backup og meta

สารระคายเคืองผิวหนัง ที่พบมากที่สุด

สารระคายเคืองผิวหนัง ที่พบมากที่สุด

สารระคายเคืองผิวหนัง ที่พบมากที่สุด อาจอยู่ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น สบู่ ครีมทาหน้า ครีมกันแดด ยาสระผม ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ คัน สิว รอยแดง ดังนั้น การรู้เกี่ยวกับสารระคาบเคืองผิว รวมถึงใส่ใจกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ภายในบ้าน อาจช่วยให้หลีกเลี่ยงสารระคายเคืองที่ส่งผลต่อผิวได้

สารระคายเคืองผิวหนัง ที่พบมากที่สุด

ผิวหนังที่มีความไวต่อการระคายเคือง อาจทำให้เกิดอาการคัน ผื่นคัน รอยแดง และอาการบวมได้ทันทีหลังจากสัมผัสสารเคมี สารทำความสะอาด โลชั่น หรือครีมบางชนิด การศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อผิวหนังอาจช่วยให้คุณป้องกันปัญหาที่เกี่ยวกับอาจเกิดกับผิวหนังได้ก่อนที่อาการจะรุนแรงขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่อาจพบสารระคายเคืองผิวได้มากที่สุดอาจได้แก่

1. สบู่

สบู่อาจมีส่วนประกอบของสารฟอมัลดีไฮด์ (Formaldehyde) ซึ่งเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่อาจทำให้ผิวหนัง ดวงตา และปอด เกิดการระคายเคืองได้ นอกจากนี้ สบู่ยังอาจทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ (Eczema) ได้ด้วย การทำความสะอาดผิวหนังด้วยสบู่มากเกินไป อาจทำให้ผิวหนังแห้งและแตกซึ่งหากไม่รักษาภาวะดังที่เกิดขึ้นทันทีอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ที่รุนแรงมากขึ้น เช่น มีเลือดออก ให้ลองใช้คลีนเซอร์ทำความสะอาดผิวที่มีฤทธิ์ไม่รุนแรง ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอมและสารเคมีต่าง ๆ หรือมีเพียงเล็กน้อย ในการทำความสะอาดผิวบริเวณที่แห้งและแตกอย่างสม่ำเสมอ อาจทำให้อาการดีขึ้นได้

2. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ เช่น น้ำยาทำความสะอาดเอนกประสงค์ น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักแห้ง น้ำยาฆ่าเชื้อโรคในห้องน้ำ น้ำยาทำความสะอาดกระจก หรือน้ำยาขัดเฟอร์นิเจอร์ อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนังได้ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ไม่มีส่วนประกอบของสีและน้ำหอมดีต่อผิวที่ระคายเคืองง่าย ดังนั้น ลองใช้น้ำกับน้ำส้มสายชูและเบคกิ้งโซดา ซึ่งเป็นสารทำความสะอาดตามธรรมชาติ แต่ควรสวมใส่ถุงมือก่อนทำความสะอาด และล้างอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยน้ำสะอาดให้หมดจดหลังจากใช้สารเคมี

3. ความร้อน

ความร้อนอาจส่งผลต่อผิวหนังได้เช่นกัน เช่น อากาศร้อน อาจทำให้ร่างกายจะเหงื่อออกมากขึ้น ดังนั้น ปัญหาผิวหนังที่สัมพันธ์กับเหงื่อ เช่น รอยแดง ผื่น อาการคัน อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้าย เพื่อให้ระบายอากาศได้ดี และไม่ทำให้เหงื่อหมักหมม นอกจากนี้ ควรอาบน้ำทันทีหลังจากทำกิจกรรมที่มีเหงื่อออก เช่น ออกกำลังกาย

4. อาหาร

อาหารอาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังได้ ซึ่งอาการต่าง ๆ อาจมีได้ตั้งแต่ลมพิษไปจนถึงผื่นคัน หากมีบาดแผลที่มือ ให้พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสส่วนผสมที่เผ็ดร้อนและเป็นกรด ในบางกรณี ผิวหนังที่เปื้อนน้ำมะนาวเมื่อเจอกับแสงแดดอาจทำให้เกิดอาการแสบอย่างรุนแรงได้

5. ครีมทาหน้า

ควรระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้ครีมหรือสารอะไรก็ตามที่ทาลงบนผิวหน้า ควรหลีกเลี่ยงครีม โลชั่น และคลีนเซอร์ทำความสะอาดผิวที่มีส่วนผสมของกรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) สารกันเสียพาราเบน (Paraban Preservatives) กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) กรดมาลิก (Malic Acid) และกรดแลคติก (Lactic Acid) ดังนั้น หากมีรอยแดง รอยไหม้ อาการคัน หรือผื่นคัน ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อวินิจฉัยว่า ตัวเองมีความผิดปกติเกี่ยวกับผิวหนังหรือไม่

6. ครีมกันแดด

แม้ครีมกันแดดอาจช่วยป้องกันผิวหนังจากความเสียหายที่เกิดจากรังสียูวีเอและยูวีบีได้ แต่ครีมกันแดดประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด เช่น กรดพาราอะมิโนเบนโซอิก (Para-Aminobenzoic Acid หรือ PABA) ซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่พบได้มากที่สุด อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงครีมกันแดดที่มีส่วนประกอบของกรดพาราอะมิโนเบนโซอิก ควรทาครีมกันแดดที่มีส่วนประกอบของสารซิงก์ออกไซด์ (Zinc Oxide) ที่มีค่า SPF 30 หรือมากกว่า และสังเกตฉลากที่ระบุว่าเป็น Broad Spectrum สำหรับในเด็กนั้นควรปรึกษาคุณหมอก่อนให้เด็กใช้ครีมกันแดด

7. ยาง

ส่วนผสมที่เป็นยางอาจพบได้ในถุงยางอนามัย ถุงมือยาง สายรัดเอว หรือสายเสื้อชั้นใน ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังในผู้ที่มีอาการแพ้วัสดุที่ทำจากยาง

8. กระดาษทิชชู่เปียก

กระดาษทิชชู่เปียกเป็นกระดาษแบบใช้แล้วทิ้ง ใช้สำหรับทำความสะอาดผิว กระดาษทิชชู่เปียกอาจมีส่วนประกอบเป็นแอลกอฮอล์ น้ำหอม หรือวัตถุกันเสีย ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนังหรือโรคผิวหนังได้ การใช้ผ้าชุบน้ำเพื่อเช็ดทำความสะอาดผิวอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม ผ้าที่นำมาใช้เช็ดทำความสะอาดควรซักให้สะอาดและตากให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้ครั้งต่อไป นอกจากนี้ การรีดยังอาจช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้

9. ยาสระผม

ยาสระผมที่มีส่วนประกอบของสารพาทาเลต (Phthalates) สารฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) และสารไดอ็อกเซน 1,4 (1,4 Dioxane) อาจทำให้เกิดภาวะเกี่ยวกับสุขภาพบางประการได้ ดังนั้น ควรดูฉลากและเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบเป็นสารจากธรรมชาติ รวมทั้งหลีกเลี่ยงส่วนประกอบที่เป็นน้ำหอมและสารเคมีต่าง ๆ

10. น้ำยาปรับผ้านุ่ม

น้ำยาปรับผ้านุ่มมีส่วนประกอบเป็นสารเคมีและสารให้ความหอมต่าง ๆ เช่น เบนซิล อะซิเตท (Benzyl Acetate) ซึ่งสารเบนซิล อะซิเตท อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง ดวงตา คอ หรือจมูก ดังนั้น หากมีผิวหนังแพ้ง่าย ควรระมัดระวังในการใช้หรือสัมผัส

11. สเปรย์ไล่แมลง

ในบางครั้ง สเปรย์ไล่แมลงอาจทำให้เกิดการระคายเคืองในผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย นาอกจากนี้ การใช้สเปรย์ไล่แมลงร่วมกับครีมกันแดดอาจทำให้ผิวหนังดูดซึมสารเคมีต่าง ๆ ได้มากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดความระคายเคืองได้ง่ายกว่า

12. นิกเกิล

นิกเกิลเป็นวัสดุที่ใช้ทำเครื่องประดับ สายนาฬิกาข้อมือ และซิป หากแพ้นิกเกิลยังส่งผลทำให้แพ้อาหารเสริมและวัสดุปลูกถ่ายต่าง ๆ ที่มีส่วนประกอบของนิกเกิลได้ด้วยเช่นกัน

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Dirty Dozen: The 12 Most Common Skin Irritants. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/features/dirty-dozen#1. Accessed March 11, 2017.

Slideshow: 11 Common Causes of Skin Rashes. http://www.webmd.com/children/ss/slideshow-skin-irritants. Accessed March 11, 2017.

Combating Common Skin Irritants. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/skin-irritants#1. Accessed March 11, 2017.

Slide show: Common skin rashes. https://www.mayoclinic.org/skin-rash/sls-20077087. Accessed March 21, 2022

Irritant contact dermatitis. https://dermnetnz.org/topics/irritant-contact-dermatitis. Accessed March 21, 2022

Dermatitis, Irritant Contact. https://www.ccohs.ca/oshanswers/diseases/dermatitis.html. Accessed March 21, 2022

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/03/2022

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฝีคัณฑสูตร คือ อะไร อาการและวิธีการรักษามีอะไรบ้าง

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจากการแพ้อาหาร เกิดขึ้นได้อย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 21/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา