backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ

1

ถามคุณหมอ
บันทึก

ประจําเดือนตกค้าง คืออะไร อันตรายหรือไม่

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์ · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 27/03/2024

ประจําเดือนตกค้าง คืออะไร อันตรายหรือไม่

ประจําเดือนตกค้าง คืออะไร ? อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย ประจำเดือนตกค้าง คือ เลือดและเยื่อบุโพรงมดลูกเก่าที่ตกค้างและออกมาช่องคลอดหลังจากที่ประจำเดือนหมด โดยอาจมีลักษณะเป็นก้อนเลือดสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ คล้ายกากกาแฟ ซึ่งมักจะไม่ส่งผลอันตรายใด ๆ

อย่างไรก็ตาม หากสังเกตพบความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็น ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีอาการคันช่องคลอด ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดและทำการรักษาในทันที

ประจําเดือนตกค้าง คืออะไร

ประจําเดือนตกค้าง คือ เลือดเก่าที่ตกค้างในมดลูก มีลักษณะเป็นก้อนเลือดสีดำหรือน้ำตาลเข้มคล้ายกากกาแฟ ที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) ระหว่างเลือดประจำเดือนกับอากาศ ทำให้เลือดมีสีคล้ำขึ้น

ประจําเดือนตกค้าง กี่วัน

โดยทั่วไป ร่างกายมักจะขับประจำเดือนตกค้างออกมาภายใน 1-2 วัน หลังหมดประจำเดือนหรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคล

ประจําเดือนตกค้างอันตรายหรือไม่

ประจําเดือนตกค้างเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและมักจะไม่ส่งผลอันตรายใด ๆ แต่ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เนื้องอกมดลูก การแท้งบุตร ดังนั้น จึงควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและตรวจสุขภาพช่องคลอดอย่างละเอียด

ประจำเดือนตกค้างที่ควรพบคุณหมอคืออะไร

อาการประจำเดือนผิดปกติที่ควรพบคุณหมอ มีดังนี้

  • สีประจำเดือนผิดปกติ เช่น สีแดงปนดำ สีน้ำตาล สีชมพู สีส้ม สีเทา รวมถึงประจำเดือนมามากกว่าปกติจนจำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง
  • รอบเดือนสั้นกว่า 21 วัน หรือเป็นประจำเดือนหลายครั้งภายในเดือนเดียว
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือประจำเดือนขาดนานกว่า 3 เดือน
  • ประจำเดือนมีลักษณะเป็นลิ่มเลือดขนาดใหญ่
  • ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็นและมีตกขาวผิดปกติ เช่น ตกขาวสีเทา ตกขาวสีเหลือง ตกขาวสีเขียว ตกขาวเป็นก้อนคล้ายนมบูด
  • อาการคันในช่องคลอด
  • ปวดท้องเกร็งรุนแรง
  • มีไข้ วิงเวียนศีรษะ อาเจียนและเหนื่อยล้าง่าย
  • เจ็บหน้าอกหรือหายใจลำบากในระหว่างเป็นประจำเดือนหรือประจำเดือนหมด

การตรวจภายใน

การตรวจภายใน อาจช่วยให้ทราบว่าสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนตกค้างบ่อยคืออะไร เพื่อเข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็วก่อนเสี่ยงเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น อุ้งเชิงกรานอักเสบ มะเร็งมดลูก ภาวะมีบุตรยาก

การวินิจฉัยสุขภาพช่องคลอด อาจทำได้ดังนี้

  • การตรวจเลือด เพื่อหาว่ามีความเสี่ยงเป็นภาวะโลหิตจางที่ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรือไม่ รวมถึงตรวจหาสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้ประจำเดือนมาผิดปกติ
  • อัลตราซาวด์อุ้งเชิงกราน เพื่อตรวจหาเนื้องอกเนื้องอกมดลูก ติ่งเนื้อในโพรงมดลูกที่อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนตกค้างบ่อย
  • การตรวจชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก คุณหมออาจเก็บตัวอย่างเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อนำไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง
  • ทดสอบการทำงานของรังไข่ เพื่อวัดปริมาณของฮอร์โมนเอฟเอสเอช (Follicle Stimulating Hormone) และฮอร์โมนแอลเอช (Lutenizing hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญของไข่ หากมีระดับต่ำเกินไปอาจส่งผลต่อการมีประจำเดือนได้
  • ทดสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์ เป็นการวัดปริมาณฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ หากระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติอาจส่งผลให้ประจำเดือนขาดและประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอได้
  • ทดสอบระดับฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง มีผลต่อฮอร์โมนควบคุมการตกไข่ หากระดับฮอร์โมนโปรแลคตินสูง อาจทำให้การตกไข่ผิดปกติ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ และประจำเดือนตกค้างได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 27/03/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา