โดยส่วนมาก มักจะเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia) โดยภาวะสุขภาพหัวใจที่เกี่ยวข้องกับอาการใจสั่น ประกอบด้วย
- ภาวะก่อนหัวใจวาย
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (coronary artery disease)
- หัวใจล้มเหลว
- ลิ้นหัวใจมีปัญหา
- กล้ามเนื้อหัวใจมีปัญหา
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของอาการใจสั่น
ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการก่อให้เกิดอาการใจสั่น มีดังต่อไปนี้
- มีความเครียดสูง
- ป่วยเป็นโรควิตกกังวล หรือมีอาการตื่นตระหนกเป็นประจำ
- ตั้งครรภ์
- รับยาที่มีสารกระตุ้น เช่น ยาแก้ไข้หวัด หรือยารักษาโรคหอบหืด
- มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ (hyperthyroidism)
- มีปัญหาโรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจพิการ หรือเคยมีอาการหัวใจวาย
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยอาการใจสั่น
หากแพทย์คิดว่าคุณมีอาการใจสั่น แพทย์จะใช้หูฟังสเต็ทโทสโคปตรวจเพื่อตรวจหาอาการที่น่าเป็นไปได้ของโรคอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดอาการใจสั่น เช่น ต่อมไทรอยด์โต โดยการตรวจชนิดอื่นที่แพทย์อาจใช้ ได้แก่
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เป็นการตรวจหัวใจโดยที่ร่างกายไม่ได้รับบาดเจ็บ โดยใช้วิธีติดตัวรับกระแสไฟฟ้าบนหน้าอก เพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ทำให้หัวใจเต้น อีกทั้งสามารถจะช่วยให้คุณหมอตรวจพบจังหวะการเต้นของหัวใจ และโครงสร้างของหัวใจที่ผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการใจสั่น โดยสามารถตรวจได้ทั้งในตอนที่ผู้ป่วยพักผ่อน และทำร่วมกับการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (stress electrocardiogram)
- การตรวจด้วยเครื่องโฮลเตอร์ (Holter monitor) เครื่องโฮลเตอร์เป็นอุปกรณ์พกพาที่ผู้ป่วยสามารถสวมใส่ติดตัว สำหรับบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 24 ถึง 72 ชั่วโมง เครื่องโฮลเตอร์จะตรวจจับอาการใจสั่น ที่ไม่สามารถตรวจพบในการตรวจ ECG แบบปกติ
- การตรวจด้วยเครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจเฉพาะเหตุการณ์ (Event recording) ถ้าไม่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติในระหว่างที่สวมใส่เครื่องโฮลเตอร์ แพทย์ก็อาจแนะนำให้ตรวจด้วยเครื่อง Event recorder โดยผู้ที่เข้ารับการตรวจต้องสวมใส่เครื่อง Event recorder เกือบตลอดทั้งวัน และกดปุ่มบันทึกของอุปกรณ์ที่อยู่บนเข็มขัด เพื่อบันทึกจังหวะการเต้นของหัวใจเมื่อมีอาการผิดปกติ และเป็นไปได้ที่ผู้เข้ารับการตรวจต้องสวมใส่อุปกรณ์นี้นานเป็นเวลาหลายสัปดาห์
- การอัลตราซาวด์ทรวงอก การตรวจอัลตราซาวด์จะแสดงให้เห็นภาพโครงสร้างและการทำงานของหัวใจอย่างละเอียดโดยคลื่นอัลตร้าซาวด์จะถูกส่งผ่านและสะท้อนกลับมาให้บันทึกด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่าเครื่อง ทรานสดิวเซอร์ (transducer) หรือตัวแปรสัญญาณ จากนั้น คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลที่ได้จากเครื่องแปรสัญญาณนี้ มาสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหวบนหน้าจอแสดงผล
การรักษาอาการใจสั่น
ปกติแล้วหากอาการไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แพทย์อาจเพียงแนะนำให้ผู้มีอาการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการใจสั่นเท่านั้น แต่ถ้าอาการใจสั่นมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์จึงเริ่มวางแผนเพื่อหาเทคนิคการรักษาที่เหมาะสมกับโรคที่คุณเป็นในลำดับถัดไป
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันและรักษาอาการใจสั่น
- ลดความเครียดหรือความวิตกกังวล พยายามทำให้ตัวเองผ่อนคลาย ด้วยการนั่งสมาธิ เล่นโยคะ หรือหายใจเข้าออกลึกๆ หรือใช้วิธีบำบัดแบบอโรมาเธอราพี
- หลีกเลี่ยงสารกระตุ้น สารกระตุ้นที่กล่าวถึงนี้ประกอบด้วยคาเฟอีน นิโคติน ยาแก้ไข้หวัด และเครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้หัวใจเต้นเร็ว หรือ ผิดปกติ
- หลีกเลี่ยงยาเสพติดผิดกฎหมาย อย่างเช่น โคเคนและแอมเฟตามีน ซึ่งนำมาสู่อาการใจสั่น
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย