เซลล์รูปกรวย (Cone cells) ทำหน้าที่จำแนกสีต่าง ๆ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งจะทำหน้าที่รับรู้สีหลัก ๆ 3 สี ได้แก่ สีเขียว สีแดง และสีฟ้า
หากคุณมีอาการตาบอดสี คุณอาจไม่มีเซลล์รูปกรวยอันใดอันหนึ่งหรือสองอัน หรืออาจะไม่มีเซลล์รูปกรวยทั้งหมดที่กล่าวมาก็ได้
บางครั้งการกระทบกระเทือนทางร่างกายหรือได้รับสารเคมีบางชนิดที่ดวงตา ระบบประสาท หรือสมอง ก็สามารถส่งผลกระทบต่อการรับรู้สี และทำให้เกิดอาการตาบอดสีได้เช่นกัน
นอกจากนี้ เมื่อคุณมีอายุมากขึ้น ก็อาจเกิดต้อกระจกซึ่งทำให้เลนส์ตากลายเป็นสีเหลือง และอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่อาการตาบอดสีได้
อาการตาบอดสี พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
ผลการวิจัยระบุว่า เพศชายมักมีอาการตาบอดสีมากกว่าเพศหญิง เพราะการตอบสนองของยีนที่ก่อให้เกิดอาการตาบอดสีนั้นอยู่ในโครโมโซม X
เพศชายมีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว ในขณะที่เพศหญิงมีโครโมโซม X สองโครโมโซม ในเพศหญิงนั้น หากโครโมรโซม X ตัวใดได้รับผลกระทบ อีกตัวจะทำหน้าที่ชดเชยกัน
ผู้ที่ตาบอดสีแดงและสีเขียวมีอาการร่วมกัน
ผู้ที่ตาบอดสีแดงและสีเขียวนั้นพบได้บ่อยที่สุดสำหรับผู้ที่มีอาการตาบอดสี เกิดขึ้นเพราะการขาดเซลล์รูปกรวยที่ทำหน้าที่รับรู้สีเขียวและสีแดง ผู้ที่ตาบอดสีแดงและสีเขียวจึงมักแสดงอาการร่วมกันระหว่างตาบอดสีแดงและตาบอดสีเขียว
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย