คุณเคยรู้สึกอึดอัดและไม่มั่นใจกับตัวเองในเช้าวันใหม่บ้างหรือไม่ จะลุก จะเดิน จะนั่ง จะทำอะไรก็หงุดหงิด อึดอัดไปเสียหมด บางทีความไม่สบายกายไม่สบายใจเหล่านั้น อาจมีสาเหตุมาจากอาการ “ท้องผูก’ เจ้าปัญหาที่คุณกำลังมองข้ามอยู่ก็ได้นะ
รู้จักกับอาการ “ท้องผูก’
อาการท้องผูก เป็นอาการทางสุขภาพโดยปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศและทุกวัย คุณสามารถที่จะจับสังเกตความผิดปกติด้วยตัวเองได้ โดยเฉพาะถ้าหากคุณไม่มีการขับถ่ายเลย 3 วันขึ้นไป มีความรู้สึกว่าขับถ่ายได้ลำบาก และยากขึ้นในแต่ละครั้ง ต้องออกแรงในการเบ่ง ต้องใช้ตัวช่วยหลายวิธีในการ ขับถ่าย และเมื่ออุจจาระออกมา กลับพบว่า อุจจาระออกมาน้อย มีลักษณะแห้ง และแข็ง หลังจากขับถ่ายแล้วก็ยังคงรู้สึกอึดอัดอยู่เช่นเดิมเหมือนกับว่าเมื่อสักครู่นี้ไม่ได้ ขับถ่าย เสียอย่างนั้น หากเป็นเช่นนี้ล่ะก็ สามารถสันนิษฐานแต่เนิ่น ๆ ได้เลยว่า คุณอาจกำลังมีอาการท้องผูก
เพราะอะไรเราจึงเกิดอาการท้องผูก
หลายคนอาจเข้าใจเพียงว่า อาการท้องผูกนั้นเกิดจากพฤติกรรมในการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว สาเหตุอาการท้องผูกมีได้หลากหลาย และส่วนมากมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น
- การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน ช่วงระหว่างการเดินทาง การท่องเที่ยว เกิดการเปลี่ยนแปลงการกิน การนอน ทำให้การทำงานของร่างกายผิดจากปกติ ลำไส้อาจทำงานลดลง อาการท้องผูกจากสาเหตุนี้ พบได้บ่อยมาก แต่หลายคนอาจไม่ตระหนักมากนัก
- พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ไม่เหมาะสม
- การรับประทานอาหารประเภทผัก ผลไม้ ธัญพืช ทานกากใยอาหารน้อยไป ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
- พฤติกรรมชีวิตคนยุคใหม่ เคลื่อนไหวร่างกายน้อย นั่งนาน หรือไม่ค่อยออกกำลังกาย
- ภาวะร่างกายอื่นๆ เช่น การตั้งครรภ์ ภาวะจิตใจ เช่น ความเครียด โรคความผิดปกติที่เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร โรคคลั่งผอม
บรรเทาอาการ “ท้องผูก’ อย่างไรได้บ้าง
การบรรเทาท้องผูกที่เหมาะสม คือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ การหาตัวช่วยที่เหมาะสม เพื่อทำให้ลำไส้ ระบบขับถ่ายทำงานได้ปกติมากที่สุด
- การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ โดยสามารถทำได้ ดังนี้
- รับประทานอาหารที่เหมาะสม เช่น ถั่ว ผัก ผลไม้ต่าง ๆ ธัญพืช หรือรำข้าว รวมถึงดื่มน้ำมากขึ้น
- เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายระหว่างวัน อย่าเอาแต่นั่งนิ่งอยู่กับที่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- จัดการกับความเครียดที่เผชิญอยู่
- เลือกยาระบายที่เหมาะสมเพื่อช่วยในการขับถ่าย
ยาระบายช่วยในการขับถ่ายได้อย่างไร
หลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้ว แต่อาการท้องผูกก็ยังไม่ดีขึ้นยกตัวอย่างเช่น 50% ของคนที่อยู่ระหว่างการเดินทาง เช่น ช่วงสงกรานต์หยุดไปท่องเที่ยว มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการกิน การนอน การทำงานของร่างกายถูกขัดขวาง ลำไส้ทำงานน้อยลง หลายคนจึงมีความจำเป็นต้องใช้ยาระบายเพื่อช่วยในการขับถ่าย ซึ่งตัวอย่างยาระบายที่มีในท้องตลาดเช่น
- กลุ่มที่เพิ่มกากใยอาหาร เช่น ไฟเบอร์ ธัญพืช
- กลุ่มที่เพิ่มน้ำในลำไส้ ทำให้อุจจาระอ่อนตัว
- กลุ่มที่เพิ่มการทำงานบีบตัวของลำไส้ช่วยให้เกิดการขับถ่ายได้ เช่น บิซาโคดิล
สำหรับการรับประทานยาระบายที่มีส่วนผสมของตัวยาชื่อ บิซาโคดิล (Bisacodyl) เมื่อรับประทานในปริมาณและช่วงเวลาที่คุณหมอหรือเภสัชกรแนะนำ ยาจะทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนไหว บีบตัว อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณน้ำและเกลือแร่ในลำไส้ ทำให้อุจจาระเริ่มอ่อนตัวลง และขับถ่ายออกมา โดยยาระบายจะมีการออกฤทธิ์ภายใน 6-12 ชั่วโมง หลังรับประทาน ดังนั้น คุณสามารถที่จะรับประทานยาแก้ท้องผูกก่อนเข้านอนเพื่อให้มีการ ขับถ่าย ในตอนเช้าได้
สังเกตว่าหลังจากระบบขับถ่ายเริ่มทำงานแล้ว การขับถ่ายรอบต่อๆไปจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ง่ายขึ้นด้วย
ความเชื่อที่ว่า ถ้าใช้ยาระบายเมื่อไหร่ ก็จะต้องใช้ยาระบายไปตลอด ไม่สามารถที่จะขับถ่ายด้วยตัวเองได้อีกต่อไปอาจจะไม่ถูกต้องนัก คำกล่าวที่บอกต่อกันมาเช่นนี้ จึงทำให้หลายคนเลือกที่จะมองข้ามยาระบายหรือแก้ท้องผูกไป ทั้งที่ความจริงแล้ว ทางผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ายาระบายได้รับการคิดค้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาในการ ขับถ่าย
และการใช้ยาระบายในปริมาณที่พอเหมาะ ในระยะเวลาที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร มีส่วนช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงาน และอาการท้องผูกดีขึ้น ดีกว่าปล่อยอาการท้องผูกทิ้งไว้
แต่…การใช้ยาปริมาณที่มากเกินไป หรือใช้ยาติดต่อกันนานเกินไปต่างหากจะทำให้เสี่ยงมีปัญหาต่อการทำงานของระบบขับถ่าย
ส่วนความเชื่อที่ว่า ถ้าใช้ยาระบายจะช่วยลดน้ำหนักตัวลดลงนั้น ทางผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าเป็นเพียงความเชื่อเก่า ๆ อีกเช่นกัน เพราะยาระบายไม่สามารถทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้ เนื่องจากมีการทำงานที่ลำไส้ กว่าที่ยาระบายจะเข้าสู่ร่างกาย ลำไส้เล็กก็ได้ดูดซึมเอาสารอาหารและพลังงานต่าง ๆ ออกไปจนเกือบหมดแล้ว ทำให้ยาระบายไม่สามารถส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหาร หรือเกิดสภาวะใด ๆ ที่จะทำให้น้ำหนักลดลง
จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่รีบแก้ไขอาการท้องผูก
- ผลเสียต่อร่างกาย ได้แก่ มีกากอาหารต่าง ๆ ตกค้างในลำไส้มาก การทำงานของระบบขับถ่ายน้อย กินอาหารเข้าไปแต่ลำไส้ยังคงไม่บีบตัวขับออก อุจจาระแข็งและอาจจะเกิดการขับถ่ายที่ลำบากหากทิ้งไว้นาน
- ผลเสียต่อความรู้สึก กังวลด้านสุขภาพ ไม่ถูกสุขลักษณะ คาดเดาไม่ได้ว่าจะถ่ายตอนไหน เกิดความกังวลตามมา
หลายคนมักเลือกที่จะมองข้ามปัญหาดังกล่าว ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือไม่หาตัวช่วยเพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้น เพราะความเข้าใจที่ว่า “เดี๋ยวก็หายไปเอง” แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากปล่อยให้อาการท้องผูกเกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรังตามมาได้อีกมากมาย อย่าง โรคริดสีดวงทวาร ภาวะอุจจาระอุดตัน ภาวะกลั้นอุจจาระไม่ได้ หรืออาจร้ายเเรงจนเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้น ปัญหาท้องผูกเล็กๆ ที่คุณมองข้ามมาโดยตลอด ก็อาจจะกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่อันตรายต่อร่างกาย และแก้ไขให้เป็นปกติได้ยากมากขึ้นกว่าเดิม
เมื่อเริ่มท้องผูก รีบรักษาแต่เนิ่นๆ
การมีสุขภาพการขับถ่ายที่ดีแบบไร้ปัญหา คุณสามารถเริ่มได้ด้วยตัวคุณเอง เพียงปรับความคิด เปลี่ยนวิถีชีวิต ก็สามารถพิชิตอาการท้องผูกไม่ให้มากวนใจคุณได้แล้ว
#รีแลกซ์ #บรรเทาท้องผูก #มั่นใจไปต่อได้
SATH.DULC1.20.02.0072
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmr]