backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

ถ่ายเป็นเลือด (Rectal Bleeding)

ถ่ายเป็นเลือด (Rectal Bleeding)
ถ่ายเป็นเลือด (Rectal Bleeding)

อาการที่มีเลือดออกทางทวารหนัก หรือ ถ่ายเป็นเลือด (Rectal Bleeding) ส่วนใหญ่มักได้รับการสันนิษฐานว่า เป็นเลือดที่ไหลมาจากลำไส้ส่วนล่างหรือไส้ตรง

คำจำกัดความ

ถ่ายเป็นเลือด คืออะไร

อาการถ่ายเป็นเลือด (Rectal Bleeding) หรือเลือดออกทางทวารหนัก หรืออุจจาระมีเลือดปน คืออาการที่มีเลือดไหลผ่านออกมาทางทวารหนัก ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเลือดที่ไหลจากลำไส้ส่วนล่างหรือลำไส้ตรง (Rectum)

อาการถ่ายเป็นเลือด อาจอยู่ในรูปแบบของเลือดที่ปนอยู่ในอุจจาระ ในกระดาษชำระ หรือในโถส้วม โดยเลือดที่เกิดจากภาวะถ่ายเป็นเลือดมักเป็นสีแดงสด แต่บางครั้งก็เป็นสีแดงอมน้ำตาล

ถ่ายเป็นเลือด พบได้บ่อยเพียงใด

อาการถ่ายเป็นเลือด ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่จะพบได้ในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย เช่น ท้องผูก อุจจาระแข็ง ริดสีดวงทวาร สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาคุณหมอ

อาการ

อาการ ถ่ายเป็นเลือด มีอะไรบ้าง

อาการที่ชัดเจนที่สุดของ อาการถ่ายเป็นเลือด คือ มีเลือดสีแดงติดมากับกระดาษชำระที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน หรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระในชักโครกหรือโถส้วม อย่างไรก็ตาม จำเป็นที่จะต้องสังเกตสีของเลือดและสีอุจจาระอยู่เสมอ เนื่องจากสามารถบ่งชี้ถึงลักษณะอาการต่าง ๆ ได้

  • เลือดสีแดงสด บ่งชี้ถึงอาการเลือดออกในบริเวณทางเดินอาหารส่วนล่าง เช่น ลำไส้หรือไส้ตรง
  • เลือดสีแดงคล้ำ หรือสีเหมือนไวน์ บ่งชี้ถึงอาการเลือดออกในบริเวณลำไส้เล็ก หรือลำไส้ส่วนต้น
  • อุจจาระสีดำและคล้ำ บ่งชี้ถึงอาการเลือดออกจากกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนบน

อาการอื่น ๆ ที่พบได้ในภาวะถ่ายเป็นเลือด ได้แก่

  • ความงุนงง
  • หน้ามืด
  • เวียนศีรษะ
  • ปวดบริเวณลำไส้ตรง (Rectal pain)
  • ปวดในช่องท้องหรือเป็นตะคริว (cramping)

อาจมี อาการถ่ายเป็นเลือด ลักษณะอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาคุณหมอ

ควรไปพบหมอเมื่อใด

คุณควรไปพบหมอหากมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีเลือดปนในอุจจาระของเด็กเล็กหรือเด็กทารก
  • มีเลือดปนในอุจจาระนานติดต่อกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์
  • อุจจาระมีลักษณะนิ่ม ฃฃฃฃฃฃฃฃฃฃฃฃฃฃฃฃฃบาง หรือยาวกว่าปกติ นานติดต่อกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์
  • มีอาการปวดรุนแรงที่บริเวณบั้นท้าย
  • มีอาการปวดหรือรู้สึกว่ามีก้อนในช่องท้อง
  • รู้สึกเหนื่อยกว่าปกติ
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

และควรไปพบคุณหมอทันที ถ้าหาก

  • อุจจาระมีสีดำหรือแดงคล้ำ
  • มีอาการท้องเสียเป็นเลือด โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

สาเหตุ

สาเหตุของอาการถ่ายเป็นเลือด

อาการถ่ายเป็นเลือด อาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ดังนี้

สาเหตุที่พบได้ทั่วไป 

  • แผลที่ทวารหนัก (Anal fissure)
  • ท้องผูกเรื้อรัง (Chronic constipation)
  • อุจจาระแข็ง (Hard stools)
  • ริดสีดวง (Hemorrhoids)

สาเหตุที่พบได้ไม่มากนัก

  • มะเร็งทวารหนัก (Anal cancer)
  • หลอดเลือดผนังลำไส้ใหญ่ขยายตัว (Angiodysplasia)
  • มะเร็งลำไส้ (Colon cancer)
  • ติ่งเนื้อในลำไส้ (Colon polyps)
  • โรคโครห์น (Crohn’s disease)
  • ไส้ตรงอักเสบ (Proctitis)
  • ลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อ (Pseudomembranous colitis)
  • การฉายแสง (Radiation therapy)
  • มะเร็งไส้ตรง (Rectal cancer)
  • แผลที่ผนังไส้ตรง (Solitary rectal ulcer syndrome)
  • โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (Ulcerative colitis)
  • ท้องเสีย (Diarrhea) ทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ทวารหนัก
  • โรคกระเปาะของลำไส้ใหญ่ (Diverticulosis) มีถุงนูนที่ก่อตัวขึ้นที่ผนังลำไส้
  • ลำไส้ใหญ่อักเสบ (Ischemic colitis) ลำไส้ใหญ่อักเสบจากการขาดเลือด

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของอาการถ่ายเป็นเลือด

ปัจจัยเสี่ยงของ อาการถ่ายเป็นเลือด มีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย ดังนี้

  • แก๊สในช่องท้อง การมีแก๊สในช่องท้องปริมาณมากจะเพิ่มแรงดันต่อทวารหนัก เสี่ยงที่จะเป็นโรคริดสีดวงทวารหนัก
  • โรคพิษสุราเรื้อรัง หากเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง เสี่ยงที่จะมีอาการเส้นเลือดบวมในหลอดอาหาร และเกิดการแตก ทำให้มีเลือดออกในหลอดอาหาร
  • อาการท้องผูก การอุจจาระไม่ออก หรืออุจจาระแข็งจนขับถ่ายไม่ออก เสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บขณะขับถ่ายจนทำให้มีเลือดปนออกมาเวลาที่มีการขับถ่าย
  • พันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคที่มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคโครห์น ลำไส้อักเสบ ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะพบกับ อาการถ่ายเป็นเลือด
  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้นหลอดเลือดในลำไส้จะอ่อนแอลง เสี่ยงที่จะมีอาการเลือดออกในลำไส้และปนมากับอุจจาระ

อาจมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษากับคุณหมอ

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยอาการถ่ายเป็นเลือด

คุณหมอสามารถทำการวินิจฉัย อาการถ่ายเป็นเลือด ได้หลายวิธี ดังนี้

  • ทำการซักประวัติว่าเริ่มมีอาการถ่ายเป็นเลือดเมื่อใด มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่
  • คุณหมอจะทำการตรวจโดยการสวมถุงมือและสารหล่อลื่นเข้าไปในทวารหนักเพื่อตรวจหาความผิดปกติ เช่น ริดสีดวงทวาร
  • คุณหมออาจทำการส่องกล้องเพื่อตรวจหาความผิดปกติในทวารหนัก
  • นำตัวอย่างอุจจาระไปเข้ากระบวนการตรวจในห้องแล็บ
  • ตรวจร่างกายโดยแพทย์เฉพาะทาง
  • คุณหมออาจทำการตรวจนับเม็ดเลือด เพื่อดูว่าร่างกายสูญเสียเลือดมากเกินไปหรือไม่

การรักษาอาการถ่ายเป็นเลือด

คุณหมอสามารถทำการรักษา อาการถ่ายเป็นเลือดได้หลายวิธี ดังนี้

  • รักษาโดยการสอดกล้องเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร เพื่อตรวจหาบริเวณที่มีเลือดออก จากนั้นจะทำการห้ามเลือดโดยการใช้สารเคมี การเลเซอร์ หรือใช้กระแสไฟฟ้า ผ่านเข้าไปทางหลอดเลือดดำ
  • รักษาโดยการถ่ายเลือด
  • รักษาโดยการระบายน้ำออกจากกระเพาะอาหาร
  • รักษาโดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
  • รักษาตามสาเหตุ เช่น มีอาการถ่ายเป็นเลือดจากริดสีดวงทวาร คุณหมอจะทำการรักษาริดสีดวงทวารให้ดีขึ้น เพื่อบรรเทาอาการถ่ายเป็นเลือด หรือถ้าขับถ่ายเป็นเลือดจากอาการท้องผูก คุณหมออาจแนะนำให้มีการรับประทานอาหารที่ให้ไฟเบอร์สูง เพื่อกระตุ้นให้มีการขับถ่ายตามปกติ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไล์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่อาจช่วยจัดการกับคอตีบการถ่ายเป็นเลือด

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกัน อาการถ่ายเป็นเลือด ได้

  • รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รักษาความสะอาดบริเวณไส้ตรง
  • ดื่มน้ำมาก ๆ

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Causes Rectal Hemorrhage? https://www.healthline.com/symptom/rectal-hemorrhage. Accessed on December 27, 2017.

Bleeding from the bottom (rectal bleeding). https://www.nhs.uk/conditions/bleeding-from-the-bottom-rectal-bleeding/. Accessed on December 27, 2017.

Rectal bleeding. https://www.mayoclinic.org/symptoms/rectal-bleeding/basics/definition/sym-20050740. Accessed on December 27, 2017.

Rectal Bleeding. https://www.healthgrades.com/right-care/digestive-health/rectal-bleeding#:~:text=Risk%20factors%20for%20rectal%20bleeding%20include%3A,have%20the%20potential%20to%20rupture). Accessed on December 27, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/03/2021

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Khongrit Somchai

avatar

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 19/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา