backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

น้ำหมึก กับผลกระทบต่อสุขภาพที่ควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 05/04/2022

น้ำหมึก กับผลกระทบต่อสุขภาพที่ควรรู้

น้ำหมึก คือ สารเคมีที่พบได้ทั่วไป เช่น ในปากกาเน้นข้อความ ในปากกาหมึกซึม รวมไปถึงน้ำหมึกที่ใช้ในการสัก อย่างไรก็ตาม น้ำหมึกก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะสุขภาพบางประการได้เช่นกัน

อาการที่เกิดขึ้นจากน้ำหมึก

การได้รับน้ำหมึกปากกาเข้าสู่ร่างกายผ่านทางช่องปากด้วยการกินน้ำหมึกเข้าไปอาจไม่น่ากังวลนัก เพราะข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ปากกาหัวบอล ปลายปากกา และปากกาหมึกซึม มีน้ำหมึกน้อยมากจนไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดพิษหากดูดจากปากกา น้ำหมึก บางชนิดอาจทำให้เจ็บในปาก และน้ำหมึกจำนวนมากที่กลืนเข้าไปจากขวดอาจทำให้ระคายเคือง แต่ยังไม่มีรายงานว่าเป็นพิษร้ายแรง หากคุณกลืนน้ำหมึกเข้าไป ทางองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ดื่มน้ำ และระบุว่าไม่จำเป็นต้องทำอะไรอีก

น้ำหมึกจากปากกา ปากกาเน้นข้อความ และปากกาอื่น ๆ ถือว่ามีพิษน้อยที่สุด และมีพิษในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะไม่มีพิษ อาการที่เกิดขึ้นจากการดูดน้ำหมึกปากกาเข้าปากโดยไม่ตั้งใจ มักจะเกิดขึ้นที่ผิวหนัง ทำให้ลิ้นเป็นคราบ และอาจทำให้ปวดท้องเบา ๆ (Mild Stomach Upset) ส่วนน้ำหมึกในตลับเครื่องพิมพ์ และแผ่นประทับจะมีปริมาณน้ำหมึกมากกว่าน้ำหมึกจากปากกา ซึ่งถ้าได้รับน้ำหมึกจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งจาก 2 สิ่งนี้ ควรไปพบคุณหมอทันที

ผลกระทบของน้ำหมึกที่ส่งผลต่อผิวหนัง

น้ำหมึก เป็นพิษไม่ได้เกิดจากการใช้น้ำหมึกวาดภาพลงบนผิวหนัง น้ำหมึกอาจเปื้อนผิวหนังชั่วคราว แต่จะไม่เป็นพิษต่อผิวหนัง

ผลกระทบของน้ำหมึกที่ส่งผลต่อตา

การระคายเคืองตาจาก น้ำหมึก มักเป็นปัญหาที่พบบ่อยมากกว่าการระคายเคืองที่ผิวหนัง หากรู้สึกว่ามีน้ำหมึกกระเด็นเข้าตา ให้รีบล้างตาที่ระคายเคืองด้วยน้ำเย็น จนกว่าอาการเคืองตาจะหายไป เมื่อน้ำหมึกกระเด็นเข้าตา อาจทำให้ตาขาวเปื้อนน้ำหมึกชั่วคราว แต่น้ำหมึกในตาจะไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนถาวร หรือในระยะยาว แต่ถ้าล้างตาแล้วยังคงมีอาการระคายเคืองอยู่ หรือมีอาการตราพร่ามัว  ควรต้องไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด

น้ำหมึกกับรอยสัก

จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาในปี 2015 พบว่า 29 เปอร์เซ็นต์ของชาวอเมริกัน มีรอยสักอย่างน้อย 1 ลาย และในจำนวนนั้นมี 69 เปอร์เซ็นต์ที่มีรอยสัก 2 ลายขึ้นไป จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration หรือ FDA) ระบุว่า สิ่งที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้น้ำหมึกที่ใช้ในการสัก คือ การปฏิบัติที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อุปกรณ์ที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ น้ำหมึกที่ใช้ในการสักหรือสีย้อมที่อาจจะมีการปนเปื้อนจากเชื้อราหรือแบคทีเรีย ซึ่งสิ่งนี้อาจทำให้เกิดอาการแพ้น้ำหมึก และการติดเชื้อได้

องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาพิจารณาว่า น้ำหมึกที่ใช้ในการสัก ถือเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ไม่มีเม็ดสี แต่มีส่วนผสมที่ช่วยเพิ่มสี ใช้สำหรับฉีดเข้าผิวหนัง เพื่อจุดประสงค์ทางเครื่องสำอางที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา

อาการแพ้น้ำหมึก และการติดเชื้อ

หลังเข้ารับการสัก อาจสังเกตเห็นผื่นในบริเวณที่มีรอยสัก ซึ่งนี่อาจเป็นอาการแพ้น้ำหมึก หรือการติดเชื้อ จากข้อมูลของ Mayo Clinic พบว่า เม็ดสีที่ก่อให้เกิดอาการแพ้น้ำหมึกทางผิวหนัง ได้แก่

  • สีแดง
  • สีเหลือง
  • สีเขียว
  • สีน้ำเงิน

สำหรับการติดเชื้อที่มีการลุกลาม อาจมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น

  • ไข้สูง
  • เหงื่อออก
  • หนาวสั่น
  • กระวนกระวาย

การรักษาอาการ รอยสักติดเชื้อ มักจะใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ก็อาจจะต้องมีการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รวมถึงอาจจะต้องมาการผ่าตัดร่วมด้วย

ควรทำอย่างไรหากมี อาการแพ้น้ำหมึก ที่ใช้ในสัก

เมื่อไปสักมาแล้วมีอาการแพ้น้ำหมึกที่ใช้ในการสัก ขั้นตอนแรกที่ควรทำ คือ เข้ารับการวินิจฉัยและการรักษาโรคกับคุณหมอ การวินิจฉัยสามารถระบุได้ว่า อาการแพ้น้ำหมึกเกิดจากปฏิกิริยาที่เกิดจากน้ำหมึก หรือปัจจัยอื่น ๆ เช่น การใช้งานที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ส่วนขั้นตอนต่อไป คือ การพูดคุยกับช่างสักด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ

  • คุณหมออาจต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับน้ำหมึกที่ใช้ในการสัก เช่น ยี่ห้อ และเลขที่ครั้งที่ผลิต (Batch Number)
  • ช่างสักอาจต้องการรู้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการแพ้น้ำหมึกที่ใช้ในการสัก เพื่อจะได้ไม่นำมาใช้อีก

สรุปได้ว่า น้ำหมึกจากปากกาและปากกาเน้นข้อความถือว่ามีพิษน้อยที่สุด และเป็นไปได้ยากที่จะสัมผัสกับน้ำหมึกในปริมาณมาก ดังนั้น ความเป็นไปได้ที่จะได้รับพิษจากน้ำหมึกจากการกินหมึกจากปากกา หมึกปากกาโดนผิวหนังหรือเข้าตา จึงมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ความเป็นไปได้ที่จะได้รับพิษจากน้ำหมึกที่ใช้ในการสัก อาการแพ้น้ำหมึกที่ใช้ในการสัก มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยและความสะอาดของช่างสักและร้านค้ามากกว่าตัวน้ำหมึกเอง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 05/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา