สุขภาพช่องปาก

สุขภาพช่องปาก เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรจะละเลย เพราะภายในช่องปากของเรานั้น เต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพช่องปาก และการดูแลสุขภาพช่องปาก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพช่องปาก

วิธีแก้ร้อนใน และวิธีดูแลช่องปาก อย่างเหมาะสม

แผลร้อนใน เป็นแผลบวมแดงที่มักเกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปาก เช่น กระพุ้งแก้ม ลิ้น ใต้ลิ้น ริมฝีปากด้านใน ภายในปากอาจมีแผลร้อนในพร้อมกันเกิน 1 จุด และแผลอาจเพิ่มจำนวนหรือมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ วิธีแก้ร้อนใน สามารถทำได้ด้วยการดูแลตัวเองเบื้องต้น เช่น ใช้น้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีแอลกอฮอล์และสารฆ่าเชื้อ ทาเจลฆ่าเชื้อที่แผล ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยทั่วไป แผลร้อนในจะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากเป็นแผลนานกว่า 3 สัปดาห์ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ร้อนใน คืออะไร ร้อนใน หรือแผลร้อนใน (Mouth ulcers) เป็นแผลตื้น ๆ ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรี ตรงกลางเป็นสีขาวอมเหลือง ขอบแผลเป็นสีแดง ที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปาก เช่น กระพุ้งแก้ม ลิ้น ใต้ลิ้น เพดานปาก ริมฝีปากด้านใน เหงือก อาจทำให้รู้สึกเจ็บ รับประทานอาหารไม่สะดวกหรือพูดได้ลำบาก หากเครียด เจ็บป่วย อ่อนเพลียรุนแรง ก็อาจทำให้อาการร้อนในแย่ลงได้ ทั้งนี้ แผลร้อนในไม่ใช่โรคไม่ติดต่อ ต่างจากแผลโรคเริม (Cold sores) ที่พบบริเวณริมฝีปากด้านนอกและรอบริมฝีปาก […]

หมวดหมู่ สุขภาพช่องปาก เพิ่มเติม

โรคเหงือกและช่องปาก

สำรวจ สุขภาพช่องปาก

โรคเหงือกและช่องปาก

อาการเลือดออกตามไรฟัน รับมือกับอาการอย่างไรดี

หากมี อาการเลือดออกตามไรฟัน ควรปรึกษาทันตแพทย์ นอกจากนี้ถ้ามีเลือดออกขณะแปรงฟัน คุณอาจคิดว่าไม่เป็นอะไร แต่ความจริงแล้วอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพช่องปากบางอย่าง ดังนั้นในกรณีที่มีอาการนานกว่า 7-10 วัน หรือเริ่มมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงือกบวม ควรปรึกษาทันตแพทย์ มากไปกว่านั้นคุณอาจรับมือกับอาการ เลือดออกตามไรฟัน ได้ด้วยวิธีเหล่านี้ อาการเลือดออกตามไรฟัน เกิดจากสาเหตุใด เลือดออกตามไรฟัน เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยสาเหตุที่พบบ่อยคือเกิดจากโรคเหงือกอักเสบ และอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ได้แก่ มีเลือดออกผิดปกติ แปรงฟันแรงเกินไป การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ ฟันปลอมที่มีขนาดไม่พอดี หรืออุปกรณ์ทันตกรรมอื่น ๆ ไหมขัดฟันที่ไม่เหมาะสม การติดเชื้อในฟันหรือเหงือก มะเร็งเม็ดเลือดขาว เลือดออกตามไรฟันเนื่องจากการขาดวิตามินซี การขาดวิตามินเค การระบุสาเหตุของการมีเลือดออกตามไรฟัน จะทำให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมที่สุด และเมื่อคุณทราบสาเหตุแล้วควรรักษาอาการกับทันแพทย์ และอาจใช้วิธีเหล่านี้เพื่อช่วยทำให้อาการเลือดออกตามไรฟันดีขึ้น วิธีที่สามารถช่วยบรรเทาอาการ เลือดออกตามไรฟัน รักษาสุขภาพช่องปาก เพื่อป้องกัน เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกตามไรฟัน อาจเป็นสัญญาณของการไม่รักษาความสะอาดช่องปาก เนื่องจากคราบจุลลินทรีย์ที่สะสมตามแนวเหงือก อาจเป็นสาเหตุของอาการเหงือกอักเสบและมีเลือดออก นอกจากนี้อาจเป็นเพราะคุณไม่ได้แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันมากพอ แบคทีเรียจึงสามารถแพร่กระจายและทำให้เกิดฟันผุหรือโรคเหงือกได้ สำหรับวิธีดูแลสุขภาพช่องปาก สามารถทำได้โดยการแปรงฟันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน และใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อย 1 ครั้งต่อวัน มากไปกว่านั้นการดูแลสุขภาพช่องปากยังสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากความแปรปรวนของฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดโรคเหงือกและมี เลือดออกตามไรฟัน บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ เนื่องจากแบคทีเรียและการการอักเสบในช่องปาก ทำให้เกิดโรคเหงือก การบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออาจช่วยลดปริมาณแบคทีเรีย และอาจทำให้อาการ เลือดออกตามไรฟัน ดีขึ้น นอกจากนี้ หากเลือดออกมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บหรือเป็นแผล การบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออาจช่วยให้ช่องปากสะอาด และช่วยกำจัดแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่แผลได้ เลิกบุหรี่ นอกจากการสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองแล้ว […]


ปัญหาสุขภาพฟัน

สาเหตุของอาการเสียวฟัน กินอะไรก็เสียวฟัน ทำยังไงดีล่ะทีนี้?

อาการเสียวฟัน เป็นสิ่งที่หลายคนอาจเคยเจอ ไม่ว่าจะเป็นอาการเสียวฟันจากเครื่องดื่มหรือการกินของเย็นๆ เช่น ไอศกรีม หรือความรู้สึกปวดแปล๊บที่ฟันขณะดื่มกาแฟ อาการเสียวฟันอาจทำให้การใช้ชีวิตในแต่ละวันของคุณไม่เป็นสุขเท่าไรนัก มาเรียนรู้กับ สาเหตุของอาการเสียวฟัน พร้อมทั้งวิธีรับมืออย่างถูกต้องกันดีกว่า สาเหตุของอาการเสียวฟัน มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้คุณมีอาการเสียวฟัน ประการแรก รากฟันของคุณอาจเปิดออก บริเวณนี้ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าเดนติน (dentin) มักอยู่ข้างใต้เนื้อเยื่อเหงือก และประกอบด้วยหลอดฝอยจำนวนมาก ที่มองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า หลอดฝอยแต่ละหลอดเชื่อมโยงกับปลายประสาท อาการเกี่ยวกับฟันที่พบได้ทั่วไปสองประการ ได้แก่ เหงือกร่น (gum recession) หรือเคลือบฟันสึก (enamel erosion) อาจเป็นปัญหาเนื่องจากทำให้หลอดฝอยดังกล่าวเปิดออก ในความเป็นจริงแล้ว เดนตินถูกทำให้เสียหายได้ด้วยอาการเหงือกร่น การแปรงฟันแรงเกินไป การกัดฟัน และอาหารที่มีกรด เป็นต้น อาการเสียวฟันที่มักพบเป็นประจำ สำหรับอาการเสียวที่เกิดขึ้นมักจะเป็นๆ หายๆ เมื่อเวลาผ่านไป โดยไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน และอาจมีอาการตั้งแต่ขั้นปกติไปจนถึงขั้นรุนแรง ซึ่งอาการเสียวฟันที่มักพบเป็นประจำ มีดังนี้ ขณะทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มที่ร้อน ขณะทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มที่เย็น ช่วงที่อากาศเย็น ขณะทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มที่หวาน ขณะทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มที่มีกรด เวลาใช้น้ำเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการทำความสะอาดฟันเป็นประจำ ขณะที่แปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน เวลาใช้น้ำยาบ้วนปาก เมื่อเคลือบฟันหาย ถึงได้รู้สึกเสียวฟัน ความจริงแล้วอาการเสียวฟันนั้นเกิดขึ้นจาก เคลือบฟันซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ในการปกป้องฟัน โดยจะอยู่ชั้นนอกสุดของฟัน  เกิดการเสื่อมสภาพ นอกจากนั้นแล้ว เคลือบฟันของแต่ละคน จะมีความหนาบางไม่เท่ากันนั่นเอง ส่วนสาเหตุที่ทำให้เคลือนฟันบางก็คือ แปรงฟันแรงเกินไป ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็งจนเกินไป การนอนกัดฟันตอนกลางคืน ทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มที่มีกรดเป็นประจำ แก้อาการเสียวฟัน ทำอย่างไรดี? บางครั้งอาการเสียวฟัน ก็ทำให้รู้สึกรำคาญใจ และใช้ชีวิตประจำวันไม่สะดวกเท่าที่ควร ดังนั้นวิธีแก้อาการเสียวฟัน มีดังนี้ ลองใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของ ตัวช่วยลดอาการเสียวฟัน […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

สารพัด ปัญหาสุขภาพช่องปาก ที่มาจากการสูบบุหรี่

เป็นที่ทราบกันดีว่า การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และการสูบบุหรี่ยังส่งผลต่อให้เกิด ปัญหาสุขภาพช่องปาก เป็นอย่างมาก การสูบบุหรี่เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับฟันและก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเหงือกได้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพช่องปากจากการสูบบุหรี่ ที่ไม่ควรพลาดมาฝากทุกท่านค่ะ ปัญหาสุขภาพช่องปาก ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ กลิ่นปาก คราบที่ฟัน และฟันเปลี่ยนสี โรคและการอักเสบที่ต่อมน้ำลาย การสะสมของคราบหินปูน กระดูกขากรรไกรเสื่อม หรือใช้การไม่ได้ ความเสี่ยงของการเกิดฝ้าขาวในปาก ความเสี่ยงของการเป็นโรคเหงือก และสูญเสียฟันเพิ่มขึ้น ความเร็วในการเยียวยาตนเองลดลง ลดอัตราความสำเร็จในการทำรากฟันเทียม ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากเพิ่มขึ้น การสูบบุหรี่กับโรคเหงือก บุหรี่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เป็นตัวการทำให้กระดูกและเนื้อเยื่อที่เชื่อมกับฟันหลวม และขัดขวางการทำงานของเนื้อเยื่อเหงือก ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย เมื่อเนื้อเยื่อเหงือกถูกทำลาย ประสิทธิภาพในการไหลเวียนของเลือดสู่เหงือกก็จะลดน้อยลง ทำให้การฟื้นฟูใช้เวลานานขึ้น ไปป์และซิการ์อันตรายหรือไม่ ไปป์และซิการ์ มีอันตรายไม่น้อยไปกว่าบุหรี่ การศึกษาเผยว่า ผู้ที่สูบซิการ์สูญเสียฟันและกระดูกเบ้าฟัน มากเท่ากับผู้ที่สูบบุหรี่ แม้ว่าการสูบไปป์และซิการ์ จะไม่ได้สูดเอาควันเข้าไป แต่ยังคงสร้างความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพช่องปากอยู่เช่นเดิม เช่น กลิ่นปาก และฟันเปลี่ยนสี ยาสูบไร้ควันปลอดภัยหรือไม่ ยาสูบชนิดต่างๆ เช่น ยานัตถุ์ และยาเส้นชนิดเคี้ยว มีสารก่อมะเร็งทั้งมะเร็งในช่องปาก มะเร็งลำคอ และมะเร็งหลอดอาหาร สูงถึง 28 ชนิด ยาเส้นชนิดเคี้ยวมีปริมาณนิโคตินสูงกว่าในบุหรี่ และทำให้เกิดอาการเสพติดได้มากกว่า อีกทั้งยังมีการวิจัยพบว่ายานัตถุ์ 1 กล่อง มีปริมาณนิโคตินมากกว่าบุหรี่ 60 มวน ยาสูบชนิดที่ไม่ต้องสูบ (ชนิดเคี้ยว หรือแปะที่เหงือก) หรือยาสูบไร้ควัน อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่เหงือก และเหงือกร่น ซึ่งทำให้เกิดช่องว่างลงไปสู่รากฟัน […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

แผลร้อนใน (Canker Sores)

แผลร้อนใน คือแผลที่เกิดภายในปาก มีสีขาว เหลืองหรือแดงโดยรอบ เกิดขึ้นที่บริเวณเนื้อเยื่ออ่อนภายในปาก หรือที่ฐานของเหงือก ไม่เกิดที่ริมฝีปาก และไม่เป็นโรคติดต่อ คำจำกัดความแผลร้อนใน คืออะไร แผลร้อนใน (Canker Sores) คืออาการที่เกิดแผลภายในปาก หรือรอยแผลที่มีขนาดเล็ก มีสีขาว เหลือง หรือแดงโดยรอบ เกิดขึ้นที่บริเวณเนื้อเยื่ออ่อนภายในปาก หรือที่ฐานของเหงือก แผลร้อนในนี้จะไม่เกิดที่บริเวณพื้นผิวของริมฝีปาก และไม่เป็นโรคติดต่อ แตกต่างจากโรคเริม (cold sores) แผลร้อนในพบได้บ่อยได้แค่ไหน แผลร้อนในนั้นพบได้บ่อยมาก สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ โรคนี้สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดสอบถามแพทย์สำหรับข้อมูเพิ่มเติม อาการอาการของแผลร้อนในเป็นอย่างไร อาการทั่วไปมีดังนี้ มีแผลขนาดเล็กรูปวงรี สีขาวหรือสีเหลือง มีบริเวณแดงๆ ที่ปวดภายในปาก รู้สึกเป็นเหน็บภายในปาก สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อไร คุณควรติดต่อแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้ มีแผลขนาดใหญ่ มีการแพร่กระจายของแผล เจ็บปวดอย่างรุนแรง เป็นไข้สูง ท้องร่วง ผดผื่น ปวดหัว สาเหตุสาเหตุของแผลร้อนใน มีการบาดเจ็บเล็กน้อยในปาก เช่น การแปรงฟันที่รุนแรง อุบัติเหตุระหว่างเล่นกีฬา การเผลอกัด ปฏิกิริยาไวต่ออาหาร โดยเฉพาะต่อช็อกโกแลต กาแฟ สตรอว์เบอร์รี ไข่ ถั่ว ชีส และอาการเผ็ดหรือมีฤทธิ์เป็นกรด มีภาวะขาดวิตามินบี12 ขาดธาตุสังกะสี ธาตุโฟเลต (กรดโฟลิค) หรือธาตุเหล็ก อาการตอบสนองต่ออาการแพ้แบคทีเรียบางชนิดในปาก เชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียตัวเดียวกันกับที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงในช่วงการมีประจำเดือน ความเครียด ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลร้อนใน ปัจจัยเสี่ยงของ แผลร้อนใน ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นแผลร้อนใน มีดังนี้ ปัจจัยเสี่ยงของแผลร้อนในมีดังต่อไปนี้ ประวัติทางการแพทย์ภายในครอบครัว อยู่ในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว เป็นเพศหญิง การวินิจฉัยและการรักษาโรคข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยโรคแผลร้อนใน แพทย์หรือทันตแพทย์จะทำการระบุโดยการตรวจด้วยการมองภายนอก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้การทดสอบในการวินิจฉัยโรคแผลร้อนใน ในกรณีที่รุนแรงอาจต้องมีการตรวจบางอย่าง เช่น […]


ปัญหาสุขภาพฟัน

วิธีบรรเทาอาการปวดฟันด้วยตัวเอง ก่อนไปพบทันตแพทย์ ทำได้อย่างไรบ้าง

หากคุณมีอาการปวดฟัน คุณควรไปพบทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด แต่บางครั้งคุณอาจไม่สะดวกไปพบทันตแพทย์ทันที และอาจอยากได้ วิธีบรรเทาอาการปวดฟันด้วยตัวเอง ก่อนที่จะไปพบทันตแพทย์ ซึ่งคุณอาจลองทำตามวิธีเหล่านี้ แต่ควรจำไว้ว่า นี่เป็นเพียงวิธีบรรเทาอาการปวดฟันเบื้องต้นเท่านั้น และคุณจำเป็นต้องไปพบทันตแพทย์ สาเหตุของอาการปวดฟัน อาการปวดฟันอาจมีสาเหตุมาจาก ฟันผุ ฝีหรือโพรงหนองในฟัน ฟันมีรอยแตก เกิดความเสียหายต่อการอุดฟัน การเคลื่อนไหวซ้ำๆ เช่น การเคี้ยวหมากฝรั่ง การกัดฟัน เหงือกติดเชื้อ หากเกิดอาการปวดฟัน อาจมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดฟัน โดยอาจมีอาการปวดต่อเนื่อง ปวดจี๊ดขึ้นมา หรือปวดตุบๆ และในบางกรณีจะมีอาการปวดฟันเมื่อมีแรงกดบนฟันเท่านั้น บวมบริเวณฟัน มีไข้ หรือปวดศีรษะ มีของเหลวส่งกลิ่นเหม็นไหลออกมาจากฟันที่ติดเชื้อ หากคุณมีอาการปวดฟัน ควรไปพบทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด นอกจากนี้ถ้าคุณมีอาการปวดฟันนานกว่า 1-2 วัน อาการปวดรุนแรงขึ้น มีไข้ เจ็บหู หรือเจ็บเวลาอ้าปาก ควรเข้าพบทันตแพทย์ทันที วิธีบรรเทาอาการปวดฟันด้วยตัวเอง ก่อนไปพบทันตแพทย์ หากยังไม่สะดวกไปพบทันแพทย์ คุณสามารถบรรเทาอาการปวดฟันเบื้องต้นเองได้ด้วยวิธีเหล่านี้ บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ ก่อนไปพบทันตแพทย์ คุณอาจบรรเทาอาการปวดฟันด้วยตัวเองโดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ เริ่มจากผสมเกลือ ½ ช้อนโต๊ะกับน้ำเปล่า 8 ออนซ์ (ประมาณ 230 มิลลิลิตร) จากนั้นอมน้ำเกลือที่ได้ไว้ในปากประมาณ 1 นาที จึงค่อยบ้วนน้ำเกลือออก นอกจากนี้คุณอาจใช้ไหมขัดฟันขัดบริเวณรอบๆ ฟันที่มีอาการปวด เพื่อช่วยกำจัดเศษอาหารที่ติดค้างอยู่ กินยาบรรเทาปวด ทันตแพทย์แนะนำว่า การบรรเทาอาการปวดฟันเบื้องต้น สำหรับเด็กควรใช้ยาบรรเทาปวด คือ ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) ส่วนผู้ใหญ่สามารถเลือกซื้อยาบรรเทาปวดจากร้านขายยาทั้งยาอะเซตามิโนเฟน และยาชนิดอื่น เช่น ไอบูโพรเฟน […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

แผลร้อนในในช่องปาก อาการเจ็บปวดที่พบบ่อย จัดการยังไงได้บ้าง

โรคแผลร้อนใน เป็นแผลเล็กๆ ที่เกิดขึ้นในช่องปาก และส่งผลทำให้เรารู้สึกปวด แสบ เวลารับประทานอาหาร บางครั้งก็สามารถทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ บางครั้งที่เรานอนดึก ภูมิต้านทานไม่ดี เครียด ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ แผลร้อนในก็สามารถขึ้นได้ หลายๆ คนก็คงเคยมีอาการใช่ไหมคะ วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับแผลร้อนในมาฝากกันค่ะ ทำอย่างไรเมื่อเป็น โรคแผลร้อนใน สาเหตุของแผลร้อนในนั้นมีอยู่มากมาย หากคุณเป็นแผลร้อนในเป็นครั้งคราว สิ่งที่ควรพิจารณาก็คือ การแปรงฟัน แปรงฟันเบาๆ ด้วยแปรงสีฟันขนนุ่มๆ และอย่าลืมขัดฟันด้วยไหมขัดฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร ยาสีฟัน เปลี่ยนไปใช้ยาสีฟันที่มีไม่ส่วนผสมของโซเดียมลอเรทซัลเฟต (Sodium lauryl sulfate) เนื่องจาก ยาสีฟันที่มีสารนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดแผลร้อนในและทำให้เกิดแผลกำเริบซ้ำๆ ลดความเครียด คนส่วนใหญ่มักจะเกิดแผลร้อนในขณะที่มีความเครียด หรือกำลังมีเรื่องทุกข์ใจอย่างรุนแรง ให้ความสนใจกับอาหารการกินเมื่อเป็น โรคแผลร้อนใน อาหารที่คุณรับประทานสามารถบอกได้ว่า แผลร้อนในของคุณจะดีขึ้นหรือแย่ลง ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ด มีฤทธิ์เป็น กรด พริก อาหารรสจัด และน้ำอัดลม รวมถึงควรหลีกเลี่ยงผลไม้และผักบางชนิด เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว พวกมะนาว ส้ม แอปเปิ้ล ลูกฟิก มะเขือเทศ สับปะรด และสตรอเบอร์รี่ เพื่อจะได้ไม่กระตุ้นให้เกิดแผลร้อนในมากยิ่งขึ้น พยายามอย่าทำให้เกิดการระคายเคืองภายในช่องปาก แผลร้อนในเกี่ยวข้องกับรอยบาด และรอยแผลเปิดที่บริเวณผิวหน้าในปาก ซึ่งอาจเกิดได้จากปัจจัยเหล่านี้คือ เหล็กดัดฟัน หากคุณกำลังใส่เหล็กดัดฟัน ควรระวังไม่ให้บาดผิวในปาก […]


การดูแลสุขภาพช่องปาก

10 อาหารอันตรายต่อ สุขภาพฟัน ที่ควรหลีกเลี่ยง

ลูกอมรสหวาน น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว ไม่ว่าอะไรต่างก็เป็นอาหารแสนอร่อย ที่เรามักจะชอบรับประทาน แต่คุณรู้หรือไม่ว่า อาหารเหล่านี้ อาจจะเป็น อาหารอันตรายต่อฟัน อย่างที่คุณคาดไม่ถึงก็เป็นได้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับอาหารที่เป็นอันตรายต่อฟัน มาให้ทุกคนได้อ่านกัน 10 อาหารอันตรายต่อฟัน 1. น้ำแข็ง ใครๆ มักจะคิดว่าน้ำแข็งนั้นดีต่อสุขภาพฟัน เนื่องจากทำจากน้ำและไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลหรือสารเติมแต่งใดๆ เลยด้วย แต่การเคี้ยวน้ำแข็งที่แข็งราวกับหินนั้น อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันกับฟันได้ แถมยังอาจทำให้ชั้นเคลือบฟันเกิดความเสียหายด้วย ฉะนั้น ปล่อยให้น้ำแข็งทำหน้าที่เพิ่มความเย็นให้กับเครื่องดื่มเพียงอย่างเดียวจะดีกว่านะ 2. อาหารที่มีรสเปรี้ยว คุณควรรู้เอาไว้นะว่าถ้าฟันสัมผัสกับอาหารที่มีฤิทธิ์เป็นกรดบ่อยๆ ก็อาจทำให้ชั้นเคลือบฟันเกิดการสึกกร่อนได้ ซึ่งนั่นจะส่งผลให้ฟันเกิดการผุกร่อนได้ง่ายขึ้น เมื่อปล่อยทิ้งเอาไว้นานๆ ฉะนั้น ก็บีบมะนาวลงในน้ำดื่มแค่นิดๆ หน่อยๆ นั้น อาจทำให้น้ำดื่มมีรสชาติขึ้นมาได้ก็จริง แต่นั่นไม่ดีต่อสุขภาพฟันเลย นอกจากนี้ผลไม้และน้ำผลไม้รสเปรี้ยวยังอาจทำให้เกิดความระคายเคืองในช่องปากได้ด้วย และอย่าลืมดื่มน้ำตามเยอะๆ ด้วยล่ะ 3. กาแฟ กาแฟและชา…ถ้าอยูในรูปแบบที่เป็นธรรมชาตินั้น ก็สามารถทำให้เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้ แต่ผู้คนโดยส่วนใหญ่ก็มักอดไม่ได้ที่จะต้องเติมน้ำตาลลงไปด้วย นอกจากนี้กาแฟและชาชนิดที่มีคาเฟอีนนั้นอาจทำให้เกิดอาการปากแห้งได้ การดื่มชาและกาแฟบ่อยๆ ก็ทำให้เกิดคราบน่าเกลียดๆ บนผิวฟันด้วย ฉะนั้นถ้าคุณดื่มชาหรือกาแฟน ก็ควรดื่มน้ำตามเยอะๆ และพยายามจะเติมน้ำตาลลงไปด้วย 4. อาหารเหนียวๆ เวลาที่เราเลือกของทานเล่นที่ดีต่อสุขภาพนั้น ผู้คนส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกผลไม้แห้งกันเป็นอันดับแรก แต่ผลไม้แห้งมากมายหลายชนิดมักจะมีความเหนียวเหนอะ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับสุขภาพฟันได้ เนื่องจากจะเกาะติดอยู่บนผิวฟันได้นานกว่าอาหารชนิดอื่น ฉะนั้นถ้าใครชอบทานอาหารประเภทนี้ก็อย่าลืมบ้วนน้ำให้สะอาด พร้อมทั้งแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันหลังกินเสร็จด้วย 5. อาหารกรุบกรอบ ใครๆ ก็ชอบกินมันฝรั่งทอดกรอบกันทั้งนั้น […]


การดูแลสุขภาพช่องปาก

แปรงฟัน แบบผิดๆ อาจทำให้สุขภาพฟันแย่ลงกว่าเดิมก็ได้นะ

แปรงฟัน แบบผิดๆ เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยๆ ถึงแม้ว่ามันจะดูไม่ใช่เรื่องยาก แต่การแปรงฟันผิดวิธีอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในคราบฟัน ก่อปัญหาฟันผุและเหงือกอักเสบขึ้นมาได้ ฉะนั้นขจัดเชื้อแบคทีเรียกพวกนั้นออกไป ด้วยการแปรงฟันให้ถูกวิธีซะ และนี่คือรายละเอียด คุณกำลัง แปรงฟัน แบบผิดๆ อยู่หรือเปล่า เลือกแปรงสีฟันไม่เหมาะ เวลาที่เราเลือกแปรงสีฟันใหม่มาใช้นั้น ก็ควรหลีกเลี่ยงแปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็งๆ เพราะอาจทำให้เคลือบฟันและเนื้อเยื่อบริเวณเหงือกเกิดความเสียหายได้ โดยควรมองหาคำว่า ‘Soft’ บนฉลาก ซึ่งหมายความว่าแปรงสีฟันด้ามนั้นมีขนแปรงนิ่ม นอกจากนี้ก็ควรเลือกขนาดของแปรงสีฟันให้เหมาะกับขนาดปากของคุณได้ ซึ่งจะช่วยให้แปรงในซอกมุมต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ไม่ยอมเปลี่ยนแปรงสีฟันบ่อยๆ ผู้คนส่วนใหญ่มักจะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงสีฟันอันใหม่ จนกว่าจะถึงเวลาไปพบทันตแพทย์ (โดยปกติก็ทุกๆ หกเดือน) แต่ตามความเป็นจริงแล้ว คุณควรจะเปลี่ยนแปรงสีฟันให้บ่อยกว่านั้น สมาคมทันตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาาแนะนำให้เปลี่ยนแปรงสีฟันอันใหม่ทุกๆ 2 หรือ 3 เดือน หรือทันทีที่เห็นขนแปรงหักงอหรือกางออกไปทางด้านนอก แปรงสีฟันเก่าๆ มักจะทำหน้าที่ขจัดคราบฟันไม่ค่อยได้ผล แปรงฟันเป็นแนววงกลมอย่างเดียว  พวกเราหลายๆ คนมักจะถูกอบรมสั่งสอนให้แปรงฟันเป็นแนววงกลม เพื่อช่วยกำจัดคราบฟันออกไปให้หมด แต่นั่นไม่ใช่เทคนิคในการแปรงที่ดีอีกต่อไปแล้ว ตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้แปรงสีฟันเลื่อนไปข้างหน้าและข้างหลังเบาๆ เป็นแนวสั้นๆ (ตามความกว้างของฟัน) โดยเลื่อนแปรงให้โดนฟันส่วนนอกและส่วนในอย่างทั่วถึง จากนั้นก็เลื่อนไปแปรงฟันกราม ส่วนในการแปรงฟันด้านหน้านั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้วางแปรงในแนวตั้ง แล้วเลื่อนขึ้นลงช้าๆ หลายๆ ครั้ง แปรงฟันเร็วเกินไป ตอนนี้มีนาฬิการที่ช่วยจับเวลาในการแปรงฟันวางจำหน่ายแล้วนะ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถแปรงฟันได้ตามเวลาที่แนะนำ ซึ่งมีความพอเหมาะต่อการขจัดสิ่งสกปรกออกไปจากผิวฟัน โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้แปรงฟันเป็นเวลาสองนาทีวันละสองครั้ง ถ้าจำเป็นก็ควรตั้งนาฬิกาปลุกเอาไว้ เพื่อที่จะได้มั่นใจว่าคุณใช้เวลาแปรงฟันที่เหมาะสมจริงๆ ลืมแปรงลิ้นด้วย การแปรงลิ้นอาจทำให้คุณรู้สึกแปลกๆ แต่นั่นนับเป็นขั้นตอนสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปาก เมื่อคุณแปรงฟันเสร็จแล้ว ก็ลากแปรงสีฟันมาตามความยาวของลิ้น […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

ไลเคนพลานัสในช่องปาก (Oral Lichen Planus)

ไลเคนพลานัสในช่องปาก (Oral Lichen Planus) คือภาวะอักเสบเรื้อรังที่ส่งผลต่อเยื่อเมือกบุผิวภายในปาก ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนและอาการไม่สบายอื่นๆ มักพบในหญิงมากกว่าชาย พบมากในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี   คำจำกัดความไลเคนพลานัสในช่องปาก คืออะไร ไลเคนพลานัสในช่องปาก (Oral Lichen Planus) คือภาวะอักเสบเรื้อรังที่ส่งผลต่อเยื่อเมือกบุผิวภายในปาก โรคไลเคนพลานัสในช่องปากอาจจะมีลักษณะเป็นรอยฝ้าสีขาว เนื้อเยื่อบวมแดง หรือแผลเปิด ซึ่งแผลเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนและอาการไม่สบายอื่นๆ ไลเคนพลานัสในช่องปากพบได้บ่อยแค่ไหน ทุกคนสามารถเป็นโรคนี้ได้ จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักจะพบโรคนี้มากในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี แต่เด็กและวัยรุ่นก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์ อาการอาการของโรคไลเคนพลานัสในช่องปาก อาการอาจจะค่อยๆ มา หรือเกิดขึ้นพร้อมกันในคราวเดียว คุณอาจจะมีอาการปากแห้ง หรือปวดแสบปวดร้อน มีรสชาติเหมือนโลหะอยู่ในปาก แล้วก็จะเริ่มเห็นรอยฝ้าขาวบนลิ้น แก้ม และบนเหงือกซึ่งอาจจะเป็นจุดเล็กๆ หรือเส้นเป็นลายตาข่าย และคุณอาจจะมีรอยปื้นแดง หรืออาการบวมเกิดขึ้น ในบางครั้งมันอาจจะลอกหรือเป็นแผลพุพอง แผลนี้อาจจะทั้งแสบร้อนและปวด จะเจ็บมากเวลาที่คุณรับประทานอาหารที่เผ็ด เค็ม เป็นกรด (เช่น น้ำส้ม หรือมะเชือเทศ) หรือดื่มแอลกอฮอล์ ขนมกรอบๆ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ก็สามารถทำให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน คุณหมอจะวินิจฉัยโรคไลเคนพลานัสในช่องปากได้ ด้วยการตัดชิ้นเนื้อเล็กๆ ในปากของคุณเพื่อส่งเข้าห้องแล็ปไปหาสาเหตุของปัญหา คุณอาจจำเป็นต้องมีการตรวจเลือดเพื่อตรวจหาปัญหาอื่น ๆ อีกด้วย อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ ควรไปพบหมอเมื่อไร ถ้าคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น […]


การดูแลสุขภาพช่องปาก

ฟลูออไรด์ คืออะไร ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพฟัน

ฟลูออไรด์ คือ ส่วนผสมในยาสีฟันที่อาจช่วยป้องกันฟันผุ และเสริมสร้างให้เคลือบฟันแข็งแรง ซึ่งฟลูออไรด์เป็นเกลือของธาตุฟลูออรีน สามารถพบได้ตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ  ฟลูออไรด์ คืออะไร ฟลูออไรด์เป็นแร่ธาตุที่สามารถพบเจอได้จากธรรมชาติและพบได้มากตามแหล่งน้ำ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำ มหาสมุทร รวมถึงยังอาจพบเจอได้ในหิน ดิน และอาหาร โดยเวลานานกว่า 70 ปีมีการนำแร่ธาตุฟลูออไรด์มาเป็นส่วนผสมในยาสีฟัน และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ใช้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก เช่น น้ำยาบ้วนปาก เพื่อช่วยในการป้องกันฟันผุ ทำให้เคลือบฟันมีความแข็งแรงขึ้น  ฟลูออไรด์ปลอดภัยหรือไม่ อย่างไร  ผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า การใช้ฟลูออไรด์นั้นจะช่วยป้องกันฟันผุทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้อย่างน้อยประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ แม้จะมีหลักฐานที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของฟลูออไรด์ที่มีต่อสุขภาพฟัน แต่มีบางกลุ่มที่เชื่อในคำโฆษณาทางการตลาดที่ว่า ‘ยาสีฟันที่ไม่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์นั้น อาจจะดีต่อสุขภาพฟันมากกว่า‘ แต่ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อมูลว่า ฟลูออไรด์ไม่เพียงแต่มีความปลอดภัย แต่ยังเป็นสารที่ได้จากแหล่งธรรมชาติ ซึ่งมีการพิสูจน์แล้วว่าสารประกอบในฟลูออไรด์ช่วยป้องกันฟันผุได้จริง และได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาในสหรัฐอเมริกา ให้ใช้ผสมกับยาสีฟันในปริมาณที่เหมาะสม ฟันผุเกิดขึ้นได้อย่างไร ฟันผุเกิดจากชั้นเคลือบฟันที่เป็นผิวฟันชั้นนอก หรือเนื้อฟันผิวฟันชั้นในถูกทำลาย ทำให้เกิดเป็นรู หรือโพรงที่ตัวฟัน โดยสาเหตุที่อาจทำใหเกิดฟันผุ เช่น แบคทีเรียในปาก ดื่มเครื่องดื่มที่มีความหวาน รวมถึงคราบพลัค คราบจุลินทรีย์ ที่ติดอยู่บนเคลือบผิวฟัน และสร้างกรดขึ้นมา อาจทำให้เคลือบฟันเกิดความเสียหาย ซึ่งฟันผุสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน