backup og meta

กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง (Chronic gastritis)

กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง (Chronic gastritis)

คำจำกัดความ

กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังคืออะไร

กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง (Chronic gastritis) เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเยื่อบุกระเพาะอาหารเกิดการอักเสบ   ผู้ที่เป็นโรคนี้อาจไม่มีอาการเจ็บปวด หรืออาจมีอาการปวดท้องตื้อที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่พบได้มากที่สุด คือ กระเพาะอักเสบเรื้อรังจากเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori bacteria) โรคกระเพาะอักเสบเรื้อรังมักมีอาการดีขึ้นจากการรักษา แต่อาจต้องมีการเฝ้าระวังที่ต่อเนื่อง

แบคทีเรีย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การใช้ยาบางชนิด ความเครียดเรื้อรัง หรือปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ สามารถทำให้กระเพาะอาหารอักเสบได้ เมื่ออักเสบ เยื่อบุกระเพาะอาหารจะเปลี่ยนแปลงและสูญเสียเซลล์ป้องกันบางเซลล์ นอกจากนี้ ยังทำให้กระเพาะอาหารของคุณรู้สึกอิ่ม หลังจากรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง เป็นอาการที่เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนเนื้อเยื่อที่เจริญแล้ว (metaplasia) นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงชนิดของเซลล์จากชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งเพื่อให้เข้าสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หรือเกิดการเจริญผิดปกติของเซลล์ที่ยังไม่ลุกลาม (dysplasia) ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงก่อนเป็นมะเร็งในเซลล์ ฉะนั้น หากปล่อยไว้ไม่รักษา จึงสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้

กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังพบได้บ่อยแค่ไหน

ประชากรโลกประมาณน้อยละ 50 มีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ดังนั้น กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังจึงพบได้บ่อยมาก การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร พบได้บ่อยมากในทวีปเอเชียและในประเทศที่กำลังพัฒนา

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

อาการ

อาการกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง

อาการทั่วไปของกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ได้แก่

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับคุณหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง

กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังมีหลายประเภท และอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้

ประเภท A

เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์กระเพาะอาหาร และสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการขาดวิตามิน (vitamin deficiencies) โลหิตจาง (anemia) และมะเร็ง

ประเภท B

เป็นประเภทที่พบได้มากที่สุด เกิดจากแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร และสามารถทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร (stomach ulcers) แผลในลำไส้ (intestinal ulcers) และมะเร็ง

ประเภท C

เกิดจากสารเคมีระคายเคืองต่างๆ เช่น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือน้ำดี นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดแผลและเลือดออกในเยื่อบุกระเพาะอาหารได้อีกด้วย

กระเพาะอาหารอักเสบประเภทอื่นๆ ได้แก่ กระเพาะอาหารอักเสบแบบ giant hypertrophic gastritis ซึ่งสัมพันธ์กับการขาดโปรตีน นอกจากนี้ยังมีประเภท eosinophilic gastritis ซึ่งสามารถเกิดขึ้นร่วมกับอาการแพ้อื่นๆ เช่น หอบหืด (asthma) หรือผื่นผิวหนังอักเสบ (eczema)

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังมีด้วยกันหลายประการ เช่น

  • การใช้ยาบางประเภทเป็นเวลานาน เช่น ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • ความเจ็บป่วยบางประเภท เช่น เบาหวาน ไตวาย
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • ความเครียดเรื้อรังและรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย
  • น้ำดีไหลเข้าไปในกระเพาะอาหาร หรือน้ำดีไหลย้อน (bile reflux)
  • อาหารไขมันสูง
  • อาหารโซเดียมสูง
  • การสูบบุหรี่
  • ไลฟ์สไตล์ที่เต็มไปด้วยความตึงเครียด หรือเคยได้รับอุบัติเหตุ ก็อาจทำให้กระเพาะอาหารในการป้องกันตนเองได้น้อยลง

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง

หากแพทย์สงสัยว่าคุณอาจเป็นโรคนี้ คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยต่างๆ ดังนี้

  • การตรวจหาแบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
  • การตรวจอุจจาระ เพื่อหาเลือดออกในกระเพาะอาหาร
  • การตรวจเม็ดเลือดและการตรวจเลือดจาง
  • การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร โดยสอดกล้องที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กเข้าไปทางปาก

การรักษากระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง

การใช้ยา

แพทย์อาจสั่งยาเพื่อลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาที่ใช้มากที่สุด ได้แก่

  • ยาลดกรด (Antacids) อย่างยาแคลเซียมคาร์บอเนต เช่น ทัมส์® (Tums®)
  • ยากลุ่ม H2 antagonists เช่น ยาราไนทิดีน (ranitidine) (Zantac)
  • ยากลุ่ม Proton pump inhibitors เช่น ยาโอเมพราโซล (omeprazole) (Prilosec)

อาจแนะนำให้ลดหรืองดใช้ยาแอสไพรินและยาที่คล้ายคลึงกัน เพื่อลดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร

ในบางครั้ง หากอาการกระเพาะอักเสบกำเริบจากการใช้ยาหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาการสามารถหายไปได้เองภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง แต่โดยปกติแล้วกระเพาะอักเสบเรื้อรังใช้เวลานานกว่าที่โรคจะปรากฏขึ้น และหากไม่ทำการรักษา อาจมีอาการเรื้อรังเป็นเวลาหลายปี

อาหาร

เพื่อลดอาการระคายเคืองกระเพาะอาหาร แพทย์อาจแนะนำให้คุณงดหรือลดอาหารเหล่านี้

  • อาหารโซเดียมสูง
  • อาหารไขมันสูง
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ ไวน์ สุรา
  • อาหารประเภทเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป

อาหารที่แนะนำให้รับประทาน ได้แก่

  • ผลไม้และผักทุกประเภท
  • อาหารที่มีแบคทีเรียดี (probiotics) เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว
  • เนื้อสัตว์ปราศจากไขมัน เช่น ไก่ ไก่งวง ปลา
  • โปรตีนจากพืช เช่น ถั่วต่างๆ เต้าหู้
  • ข้าวไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีต

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือกับกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยจัดการกระเพาะอักเสบเรื้อรังได้

  • ระมัดระวังเกี่ยวกับอาหารและระดับความเครียด
  • การจำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ยา NSAID เช่น ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ยานาพร็อกเฟน (naproxen) และยาแอสไพริน (aspirin) ยังอาจช่วยป้องกันภาวะนี้ได้อีกด้วย
  • เลิกสูบบุหรี่

หากมีคำถามเกี่ยวกับโรค ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุด

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Chronic gastritis. http://www.healthline.com/health/gastritis-chronic#Riskfactors5. Accessed March 12, 2017.

Chronic gastritis. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gastritis/basics/prevention/con-20021032 . Accessed March 12, 2017.

Chronic gastritis.  http://emedicine.medscape.com/article/176156-overview#a6. Accessed March 12, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ อาการ สาเหตุ และการรักษา

เครียดลงกระเพาะ คืออะไรและเราจะรับมืออย่างไรให้ได้ผล


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา