เมื่อใดที่คุณอาการ ปวดกล้ามเนื้อหัวใจ หรือมีอาการเจ็บหน้าอกแปลบ ๆ นั่นอาจหมายความว่า คุณกำลังมีปัญหาสุขภาพบางอย่างที่เชื่อมโยงกับโรคหัวใจอยู่ก็เป็นได้ หากไม่อยากให้ อาการปวดกล้ามเนื้อหัวใจ เหล่านี้เกิดขึ้นอีก ลองอ่านบทความนี้สิคะ เพราะ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมเทคนิคในการป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อหัวใจมาฝากคุณแล้ว
ทำความรู้จักกับกล้ามเนื้อหัวใจกันเถอะ
กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นกล้ามเนื้ออีกหนึ่งชนิดภายในร่างกาย นอกเหนือจากกล้ามเนื้อลาย และกล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจมีความสามารถในการคลายตัว และหดตัวได้ เพื่อคอยทำหน้าที่สูบฉีดเลือดยังระบบไหลเวียนต่าง ๆ ไปทั่วทั้งร่างกาย โดยมีเซลล์กระตุ้นหัวใจคอยทำหน้าที่ควบคุมอัตราความเร็วของการหดตัวว่าช้าหรือเร็ว
องค์ประกอบของกล้ามเนื้อหัวใจ มีดังนี้
- อินเตอร์คาเลทเตท ดิสก์ (Intercalated discs) เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างกล้ามเนื้อหัวใจกับเซลล์อื่น ๆ ภายนอก
- แกปจังก์ชัน (Gap junction) คือรอยต่อระหว่างเซลล์ ที่เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมีการหดตัว จะมีการสร้างช่องว่าง แต่อย่างไรยังคงมีความประสานเชื่อมโยงกันเอาไว้ด้วยแกปจังก์ชั่น
- เดสโมโซม (Desmosomes) เป็นรอยต่อระหว่างเซลล์เช่นเดียวกัน ทำหน้าที่ช่วยยึดเส้นใยกล้ามเนื้อหัวใจกับหัวใจเอาไว้ด้วยกันขณะที่หัวใจมีการหดตัว
- นิวเคลียส (Nucleus) เป็นส่วนควบคุมของเซลล์ ที่ประกอบด้วยสารพันธุกรรมของเซลล์ทั้งหมด โดยทั่วไปแล้วเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมักจะมีเพียงแค่นิวเคลียสเดียว
หากเกิดความผิดปกติต่อองค์ประกอบของกล้ามเนื้อหัวใจเหล่านี้ ก็อาจทำให้เกิด อาการปวดกล้ามเนื้อหัวใจ ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจทำให้เสียชีวิตได้
สาเหตุที่ทำให้ ปวดกล้ามเนื้อหัวใจ จนเจ็บหน้าอก
ส่วนใหญ่โรคเรื้อรังต่าง ๆ ประจำตัว เหล่านี้ ที่คุณเป็นนั้น อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเจ็บกล้ามเนื้อหัวใจ จนส่งผลให้รู้สึกเจ็บหน้าอก พร้อมกับหายใจถี่ และรู้สึกอ่อนแรงขึ้น
อาการปวดกล้ามเนื้อหัวใจ อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- คาร์ดิโอไมโอแพที (Cardiomyopathy) เป็นสภาวะที่มีผลต่อเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง ทำให้ทำให้คุณมี อาการปวดกล้ามเนื้อหัวใจ เจ็บหน้าอก วิงเวียนศีรษะ ปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดโรคนี้คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคลิ้นหัวใจ
- กล้ามเนื้อหัวใจตาย การที่เลือดในระบบไหลเวียนโลหิตไหลเวียนไปยังหัวใจลดลง อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตาย และทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง และอาการปวดกล้ามเนื้อหัวใจ
- เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นอาการติดเชื้อบริเวณเนื้อเยื่อรอบ ๆ หัวใจ ทำให้คุณมีอาการแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก และอาการปวดตามกล้ามเนื้อส่วนคอและไหล่อย่างรุนแรง
- กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอาจคล้ายกับอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย แม้ว่าจะไม่มีการอุดตันของหลอดเลือดแต่อย่างไร อาการทั่วไปที่พบคือปัญหาด้านการหายใจ เจ็บหน้าอก และหัวใจเต้นรัว
นอกจากนี้ยังมีโรคอื่น ๆ อีกมากมายที่มีความเชื่อมโยงกับ อาการปวดกล้ามเนื้อหัวใจ หากคุณไม่แน่ใจว่าอาการเจ็บหน้าอกมาจากสาเหตุใด โปรดเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที เพื่อตรวจสอบสาเหตุที่แน่ชัด และรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ก่อนเกิดอันตรายที่อาจถึงแก่ชีวิตได้
4 วิธีป้องกันอาการ ปวดกล้ามเนื้อหัวใจ
วิธีที่เรากำลังจะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นหนทางที่จะช่วยปกป้องกล้ามเนื้อหัวใจของคุณ ให้มีโอกาสน้อยลงที่จะเกิดความผิดปกติต่าง ๆ โดยคุณสามารถนำไปปฏิบัติตามได้ง่าย ๆ 4 วิธี ดังนี้
ออกกำลังกาย
สมาคมหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำว่า คุณควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที ต่อสัปดาห์ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อหัวใจให้แข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นการ คาร์ดิโอ การวิ่ง การเดิน เป็นต้น
ดื่มเครื่องดื่มร้อน ๆ
การดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ อย่างจำพวกชา หรือเครื่องดื่มสมุนไพรบางอย่าง อาจสามารถช่วยลดความดันโลหิตและคอเลสเตอรอล ที่เป็นส่วนหนึ่งของการเกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ และทำให้เกิด อาการปวดกล้ามเนื้อหัวใจ ได้
ประคบเย็น
บางครั้งอาการปวดกล้ามเนื้อหัวใจเกิดจากความเครียดที่เชื่อมโยงกับกล้ามเนื้อหน้าอก เช่น การยกของหนัก หากอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรงมากนักอาจนำอุปกรณ์ หรือผ้าห่อน้ำแข็งมาประคบเย็นหลาย ๆ ครั้งได้ ต่อ 1 วัน เพื่อลดอาการอักเสบ และบรรเทาอาการปวดลง
หมั่นตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำ
การตรวจสุขภาพสม่ำเสมอเป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกัน อาการปวดกล้ามเนื้อหัวใจ ที่สำคัญ เพราะจะทำให้คุณรู้ได้ว่าตนเองมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหรือปัญหาสุขภาพใดบ้าง ทั้งมีอาการหรือไม่มีอาการ หากคุณมีอาการปวดกล้ามเนื้อหัวใจเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาสามารถแจ้งให้แพทย์ทราบได้ในทันที เพื่อให้แพทย์นำคุณไปตรวจด้วยการอัลตร้าซาวด์อย่างละเอียดอีกครั้ง
[embed-health-tool-heart-rate]