backup og meta

ภาวะอาเจียนเรื้อรัง (Cyclic Vomiting Syndrome)

ภาวะอาเจียนเรื้อรัง (Cyclic Vomiting Syndrome)

ภาวะอาเจียนเรื้อรัง คืออะไร

ภาวะอาเจียนเรื้อรัง ( Cyclic vomiting syndrome หรือ CVS ) เป็นภาวะที่ทำให้มีอาการอาเจียนซ้ำๆ หลายๆ ครั้งในหนึ่งชั่วโมงหรือหนึ่งวัน เป็นอาการผิดปกติที่มีอาการอาเจียนเกิดขึ้นทันทีซ้ำๆ และมีอาการเหนื่อยอ่อนทางกายภาพที่เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน สถานการณ์เหล่านี้จะเกิดซ้ำๆ นานตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมงจนถึงหลายวัน สถานการณ์เหล่านี้อาจจะรุนแรงจนบางครั้งคนไข้อาจจะต้องนอนป่วยบนเตียงหลายวัน ไม่สามารถไปโรงเรียนหรือไปทำงานได้ คนไข้อาจจะต้องการการรักษาที่ห้องฉุกเฉินหรือโรงพยาบาลในสถานการณ์เหล่านี้ หลังจากนั้นอาการก็จะหายไป และสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้ใน 2-3 สัปดาห์หรือหลายเดือน

อาการผิดปกติจะมีผลกับคนไข้ไปหลายเดือน หลายปี หรือเป็นสิบปี อาการของภาวะที่ทำให้มีอาการอาเจียนเรื้อรังจะมีอาการคล้ายคลึงกับครั้งก่อน หมายความว่าสถานการณ์มีแนวโน้มที่จะเริ่มในเวลาเดียวกันในแต่ละวัน และสิ้นสุดในช่วงเวลาเดียวกันและเกิดอาการเดียวกันและระดับความรุนแรงเดียวกัน

ภาวะอาเจียนเรื้อรัง พบบ่อยแค่ไหน

ภาวะอาการอาเจียนเรื้อรัง สามารถเกิดขึ้นในทุกช่วงวัย แต่มักจะเกิดบ่อยในเด็กช่วงอายุ 3-7 ขวบ แต่ก็มีคนไข้จำนวนมากที่เป็นผู้ใหญ่ที่วินิจฉัยว่ามีอาการนี้เพิ่มขึ้น ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อข้อมูลเพิ่มเติม

อาการของ ภาวะอาเจียนเรื้อรัง คืออะไร

อาการโดยทั่วไปของภาวะอาเจียนเรื้อรังคือ

  • อาเจียนรุนแรงหลายครั้งเป็นชั่วโมง และอาเจียนต่อเนื่องหลายชั่วโมงหลายวัน แต่สิ้นสุดภายใน 1 สัปดาห์
  • มีช่วงของการอาเจียน 3 ช่วงหรือมากกว่าโดยไม่ทราบสาเหตุในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา หรือมีช่วงของการอาเจียน 5 ช่วงหรือมากกว่าเวลาไหนก็ตาม
  • คลื่นไส้อย่างรุนแรง
  • เหงื่อออกมาก

รู้อาการ

สัญญาณ และอาการระหว่างช่วงที่อาเจียนนั้นรวมถึง

หากคุณมีอาการนอกเหนือจากที่กล่าวมาจากด้านบน หรือมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ ควรปรึกษาแพทย์

ควรจะพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสัญญาณหรืออาการตามที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีคำถาม ให้ปรึกษาแพทย์ เพราะแต่ละคนจะมีปฏิกิริยาแตกต่างกัน ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ

รู้สาเหตุ

โดยปกติแล้วเรามักไม่ทราบสาเหตุของ ภาวะอาเจียนเรื้อรัง อย่างชัดเจน แต่สาเหตุที่เป็นไปได้รวมถึงพันธุกรรม ความผิดปกติในระบบย่อยอาหาร ปัญหาของระบบประสาท ความไม่สมดุลของฮอร์โมน การอาเจียนสามารถกระตุ้นได้โดย

  • การเป็นไข้ การแพ้หรือปัญหาโรคไซนัส
  • ความเครียดทางด้านอารมณ์ หรือ ความตื่นเต้นโดยเฉพาะในเด็ก
  • ความกังวลหรือความตื่นตระหนก โดยเฉพาะในผู้ใหญ่
  • อาหาร เช่น คาเฟอีน ช็อคโกแลต หรือชีส
  • การรับประทานอาหารมากเกินไป การรับประทานทันทีก่อนนอนหรือการอดอาหาร
  • อากาศร้อน
  • ความเหนื่อยอ่อนของร่างกาย
  • การออกกำลังกายมากเกินไป
  • การมีประจำเดือน
  • ภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว

รู้ถึงปัจจัยเสี่ยง

ความสัมพันธ์ระหว่างไมเกรนกับภาวะอาเจียนเรื้อรังไม่ชัดเจน แต่เด็กจำนวนมากที่เป็นภาวะที่ทำให้มีอาการอาเจียนเรื้อรังนี้จะมีประวัติครอบครัวเป็นโรคไมเกรนหรือเป็นโรคไมเกรนเองเมื่อเขาโตขึ้น ในผู้ใหญ่ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะที่ทำให้มีอาการอาเจียนเรื้อรังกับไมเกรน จะต่ำกว่าเด็ก

การใช้กัญชา (Marijuana) อย่างต่อเนื่องมีความสัมพันธ์กับภาวะที่ทำให้มีอาการอาเจียนเรื้อรัง เพราะบางคนใช้กัญชาในการรักษาอาการ อย่างไรก็ตามกัญชาสามารถทำให้เกิดอาการที่เรียกว่าการอาเจียนจากการใช้กัญชาอย่างหนัก ซึ่งทำให้เกิดการอาเจียนอย่างต่อเนื่อง โดยไม่สามารถแยกช่วงเวลาที่อาเจียนเพราะการใช้กัญชากับอาเจียนได้ คนที่เป็นโรคนี้จะมีพฤติกรรมอาบน้ำบ่อย

การอาเจียนจากการใช้กัญชาอย่างหนักอาจจะมีอาการคล้ายกับภาวะที่ทำให้มีอาการอาเจียนเรื้อรังจึงทำให้สับสนได้ เพื่อจัดการกับการอาเจียนจากการใช้กัญชาอย่างหนัก ให้หยุดการใช้กัญชาอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์เพื่อดูอาการอาเจียน หากยังไม่ดีขึ้น แพทย์จะทดสอบว่ามีอาการภาวะที่ทำให้มีอาการอาเจียนเรื้อรังหรือไม่

เข้าใจการวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่ให้นี้ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์เสมอเพื่อได้รับข้อมูลเพิ่มเติม

ภาวะอาเจียนเรื้อรังวินิจฉัยอย่างไร

จะมีการทดสอบอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นภาวะที่ทำให้มีอาการอาเจียนเรื้อรังหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านดูแลสุขภาพจะจัดการกับสถานะอื่นๆ และวินิจฉัยอาการตาม

  • ประวัติทางการแพทย์และประวัติครอบครัว
  • การทดสอบทางกายภาพ
  • แพทเทิร์นหรือวงจรของอาการ
  • การตรวจเลือด
  • การตรวจปัสสาวะ
  • การตรวจภาพ
  • การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารส่วนบน
  • การทดสอบเวลาที่อาหารเคลื่อนผ่านกระเพาะจนหมด

บ่อยครั้ง หนึ่งในปัจจัยต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นสาเหตุจากอาการอาเจียนเรื้อรังก็ได้

  • กล้ามเนื้อกระเพาะทำงานน้อยลง ความผิดปกติที่การเคลื่อนไหวของอาหารจากกระเพาะไปยังลำไส้เล็กช้าลงหรือหยุดลง
  • กระเพาะและลำไส้อักเสบ การอักเสบที่ปลายกระเพราะอาหาร ลำไส้เล็กและ ลำไส้ใหญ่

การวินิจฉัยภาวะอาเจียนเรื้อรังอาจจะทำได้ยากจนกว่าคนไข้จะไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ

ภาวะอาเจียนเรื้อรังจะรักษาได้อย่างไร

ไม่มีวิธีรักษาสำหรับภาวะอาเจียนเรื้อรัง แม้ว่าเด็กๆ จะไม่อาเจียนแล้วจนเขาโต สำหรับคนที่เคยมีภาวะอาเจียนเรื้อรัง การรักษาให้มุ่งเน้นที่การควบคุมสัญญาณและอาการ คุณหมออาจจะสั่งยาเหล่านี้ให้

  • ยาแก้คลื่นไส้
  • ยาบรรเทาอาการปวด
  • ยาลดกรด
  • ยาต้านเศร้า
  • ยากันชัก

ยาประเภทเดียวกัน ที่ใช้สำหรับไมเกรนบางครั้งจะหยุดหรือป้องกันอาการของภาวะที่ทำให้อาการอาเจียนเรื้อรังได้ เป็นนาที่แนะนำสำหรับคนที่เกิดอาการเหล่านี้บ่อยๆ และเป็นเวลานาน หรือคนที่ครอบครัวเป็นไมเกรน และอาจต้องมีการให้สารน้ำ (Hypodermoclysis หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า Clysis) เพื่อป้องกันการขาดน้ำ การรักษาเฉพาะบุคคลนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะของอาการเช่นเดียวกับอาการแทรกซ้อน

การรักษาทางเลือกและทางเสริมอาจจะช่วยป้องกันอาการอาเจียนได้ แม้ว่าจะไม่มีผลการศึกษาอย่างแน่ชัด แต่การรักษาเหล่านี้ก็ช่วยได้

  • โคเอนไซม์ คิวเทน หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ยูบิควิโนน (Ubiquinone) เป็นสารที่ธรรมชาติสร้างขึ้นในร่างกายเพื่อเป็นอาหารเสริม โคเอนไซม์คิวเทนช่วยเสริมสร้างหน้าที่พื้นฐานของเซลล์
  • แอลคาร์นิทิน สารธรรมชาติสร้างขึ้นในรางกายเป็นอาหารเสริม แอลคาร์นิทิน ช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงาน

แอลคาร์นิทินและโคเอนไซม์คิวเทน อาจจะทำงานโดยมีส่วนช่วยให้ร่างกายจัดการเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงาน

ควรมั่นใจว่าไปพบคุณหมอและทำการวินิจฉัย ภาวะอาเจียนเรื้อรังชัดเจนก่อนเริ่มรับอาหารเสริม เช็กกับแพทย์เสมอ ก่อนการรับอาหารเสริมเพื่อให้มั่นใจว่าได้รับปริมาณที่ปลอดภัยและอาหารเสริมนั้นจะไม่มีปฏิกิริยากับยาที่กำลังรับประทาน คนไข้บางคนจะมีผลข้างเคียงจากแอลคาร์นิทินและโอเอนไซม์คิวเทนซึ่งจะมีอาการคล้ายกับภาวะที่ทำให้อาการอาเจียนเรื้อรัง ได้แก่ คลื่นไส้ ท้องเสียและไม่อยากอาหาร

การเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตและการรักษาตัวที่บ้าน

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์อาจช่วยควบคุมสัญญาณและอาการของภาวะอาเจียนเรื้อรังได้ คนไข้ที่เป็นภาวะอาเจียนเรื้อรังจำเป็นต้องนอนหลับให้เพียงพอ เมื่อเริ่มอาเจียน จะช่วยได้หากนอนพักและนอนหลับในที่มืดและเงียบสงบ

เมื่ออาการอาเจียนหยุดลง จำเป็นต้องดื่มน้ำมากๆ บางคนจะรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้รับประทานอาหารทันทีหลังจากหยุดอาเจียน แต่หากยังไม่อยากรับประทานอาหารทันที ให้ดื่มน้ำสะอาดแล้วค่อยรับประทานอาหาร

หากอาการอาเจียนถูกกระตุ้นโดยความเครียดหรือความตื่นเต้น ให้พยายามหยุดอาการเหล่านั้น ด้วยการลดความเครียดและทำตัวให้สงบ และรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ ขนมที่มีคาร์โบไฮเดรตทุกวันแทนที่จะรับประทานมื้อใหญ่ 3 มื้ออาจจะช่วยได้

หากมีคำถามที่สงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cyclic vomiting syndrome. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cyclic-vomiting-syndrome/home/ovc-20345469. Accessed August 11, 2017.

Cyclic Vomiting Syndrome. https://www.niddk.nih.gov/health-information/digestive-diseases/cyclic-vomiting-syndrome. Accessed August 11, 2017.

Cyclic vomiting syndrome. https://ghr.nlm.nih.gov/condition/cyclic-vomiting-syndrome

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย pimruethai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

เหงื่อออกมาก คุณอาจเป็นยิ่งกว่าขี้ร้อน

คลื่นไส้และอาเจียน (Nausea and Vomiting)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา