backup og meta

โภชนาการสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV อะไรควรกิน อะไรต้องระวัง

โภชนาการสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV อะไรควรกิน อะไรต้องระวัง

โภชนาการสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV มีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน และความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรค การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ยังช่วยให้รักษาน้ำหนักร่างกายในระดับที่เหมาะสม และยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ จากการติดเชื้อ HIV เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน โรคมะเร็ง

[embed-health-tool-bmi]

โภชนาการสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV สำคัญอย่างไร

โภชนาการที่ดีในอาหารที่ดีต่อสุขภาพมีประโยชน์หลายประการ สามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตโดยรวมได้ โดยการให้สารอาหารที่ร่างกายต้องการ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น เพื่อให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยควบคุมอาการภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวี และช่วยควบคุมอาการข้างเคียงจากการให้ยาได้

โภชนาการสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV มีอะไรบ้าง

อาหารที่ดีประกอบด้วยอาหารประเภทต่างๆ ที่สมดุล ดังต่อไปนี้

อาหารประเภทแป้ง

ควรเลือกรับประทานขนมปัง มันสำปะหลัง ธัญพืช กล้วยสีเขียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด มันฝรั่ง พาสต้า ข้าว และมันเทศ ให้มากขึ้น แป้งควรเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของอาหาร ประมาณหนึ่งในสามของอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน อาหารที่มีส่วนประกอบของแป้ง จะให้คาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน รวมทั้งแร่ธาตุ วิตามิน และใยอาหาร อาหารบางประเภทที่อุดมไปด้วยแป้ง ใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ ได้แก่ ธัญพืชไม่ขัดสี จำพวกข้าว พาสต้า และขนมปัง

ผักและผลไม้

ผักและผลไม้อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหารจำนวนมาก ควรพยายามรับประทานผลไม้และผักให้ได้ห้าส่วนหรือมากกว่าในแต่ละวัน นอกจากนี้ ผลไม้และผักยังสามารถช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และป้องกันมะเร็งและโรคหัวใจ ข่าวดีสำหรับผู้ที่กำลังพยายามลดน้ำหนัก คือ ผลไม้และผักมีไขมันต่ำและมีน้ำตาลที่เป็นประโยชน์ โดยสามารถควบคุมน้ำหนัก และได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ได้ในเวลาเดียวกัน

ไขมัน

ไขมันพบได้ในน้ำมันสำหรับปรุงอาหาร เนย และมาร์การีน เนื้อสัตว์ และอาหารอื่นๆ ที่มีส่วนประกอบพื้นฐานเป็นโปรตีน เป็นแหล่งพลังงาน กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย และวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน (วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค) ให้พยายามรับประทานไขมัน ‘ไม่อิ่มตัว’ เช่น ไขมันที่พบได้ในน้ำมันตับปลา ถั่ว และเมล็ดพืช ผลอะโวคาโด น้ำมันมะกอก และน้ำมันพืช ไขมัน ‘อิ่มตัว’ ที่พบได้ในเนื้อสัตว์ เนยแข็ง เนย และอาหารแปรรูปต่างๆ จะเพิ่มคลอเรสเตอรอลในร่างกาย จึงควรรับประทานในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น

ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม

อาหารจำพวกนี้ ได้แก่ นม ชีส และโยเกิร์ต และเป็นแหล่งของวิตามิน แร่ธาตุ และโดยเฉพาะแคลเซียม ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมบางชนิดมีไขมันอิ่มตัวในปริมาณสูง ดังนั้น ควรรับประทานในปริมาณเล็กน้อย หรือควรรับประทานนม เนยแข็ง และโยเกิร์ตที่มีไขมันต่ำ หากไม่สามารถรับประทานนมได้ ถั่วเหลือง น้ำนมข้าวหรือน้ำนมข้าวโอ๊ต ผักใบเขียวเข้ม ลูกพรุนแห้ง ผลแอปพลิคอต และถั่ว ล้วนแล้วแต่เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดี

ระวัง! อาหารที่มีไขมันและเกลือในปริมาณสูง

ไม่เพียงแต่อาหารที่มีไขมันสูงเท่านั้น แต่น้ำตาลก็ควรเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยในมื้ออาหารเช่นกัน ไขมันและน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้น้ำหนักร่างกายเพิ่มขึ้น อันส่งผลเสียต่อสุขภาพ เกลือ และอาหารรสเค็มอาจก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง หากรับประทานในปริมาณมาก และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดโรคหัวใจ ผู้ใหญ่และเด็กที่อายุสิบเอ็ดปีขึ้นไป ควรบริโภคเกลือไม่เกิน 6 กรัมต่อวัน และเด็กที่อายุต่ำกว่านี้ ควรบริโภคเกลือในปริมาณที่น้อยลง

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยให้รับมือกับเชื้อเอชไอวี และช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น อย่าลืมรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Nutrition and food safety. https://www.aids.gov/hiv-aids-basics/staying-healthy-with-hiv-aids/taking-care-of-yourself/nutrition-and-food-safety/. Accessed March 17, 2023.

HIV and nutrition. http://www.unicef.org/nutrition/index_HIV.html . Accessed March 17, 2023.

Nutrition and HIV/AIDS. http://www.webmd.com/hiv-aids/guide/nutrition-hiv-aids-enhancing-quality-life . Accessed March 17, 2023.

The benefits of good nutrition for people and families living with HIV/AIDS. https://www.fao.org/3/y4168E/y4168e04.htm. Accessed March 17, 2023.

HIV and Nutrition and Food Safety. https://hivinfo.nih.gov/understanding-hiv/fact-sheets/hiv-and-nutrition-and-food-safety. Accessed March 17, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/03/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการโรคเอดส์ สาเหตุ การรักษาและวิธีป้องกัน

ตรวจ HIV วิธีสังเกตอาการและการดูแลตัวเอง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 17/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา