สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

การเสพติด

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เอาชนะอาการ กลัวสุนัข พร้อมเปิดใจให้ความน่ารักของสัตว์แสนรู้

เป็นเรื่องที่น่าเหลือเลยทีเดียว ถึงอาการ กลัวสุนัข ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีอยู่จริง เพราะความน่ารัก ขี้เล่น และแสนรู้เช่นนี้ จะทำให้ผู้คนกลัวได้ถึงเชียวหรือ บางคนอยากจะสัมผัส แต่ก็ไม่กล้าพอที่จะเอื้อมมือไปเล่นกับเจ้าสุนัขด้วยเหตุผลบางอย่าง มาร่วมค้นหาสาเหตุของพวกเขาเหล่านี้ พร้อมเคล็ดลับเอาชนะความกลัวแปลกๆ ไปพร้อมกับ Hello คุณหมอ กันเถอะ สาเหตุที่ทำให้คุณ กลัวสุนัข มีอะไรบ้างนะ คำนิยามของอาการ กลัวสุขนัข (Cynophobia) มีที่มาจากภาษากรีก คือ Cyno ที่แปลว่า สุนัข และ Phobia ที่แปลว่ากลัว เมื่อนำมารวมกันจึงได้คำที่ตรงตัวก็คือ อาการกลัวสุขนัข หรือความกลัวสุนัข ซึ่งสาเหตุที่ผู้คนบางกลุ่มมีความหวาดกลัวต่อสัตว์สี่ขาชนิดนี้ สันนิษฐานได้ว่า อาจมาจากประสบการณ์ด้านลบกับสุนัขโดยตรง โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นกับคุณในวัยเด็ก ก่อให้เกิดการจดจำจวบจนถึงปัจจุบันที่คุณเติบโตขึ้น เช่น ถูกสุนัขกระโจนเข้าหา ได้รับบาดเจ็บการจากถูกสุนัขกัด กลัวเสียงขู่เสียงเห่า และโรคติดต่อจากสัตว์ เป็นต้น รวมถึงมาจากกรรมพันธุ์ของคนในครอบครัว และถูกปลูกฝังตั้งแต่ยังเยาว์วัย เพื่อปกป้องคุณไม่ให้ใกล้ชิดกับสุนัข เพราะอาจทำให้ได้รับอันตรายอย่างที่พวกเขาประสบมาก็เป็นได้ อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังหวาดกลัวเมื่อพบน้องหมา ถึงแม้จะอยากเข้าไปเล่นเพียงใด แต่เพียงแค่เห็นน้องหมาจ้องตาก็รู้สึกผวาในใจขึ้นมาทุกที และยังส่งผลให้มีอาการทางด้านอารมณ์เหล่านี้เกิดขึ้น หายใจลำบาก ติดขัด อัตราการเต้นของหัวใจรวดเร็วขึ้น ตัวสั่น เวียนหัว มึนหัว เกิดความวิตกกังวล สูญเสียการควบคุมร่างกาย หลบหนีอย่างรวดเร็วเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่เผชิญหน้ากับสุนัข โกรธเคือง เหงื่อออก ร้องไห้ หรือกรีดร้อง พิชิตอาการ กลัวสุนัข ให้ใช้ชีวิตร่วมกันได้ อย่างมีความสุข การรักษาด้วยจิตบำบัด (Psychotherapy) โดยปรับพฤติกรรมด้านความรู้ความเข้าใจ และการสัมผัสกับสุนัขโดยตรง […]


โรคการกินผิดปกติ

หิวตอนกลางคืนบ่อยมากจนผิดปกติ หรือคุณจะเป็น โรคหิวตอนดึก (Night Eating Syndrome)

มื้อเช้าก็กินไปเยอะ มื้อเที่ยงยิ่งจัดหนัก มื้อเย็นก็ไม่เคยพลาด แต่ตกดึกก็ยังคงหิวอยู่เหมือนเดิม เรียกได้ว่าเกิดมาเพื่อกินทุกมื้อโดยแท้จริง แต่การหิวในตอนกลางคืนนั้นเป็นอาการโดยปกติจริงหรือ? จงอย่าชะล่าใจไป เพราะคุณอาจกำลังอยู่ในภาวะของ โรคหิวตอนดึก อยู่ก็ได้ วันนี้มารู้จักกับ อาการหิวตอนดึก ไปพร้อม ๆ กันกับ Hello คุณหมอ รู้จักกับ โรคหิวตอนดึก (Night Eating Syndrome) อาการหิวตอนดึก  คือ อาการหรือความรู้สึกหิวในตอนกลางคืน แม้ว่าจะมีการรับประทานอาหารเย็นไปจนอิ่มแล้วก็ตาม เพราะรู้สึกว่าถ้าหากไม่กินในตอนดึกจะทำให้นอนไม่หลับหรือไม่สามารถที่จะกลับไปนอนได้ถ้าไม่มีอะไรตกถึงท้องในตอนกลางคืน อาการหิวตอนดึก นี้ จัดว่าเป็นหนึ่งในปัญหาที่เกี่ยวข้องทั้งพฤติกรรมในการนอนหลับและเกี่ยวข้องกับความผิดปกติหรือพฤติกรรมในการกินด้วย สาเหตุของ โรคหิวตอนดึก สาเหตุของ อาการหิวตอนดึก นั้น ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเกิดขึ้นจากอะไร แต่อาจเป็นไปได้ว่าเกิดจากความไม่สมดุลกันของฮอร์โมนในร่างกาย จนส่งผลต่อการรับประทานอาหารและการตื่นขึ้นในกลางดึกเพื่อมารับประทานอาหาร ซึ่งอาจเป็นความผิดปกติที่ฮอร์โมนสำหรับควบคุมความหิว หรือฮอร์โมนที่ควบคุมความอิ่ม อย่างไรก็ตาม อาการเช่นนี้อาจพบได้บ่อยในกลุ่มวัยรุ่นและวัยเรียนที่มักจะหิวบ่อย ๆ ในกลางดึก แรก ๆ อาจเป็นเพียงพฤติกรรม แต่หากไม่หยุดและปล่อยไปเรื่อย ๆ ก็อาจไม่สามารถแก้ไขได้ง่ายนัก นอกจากนี้ ยังอาจเป็นผลมาจากการควบคุมอาหาร ที่ปกติเคยกินอาหารตามใจมาตลอด แต่เมื่อต้องมาควบคุมอาหารในแต่ละมื้อ อาจทำให้รู้สึกไม่อิ่ม และหิวในตอนกลางคืน อาการของโรคหิวตอนดึก ใคร ๆ ก็สามารถที่จะหิวกันบ่อย ๆ ได้ทั้งนั้น […]


สุขภาพจิต

ลดความเครียด ด้วยการล้างจาน งานบ้านง่ายๆ ที่อยู่คู่ทุกครัวเรือน

วิธีขจัดความเครียดให้ออกจากพื้นที่สมองของแต่ละคนนั้น มักจะแตกต่างกันออกไป บ้างก็ชอบที่จะนอนหลับพักผ่อนให้ลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้น บ้างก็เลือกที่จะหาอะไรทำเรื่อยเปื่อย ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไป วันนี้ Hello คุณหมอก็ได้มีอีกหนึ่งหนทางมาเป็นตัวเลือกเสริม หากเบื่อกับการ ลดความเครียด แบบเดิมๆ ลองหันมาคลายเครียดด้วย การล้างจาน ที่ทุกคนคงจะสงสัยกันอย่างแน่นอนว่า กิจกรรมนี้สามารถทำให้ความเครียดหายไปได้จริงหรือ งั้นเรามาเริ่มทดลองไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่า ผลวิจัย ของการล้างจานทำไมจึง ลดความเครียด ได้จริง ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาทดลองการลดความเครียดด้วยการล้างจาน งานบ้านที่ทุกคนปฏิบัติกันอยู่ทุกวัน พวกเขาได้คัดเลือกนักศึกษา 51 คน ให้ลองลงมือล้างจานในการทดสอบนี้ หลังจากที่นักศึกษาล้างจานเสร็จ ทีมนักวิจัยได้ประเมินผลการทดสอบ พบว่า การล้างจานสามารถเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีทางจิตวิทยา และลดความเครียดลงได้ เนื่องจากพวกเขาจะมีสมาธิจดจ่อในการทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว ทำให้ความเครียดเหล่านั้นถูกลบเลือนไป รวมทั้งกลิ่นของน้ำยาล้างจาน และน้ำอุ่นที่ใช้ล้างนั้น เมื่อถูกสัมผัสประมาณสักพักหนึ่งทำให้ระดับความกังวลลดลงไปได้อีกถึง 27 % เลยทีเดียว ประโยชน์ของการทำงานบ้านที่อาจทำให้คุณต้องเปิดใจ อย่ามองงานบ้านว่าเป็นเพียงแค่ความเหนื่อย เบื่อหน่าย หรือต้องใช้พลัง และแรงกายเยอะ จริงๆหากลองเปิดใจดูคุณอาจได้รับประโยชน์กลับมามากกว่าที่คุณคิด การทำความสะอาดเปรียบเสมือนการออกกำลังกาย เพราะการทำความสะอาดภายในบ้าน ล้วนแต่ใช้แรงก็จริงแต่สิ่งที่คุณจะได้กลับมานั่นก็คือ ระดับความเครียดที่ลดลง เนื่องจากถูกเผาผลาญแคลอรี่ออกมาเป็นหยาดเหงื่อ พร้อมทั้งปล่อยสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) ออกมาจากร่างกายทำให้สมองผ่อนคลายมากขึ้น มีสมาธิเพิ่ม ขณะเวลาที่คุณกำลังทำงานบ้านจิตใจของคุณจดจ่อ เพียงแต่ทำให้ทุกอย่างเสร็จสิ้น จึงทำให้คุณมีสมาธิในการทำความสะอาดบ้านจนเสร็จ และยังได้บ้านที่สะอาดสวยงาม การทำงานบ้านเปรียบดั่งอยู่ในงานปาร์ตี้ เชื่อว่า แม่ศรีเรือนหลายๆ คน คงต้องเปิดดนตรีให้อารมณ์สุนทรีย์ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

วิธีฝึกตัวเองให้เป็นคน คิดบวก มองโลกในแง่ดี เพื่อสุขภาพที่ดีในทุกวัน

การใช้ชีวิตในแต่ละวัน เราต้องเผชิญกับสิ่งที่สามารถบั่นทอนสุขภาพของเราได้มากมาย ไม่ว่าจะเหตุการณ์ในระดับประเทศ วิกฤติระดับโลก หรือเรื่องเครียดจากงาน จากการเรียน ยิ่งหากคุณชอบมองโลกในแง่ร้าย ก็มีแต่จะยิ่งทำให้สภาพจิตใจและร่างกายของเราแย่ลง และอาจกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน การเรียน และความสัมพันธ์ต่างๆ ในชีวิตได้ด้วย Hello คุณหมอ เลยอยากชวนคุณมาสร้างเกราะป้องกันความคิดร้ายๆ ด้วยการฝึกตัวเองให้เป็นคน คิดบวก มองโลกในแง่ดี คุณจะได้มีสุขภาพดี แถมยังช่วยกระตุ้นอีคิวไอคิวให้กระฉูดด้วย วิธีฝึกตัวเองให้ คิดบวก มองโลกในแง่ดี ยิ้มแย้มร่าเริง หัวเราะให้บ่อยเข้าไว้ งานศึกษาวิจัยหลายชิ้นเผยว่า การหัวเราะสามารถช่วยลดอาการวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า ช่วยคลายเครียด ทั้งยังช่วยพัฒนาทักษะในการจัดการปัญหา พัฒนาอารมณ์ และทำให้คุณเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้นด้วย คุณต้องทำตัวให้เฮฮา ร่าเริง และหัวเราะให้ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหนก็ตาม ยิ่งถ้าต้องเจอเรื่องยากๆ คุณก็ยิ่งต้องยิ้มสู้เข้าไว้ เพราะ “เครียดไปก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น” การหัวเราะและรอยยิ้มต่างหากที่จะช่วยให้คุณผ่อนคลาย สมองปลอดโปร่ง และมองเห็นวิธีแก้ปัญหาได้ชัดเจนขึ้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ต่อให้คุณขำไม่ออก ก็ต้องพยายามฝืนยิ้มให้ได้ แล้วคุณจะอารมณ์ดีขึ้น เครียดน้อยลง แถมยังคิดบวกขึ้นด้วย รู้จักขอบคุณสิ่งต่างๆ รอบตัว ความรู้สึกขอบคุณ (Gratitude) เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรมี เมื่อเราตระหนักรู้ในคุณค่าของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น เราก็จะรู้สึกซาบซึ้งและขอบคุณสิ่งๆ นั้น เช่น รู้สึกซาบซึ้งในบุญคุณของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูมาจนเติบใหญ่ รู้สึกขอบคุณคนที่ลุกให้นั่งบนรถเมล์ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

นอกจากเจออากาศร้อนแล้ว อย่าลืมรับมือกับ อาการซึมเศร้า เมื่อเข้าฤดูร้อนด้วย

เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน สิ่งแรกที่นึกถึงก็คงเป็นแสงแดดจ้า ๆ ที่มาพร้อมกับความร้อนที่ทำให้แสบไปทั่วทั้งผิวกาย และยังตามมาด้วยเหงื่อ ที่ไหลย้อยจนชุ่มไปทั้งร่างกาย บ้างก็ส่งผลให้เกิดอาการคัน ผดผื่นในหน้าร้อน แต่ยังมีอีกหนึ่งเรื่องที่มาในหน้าร้อน ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะคาดคิดไม่ถึง นั่นก็คือ อาการซึมเศร้า เมื่อเข้าฤดูร้อน เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่า ฤดูร้อนและอาการซึมเศร้านั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจมาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ อาการซึมเศร้า เมื่อเข้าฤดูร้อน (Summer Depression) คืออะไร SAD หรือ Seasonal Affective Disorder คือ อาการซึมเศร้าตามฤดูกาล ซึ่งมักจะเริ่มต้นตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วง ยาวไปจนถึงฤดูหนาว แต่บางครั้งก็สามารถเกิดขึ้นในปลายฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงฤดูร้อนได้เช่นกัน โดย อาการซึมเศร้าในฤดูร้อน (Summer Depression) ถือเป็นอาการซึมเศร้าตามฤดูกาลอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในฤดูร้อน โดยทั่วไปแล้ว อาการซึมเศร้าตามฤดูกาลมักจะเกิดในช่วงฤดูหนาวที่กลางคืนยาวกว่ากลางวัน บวกกับอากาศที่หนาวเย็นจึงทำให้คนรู้สึกเหงาและเศร้ามากขึ้น แต่ก็มีคนอยู่ประมาณร้อยละ 10 ที่มีภาวะซึมเศร้าในช่วงฤดูร้อนที่มีเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดก็ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าขึ้นมาได้ จากการศึกษาพบว่า ประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร อย่างประเทศอินเดีย จะพบว่าผู้คนมักจะมีอาการซึมเศร้าในฤดูร้อนมากกว่าในช่วงฤดูหนาว แม้การศึกษานี้จะระบุแน่ชัดไม่ได้ว่า อาการซึมเศร้าในฤดูร้อนนั้นเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ แต่ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่า ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนจัด ความชื้น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ใครเป็น โรคกลัวแมงมุม ฟังทางนี้ วิธีเหล่านี้อาจช่วยจัดการกับอาการกลัวแมงมุมได้

แมงมุม เป็นสัตว์ที่หลายๆ คนอาจจะไม่ชอบ หรืออาจถึงขั้นเป็น โรคกลัวแมงมุม เลยก็มี ซึ่งเมื่อเห็นแมงมุม ทั้งตัวจริงหรือเห็นจากภาพก็เกิดอาการกลัวขึ้นมาทันที บางครั้งอาจใจเต้นตุบตับ ตัวสั่นอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจัดการกับโรคกลัวแมงมุมมาฝาก โรคกลัวแมงมุม มีอาการอย่างไร โรคกลัวแมงมุม (Arachnophobia) เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีอาการหวาดกลัวแมงมุมอย่างรุนแรง ถึงแม้ว่าการไม่ชอบแมงมุม จะไม่ใช่เรื่องแปลก แต่สำหรับผู้เป็นโรคกลัวแมงมุม นั้นนอกจากความกลัวยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างมีนัยยะสำคัญ นอกจากนี้ยังมี โรคกลัว (Phobias) อย่างอื่นอีกมายมาย เช่น กลัวความสูง กลัวรู กลัวงู กลัวทะเล เป็นต้น โฟเบีย เป็นโรคที่ทำให้คุณมีความรู้สึกว่า สิ่งที่กลัวนั้นคุกคามชีวิตของคุณ โฟเบียนั้นสามารถส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ แต่หากรู้ว่าตนเองเป็นโรคกลัวอะไร ก็สามารถหลีกเลี่ยงที่จะเจอกับสิ่งนั้น เพื่อการดำรงชีวิต อาการของโฟเบียโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นเมื่อ ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว สำหรับโรคกลัวแมงมุม นั้นก็มีอาการคล้ายๆ กับโฟเบียอื่นๆ คือเมื่อคุณเห็นแมงมุม ไม่ว่าจะเป็นรูปแมงมุม แมงมุมของเล่น แมงมุมจริงๆ บางครั้งแค่นึกถึงอาการกลัวนั้นก็จะกำเริบได้ เมื่อคุณเจอแมงมุมแม้ว่ามันจะตัวเล็กมากๆ คุณก็จะมองว่าแมงมุมนั้นตัวใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้ นอกจากนี้อาการกลัวนั้นยังอาจแสดงออกมาทางกายภาพได้ด้วย อาการโดยทั่วไปของโรคกลัวแมงมุม คือ วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ รู้สึกท้องไส้ปั่นป่วน เหงื่อออก เนื้อตัวสั่น หายใจถี่หอบ หัวใจเต้นเร็วขึ้น บางครั้งอาจจะร้องไห้ออกมาด้วยความกลัว สาเหตุที่ทำให้มีอาการ กลัวแมงมุม อาการของโรคกลัวหรือโฟเบียนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับหลายๆ อย่าง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

อิทธิพลของสื่อ ที่มีผลต่อ พฤติกรรมเลียนแบบอาชญากรรม

จากข่าวการกราดยิงโคราช เมื่อช่วงต้นปี 2020 ที่ผ่านมา หลายคนอาจจะสังเกตเห็นว่า มีข่าวการยิงในที่สาธารณะเกิดขึ้นติดต่อกันหลายครั้ง นับตั้งแต่การกราดยิงครั้งใหญ่นั้น จนอดตั้งข้อสงสัยไม่ได้ว่า เกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย ทำไมจึงมีการยิงกันในที่สาธารณะบ่อยขนาดนี้ และคอยติดตามข่าวกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น แต่หลายคนอาจจะไม่ทันได้ตระหนักว่า พฤติกรรมเลียนแบบอาชญากรรม ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ อาจมีผลมาจากอิทธิพลของสื่อก็เป็นได้ พฤติกรรมเลียนแบบอาชญากรรม เป็นอย่างไร คำว่า พฤติกรรมเลียนแบบอาชญากรรม หรือ copycat crime หมายถึงลักษณะการก่ออาชญากรรม ที่เลียนแบบมาจากอาชญากรรมที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว โดยอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากการศึกษาค้นคว้า หรือการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน ส่วนประกอบพื้นฐาน 4 ประการ ของอาชญากรรมเลียนแบบ คือ อาชญากรรมต้นแบบ (generator crime) หมายถึงอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในโลกของความเป็นจริง เป็นตัวอาชญากรรมต้นแบบที่ทำให้เกิดการเลียนแบบขึ้น อาชญากรต้นแบบ (criminogenic models) หมายถึงตัวผู้ก่อเหตุอาชญากรรมต้นแบบ ที่ผู้ก่อเหตุเลียนแบบเอาเป็นเยี่ยงอย่าง อาชญากรรมเลียนแบบ (copycat crime) หมายถึงอาชญากรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ โดยอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากการเสพข่าวสารมากเกินไป หรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากอาชญากรต้นแบบ อาชญากรเลียนแบบ (copycat criminal) หมายถึงผู้ที่ก่อเหตุอาชญากรรม เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากสื่ออาชญากรรม อาชญากรต้นแบบ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน สื่อมีอิทธิพลอย่างไรกับการก่ออาชญากรรมเลียนแบบ พฤติกรรมเลียนแบบนี้มีมาตั้งแต่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 หลังจากการสำรวจความสัมพันธ์ของเหตุอาชญากรรมกับการรายงานข่าว โดยข่าวที่โด่งดังและเป็นที่ให้ความสนใจในช่วงนั้นคือคือ ข่าวคดีฆาตกรรมเลื่องชื่อของ “แจ็คเดอะริปเปอร์” (Jack the Ripper) […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

10 ข้อดีของการมีความรัก รู้แบบนี้มีแฟนไปตั้งนานแล้ว

อยู่เป็นโสดก็มีความสุขดี แต่จะดีกว่าหรือไม่ถ้ามีใครสักคนมาทำให้คุณรู้สึกดีมากขึ้นในทุก ๆ วัน มีผลงานวิจัยจากหลากหลายที่มาที่แสดงให้เห็นว่าการมีความรักดี ๆ มีส่วนช่วยเพิ่มสิ่งดี ๆ ให้เกิดขึ้นในชีวิตของคุณและคนที่คุณรักได้ โดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพ ความรักสามารถทำให้ทั้งสุขภาพกายและใจดีขึ้นได้ในทุกวัน Hello คุณหมอ จึงขอพาคุณผู้อ่านไปพบกับ 10 ข้อดีของการมีความรัก ที่เมื่อรู้แล้วคุณอาจจะอยากมีใครสักคนมาอยู่ข้างกายก็ได้นะ ความรัก เซ็กส์ และสุขภาพ ความรักกับสุขภาพ นอกจากสุขภาพจิตที่ดีเพราะมีความรักดี ๆ แล้ว อาจจะมองเห็นประโยชน์ทางสุขภาพอื่น ๆ ที่จะได้จากการมีความรักไม่ค่อยออก แต่…รู้หรือไม่ว่า การแสดงออกถึงความรักและความใคร่ระหว่างคุณและ คนรัก มีส่วนช่วยให้สุขภาพของคุณทั้งสองคนดีขึ้นได้ เช่น การมีเซ็กส์ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมปกติของคนที่รักกัน ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน มีช่วงเวลาที่ดีและผ่านช่วงเวลาอันเลวร้ายมาพร้อมกัน แม้แต่คนที่ไม่เคยมีความรักต่อกันมาก่อน แค่เพียงความชอบชั่วครู่ก็สามารถลงเอยด้วยการมีเซ็กส์ได้ มีผลงานวิจัยจากหลายสถาบันและหลากหลายผู้เชี่ยวชาญที่พบว่า การมีเซ็กส์ให้ประโยชน์ทางสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพหัวใจ การมีเซ็กส์เท่ากับการออกกำลังกาย มีส่วนช่วยในกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจให้ทำงานได้ดีขึ้น การถึงจุดสุดยอดของคู่รักยังช่วยปลดปล่อยความเครียดได้ดีอีกเช่นกัน หรือการแสดงออกถึงความรักอย่างการกอด ก็มีส่วนช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ทำงานได้ดีขึ้น มีโอกาสในการลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจหรือโรคความดันโลหิตสูง 10 ข้อดีของการมีความรัก มีอะไรบ้าง การมีความรักดี ๆ อาจส่งผลให้คุณภาพชีวิต ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจดีขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว มาดูกันว่าถ้าคุณมีแฟนหรือแต่งงานเมื่อไหร่ คุณจะได้รับสิ่งดี ๆ อะไรบ้าง ความเครียดน้อยลง ถ้าคุณมีความรักดี ๆ คุณมีโอกาสที่จะพบกับความเครียดได้น้อยลง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เป็นโสด ก็ไม่แย่ และที่แน่ๆ มีข้อดีเกินกว่าที่คุณคิด

มีความรักที่ไม่ดี อยู่เป็นโสดคงจะดีไม่น้อย โดยเฉพาะสุขภาพจิตใจที่แน่นอนว่าปลอดโปร่งโล่งสบาย ไม่มีเรื่องลำบากใจของคนใกล้ตัวให้มาคอยคิดจนปวดหัว แถมยังมีอิสระกับตัวเองมากยิ่งกว่าแต่ก่อนด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีประโยชน์ของการ เป็นโสด มาฝากค่ะ เหงากับเป็นโสด เป็นเรื่องยากที่จะกล่าวว่าความเหงากับความโสดนั้นไม่สัมพันธ์กัน บางครั้งคนที่รู้สึกเหงาก็เป็นคนโสดด้วย แต่ในขณะเดียวกันคนโสดบางคนก็ไม่ได้รู้สึกเหงา หรือบางครั้งคนที่มีคนรักก็สามารถที่จะรู้สึกเหงาได้เหมือนกัน ความเหงาอาจเป็นเพียงอารมณ์ที่รู้สึกโดดเดี่ยว ต้องการใครสักคนมาอยู่ด้วยในช่วงเวลานั้น ๆ ส่วนการเป็นโสด อาจเป็นการถูกทำให้เป็นโสด เช่น อกหักเพราะถูกบอกเลิก หรืออาจพึงพอใจที่จะเป็นโสดด้วยตนเอง บางคนชอบที่จะอยู่คนเดียว ไม่ชอบการอยู่ท่ามกลางคนหมู่มาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่ชอบเก็บตัวอยากที่จะเป็นโสด ขณะเดียวกันคนที่ชอบเข้าสังคม ก็อาจไม่ได้ปรารถนาที่จะมีใครสักคนมาเคียงข้าง ดังนั้น แม้ความเหงาและความโสดจะมีบางช่วงเวลาที่ได้มาบรรจบกัน แต่ทั้งสองสิ่งยังเป็นสิ่งที่แตกต่างกัน ความเหงาจะเกี่ยวข้องกับความโดดเดี่ยว ว้าเหว่ แต่การอยู่คนเดียว อาจไม่จำเป็นต้องจำกัดความว่าเป็นโสด แต่อาจหมายถึงการต้องการเวลาส่วนตัว หรือต้องการอยู่กับตัวเอง เพราะรู้สึกว่าอยู่คนเดียวแล้วสนุกกว่า มีอิสระที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากกว่า ข้อดีของการ เป็นโสด การเป็น โสด อาจดูไม่ดีในสายตาของผู้อื่นที่รู้สึกเสียดายคุณค่าบางประการในตัวเรา เช่น “สวย/หล่อขนาดนี้เสียดายจัง น่าจะมีแฟนได้แล้ว” หรือ “เก่งขนาดนี้ล่ะมั้งเลยไม่มีแฟน” แต่ในความรู้สึกของผู้ที่เป็นโสด โดยเฉพาะผู้ที่เลือกจะเป็นโสดเพราะมองเห็นความสุขได้มากกว่า อาจมองเห็นประโยชน์ของการเป็นโสดได้มากมาย ดังนี้ สมองได้พักผ่อน สมองของคนเราต้องการการพักผ่อน การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น หรือการต้องพบปะกับผู้อื่นอยู่บ่อย ๆ […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

เพื่อนร่วมงาน เจ็บป่วยเรื้อรัง ควรปฏิบัติตัวอย่างไรดี

เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อคุณจะต้องทำงานกับ เพื่อนร่วมงาน ที่มีอาการ เจ็บป่วยเรื้อรัง แล้วเมื่อต้องทำงานร่วมกัน หลายคนคงยังสงสัยว่าควรจะต้องทำตัวอย่างไรถึงจะเหมาะสม ดังนั้นวันนี้ ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาแนะนำกัน เพื่อนร่วมงานเจ็บป่วยเรื้อรังเราควรให้กำลังใจอย่างไรดี หากคุณมีเพื่อนร่วมงานที่ เจ็บป่วยเรื้อรัง อย่างเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือโรคข้ออักเสบ เป็นต้น แล้วไม่รู้จะสนับสนุนเพื่อนร่วมงานอย่างไร สิ่งเหล่านี้คือวิธีการที่ดีที่สุด ที่คุณสามารถช่วยพวกเขาได้ ดังนี้ แสดงความเห็นอกเห็นใจ แค่เพียงบอกเพื่อร่วมงานของคุณว่ากำลังคิดถึงพวกเขาอยู่ ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี ไม่ต้องกลัวที่จะต้องพูดว่า “ไม่รู้จะพูดอะไรดี แต่ฉันอยู่ตรงนี้และเป็นห่วงคุณ” หรือ “ฉันอยากอยู่ตรงนี้เป็นเพื่อนคุณ และจะช่วยเหลือคุณเท่าที่จะทำได้” แต่สิ่งที่ไม่ควรพูดมากที่สุดก็คือ “ทำไมไม่บอกกันให้เร็วกว่านี้” เพราะการพูดแบบนี้ยิ่งจะทำให้เพื่อนร่วมงานของคุณ รู้สึกผิดมากกว่าที่จะได้รับความรู้สึกว่าพวกเขาได้รับการดูแล เอาใจใส่ ความรู้ของบริษัท ความรู้และทักษะในการทำงานถือเป็นสิ่งมีค่าของบริษัท ซึ่งมักจะพบเห็นได้ในพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริษัทเป็นเวลานาน แม้ปัญหาสุขภาพของพวกเขาจะไม่สามารถป้องกันได้เมื่อปฏิบัติหน้าที่ แต่พวกเขายังสามารถสอน หรือให้คำปรึกษาผู้อื่นเกี่ยวกับงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของพวกเขาได้ ซึ่งนี่คือการใช้ความสามารถของผู้ที่กำลังเจ็บป่วยเรื้อรัง ให้มีประโยชน์มากที่สุด เพราะการสรรหาและฝึกอบรวมพนักงานใหม่ ย่อมมีค่าใช้จ่ายที่สูงตามมา เคารพความเป็นส่วนตัว พยายามระมัดระวัง เมื่อเพื่อนร่วมงานซึ่งกำลังมีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ต้องการความเป็นส่วนตัว และเมื่อพวกเขาต้องการพูดคุยเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นกับพวกเขา โดยพยายามสังเกตพฤติกรรมของพวกเขานั่นเอง แม้ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง จะมาเล่าให้คุณฟังเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเขา นั่นไม่ได้หมายความว่า เขาจะอยากให้คนอื่นรู้ด้วย นอกจากนั้นการแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับคนอื่น ที่มีความเจ็บป่วยแบบพวกเขาก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เนื่องจากคุณไม่อาจจะสามารถรับรู้ได้ว่า […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน