สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

การเสพติด

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ก่อนจะริรักใคร อย่าลืม รักตัวเอง ให้เป็นเสียก่อน

“ก่อนจะรักใคร อย่าลืมรักตัวเองให้เป็นเสียก่อน” เป็นคำกล่าวที่เราอาจจะเคยได้ยินกันมาไม่น้อย ความรักนั้นมีอยู่มากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความรักที่มีต่อคนรัก ความรักที่มีต่อครอบครัว ความรักที่มีต่อเพื่อน ตลอดไปจนถึงความรักที่มีต่อตนเอง แต่การ รักตัวเอง นั้นเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการมีสุขภาพจิตที่ดี และการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข บทความนี้จะมาแนะนำเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยให้คุณฝึกรักตัวเองให้เป็น รักตัวเอง (Self-Love) เป็นอย่างไร หลายคนอาจจะคิดว่าการรักตัวเองหมายถึงการเอาแต่ใจตนเอง เห็นแก่ตัว แล้วทำอะไรโดยไม่สนใจความต้องการของคนอื่น แต่จริงๆ แล้ว การรักตัวเอง คือการรู้สึกเห็นอกเห็นใจต่อตนเอง เป็นการทำความเข้าใจ และยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบของตัวเอง เพื่อให้เราสามารถมีความยืดหยุ่นต่อการเผชิญหน้ากับความผิดพลาด ความผิดหวัง เรื่องน่าอับอาย ความล้มเหลว และสามารถรับมือและฟื้นตัวเองขึ้นมาจากความล้มเหลวเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างของ การรักตัวเอง มีดังต่อไปนี้ การใจดีต่อตนเอง รู้จักยอมรับตนเอง เคารพตนเอง ให้อภัยตัวเอง และไม่กดดันตนเองมากจนเกินไป รับรู้ถึงธรรมชาติของมนุษย์ ตระหนักว่าโลกนี้ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าใครก็สามารถทำความผิดพลาดได้ และเรียนรู้จากประสบการณ์เหล่านั้น มีสติ ใจเย็น รู้จักใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ มีความฉลาดทางอารมณ์ และหลีกเลี่ยงการถูกครอบงำด้วยอารมณ์อันแสนเจ็บปวด ความสำคัญของการรักตัวเอง การรักตัวเอง ช่วยให้เรารู้จักการรักคนอื่นเป็น หากเราไม่สามารถเข้าใจถึง คอนเซ็ปต์ของการรักตัวเอง เราก็อาจจะไม่สามารถเข้าใจถึงความหมายในการรักคนอื่นได้ การรักตัวเองนั้นจะเริ่มจากการหันมาให้ความสำคัญกับตัวเองและใส่ใจความรู้สึกของตัวเอง และเมื่อเรารู้สึกการให้ความสำคัญกับตัวเองเป็นแล้ว เราก็จะสามารถหันไปให้ความสำคัญกับผู้อื่นได้เช่นกัน ผู้ที่ไม่รู้จักการรักตัวเอง อาจจะไม่ให้ความสำคัญกับตัวเอง และกดดันตัวเองมากจนเกินไป จนสุดท้ายก็กลายเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตได้ ในสภาพสังคมที่ผู้คนต่างก็พยายามแข่งขันชิงดีชิงเด่น เรามักจะต้องพยายามมากยิ่งขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเพื่อให้ตรงกับความคาดหวังของครอบครัวและสังคม ยิ่งโดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่เราสามารถมองเห็นความสำเร็จของผู้อื่นได้ง่ายๆ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

สัตว์เลี้ยงบำบัด สุขภาพจิตดีขึ้นได้ ด้วยเพื่อนซี้คลายเหงาแสนรู้!

เมื่อเข้าสู่ช่วงเทศกาลพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเทศกาลแห่งความรัก หรือวันพิเศษใดใด เวลาเราออกไปไหนมาไหนก็คงไม่พ้นที่จะเห็นคู่รักเขาเดินจับมือกัน ถือดอกไม้ช่อโต แถมยังมีรูปคู่ไว้อัพลงโซเชียลอีกต่างหาก คนโสดอย่างเราๆ คงอดไม่ได้ที่จะรู้สึกเหงาใจเป็นแน่ แต่อย่าเพิ่งหมดหวังไป ยังมีสิ่งมีชีวิตบางอย่างที่กำลังรอความรัก และพร้อมมอบความรักให้หัวใจเต้นเร็วกว่าการมีคนรักเสียอีก ลองอ่านบทความนี้ที่ Hello คุณหมอมีวิธีเพิ่มความสุขด้วย สัตว์เลี้ยงบำบัด สุดแสนน่ารักมาฝากทุกคนกัน บำบัดหัวใจให้กระชุ่มกระชวย ด้วย สัตว์เลี้ยงบำบัด สัตว์เลี้ยงบำบัด (Animal-Assisted Therapy ; AAT) คือการนำสัตว์เลี้ยงที่ผ่านการฝึกฝนแล้ว เช่น สุนัข แมว นก มาช่วยบรรเทาความเครียด และสร้างความเพลิดเพลินให้กับคุณ เป็นการปรับปรุงทางอารมณ์ สร้างความผ่อนคลาย นอกเหนือจากนี้ยังใช้เป็นวิธีที่ควบคู่กับเทคนิคทางการแพทย์ในการรักษาโรคจิตเภท หรือภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วย ย้อนกลับไปในปี 1950 มีการค้นพบโดยบังเอิญในเรื่องของสุนัขตัวหนึ่งที่ช่วยบำบัด และมอบความสุขให้แก่เด็กออทิสติกอย่างที่คนรอบข้างไม่สามารถทำได้ และในปลายปี 1970 ยังมีสุนัขบำบัดที่ชื่อ เดลต้า ซึ่งเป็นที่ยอมรับในแวดวงของสัตว์เลี้ยงบำบัด ที่นำความสุขมาให้แก่ผู้ป่วยมากที่สุด นอกจากสุนัขแล้ว ทางโครงการยังมีการนำสัตว์อื่นๆ อย่างหมู แมว กระต่าย ม้า นก รวมถึงงูที่นำมาฝึก เพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงบำบัด ตอบสนองอาการ และความต้องการแต่ละบุคคลอีกด้วย ประโยชน์มากมายของสัตว์เลี้ยง ที่ช่วยกำจัด ความเหงา ให้แก่คุณ มนุษย์เรานั้นมีความผูกพันธ์ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคกลัวเลือด คืออะไร รักษาอย่างไร

โรคกลัวเลือด (Hemophobia) เป็นโรคที่อาจทำให้เกิดอาการกลัวเลือดอย่างไม่มีเหตุผล และอาจทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หรืออาจรุนแรงถึงขั้นหมดสติได้และอาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำบางประการ โรคนี้อาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย การรู้สาเหตุและวิธีรักษาจึงอาจเป็นวิธีรับมือกับโรคนี้ได้อย่างเหมาะสม สาเหตุของโรคกลัวเลือด โรคกลัวเลือด เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการกลัวแบบไม่มีเหตุผล จัดอยู่ในกลุ่มของโฟเบีย (Phobia) คือ ความผิดปกติคล้ายกับโรคทางด้านระบบประสาท เช่น โรคตื่นตระหนก โรคกลัวแมว หรือสุนัข เป็นต้น แต่สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวนี้ อาจเป็นเพราะเคยได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์กระทบกระเทือนทางจิตใจ นำไปสู่ความหวาดกลัว หรืออาจเป็นโรคทางพันธุกรรมจากคนในครอบครัว ที่มีแนวโน้มทำให้เกิดอาการกลัวเลือด ทำให้มีอารมณ์อ่อนไหว จนถึงขั้นหมดสติเมื่อพบเห็น อาการของโรคกลัวเลือด โรคกลัวทุกประเภทมีการตอบสนองของร่างกายที่คล้ายคลึงกัน โดยมีทั้งอาการทางร่างกาย และทางอารมณ์ ดังนี้ ปฏิกิริยาของอาการกลัวเลือดที่แสดงออกทางร่างกาย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก อัตราการเต้นของหัวใจถี่ และเร็วขึ้น เหงื่อออก และตัวสั่น วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปฏิกิริยาของอาการกลัวเลือดทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกวิตกกังวล หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเลือดแบบฉับพลัน รู้สึกสูญเสียการควบคุม สำหรับเด็กอาจมีอาการร้องไห้ อารมณ์โกรธ เกรี้ยวกราด หลีกเลี่ยงหรือหลบซ่อนเมื่อเห็นเลือด การรักษาโรคกลัวเลือด การรักษาโรคกลัวเลือดอาจส่งผลให้การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปได้ ด้วยวิธีรักษาเหล่านี้ การรักษาด้วยการสัมผัส (Touch Therapy) คุณหมออาจเริ่มการรักษาด้วยการพูดคุย โดยให้ผู้ป่วยเปิดเผยความรู้สึกกลัวเลือดว่ามีที่มาอย่างไร และสร้างภาพหรือลักษณะที่คล้ายกับเลือดเพื่อให้ผู้ป่วยเผชิญหน้ากับความกลัว แต่การรักษาด้วยวิธีนี้อาจมีขั้นตอนอื่น ๆ ร่วมด้วย […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เอาชนะ อาการตื่นตระหนก ก่อนที่จะกระทบต่อสุขภาพหัวใจ

ตกใจแรง จนหัวใจเต้นเร็ว ถึงกับชะงักทำอะไรไม่ถูก อาจเป็นที่มาของ อาการตื่นตระหนก จนทำให้รู้สึกตื่นกลัว หวาดระแวง ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และสุขภาพของเราได้ มารู้วิธีรับมือของภาวะนี้ในบทความของ Hello คุณหมอ กันเถอะ อาการตื่นตระหนก คืออะไร อาการตื่นตระหนก (Panic Disoder) คือ อาการที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล หวาดหลัว โดยเฉพาะเมื่อเราพบเจอกับเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ที่ทำให้รู้สึกกดดัน และตื่นเต้น จนทำให้เกิดการตึงเครียดของกล้ามเนื้อ หายใจถี่ขึ้นไม่เป็นจังหวะ ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่จะหายได้เองภายใน 2-3 ชั่วโมง ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไป สาเหตุหลักๆ ของอาการตื่นตระหนกนี้อาจมาจากการรับรู้ของสมองที่ไปกระตุ้นต่อมความกลัวเกินจริง เมื่อพบเห็นเหตุการณ์ หรือสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ทำให้คุณรู้สึกไม่เป็นตนเอง เรียกอีกโครงสร้างนี้ว่า อะมิกดาลา (amygdala) ในงานวิจัยบางชิ้นระบุไว้ว่าผู้ที่ความวิตกกังวลอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเกิดโรคหัวใจ เนื่องจากอัตราของหัวใจเปลี่ยนแปลง (HRV) สัญญาณของ อาการตื่นตระหนก ที่คุณควรรู้ อัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้น เหงื่อออก แน่นหน้าอก ตัวสั่น รู้สึกร้อนวูบวาบภายใน หายใจเร็ว และถี่ วิงเวียนศีรษะ มึนงง จนถึงขั้นเป็นลมหมดสติ ท้องไส้ปั่นป่วน คลื่นไส้ กล้ามเนื้อรัดเกร็ง เสียการควบคุมทางด้านอารมณ์ และทางกายภาพ โปรดเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์เพิ่มเติม หากมีอาการอื่นๆ แทรกซ้อนรุนแรง เพื่อความปลอดภัย และห่างไกลจากโรคหัวใจ 6 วิธี รับมือกับอาการตื่นตระหนก เพื่อสุขภาพหัวใจที่ดี หากคุณอยู่ในภาวะตื่นตระหนกเช่นนี้ ควรเรียนรู้ที่จะรับมือเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ สามารถเริ่มต้นได้ […]


การป้องกันการฆ่าตัวตาย

อยู่ก็ได้ ไม่อยู่ก็ดี ภาวะเฉยชากับชีวิต ที่นำไปสู่การคิดฆ่าตัวตาย

เบื่อหน่ายกับการใช้ชีวิต แม้แต่ตอนหลับสมองก็ยังคิดถึงแต่ความตาย หากตัวคุณ หรือคนรอบข้างกำลังแสดงอาการ และพฤติกรรมที่ทำร้ายตนเองอยู่ละก็ พวกเขาอาจกำลังเข่าสู่ ภาวะเฉยชากับชีวิต ที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคซึม แต่จะมีอาการอย่างไรเพิ่มเติมนั้น มารู้ให้เท่าทันกับบทความนี้ ที่ Hello คุณหมอ ได้นำมาฝากทุกๆ คนกัน รู้จักกับ ภาวะเฉยชากับชีวิต (Passive Death Wish) เพื่อการรับมืออย่างเท่าทัน ภาวะเฉยชากับชีวิต หรือการคิดฆ่าตัวตายแบบพาสซีพ คือ อาการหมกมุ่นที่จะอยากจบชีวิตตนเองแบบไม่มีการคาดการณ์ หรือวางแผนไว้ล่วงหน้า เป็นการฆ่าตัวตายทางความคิดจินตนาการร่วมด้วย เช่น หากนอนหลับไปแล้ว ถ้าไม่ตื่นขึ้นมาก็คงจะดี หรือโลกจะน่าอยู่กว่านี้ถ้าไม่มีเรา ถึงแม้จะเป็นเพียงแค่ความคิดแต่ไม่ได้หมายความว่าเหตุการณ์ร้ายแรงจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่าประมาทภาวะน่ากลัวนี้เพราะคุณคาดเดาไม่ได้เลยว่าผู้ป่วยจะลงมือทำร้าย หรือจบชีวิตของพวกเขาตอนไหน สาเหตุหลักๆ ของภาวะเฉยชากับชีวิต มีหลายปัจจัยด้วยกัน คือ การใช้สารเสพติด ความกดดันจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตจนทำให้สะสม ปัญหาตามสภาพแวดล้อมในสังคม เช่น ปัญหาทางการเงิน ปัญหาด้านความสัมพันธ์ หรือสภาพแวดล้อมตามถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นเชิงลบ มีความผิดปกติด้านจิตใจ (ภาวะซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้า) ความเครียด วิตกกังวล เช็กอาการตนเอง และคนที่คุณรักโดยด่วน ก่อนจะสายเกินแก้ รู้สึกสิ้นหวังกับบางอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตของพวกเขา พูดถึงความตาย หรือคิดที่จะฆ่าตัวตายอยู่บ่อยครั้ง การพึ่งสารเสพติดในปริมาณที่มากขึ้น อารมณ์แปรปรวนง่าย มีวิธีการคิดฆ่าตัวตายอย่างรุนแรง เช่น การใช้อาวุธปืน และของมีคม เป็นต้น คำพูดสื่อความหมายในเชิงบอกลาผู้คนที่พวกเขารัก ชอบแยกตนเองออกมาจากสังคม หรือผู้อื่น คุณสามารถสังเกตอาการข้างต้นที่กล่าวมาได้ หรือหากมีอาการอื่นๆ ที่ใกล้เคียง หรือรุนแรงกว่านั้น ให้คุณรีบพาผู้ป่วยไปขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เห็นเจ้าเหมียวทีไร แล้วมีอาการกลัวสุดขีด คุณอาจกำลังเป็น โรคกลัวแมว

ด้วยดวงตาอันบ้องแบ๊วและนิสัยที่ขี้อ้อนของ “แมว” ทำให้มันเป็นสัตว์เลี้ยงอันดับต้นๆ ที่ผู้คนต่างเทใจให้ แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะตกเป็นทาสแมวหรอกนะ ยังมีคนที่กลัวแมวอยู่ด้วย ถึงขั้นตกใจสุดขีดทุกครั้งที่เห็นเจ้าแมวเหมียวเลยก็ว่าได้ อาการกลัวตกใจนี้ไม่ใช่เพราะเขาคิดไปเอง แต่แท้จริงแล้วเขาอาจเป็น “โรคกลัวแมว” จะมีลักษณะอาการอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบค่ะ ทำความรู้จัก โรคกลัวแมว (Ailurophobia) โรคกลัวแมว (Ailurophobia) จัดอยู่ในกลุ่มโรคความกลัวเฉพาะเจาะจง (Specific phobia) เป็นความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผล ทั้งๆที่รู้ว่าสิ่งนั้นมันไม่ได้อันตราย ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ไม่สามารถหยุดความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นได้เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่เจอ โดยจะมีอาการแสดงโต้ตอบอัตโนมัติทันทีที่เจอกับสิ่งนั้น เช่น ตัวสั่น เหงื่อแตก หัวใจเต้นเร็ว หายใจติดขัด เป็นต้น โรคกลัวแมวมีสาเหตุมาจากอะไรกันนะ สาเหตุของการกลัวแมวนั้นอาจเกิดจากปัจจัยหลายๆ ส่วน ดังนี้ ประสบการณ์ที่น่ากลัวในวัยเด็ก อาจโดนแมวกัดหรือข่วนในสมัยวัยเด็กที่ให้รู้สึกกลัวฝังใจ ปัจจัยทางพันธุกรรม อาการกลัวแฝงจากพ่อแม่ถูกถ่ายทอดสู่ลูกผ่านทางยีนที่อยู่ในโครโมโซม ลูกจึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีความกลัวเหมือนที่พ่อแม่รู้สึก ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม อาจมีผลเนื่องจากความทรงจำในวัยเด็ก เช่น ช่วยเหลือแมวลงจากต้นไม้จนได้รับบาดเจ็บ การเห็นแมวโดนรถชน เป็นต้น เช็กด่วน! อาการที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคกลัวแมว  ผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวแมวจะมีอาการแสดงออกด้วยกัน 2 ลักษณะคือ ทางด้านร่างกาย และทางด้านจิตใจ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ทางด้านร่างกาย หายใจติดขัด แน่นหน้าอก ตัวสั่น เหงื่อแตก ปวดท้อง (โดยเฉพาะเมื่อนึกถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่แมวอยู่) ทางด้านจิตใจ รู้สึกตกใจกลัวทุกครั้งเมื่อนึกถึงแมว วิตกกังวลที่ได้ยินเสียงร้องแมว รู้สึกกลัวอย่ายิ่งเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีแมว รับมือและเอาชนะความกลัวได้อย่างไร  โรคกลัวแมวนี้ไม่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก เบื้องต้นเราสามารถหลีกเลี่ยงเพื่อไม่เจอหรือเข้าใกล้แมวได้ แต่เราอาจไม่สามารถที่จะหลีกหนีความหวาดกลัวที่ไม่ได้รับการรักษาได้เสมอไป เช่น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคกลัวความรัก คืออะไร

โรคกลัวความรัก เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการกลัวที่จะมีความรักและความสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ความทรงจำด้านลบในอดีต หรือปัจจัยทางพันธุกรรม และอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นเร็ว หายใจติดขัด และคลื่นไส้อาเจียน การรักษาจึงอาจเป็นวิธีที่จะช่วยบำบัดอาการกลัวความรักให้บรรเทาลงได้ ก่อนที่จะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการเข้าสังคม หรือนำไปสู่อาการซึมเศร้า โรควิตกกังวล การใช้ยาเสพติด หรือแม้กระทั่งความคิดที่จะฆ่าตัวตาย โรคกลัวความรัก คืออะไร โรคกลัวความรัก (Philophobia) เป็นอาการกลัวแบบเฉพาะเจาะจง โดยส่วนใหญ่สาเหตุเกิดจากความผิดหวัง ความเสียใจ ความทรงจำเกี่ยวกับความรักที่ไม่ดีในอดีต ส่งผลให้ในอนาคตกลัวการมีความรัก ไม่กล้ามีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับผู้อื่น กลัวการเริ่มต้นใหม่ ซึ่งความกลัวดังกล่าวนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการแสดงออกทางร่างกาย เช่น เหงื่อแตก หัวใจเต้นเร็ว หายใจติดขัด คลื่นไส้ อาเจียน บางรายที่มีอาการรุนแรง อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่เข้าสังคมจนอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า สาเหตุของโรคกลัวความรัก โรคกลัวความรักอาจเกิดจากปัจจัย ดังนี้ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม อาจมีผลเนื่องมาจากความทรงจำในวัยเด็ก เช่น เห็นภาพพ่อแม่ทะเลาะกัน ครอบครัวหย่าร้างจนทำให้เรารู้สึกกลัวไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับใครได้ ความทรงจำด้านลบ ประสบการณ์ความรักที่ไม่ดีในอดีต เช่น การโดนบอกเลิกโดยไม่ทราบสาเหตุ คนรักนอกใจ แอบรักใครแล้วไม่สมหวัง  ส่งผลให้ปัจจุบันกลัวจะต้องเสียใจอีกครั้งจนไม่สามารถเริ่มความสัมพันธ์ใหม่ได้ ปัจจัยทางพันธุกรรม พฤติกรรมและความกลัวแฝงจากพ่อแม่อาจถูกถ่ายทอดสู่ลูกผ่านทางยีนที่อยู่ในโครโมโซม ลูกจึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีความกลัวเหมือนที่พ่อแม่รู้สึกด้วยเช่นกัน อาการโรคกลัวความรัก อาการกลัวที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ทางด้านร่างกาย และทางด้านอารมณ์ ดังนี้  ทางด้านร่างกาย เจ็บหน้าอก เป็นลม เหงื่อแตก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทางด้านอารมณ์ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

หลากหลายเรื่องควรรู้เกี่ยวกับ ไบโพลาร์ และ การบำบัดด้วยแสง

การบำบัดด้วยแสง ถือเป็นวิธีการบำบัดที่เป็นที่นิยม ซึ่งจะใช้แสงในการรักษาความผิดปกติด้วยการอาบแสงโดยใช้ “กล่องแสงจ้า (Light box Therapy)”  เพื่อรักษาภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล ภาวะซึมเศร้า ความผิดปกติของการนอนหลับ และยังมีประสิทธิภาพสำหรับใช้รักษาผู้ที่มีโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) หากใครที่กำลังสงสัยว่าการใช้แสงเพื่อบำบัดไบโพลาร์นั้น เป็นอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ ได้ค้นหา ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันแล้วค่ะ หลักการทำงานของ การบำบัดด้วยแสง การบำบัดด้วยแสงโดยทั่วแล้ว เป็นการบำบัดที่ให้ทำสายตาได้รับแสงสเปกตรัมโดยตรง โดยที่ต้องได้รับแสงสเปกตรัมครบทุกสเปกตรัม โดยใช้แหล่งกำเนิดแสง เช่น กล่องแสงจ้า (Light box) วิธีการคือ ผู้ป่วยจะนั่งอยู่ด้านหน้าของกล่องแสงจ้าเพื่อให้ได้รับแสงอย่างเต็มที่ การบำบัดด้วยแสงเป็นการบำบัดที่สามารถทำได้ทั้งที่โรงพยาบาลและมีการให้เช่าอุปกรณ์เพื่อทำที่บ้าน แต่การบำบัดด้วยวิธีนี้จำเป็นที่จะต้องไปพบคุณหมอทุกวัน การบำบัดด้วยแสงถูกใช้เพื่อ รักษาอาการซึมเศร้าของโรคไบโพลาร์ ดังนั้นหากผู้ป่วยที่ต้องการบำบัดด้วยแสงเพื่อรักษาอากรไบโพลาร์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน ปริมาณของแสงที่ใช้ในการบำบัด การบำบัดด้วยแสงนั้น จะมีประโยชน์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่เหมาะสมของแสงที่ใช้ในการบำบัด โดยปริมาณของแสงจะถูกกำหนดโดยความเข้มของแสง ระยะห่างระหว่างจุดกำเนิดแสงและบุคคลและระยะเวลาในการรับแสง แหล่งกำเนิดแสงส่วนใหญ่ให้ความสว่างที่ 10,000 ลักซ์(Lux) การใช้แสงเพื่อบำบัดความผิดปกติของอารมณ์ตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder) ความสว่างแสงเริ่มต้นที่แนะนำในการใช้เพื่อบำบัดความผิดปกติทางอารมณ์ตามฤดูกาลคือ 10,000 ลักซ์ของแสงยามเช้าเป็นเวลานาน 30 นาทีต่อวัน ส่วนผู้ที่มีอาการไบโพลาร์จะมีการใช้ความสว่างของแสงที่แตกต่างออกไป ผลข้างเคียงของ การบำบัดด้วยแสง ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการบำบัดด้วยแสง คือ อาการปวดตา ปวดหัว กระสับกระส่ายและนอนไม่หลับ […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

Friendship Jealousy ทำไมรู้สึกไม่พอใจเมื่อเพื่อนสนิท ไปสนิทกับคนอื่น

หลาย ๆ คนคงเคยมีอารมณ์หึงหวงเพื่อนรักกันอย่างแน่นอน เลื่อนหน้าเฟซบุ๊กอยู่ดี ๆ ไหงเพื่อนสนิทของเราไปปาร์ตี้กลับเพื่อน ๆ กลุ่มอื่น แถมยังปล่อยให้เรานั่งอยู่บ้าน ไม่เอ่ยชวนกันอีกต่างหาก ความรู้สึกน้อยใจ อิจฉา หึงหวงมันปนเปกันไปหมด วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจมาแชร์ให้ทุกคนได้งานกัน เกี่ยวกับเรื่อง Friendship Jealousy หรือ ความรู้สึกหึงหวงในมิตรภาพ นั่นเอง ไปอ่านกันเลย Friendship Jealousy คืออะไร ความหึงหวง เป็นความรู้สึกที่ผสมผสานกันระหว่างความเศร้า ความโกรธ และความวิตกกังวล ความสัมพันธ์หรือมิตรภาพต่อเพื่อน เป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของเรา เป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกดี รู้สึกไม่โดดเดี่ยว ดังนั้น การที่เพื่อนของเราไปมีเพื่อนใหม่หรือมีความสัมพันธ์ใหม่ จึงอาจทำให้เรารู้สึกเหมือนถูกพรากสิ่งที่มีความสำคัญกับชีวิตเราไป และก่อให้เกิด ความรู้สึกหึงหวงในมิตรภาพ ขึ้นมา โดยส่วนใหญ่แล้วความสัมพันธ์หรือมิตรภาพ ที่มีความหึงหวงเข้ามาเกี่ยวข้องเช่นนี้ มักจะพบกับจุดจบที่พังทลายลง ความหึงหวงและความอิจฉาเป็นสิ่งที่มีความซับซ้อนและต้องใช้ความพยายามในการทำความเข้าใจ ไม่ว่าคุณจะมีความรู้สึกเหล่านี้เองหรือต้องเผชิญกับคนที่มีความรู้สึกแบบนี้ก็ตาม ความรู้สึกเหล่านี้เป็นอารมณ์โดยปกติทั่วไปของมนุษย์ ที่ต้องการจะปกป้อง ครอบครองสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับตัวเอง การที่เรามีความรู้สึกหึงหวงนั้น ไม่ทำให้เราเป็นคนไม่ดีหรือเป็นคนคิดลบ (Toxic Person) แต่การที่เราไม่ควบคุมมันหรือจัดการกับอารมณ์ที่ไม่ดีเหล่านี้ ก็อาจส่งผลต่อสุขภาพจิต ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจ และส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ได้ ความสัมพันธ์หรือมิตรภาพที่ดีต่อเพื่อน ที่ถูกความหึงหวงหรือความอิจฉาครอบงำ อาจทำให้ความสัมพันธ์หรือมิตรภาพเหล่านั้นพังลงได้ สัญญาณที่บ่งบอกว่าเพื่อนของคุณกำลังเกิด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ดนตรีบำบัด ศาสตร์ที่นอกจะทำให้สุขใจ ยังช่วยบำบัด ภาวะซึมเศร้า ได้อีกด้วย

เสียงเพลงและดนตรี เป็นสิ่งที่ส่งผลต่ออารมณ์ของผู้ฟัง หากยิ่งได้ฟังเพลงที่ตรงกับอารมณ์ในช่วงนั้นๆ ก็จะยิ่งทำให้ผู้ฟังมีอารมณ์ร่วมและอินกับเพลงมากเป็นพิเศษ นอกจากเพลงส่งผลต่ออารมณ์แล้วยังมีศาสตร์ที่เรียกว่า ดนตรีบำบัด ซึ่งสามารถใช้ได้กับหลายๆ โรค แต่วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง ดนตรีบำบัด ภาวะซึมเศร้า มาฝากกันค่ะ ดนตรีบำบัด คืออะไร ดนตรีบำบัด (Music Therapy) เป็นศาสตร์ที่ใช้ ดนตรี ในการบำบัด บรรเทาโรคต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นการรวมองค์ประกอบที่มีความแตกต่างเข้าด้วยกัน เช่น การทำเพลง การเขียนเพลง หรือแม้กระทั่งการฟังเพลง แต่ดนตรีบำบัดนั้นเป็นมากกว่าดนตรีธรรมดา เพราะจะเป็นการประยุกต์ดนตรีเข้ากับเทคนิคทางการแพทย์เพื่อใช้ในการรักษาโรค โดยจะรวมเอาองค์ความรู้ด้านการสื่อสาร ประสาทวิทยา และความผิดปกติเกี่ยวกับจิตใจและอารมณ์เข้าด้วยกัน เพื่อบรรเทาอาการป่วยเรื้อรังหรือการจัดการกับความเจ็บปวด เมื่อผู้ป่วยเริ่มใช้ดนตรีบำบัด นักบำบัดจะเริ่มต้นด้วยการถามถึงเป้าหมาย เช่น เมื่อคุณป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และรู้สึกว่าอาการของโรคซึมเศร้าส่งผลให้คุณมีอารมณ์ที่ไม่คงที่ เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง ทั้งวัน เป้าหมายของคุณอาจจะเป็น ต้องการใช้ดนตรีเพื่อปรับปรุงอารมณ์ให้มีความคงที่ โดยนักบำบัดอาจจะเริ่มใช้ดนตรีบำบัดกับอาการอื่นๆ ของภาวะซึมเศร้าก่อน เช่น ความวิตกกังวล อาการนอนไม่หลับหรือมีปัญหาในการโฟกัส หลังจากนั้น นักบำบัดอาจจะเริ่มต้นรักษาในเรื่องอื่นๆ เช่น ปรับปรุงอารมณ์ให้มีความคงที่มากขึ้น ยกระดับคุณภาพชีวิตของคุณ เสริมสร้างทักษะการเผชิญปัญหา กระตุ้นการแสดงออกทางอารมณ์ บรรเทาความเครียดและอาการวิตกกังวล การใช้ ดนตรีบำบัด ภาวะซึมเศร้า การใช้ดนตรี เพื่อบำบัดอาการซึมเศร้านั้น เป็นการใช้ดนตรีเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางด้านร่างกาย อารมณ์ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน