าบุคคลนั้นมาหลงรักตน และพยายามติดต่อบุคคลนั้นบ่อยครั้ง โดยส่วนใหญ่คิดว่าดาราดังหรือนักร้องที่มีชื่อเสียงมาหลงรักตนเอง อาการหลงผิดที่คิดว่าตัวเองมีความสามารถเกินความเป็นจริง (Grandiose Delusional Disorder) ผู้ป่วยมีความคิดว่าตนเองนั้นมีพลังความสามารถพิเศษเหนือกว่าบุคคลอื่นๆ เช่น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

กลางวันแฮปปี้ กลางคืนหวาดหวั่น คุณกำลังเป็น โรคกลัวความมืด หรือเปล่า

ถึงกลางคืนทีไร เป็นต้องรู้สึกไม่สบายกาย ไม่สบายใจทุกที ยิ่งถ้าจะต้องอยู่บ้านคนเดียวตอนกลางคืน ต้องเดินทางไปไหนมาไหนคนเดียวในยามค่ำมืด ก็ยิ่งรู้สึกไม่ปลอดภัย เกิดอาการหวาดกลัวจนตื่นตระหนก ถ้าคุณรู้สึกว่าความมืดเป็นศัตรูที่น่ากลัวล่ะก็ คุณอาจกำลังมีอาการของ โรคกลัวความมืด ความกลัวที่ทำให้คุณรู้สึกไม่ปลอดภัยในตอนกลางคืนหรือที่ที่มีแสงสว่างน้อย วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทุกท่านมารู้จักกับโรคกลัวความมืดให้มากขึ้นกันค่ะ [embed-health-tool-bmr] โรคกลัวความมืด คืออะไร ความมืดมิด ฝันร้ายในวัยเยาว์ของเราเกือบทุกคน ถึงเวลากลางคืนทีไร เป็นได้จินตนาการว่าจะมีสิ่งไม่ดี อย่างปีศาจ สัตว์ประหลาด หรือผีออกมาอาละวาด แต่นั่นก็เป็นเพียงความกลัวโดยทั่วไปของเด็ก ๆ เนื่องจากอยู่ในช่วงที่วัยวุฒิและคุณวุฒิ ตลอดจนประสบการณ์ในการใช้ชีวิตยังมีไม่มากพอ จึงเกิดความกลัวกับสิ่งต่าง ๆ ได้ง่าย โรคกลัวความมืด (Achluophobia หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Nyctophobia) ที่เรากำลังจะพูดถึงกันนี้ กลับไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงช่วงชีวิตเมื่อตอนเป็นเด็ก เพราะแม้เวลาจะผ่านไปนานจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็ยังคงมีอาการหวาดกลัว วิตกกังวลเมื่อถึงเวลากลางคืน หรือเมื่อต้องไปอยู่ในสถานที่ที่มีแสงสว่างเข้าถึงน้อย ซึ่งลักษณะอาการเช่นนี้ อาจส่งผลให้มีอาการนอนไม่หลับในตอนกลางคืน จนกระทั่งเป็นการรบกวนการพักผ่อนของร่างกาย ซึ่งจะสามารถมีผลต่ออาการทางสุขภาพอย่างเช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่สดชื่น หรือเสี่ยงที่จะมีอาการหลับในหรือง่วงนอนในช่วงกลางวัน และอาจเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรควิตกกังวลซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำไมถึงเป็น โรคกลัวความมืด เรื่องราวของความกลัวนั้น เป็นสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพจิตใจ จึงเป็นการยากที่จะกล่าวอย่างเฉพาะเจาะจงถึงสาเหตุที่แน่ชัด เนื่องจากค่อนข้างมีความซับซ้อน อย่างไรก็ตาม โรคกลัวความมืดก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งอาการในกลุ่มของโรคที่เกี่ยวเนื่องกับความกลัว ซึ่งโรคเหล่านี้มักมีที่มาจากประสบการณ์อันเลวร้ายที่ไม่น่าจดจำในอดีต หรืออาจมาจากพันธุกรรม […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

พูดคนเดียว ไม่ได้หมายความว่าบ้า ประโยชน์ของการพูดคนเดียวที่คุณอาจไม่เคยรู้

“เอ…อันนี้เราซื้อไปรึยังนะ” “อืม…วันนี้จะกินอะไรดีหว่า” การพูดคนเดียว หรือที่หลายๆ คนอาจจะเรียกว่า “คุยกับแม่ซื้อ” อาจจะเป็นอาการที่ทำให้คนรอบข้างมองเราด้วยสายตาแปลกๆ อยู่เสมอ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า การพูดคนเดียวนั้นไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นบ้า Hello คุณหมอ จะพาไปทำความเข้าใจในสิ่งที่หลายคนอาจจะไม่ทันได้ตระหนักว่าการ พูดคนเดียว อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจของคุณได้มากกว่าที่คุณคิด พูดคนเดียว เป็นอย่างไร หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการมีเสียงในหัวหรือความคิดในหัวที่เป็นการพูดหรือการบ่นอยู่กับตัวเองคนเดียว ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน เสียงในหัวนี้อาจเป็นได้ทั้งความเชื่อและความคิดต่อสิ่งที่เราเจอในชีวิตประจำวันที่เรารู้สึกโดยไม่ได้ตั้งใจ และในบางครั้งเราก็อาจจะเผลอพูดเสียงในหัวเหล่านั้นออกมา จนกลายเป็นการพูดคนเดียว การพูดคนเดียวนี้เป็นได้ทั้งทางบวกและทางลบ บางครั้งเราอาจจะพูดเพื่อให้กำลังใจตัวเอง หรือเพื่อสงบใจตัวเองในเวลาที่กำลังรู้สึกตื่นตระหนก แต่ในบางครั้ง การพูดคนเดียวก็อาจจะกลายเป็นการย้ำเตือนความคิดในแง่ลบที่เรากำลังคิดอยู่ เช่น “ทำไม่ได้หรอก ไม่ทำดีกว่า” “เดี๋ยวต้องซวยแน่” การพูดคนเดียวไม่ว่าจะทางบวกหรือทางลบ ต่างก็ส่งผลกระทบต่อจิตใจของเราได้ทั้งนั้น การพูดคนเดียว ส่งผลต่อสุขภาพจิตอย่างไร ผลกระทบทางลบ การพูดคนเดียวในทางลบนั้นมีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นพูดเนื่องจากการประเมินสถานการณ์จริง หรือจะเป็นการคาดการณ์ว่าสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นจะไม่เป็นไปในทางที่ดี เช่น “เดี๋ยวสอบตกแน่เลย” ความคิดที่แสดงออกมาจากการพูดคนเดียวในเชิงลบเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบกับตัวเราได้เป็นอย่างมาก มีงานวิจัยที่พบว่า การพูดคนเดียวในทางลบ อาจส่งผลให้ระดับความเครียดเพิ่มขึ้น และทำให้ความนับถือในตัวเองต่ำลง นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบให้แรงจูงใจในการใช้ชีวิตลดลง และรู้สึกไร้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น จนสุดท้ายอาจกลายเป็นโรคซึมเศร้า นอกจากนี้การพูดคนเดียวในทางลบ ยังอาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่อไปนี้ จำกัดความคิดของตน ยิ่งคุณบอกตัวเองว่าคุณทำไม่ได้มากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งเชื่อว่าตัวเองทำไม่ได้จริงๆ มากเท่านั้น คลั่งความสมบูรณ์แบบ หากคุณบอกตัวเองว่าสิ่งนี้ยังดีไม่พอ คุณก็จะเริ่มหาความสมบูรณ์แบบให้กับทุกๆ สิ่ง ไม่ว่าจะเรื่องงาน หรือเรื่องการใช้ชีวิต จนสุดท้ายก็จะไม่มีความสุขกับสิ่งที่ทำ และรู้สึกเครียดเพราะไม่รู้จักปล่อยวาง รู้สึกหดหู่ มีงานวิจัยบางชิ้นที่พบว่า การพูดคนเดียวในทางลบ สามารถส่งผลให้ตัวผู้พูดเกิดความรู้สึกหดหู่ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รับมืออย่างไร เมื่อคนใกล้ชิด เกิดปัญหา ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง

ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้พบเจอกับเหตุการณ์รุนแรง สะเทือนขวัญ จนยากที่จะลืม บางครั้งก็ยังกลับไปนึกถึงเหตุการณ์นั้นๆ อยู่เสมอ จนทำให้มีอาการทางจิต ไม่ว่าจะเป็นอาการ วิตกกังวล กลัวการเข้าสังคม ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการรับมือเมื่อคนใกล้ชิดมีภาวะนี้มาฝากกันค่ะ ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง คืออะไร ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (Post-traumatic stress disorder หรือ PTSD) เป็นภาวะทางสุขภาพจิต ที่เกิดจากการการได้เผชิญกับเหตุการณ์ที่รุนแรง มีผลกระทบต่อจิตใจ โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีภาวะนี้มักจะนึกถึงเรื่องร้ายๆ ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่น ฝันร้าย มีความวิตกกังวลอย่างรุนแรง และไม่สามารถหยุดคิดถึงเหตุการณ์นั้นได้ ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ร้ายแรงนี้ มักจะมีปัญหาในการปรับตัว โดยปกติแล้วเมื่อเวลาผ่านไป อาการต่างๆ เหล่านี้ก็จะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ก็จะมีคนบางกลุ่มที่ไม่สามารถลืมเรื่องราวต่างๆ เหล่านั้นได้ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเป็นเดือนหรือเป็นปีก็ตาม อาการของ ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง อาการของภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง มักจะแสงดอาการเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 1 เดือน แต่ในบางครั้งก็ไม่แสดงอาการใดๆ จนเวลาผ่านไป 1 ปีจึงแสดงอาการของมา ซึ่งอาการของภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรงนั้นจะมีปัญหาในการเข้าสังคม การทำงาน และเกิดปัญหาความสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาการของภาวะนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ Intrusive memories Avoidance Negative […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ใครอีคิวไม่ดี เรามี วิธีเพิ่มอีคิว (E.Q.) ช่วยกระตุ้นความฉลาดทางอารมณ์มาฝาก

อีคิว (Emotional Intelligence หรือ E.Q.) หรือความฉลาดทางอารมณ์ เป็นความสามารถอย่างหนึ่งที่เราทุกคนต้องมี เพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่เราต้องใช้ในการแก้ปัญหาที่พบเจอในแต่ละวัน เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างราบรื่น แถมความฉลาดทางอารมณ์ หรือที่เรียกติดปากกันว่า “อีคิว” นี้ ยังเกี่ยวข้องกับการประสบความสำเร็จในชีวิตมากด้วย จากสถิติของเว็บไซต์ชื่อดังที่เก็บรวบรวมและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์เว็บไซต์หนึ่ง พบว่า 90% ของผู้ที่ผลการทำงานออกมาดี มีระดับอีคิวสูง ในขณะที่ 80% ของผู้ที่ผลการทำงานออกมาไม่ดี มีระดับอีคิวต่ำ นี่จึงเเปรียบเสมือนเครื่องการันตีอีกอย่างหนึ่งว่า ระดับอีคิวมีผลต่อชีวิตของเราไม่แพ้ระดับไอคิว ใครที่คิดว่าตัวเองเป็นคนที่มีอีคิวต่ำ หรืออยากเพิ่มอีคิว  Hello คุณหมอ ก็มี วิธีเพิ่มอีคิว (E.Q.) แบบง่ายๆ มาฝาก วิธีเพิ่มอีคิว (E.Q.) หรือความฉลาดทางอารมณ์ จัดการความเครียดให้เป็น คนเราทุกคนล้วนต้องเคยมีความเครียดในชีวิตกันทั้งนั้น และความเครียดก็ถือเป็นสิ่งบั่นทอนอีคิวอันดับต้นๆ เลยทีเดียว ยิ่งเรารับมือกับความเครียดได้ดีเท่าไหร่ ปัญหาอื่นๆ ที่จะตามมาก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น ฉะนั้น คุณต้องรู้จักจัดการความเครียดให้เป็น เมื่ออยู่ภายใต้ความกดดัน หรือสถานการณ์ตึงเครียด คุณต้องสงบสติอารมณ์ให้ได้ อย่าปรี๊ดแตก หากคุณรู้สึกตื่นเต้นหรือประหม่า ให้หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะจะยิ่งทำให้ตื่นเต้นกว่าเดิม แล้วลองสูดหายใจเข้า-ออกลึกๆ ล้างหน้าล้างตาด้วยน้ำเย็น ออกไปรับลมเย็นๆ หรือปรับเครื่องปรับอากาศให้เย็นขึ้น เพราะอากาศเย็นสามารถช่วยลดระดับความเครียดได้ หรือหากคุณรู้สึกกลัว […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ลักษณะของคนที่มี eq ต่ำ พร้อมเคล็ดลับอยู่ร่วมกัน

คนเราแต่ละคนนั้นมีอีคิวหรือความฉลาดทางอารมณ์ไม่เท่ากัน และระดับอีคิวก็มีผลต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เพื่อนสนิท หรือคนที่เจอกันเป็นครั้งคราว เช่น พ่อค้าแม่ค้า คนขับรถแท็กซี่ หากยิ่งมี eq ต่ำ เท่าไหร่ ก็ยิ่งเสี่ยงเกิดปัญหาการอยู่ร่วมกับผู้อื่นมากเท่านั้น ลักษณะของผู้ที่มี eq ต่ำ เป็นอย่างไร และมีเคล็ดลับอะไรบ้างเพื่อใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข [embed-health-tool-bmi] อีคิว (Emotional Quotient; E.Q.) นั้น สำคัญไฉน? อีคิว (E.Q.) หรือ Emotional Intelligence หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์ หรือความสามารถทางอารมณ์ กล่าวคือ เป็นความสามารถในการทำความเข้าใจอารมณ์ของตนเอง รวมถึงสามารถในการควบคุมอารมณ์ และแสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดผลลัพธ์ในทางบวก เช่น สื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีความเครียดสะสม รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ซึ่งอีคิว หรือความฉลาดทางอารมณ์นี้จะช่วยให้คุณสามารถสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น และนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน เรื่องงาน หรือเรื่องชีวิตรัก หากต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตก็จะต้องมีทั้งอีคิวและไอคิว (Intellectual Quotient; I.Q. หมายถึง ระดับสติปัญญา) และในบางสถานการณ์ อีคิวอาจสำคัญมากกว่าไอคิวด้วยซ้ำไป ลักษณะของ คนที่มี […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ชอบกอด จูบ ลูบ คลำ โหยหาการสัมผัส (touch starved) แบบนี้ผิดปกติหรือเปล่านะ

คุณเคยรู้สึกเหงา เปล่าเปลี่ยว และต้องการการสัมผัสจากใครสักคนบ้างหรือเปล่า รู้สึกอยากจะกอด อยากจะจูบ และใกล้ชิดกับใครสักคนบ้างหรือไม่ ความรู้สึกในการ โหยหาการสัมผัส เหล่านี้ เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน แต่อาการเหล่านี้มีลักษณะอย่างไร ทำไมเราจึงเกิดอาการนี้ หาคำตอบได้จากบทความนี้ [embed-health-tool-bmi] ทำไมเราจึง โหยหาการสัมผัส มนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่ก็ต้องการการสัมผัส ตั้งแต่แรกเกิดตลอดไปจนถึงช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต การโหยหาการสัมผัส (touch starved) จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลคนหนึ่ง ขาดแคลนประสบการณ์ในการสัมผัสกับร่างกายของสิ่งมีชีวิตอื่น หรือก็คือไม่ได้รับการกอด การจับ หรือการใกล้ชิดต่อบุคคลอื่น เป็นระยะเวลานานจนเกินไป การโหยหาการสัมผัส จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของเราได้รับการสัมผัสไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้เราเกิดความรู้สึกโหยหา และต้องการการสัมผัสจากผู้อื่น ความรู้สึกโหยหาการสัมผัสเหล่านี้คล้ายคลึงกับความรู้สึกเวลาที่เราหิว เราไม่ได้หิวเพราะเราอยากกินอาหาร แต่เรา “จำเป็น” ต้องกินอาหาร การสัมผัสก็เช่นกัน การสัมผัสทางกายแบบเนื้อแนบเนื้อนั้นไม่เพียงแต่จะมีความสำคัญต่อสุขภาพจิตและอารมณ์เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางกายอีกด้วย เมื่อเรารู้สึกเครียด กดดัน หรือโศกเศร้า ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนความเครียดที่เรียกว่า คอร์ติซอล (Cortisol) ออกมาเพื่อจัดการกับความเครียด หากอาการเครียดนี้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวก็อาจจะไม่มีปัญหาอะไร แต่หากเรามีความเครียดสะสมเรื้อรังเป็นเวลานาน ฮอร์โมนคอร์ติซอลที่ถูกหลั่งออกมานี้ก็อาจจะกลายเป็นตัวปัญหา ในการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มความดันโลหิต และอาจทำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงไปแทน การสัมผัสนั้นเป็นหนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุดที่จะช่วยลดความเครียด ความกังวล และความกดดันของเราได้ นอกจากนี้ การสัมผัส เช่น การกอด ยังมีผลในการช่วยให้ร่างกายเกิดความสงบ และช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคคิดไปเองว่าป่วย (hypochondria) หมอบอกอย่างไรก็ไม่ยอมเชื่อ คุณกำลังเป็นอยู่รึเปล่า

ในช่วงที่กำลังมีโรคระบาดอยู่แบบนี้ การกังวลว่าตัวเองอาจจะติดโรคนั้นถือถือได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่การวิตกจริตและปักใจเชื่อว่าตัวเองป่วยนั้น อาจจะเป็นอาการป่วยทางจิตที่เรียกว่า โรคคิดไปเองว่าป่วย อยู่ก็เป็นได้ โรคแปลกแต่จริงนี้มีลักษณะเป็นอย่างไร หาคำตอบได้กับบทความนี้ โรคคิดไปเองว่าป่วย คืออะไร โรคคิดไปเองว่าป่วย (Hypochondria หรือ Illness Anxiety Disorder) โรคนี้มีลักษณะคือ ผู้ป่วยจะมีความคิดวิตกกังวลไปเองว่าตัวเองกำลังป่วยเป็นโรคที่อันตราย หรือคิดว่าตัวเองกำลังจะป่วยตาย แม้ว่าคุณอาจจะไม่ได้มีอาการอะไร หรือมีเพียงแค่อาการป่วยเล็กน้อยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคที่คุณคิดว่าตัวเองเป็นเลยก็ตาม และถึงแม้ว่าจะให้หมอตรวจแล้วไม่พบโรคอะไร คุณก็ยังไม่เชื่อหมออยู่ดี โรคคิดไปเองว่าป่วยนี้ เป็นสภาวะเรื้อรังที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงไปมา โดยอาจจะมีอาการรุนแรงมาก ในช่วงที่คุณรู้สึกเครียด หรือมีอายุเพิ่มมากขึ้น ความวิตกกังวลที่มากเกินไปนี้อาจทำให้คุณรู้สึกทรมาน อยู่ไม่เป็นสุข และสิ้นหวังในชีวิต โดยเฉพาะเมื่อหมอตรวจไม่พบโรคอะไร คุณก็จะยิ่งคิดว่าโรคของตัวเองไม่มีทางรักษา และจะต้องตายอย่างแน่นอน ความคิดเหล่านี้จะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข และต้องมานั่งกังวลอยู่ตลอดเวลา สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรคคิดไปเองว่าป่วย เกณฑ์การวินิจฉัยโรคคิดไปเองว่าป่วยนั้นได้ถูกถอดออกจากคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตฉบับล่าสุด (DSM-5) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นผู้ที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ อาจจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่งที่แทน อย่างไรก็ตาม การจะระบุได้ว่าเป็นโรคคิดไปเองว่าป่วยนั้น อาจสามารถสังเกตได้จากสัญญาณและอาการของโรคดังต่อไปนี้ หมกมุ่นอยู่กับความคิดที่ว่าตัวเองป่วยหรือเป็นโรคร้ายแรงบางอย่าง วิตกกังวลกับอาการป่วย หรือความรู้สึกผิดปกติบางอย่างของร่างกาย แม้จะเล็กน้อยเพียงแค่ไหนก็ตาม ตื่นตระหนกอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพ ตรวจดูความผิดปกติของร่างกายตัวเองบ่อยเกินไป ไปพบหมอเพื่อตรวจร่างกายหลายครั้ง แม้ว่าจะไม่มีอาการอะไรก็ตาม ไม่เชื่อมั่นใจในผลการวินิจฉัยโรคของแพทย์ บางคนอาจจะหลีกเลี่ยง ไม่ยอมไปพบหมอเลย เพราะคิดว่าจะตรวจเจอโรคอันตราย คนบางคนอาจจะปักใจเชื่อว่าตัวเองป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่ง เช่น มะเร็ง ในขณะที่บางคนอาจจะเชื่อว่าตัวเองป่วยด้วยโรคต่างๆ หลายๆ โรค ในกรณีรุนแรง อาจถึงขั้นหลีกเลี่ยงผู้คน หรือหวาดกลัวการเข้าสังคม เนื่องจากกลัวว่าตัวเองจะติดโรคจากผู้อื่น ในบางครั้งการวิตกกังวลว่าจะป่วยมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการบางอย่างต่อร่างกายขึ้นมาได้จริงๆ เช่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน