- ความเครียด
- แมลงกัดต่อย
- การระคายเคืองจากพืช เช่น ใบตำแย
- การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
- แสงแดด
- การติดเชื้อ เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่ หรือเชื้อหวัด
- ยาบางชนิด ส่วนใหญ่แล้วยาแอสไพรินและไอบูโพเฟน (Ibuprofen) ยาลดความดันโลหิตบางชนิด (ACE Inhibitors) และโคเดอีน เป็นยาที่มักเกี่ยวข้องกับอาการลมพิษ
- อาการของโรคบางอย่าง
การระบุปัจจัยที่ทำให้เกิด ลมพิษ เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะเมื่อสามารถระบุปัจจัยที่ทำให้แพ้ได้แล้ว ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นได้ โดยทั่วไปแล้ว ลมพิษ มักจะหายไปได้ภายใน 24 ชั่วโมง แต่ก็อาจมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้อาการลมพิษแย่ลง ซึ่งควรต้องระวัง ได้แก่
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- คาเฟอีน
- ความเครียด
- อุณหภูมิภายนอกสูงเกินไป
การดูแลตัวเองเบื้องต้นเพื่อรักษาอาการลมพิษ
ส่วนใหญ่แล้วเมื่อเกิดลมพิษ สิ่งที่ควรทำคือ การบรรเทาอาการคันและระคายเคือง ซึ่งมีหลายวิธีที่สามารถใช้เพื่อรักษาอาการลมพิษได้ด้วยตนเอง เช่น
การประคบเย็นจะช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองได้ โดยอาจใช้ผ้าขนหนูห่อน้ำแข็ง วางไว้ตรงผิวบริเวณที่เป็นลมพิษ ประมาณ 10 นาที และทำซ้ำตลอดวัน จะช่วยบรรเทาอาการคันและลดอาการอักเสบ
การใช้เนื้อว่านหางจระเข้โปะลงบริเวณผิวที่เป็นลมพิษ จะช่วยปลอบประโลมผิวและลดอาการลมพิษ แต่อย่างไรก็ตาม ควรลองทดสอบโดยการทาว่านหางจระเข้ลงบนผิวในปริมาณน้อย ก่อนที่จะทาว่านหางจระเข้ลงบนผิวบริเวณที่เป็นลมพิษทั้งหมด
วิชฮาเซล (Witch Hazel) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่อุดมด้วยสารแทนนิน มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ และเป็นสารกระชับรูขุมขน หรือแอสตริงเจนท์ (Astringent) ตามธรรมชาติที่ช่วยเยียวยาผิวได้ จึงอาจมีส่วนช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองของลมพิษได้ โดยสามารถซื้อหาสารสกัดวิทฮาเซลได้ในร้านขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ หรือจากร้านค้าออนไลน์ที่เชื่อถือได้ วิธีการใช้คือ ใช้สำลีแผ่นชุบวิชฮาเซลแล้วแต้มลงบนผื่นคันโดยตรง จะช่วยบรรเทาอาการคันและอักเสบได้
เบกกิ้งโซดาเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีโซเดียมไบคาร์บอเนต นิยมใช้เพื่อทำความสะอาดผิวและบรรเทาอาการระคายเคืองผิวหนังมาตั้งแต่โบราณ วิธีใช้คือ ผสมเบกกิ้งโซดากับน้ำเย็นเล็กน้อยให้ได้เนื้อข้น ๆ ทาลงบนผิว ปล่อยให้แห้งแล้วจึงล้างออก วิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการคันและช่วยไม่ให้ผื่นลุกลาม
-
หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวกระตุ้น
ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหรือทำความสะอาดผิวหลายชนิด เช่น สบู่ น้ำหอม โลชั่น ครีมบำรุงผิว อาจมีส่วนผสมที่ก่อให้เกิดลมพิษ ได้ หากสภาพผิวหนังมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการแพ้ได้ง่าย ให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิวหรือผลิตภัณฑ์สำหรับผู้มีผิวแพ้ง่าย และอาจพยายามหลีกเลี่ยงส่วนผสมที่เป็นน้ำหอมหรือสารให้ความหอม เพราะมีแนวโน้มจะทำให้ผิวระคายเคืองได้มากที่สุด
ความร้อนทำให้อาการคันแย่ลง ดังนั้น ผู้ที่เป็น ลมพิษ จึงควรสวมเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าเบาสบาย ระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน และอยู่ในห้องที่อุณหภูมิเย็นสบาย รวมถึงหลีกเลี่ยงแสงแดดด้วย
ยารักษาอาการ ลมพิษ
หากการเยียวยาอาการลมพิษด้วยวิธีธรรมชาติไม่ได้ผล อาจต้องใช้ยารักษา ยาเหล่านี้อาจใช้เพื่อรักษาอาการต่าง ๆ จากลมพิษ ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
1. คาลาไมน์โลชั่น
ผลิตภัณฑ์ที่มีคาลาไมน์จะช่วยทำให้ผิวเย็นลง จึงสามารถบรรเทาอาการคันได้ โดยทาคาลาไมน์โลชั่นผิวหนังบริเวณที่เป็น ลมพิษ ได้เลย
2. ยาไดเฟนไฮดรามีน
ยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) เป็นยาต้านฮิสตามีนแบบรับประทาน สามารถช่วยลดผื่นและอาการอื่น ๆ เช่น อาการคัน ด้วยการรักษาจากภายในสู่ภายนอก ให้ทำตามคำแนะนำในการรับประทานยา ยาจะออกฤทธิ์ภายในเวลา 1 ชั่วโมง และอาการลมพิษจะดีขึ้น ข้อควรระวัง คือ การรับประทานยานี้อาจทำให้ง่วงซึม
3. ยาเฟกโซเฟนาดีน ยาลอราทาดีน และยาเซทิไรซีน
ยาเฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) ยาลอราทาดีน (Loratadine) และยาเซทิไรซีน (Cetirizine) เป็นยาต้านฮีลตามีนที่จะออกฤทธิ์ภายใน 12 หรือ 24 ชั่วโมง และมีแนวโน้มที่จะทำให้ง่วงนอนน้อยกว่ายาไดเฟนไฮดรามีน
อาการแบบไหนที่ควรไปพบคุณหมอ
ปกติอาการลมพิษจะหายไปภายในเวลา 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่หากเป็นลมพิษ และมีอาการของอาการแพ้รุนแรงเหล่านี้ร่วมด้วย ให้รีบไปพบคุณหมอทันที
- วิงเวียนศีรษะ
- บวมบริเวณคอหรือใบหน้า
- หายใจลำบาก
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย