สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

ไขข้อสงสัย เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก ทั้ง 2 โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร? คุณเคยสงสัยหรือไม่? วันนี้เราจะมาหาคำตอบถึงความเกี่ยวข้องกันของ เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้คุณผู้หญิงทุกคนได้ระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วหาคำตอบความเกี่ยวข้องของเชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูกได้ในบทความนี้ HPV คือกลุ่มของเชื้อไวรัสที่เกี่ยวข้องมากกว่า 200 ชนิด บางชนิดแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางช่องปาก โดยจะแบ่งออกเป็นกล่มที่มีความเสี่ยงต่ำกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่บางชนิดอาจทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือลำคอได้ HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้หลายประเภทหนึ่งในนั้น คือ มะเร็งปากมดลูก เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร มะเร็งปากมดลูกในสตรีส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ฮิวแมนแพพพิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus : HPV) ซึ่งเป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 200 ชนิด เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์และการทำกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ  เช่น การสัมผัสทางผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ เชื้อ HPV อย่างน้อย 15 ชนิด มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่ HPV16 และ HPV18 จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด โดยเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้จะเข้าไปหยุดการทำงานของเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เซลล์สืบพันธ์มีความผิดปกติแบบควบคุมไม่ได้ นำไปสู่การเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงเชื้อเอชพีวีพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก ชนิดของเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ยาทาหูดหงอนไก่ ใช้ยาชนิดไหน วิธีรักษาหูดหงอนไก่

หูดหงอนไก่เป็นโรคที่ไม่อันตราย อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดและรู้สึกคันได้ เมื่อเกิดหูดหงอนไก่จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา โดยจะได้ ยาทาหูดหงอนไก่ ร่วมกับการรักษาอื่น ๆ [embed-health-tool-ovulation] หูดหงอนไก่ คืออะไร หูดหงอนไก่ (Genital warts) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส ที่ชื่อว่า (Human Papillomavirus) หรือที่รู้จักในชื่อว่า เชื้อ HPV ลักษณะของเป็นหูดหงอนไก่จะเป็นติ่งเนื้ออ่อน สีชมพู คล้ายกับหงอนไก่ โดยเริ่มจากรอยโรคเล็ก ๆ ก่อนจะขยายตัวเป็นติ่งเนื้อขรุขระคล้ายหงอนไก่ แต่บางครั้งพบเป็นลักษณะแบนราบ ผิวขรุขระ หรือบางชนิดมีขนาดใหญ่มากและผิวขรุขระคล้ายดอกกะหล่ำ ผู้ชายมักพบที่ใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ เส้นสองสลึง อาจพบบริเวณรอบทวารหนัก โดยเฉพาะผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ผู้หญิงพบได้ที่ปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก และฝีเย็บหูด โดยจะเริ่มจากขนาดเล็กและโตขึ้นเรื่อย ๆ ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์อาจทำให้หูดหงอนไก่โตเร็วกว่าปกติ และต้องระวังทารกอาจติดเชื้อจากแม่ ผู้ที่เป็นโรคหูดหงอนไก่ มีโอกาสติดเชื้อกามโรคอื่นร่วมด้วย เช่น ซิฟิลิส หนองใน พยาธิในช่องคลอด โดยการติดเชื้อเหล่านี้ จะทำให้ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะแสบ มีตกขาว คัน หรือมีแผลที่อวัยวะเพศเพิ่มขึ้น การติดต่อของเชื้อ HPV เชื้อ HPV ทำให้เกิดโรคได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เด็กมักมีอาการที่ฝ่ามือฝ่าเท้า […]


สุขภาพทางเพศ

มูกไข่ตก เป็นอย่างไร ส่งผลต่อการตั้งครรภ์หรือไม่

ไข่ตกเป็นกลไกธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับร่างกายผู้หญิง เมื่อถึงวัยมีประจำเดือน โดยไข่ตกจะใช้เวลาเฉลี่ยรอบละ 28 – 35 วัน นับจากวันแรกที่ประจำเดือนมา ซึ่งวันไข่ตกจะเป็นวันที่ไข่สุกออกจากรังไข่ จากนั้นไปยังส่วนปลายของท่อนำไข่ สำหรับมูกไข่ตกเป็นสัญญาณของร่างกายบ่งบอกว่าเป็นช่วงวันไข่ตก คนที่วางแผนมีลูกควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้ [embed-health-tool-ovulation] มูกไข่ตก เป็นอย่างไร มูกไข่ตกจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร่างกายผลิตออกมา ซึ่งจะขับออกจากปากมดลูก มูกชนิดนี้จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มูกช่องคลอด (Cervical Mucus) หรือตกขาว โดยมูกไข่ตกหลั่งออกมาจากต่อมบริเวณปากมดลูก ไม่เหมือนกับน้ำหล่อลื่นที่หลั่งจากช่องคลอด (Vagina) ลักษณะของมูกไข่ตกและปริมาณของมูกสัมพันธ์กับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นมูกไข่ตกให้หลั่งออกมา เพราะช่วงระหว่างรอบเดือน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมากขึ้น  ลักษณะของมูกช่องคลอด  ลักษณะของมูกไข่ตกหรือมูกช่องคลอด จะเปลี่ยนแปลงในรอบ 28 วัน สำหรับผู้ที่วางแผนการมีบุตร สามารถสังเกตมูกไข่ตกได้ดังนี้ มูกช่องคลอดหลังหมดรอบเดือน : หลังจากมีประจำเดือนไปแล้ว ร่างกายจะผลิตมูกช่องคลอดออกมาน้อย อาจพบว่ามูกจะมีลักษณะแห้ง ๆ หรือเหนียวข้น แต่พบได้น้อยมาก มูกก่อนไข่ตก : ลักษณะของมูกจะเริ่มมีสีขาวคล้ายครีม อาจมีความข้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย มูกไข่ตก : ก่อนวันไข่ตกเล็กน้อย มูกจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีใส ๆ คล้ายไข่ขาวดิบ จนถึงวันไข่ตก มูกจะเหนียวใส ลื่นแล้วยืดหยุ่นดี แสดงถึงความชุ่มชื้นสูง ผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์สามารถเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้ […]


การคุมกำเนิด

ทำหมัน การคุมกำเนิดถาวร วิธีทำหมันหญิงและทำหมันชาย

การคุมกำเนิดเป็นการป้องกันตั้งครรภ์หรือการขัดขวางการตั้งครรภ์ คือ การวางแผนครอบครัววิธีหนึ่ง ช่วยในการกำหนดจำนวนบุตรที่ต้องการ วางแผนการเตรียมความพร้อมก่อนการมีลูก โดยการคุมกำเนิดทำได้หลายวิธี แต่หากต้องการให้การคุมกำเนิดนั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการมีบุตร การทำหมัน ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด สามารถทำได้ทั้งการทำหมันหญิงและทำหมันชาย [embed-health-tool-ovulation] วิธีคุมกำเนิด การคุมกำเนิดมีอยู่หลายวิธี แต่ที่คุ้นเคยและใช้กันมาก ๆ คือ ถุงยางอนามัย มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดถึง 98% หากใช้อย่างถูกวิธี ซึ่งมีทั้งถุงยางอนามัยชายและถุงยางอนามัยหญิง การใช้ถุงยางอนามัยยังช่วยเรื่องการป้องกันโรคได้อีกด้วย ส่วนการคุมกำเนิดอื่น ๆ ได้แก่ คุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ ใช้การตกไข่และการมีประจำเดือนมาช่วยในการกำหนดวันปลอดภัยที่จะมีเพศสัมพันธ์ โดยนับช่วงเวลา 7 วัน ก่อนประจำเดือนมาวันแรก และ 7 วัน หลังจากวันแรกที่ประจำเดือนมา แต่วิธีนี้อาจเกิดการคลาดเคลื่อนได้มากกว่าวิธีอื่น ๆ เพราะวันไข่ตกของผู้หญิงแต่ละคนจะไม่เท่ากัน  คุมกำเนิดใช้ฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด หรือการใช้ห่วงอนามัย คุมกำเนิดถาวร ทำหมันหญิงและทำหมันชาย ทำหมันหญิงและทำหมันชาย ทำได้อย่างไร การทำหมันเป็นวิธีคุมกำเนิดสำหรับครอบครัวที่ไม่ต้องการมีบุตรหรือมีบุตรเพียงพอแล้ว สามารถทำได้ทั้งการทำหมันหญิงและทำหมันชาย วิธีทำหมันชาย  การทำหมันชายง่ายกว่าการทำหมันหญิง สามารถทำได้ทั้งในคลินิก หน่วยรถพยาบาลเคลื่อนที่ ศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาล โดยมีวิธีการทำหมันชาย ดังนี้ แพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ฉีดตรงบริเวณถุงอัณฑะเหมือนท่ออสุจิผ่าน  จากนั้นใช้มีดกรีดเป็นแผลเล็กน้อยประมาณ […]


สุขภาพทางเพศ

ริดสีดวง ติ่งแข็ง อันตรายหรือไม่ ควรรักษาอย่างไร

ริดสีดวง ทวารหนัก เกิดจากการที่หลอดเลือดบริเวณทวารหนักอักเสบจนมีอาการบวม หรือยื่นออกมาเป็น ติ่งแข็ง อยู่ที่บริเวณรูทวาร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการขับถ่าย มักพบได้ในผู้ที่มีปัญหาอาการท้องผูก ไม่ขับถ่ายหลายวัน หรืออาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ หากพบว่าอาจมีอาการของโรคริดสีดวงทวาร ควรเข้ารับการตรวจรักษาโดยคุณหมอในทันที [embed-health-tool-ovulation] ลักษณะของ ริดสีดวง ติ่งแข็ง ริดสีดวงเป็นโรคของหลอดเลือดบริเวณปากทวารหนักโป่งพอง อาจเกิดได้จากการอักเสบของหลอดเลือดดำที่ผนังลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย บวมพองยื่นนูนเป็นติ่งออกมา เมื่อเกิดเป็นก้อนเนื้อที่ปากทวารหนัก ติ่งเนื้อนี้อาจบวม ขณะที่เบ่งถ่ายอาจมีเลือดสดออกมาด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ริดสีดวงภายใน เกิดบริเวณเนื้อเยื่อทวารหนักที่อยู่สูงกว่าระดับหูรูดทวารหนัก  ริดสีดวงภายนอก เกิดบริเวณทวารหนักส่วนล่างมีอาการนูนเป็นติ่งออกจากทวารหนัก มองเห็นได้จากภายนอก  สาเหตุของโรคริดสีดวงทวารหนัก แม้ว่าสาเหตุของริดสีดวงจะยังไม่แน่ชัด แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคได้ เช่น เนื้อเยื่อรองรับเบาะรองทวารหนัก ที่ช่วยควบคุมการขับถ่ายเสื่อมสภาพ เกิดการหย่อนตัวลงจากตำแหน่งปกติ ทำให้หลอดเลือดดำขยายตัว  ภาวะท้องผูก ทำให้ต้องเบ่งถ่ายอุจจาระ ซึ่งเป็นการเพิ่มความดันของหลอดเลือดดำ โรคแทรกซ้อน เช่น ตับแข็ง อาการท้องมานในระยะสุดท้าย ทำให้มีน้ำในช่องท้องมาก ส่งผลต่อหลอดเลือดดำ ปัจจัยอื่น เช่น โรคอ้วน เกิดขณะตั้งครรภ์ มีอาการท้องเสียเรื้อรัง และการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก  ระยะของโรคริดสีดวงทวารหนัก ระยะที่ 1 - คลำแล้วพบก้อนอยู่ข้างในรูทวาร  ระยะที่ 2 […]


การคุมกำเนิด

ยายุติการตั้งครรภ์ แบบกิน ใช้อย่างไร อันตรายหรือไม่

การท้องไม่พร้อม เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ บางคนอาจตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ หรืออาจหาซื้อ ยายุติการตั้งครรภ์ มากินเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ หรืออาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้หากใช้อย่างไม่เหมาะสม ดังนั้น จึงควรปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ และศึกษาข้อมูลของยายุติการตั้งครรภ์อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-ovulation] ข้อกำหนด “ยุติการตั้งครรภ์” ในหญิงอายุครรภ์ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้มีการยุติการตั้งครรภ์ ในหญิงที่มีอายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ โดยมาตรา 305(5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา กำหนดให้หญิง ซึ่งมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ที่ประสงค์จะยุติการตั้งครรภ์ต้องได้รับการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ก่อนตัดสินใจยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ เนื่องจากการยุติการตั้งครรภ์ ควรตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วน และรอบด้าน วิธีการยุติการตั้งครรภ์ ช่วงของอายุครรภ์มีความสำคัญต่อการเลือกวิธียุติการตั้งครรภ์ที่แตกต่างกัน เช่น อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ : ใช้ยายุติการตั้งครรภ์ หรือแพทย์จะใช้เครื่องดูดสุญญากาศ มีลักษณะเป็นกระบอก โดยใส่หลอดดูดเข้าไปในโพรงมดลูก อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ : ใช้ยายุติการตั้งครรภ์ ปริมาณหรือขนาดของยายุติการตั้งครรภ์จะน้อยลงตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น โดยกำหนดช่วงห่างของการใช้ตามพัฒนาการของอาการและอายุครรภ์ ภายใต้ความควบคุมและดูแลโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด ยายุติการตั้งครรภ์ คืออะไร ยายุติการตั้งครรภ์ ตัวยาจะช่วยหยุดการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์ เข้าขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนตัวสำคัญที่ชื่อว่า ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน […]


สุขภาพทางเพศ

มีเพศสัมพันแล้วเลือดออก สาเหตุของโรคอะไร

การมีเพศสัมพันแล้วเลือดออก ทั้งที่ไม่ใช่ครั้งแรก อาจเป็นความผิดปกติของร่างกาย สะท้อนถึงอาการเจ็บป่วยที่กำลังก่อตัวอยู่ภายใน มีเลือดออกทางช่องคลอด สาเหตุแท้จริงแล้วเกิดจากอะไร [embed-health-tool-ovulation] มีเพศสัมพันแล้วเลือดออก กรณีการมีเพศสัมพันแล้วเลือดออกในครั้งแรกนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ โดยผู้หญิงที่มีเพศสัมพันแล้วเลือดออกจะเกิดจากเยื่อพรหมจารีขาด เกิดขึ้นได้ขณะสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปยังช่องคลอด อาการนี้เรียกว่า ภาวะเลือดออกกะปริบกะปรอย เกิดขึ้นแล้วหายได้เอง แต่การมีเพศสัมพันแล้วเลือดออกในครั้งแรกนั้น ใช่ว่าทุกคนจะเกิดภาวะนี้ เพราะบางคนอาจไม่มีเยื่อพรหมจารีตั้งแต่เกิด หรือเกิดการขาดไปแล้วจากการเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมผาดโผน สาเหตุที่มีเพศสัมพันแล้วเลือดออก การมีเพศสัมพันแล้วเลือดออก สามารถเกิดขึ้นได้ สำหรับอาการของเลือดออกที่ไม่เป็นอันตราย เช่น ช่องคลอดแห้งขณะมีเพศสัมพัน : เนื่องจากน้ำหล่อลื่นมีไม่มาก เมื่อช่องคลอดแห้งแล้วมีการสอดใส่อวัยวะเพศ ก็อาจทำให้เลือดออกและอาจรู้สึกเจ็บช่องคลอดได้ การมีเพศสัมพันอย่างรุนแรง : หากมีเพศสัมพันแล้วเลือดออก อาจเกิดจากการมีเพศสัมพันรุนแรงเกินไป หรือใช้อุปกรณ์อื่นในการร่วมเพศ อาจส่งผลให้เส้นเลือดช่องคลอดฉีกขาด ถ้ามีเลือดออกจำนวนมาก ควรรีบไปโรงพยาบาล อาจมีเลือดประจำเดือนตกค้าง : ให้สังเกตลักษณะของเลือด ถ้าเป็นเลือดประจำเดือนตกค้าง สีจะออกแดงคล้ำ ๆ เหมือนเลือดเก่า เป็นไปได้ว่ามีประจำเดือนค้างในช่องคลอดหรือปากมดลูก เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด การเกิดเลือดออกทางช่องคลอด โดยไม่ได้อยู่ในช่วงที่มีประจำเดือน อาจมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของฮอร์โมน : ผู้หญิงในวัยที่เพิ่งเริ่มมีประจำเดือนหรือวัยใกล้หมดประจำเดือนมักมีภาวะฮอร์โมนแปรปรวน ก็เป็นสาเหตุของเลือดออกผิดปกติได้ ภาวะเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ : เป็นสัญญาณของการเริ่มตั้งครรภ์ อาจมีเลือดซึมหรือเลือดออกทางช่องคลอดในช่วง 12 สัปดาห์แรกได้ การติดเชื้อ : […]


สุขภาพทางเพศ

ตุ๊กตายาง คืออะไร มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

ตุ๊กตายาง (Sex Doll) ของเล่นผู้ใหญ่ อุปกรณ์เสริมความสุขทางเพศ หรือของเล่นทางเพศ ปัจจุบันมีบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายมากมาย ส่วนใหญ่ใช้ยางหรือซิลิโคนเป็นวัสดุสำคัญในการผลิต ตุ๊กตายางจะผลิตออกมาให้มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับมนุษย์ ใช้เพื่อตอบสนองอารมณ์ทางเพศ มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และยังปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ [embed-health-tool-ovulation] ประโยชน์ของตุ๊กตายาง ตุ๊กตายางที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน จะมีการผลิตที่สะอาด เลือกใช้วัสดุที่ดี ปลอดภัย จึงดีต่อสุขภาพกายและยังช่วยเรื่องจิตใจ โดยการใช้อุปกรณ์เสริมความสุขทางเพศ ช่วยให้ปลอดปล่อย และมีประโยชน์  ประโยชน์ด้านจิตใจ  ช่วยให้คลายเหงา  ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย  มีความสุขมากขึ้น นอนหลับได้สนิท พักผ่อนได้ดีขึ้น ประโยชน์ด้านร่างกาย ได้ปลดปล่อยความต้องการทางเพศ เมื่อได้ปลดปล่อย ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) หรือฮอร์โมนแห่งความรัก จากเซลล์ประสาทไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งฮอร์โมนนี้จะออกมาพร้อมน้ำอสุจิ จึงพบว่าอาจมีผลเกี่ยวกับ พฤติกรรมทางเพศของผู้ชายด้วย ร่างกายยังหลั่งโดปามีน (dopamine) สารเคมีในสมอง เป็นฮอร์โมนที่หลั่งมาจากไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) เช่นกัน ส่งผลต่ออารมณ์ เกิดความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น ไวต่อสิ่งกระตุ้น ทำให้เกิดอารมณ์พึงพอใจ จึงมีอีกชื่อเรียกว่า สารเคมีแห่งรัก (Chemicals of love)  ลดความเครียดลงได้ เพราะฮอร์โมนทั้ง 2 […]


การคุมกำเนิด

ยาคุม 28 เม็ด กินอย่างไรให้ปลอดภัย ป้องกันไม่ให้ตั้งครรภ์

การคุมกำเนิดมีอยู่หลายวิธี แต่หนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยม คือ ยาคุมกำเนิด เหมาะสำหรับผู้มีเพศสัมพันธ์เป็นประจำ คู่สามีภรรยาที่มีคู่นอนเพียงคนเดียว เป็นการคุมกำเนิดแต่เพียงเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ โดยยาคุมกำเนิดมีอยู่ 2 แบบ ยาคุม 28 เม็ด กินอย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัย [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมกำเนิด คืออะไร ยาคุมกำเนิด เป็นการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ หากกินอย่างถูกวิธี ลักษณะของยาคุมกำเนิด แบ่งได้ดังนี้  ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ตัวยาจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นยาคุมกำเนิดทั่วไปที่เภสัชกรและแพทย์แนะนำ ซึ่งลดโอกาสการตั้งครรภ์ให้เหลือเพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้น  ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน แบบเดี่ยว ยาคุมชนิดนี้สำหรับแม่ให้นมลูก ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฉุกเฉิน ใช้เฉพาะกรณีฉุกเฉิน เมื่อมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกัน หรือการคุมกำเนิดที่ใช้อยู่ผิดพลาด  ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมจะยับยั้งการตกไข่ ทำให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ อาจลดการสร้างเมือกและเพิ่มความหนืดของเมือกปากมดลูกด้วย ช่วยให้ตัวอสุจิไม่อาจเดินทางไปปฏิสนธิกับไข่ อีกทั้งเพิ่มการบีบตัวของท่อนำไข่และบีบตัวของมดลูก จึงทำให้ไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว มาถึงโพรงมดลูกในเวลาที่ไม่เหมาะสมในการฝังตัว รวมถึงส่งผลให้เยื่อบุมดลูกไม่พร้อมที่จะรับการฝังตัวของตัวอ่อน ประเภทของ ยาคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิด ปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ ได้แก่ ยาคุม 21 เม็ด ประกอบด้วยฮอร์โมนทั้ง 21 เม็ด เมื่อกินยาหมดแผงแล้ว ให้นับต่อไปอีก 7 วัน […]


โรคติดเชื้อเอชพีวี

ป้องกัน “มะเร็งปากมดลูก” ด้วยการตรวจหาเชื้อ HPV แบบระบุสายพันธุ์

การตรวจคัดกรองเป็นประจำ ตรวจ hpv ทำให้มีโอกาสตรวจพบระยะก่อนมะเร็ง สามารถรักษาได้ มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของมะเร็งสตรีในผู้หญิงไทย  “โดยทุกๆ 2 ชั่วโมง มีหญิงไทยเสียชีวิต 1 คน” มะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุหลักจากเชื้อไวรัส HPV  ซึ่งมี 14 สายพันธุ์เสี่ยงสูงก่อมะเร็ง ประกอบด้วย HPV 16, 18, 31, 33, 35, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, 66 และ 68  ประโยชน์ของ ตรวจ HPV ระบุสายพันธุ์ HPV 14 สายพันธุ์เสี่ยงสูง  เป็นประโยชน์ในการตรวจติดตามการรักษาผู้ที่เคยติดเชื้อแล้วตรวจพบไวรัส HPV  ว่าร่างกายสามารถกำจัดเชื้อได้ (Clearance) หรือยังคงติดเชื้อซ้ำ HPV สายพันธุ์เดิมไม่สามารถกำจัดได้ (Persistence) ซึ่งการติดเชื้อซ้ำนี้มีโอกาสเพิ่มการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้  สามารถบอกถึงภาวะติดเชื้อร่วมหลายสายพันธุ์ (Co-infection) ได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ตรวจข้อมูลสายพันธุ์ของเชื้อ HPV  สามารถมีข้อมูลเลือกวัคซีนที่เหมาะสมในการป้องกันได้ สามารถเก็บข้อมูลระบาดวิทยาของ HPV แต่ละสายพันธุ์ได้  […]


โรคติดเชื้อเอชพีวี

ตารางเปรียบเทียบชนิด วัคซีน HPV

ตารางเปรียบเทียบชนิด วัคซีน HPV กลุ่มเป้าหมายหลักที่แนะนำให้ฉีด วัคซีน HPV วัคซีน HPV หรือวัคซีนมะเร็งปากมดลูกสามารถเริ่มฉีดให้ทุกคนทั้งเพศหญิง และเพศชาย ได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีเป็นต้นไป ดังนี้ อายุ 9-15 ปี ฉีด 2 เข็ม ที่ 0, 6-12 เดือน จากการฉีดเข็มแรก อายุมากกว่า 15 ปี ฉีด 3 เข็ม โดยฉีดแต่ละเข็มในเดือนที่ 0, 2 และ 6 จากการฉีดเข็มแรก กลุ่มอื่นที่แนะนำให้ฉีดวัคซีน คือ หญิงและชายที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ติดเชื้อเอชไอวี หญิงที่เคยมีผล Pap smear หรือ HPV testing ผิดปกติหรือ เคยเป็นรอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูก หรือเคยเป็นหูดหงอนไก่มาก่อน ทั้งนี้ สำหรับกล่มุหญิงอายุ 26-45 ปีหรือหญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว แพทย์จะพิจารณาการฉีดวัคซีนเป็นราย ๆไป โดยตัดสินใจร่วมกันกับผู้ต้องการฉีดวัคซีนหลังทราบข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวีและประโยชน์ของการฉีดวัคซีน TH-GSL-00271 05/2023

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน